พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. วิชชาสูตร ว่าด้วยวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40063
อ่าน  477

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 284

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๓. วิชชาสูตร

ว่าด้วยวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 284

๓. วิชชาสูตร

ว่าด้วยวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม

[๒๑๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลธรรม อหิริกะ อโนตตัปปะเป็นไปตาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชาแลเป็นหัวหน้าแห่งการ ถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม หิริและโอตตัปปะเป็นไปตาม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้ และในโลกหน้า ทั้งหมดมีอวิชชาเป็นมูล อันความปรารถนาและความโลภก่อขึ้น ก็ เพราะเหตุที่บุคคลเป็นผู้มีความปรารถนา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 285

ลามก ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ ฉะนั้น จึงย่อม ประสบบาป ต้องไปสู่อบาย เพราะบาปนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุสำรอกฉันทะ โลภะ และอวิชชาได้ ให้วิชชาบังเกิดขึ้นอยู่ พึง ทุคติทั้งปวงเสียได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบวิชชาสูตรที่ ๓

อรรถกถาวิชชาสูตร

ในวิชชาสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุพฺพงฺคมา ได้แก่ เป็นหัวหน้าโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยสหชาตปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย. หรือเป็นประธานแห่งอกุศลธรรมเบื้องหน้า. จริงอยู่ การเกิดขึ้นแห่งอกุศล เว้นจากอวิชชาเสียแล้วย่อมมีไม่ได้. บทว่า สมาปตฺติยา ได้แก่ ความเป็นไปเพื่อได้ความจริงอันถึงเฉพาะหน้า. ความเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยความเป็นปัจจัยแห่ง อโยนิโสมนสิการด้วยการปกปิดโทษแห่งความเป็นไปของอกุศล และโดยความ ที่ยังละไม่ได้ ย่อมปรากฏในความนั้น.

คติแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ทุคติในคาถานี้ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์มีพยาธิ และมรณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ชื่อว่า ทุคติ เพราะคติที่ถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นประทุษร้าย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 286

เป็นไปทางกาย วาจา และใจ. บทว่า อสฺมึ โลเก ได้แก่ ในโลกนี้หรือ ในมนุษยคติ. บทว่า ปรมฺหิ จ ได้แก่ ในคติอื่นจากมนุษยคตินั้น. บทว่า อวิชฺชามูลิกา สพฺพา ได้แก่ ความวิบัติแห่งทุจริต แม้ทั้งหมดนั้นมีอวิชชา เป็นมูลอย่างเดียว เพราะมีอวิชชาเป็นหัวหน้าโดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา ความว่า ชื่อว่า อิจฺฉาโลกสมุสฺสยา เพราะอันความ ปรารถนามีลักษณะแสวงหาสิ่งอันยังไม่ถึงพร้อม และอันความโลภมีลักษณะ อยากได้สิ่งอันถึงพร้อมแล้ว ก่อขึ้น คือ สะสม. บทว่า ยโต ได้แก่ เพราะ มีอวิชชาเป็นเหตุ เป็นผู้ถูกอวิชชาปกปิด. บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ผู้มีความ ปรารถนาลามกไม่เห็นโทษ ทำความหลอกลวงเป็นต้น ด้วยการยกย่องคุณที่ไม่มี เพราะมีความปรารถนาลามก เพราะถูกอวิชชาปกปิด. พึงเห็นว่า แม้ความ ปรารถนาในคนก็เป็นอันถือเอาด้วยความโลภเหมือนกัน. บทว่า อนาทโร ได้แก่ เว้นจากความเอื้อเฟื้อในเพื่อนสพรหมจารี เพราะไม่มีโอตตัปปะอันถือ โลกเป็นใหญ่. บทว่า ตโต ได้แก่ เพราะเป็นเหตุแห่งอวิชชาความปรารถนา ลามก ความไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ. บทว่า ปสวติ ได้แก่สะสมบาป มีกาย ทุจริตเป็นต้น. บทว่า อปายํ เตน คจฺฉติ ได้แก่ ย่อมไป คือ ย่อมเข้า ถึงอบายมีนรกเป็นต้น เพราะบาปตามที่ขวนขวายนั้น. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะอวิชชาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นรากเหง้าแห่งทุจริตทั้งปวง และเป็นเหตุแห่ง ความเศร้าหมองอันเป็นแดนเกิดในทุคติทั้งปวง อย่างนี้ ฉะนั้น ภิกษุสำรอกความ ปรารถนา ความโลภ อวิชชา อหิริกะ และอโนตตัปปะได้ ละด้วยสมุจเฉท. ถามว่า สำรอกอย่างไรจึงจะให้วิชชาเกิดขึ้นได้. ตอบว่า ขวนขวายตามลำดับ วิปัสสนาและตามลำดับมรรคแล้วยังวิชชา คือ อรหัตตมรรคให้เกิดในสันดาน ของตน. บทว่า สพฺพา ทุคฺคติโย ได้แก่ พึงละ คือ พึงสละพึงก้าวล่วง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 287

ทุคติ กล่าวคือทุจริตแม้ทั้งปวง หรือคติ ๕ ทั้งปวงอันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. จริงอยู่ กรรมวัฏฏ์และวิปากวัฏฏ์เป็นอันละได้ด้วย การละกิเลสวัฏฏ์นั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิชชาสูตรที่ ๓