พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปัญญาสูตร ว่าด้วยขาดปัญญาพาให้เสื่อมมีปัญญาพาให้เจริญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40064
อ่าน  491

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 287

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๔. ปัญญาสูตร

ว่าด้วยขาดปัญญาพาให้เสื่อมมีปัญญาพาให้เจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 287

๔. ปัญญาสูตร

ว่าด้วยขาดปัญญาพาให้เสื่อมมีปัญญาพาให้เจริญ

[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่า เสื่อมสุด สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม สัตว์เหล่านั้น ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่น ลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อมไปจาก ปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมสำคัญ ว่า นามรูปนี้เป็นของจริง ปัญญาอันให้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 288

ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุด ในโลก ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปัญญาสูตรที่ ๔

อรรถกถาปัญญาสูตร

ในปัญญาสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุปริหีนา ได้แก่ เสื่อมสุด. บทว่า เย อริยาย ปญฺาย ปริหีนา ความว่า สัตว์เหล่าใด เสื่อมจากวิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญา อันเป็นอริยะ คือ บริสุทธิ์ เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ด้วยการรู้ความเกิด และความเสื่อมของขันธ์ ๕ และด้วยการแทงตลอดอริยสัจ ๔ สัตว์เหล่านั้นเสื่อม คือ เสื่อมมากเหลือเกินจากสมบัติอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. ถามว่า ก็สัตว์ เหล่านั้นเป็นจำพวกอะไร. ตอบว่า เป็นความจริงดังนั้น สัตว์เหล่าใดประกอบ ด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม สัตว์เหล่านั้นเสื่อม คือ พร่อง คือ เสื่อมมากโดย ส่วนเดียว โดยความเป็นผู้แน่นอนต่อความเห็นผิด. ดังที่ท่านกล่าวว่า ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังนี้. แม้พร้อมเพรียงด้วยเครื่องกั้น คือ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 289

วิบากก็เสื่อม. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบในธรรมฝ่ายขาว ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ เว้นจากเครื่องกั้น ๓ อย่าง และเป็นผู้ประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณ ชื่อว่า ไม่เสื่อม. คำที่เหลือ พึงทราบโดยทำนองอันมีนัยดังที่กล่าวแล้ว.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า ปญฺาย เป็น ปัญจมีวิภัตติ. ความว่า เพราะความเสื่อมไปจากวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ. หรือบทว่า ปญฺาย นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ. ความว่า เพราะเสื่อมไปแห่งญาณ ดังที่ได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง การไม่ให้เกิดขึ้นแห่งญาณที่ควรให้เกิดนั่นแล เป็น ความเสื่อมในบทนี้. บทว่า นิวิฏฺํ นามรูปสฺมึ ได้แก่ ผู้ตั้งมั่นแล้ว คือ หยั่งลงแล้วในนามรูป คือ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิโดย นัยมีอาทิว่า เอตํ มม นั่นของเราดังนี้ เพราะความเสื่อมไปจากปัญญานั้น. บทว่า อิทํ สจฺจนฺติ มญฺติ ได้แก่ ย่อมสำคัญว่านามรูปนี้เท่านั้นเป็น ของจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะดังนี้. พึงเปลี่ยนวิภัตติเป็น สเทวเก โลเก ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงธรรมฝ่ายเศร้าหมองในคาถาที่ ๑ อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงประกาศอานุภาพแห่งปัญญาว่า กิเลสวัฏฏ์ ย่อม เป็นไปด้วยความมั่นหมายและยึดมั่นในนามรูป เพื่อมิให้เกิดอันใด การเข้าไป ตัดวัฏฏะเพื่อให้เกิดอันนั้น ดังนี้จึงตรัสคาถาว่า ปญฺา หิ เสฏฺา โลกสฺมึ ปัญญาแล ประเสริฐที่สุดในโลก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่สังขารโลก. ธรรมเช่นกับ ปัญญาในสังขารทั้งหลาย ในสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่มีดุจพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่ กุศลธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นอย่างยิ่ง และธรรมอันไม่มีโทษทั้งปวง เป็นอันสำเสร็จเพราะความสำเร็จแห่งปัญญา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ว่า สมฺมาทิฏฺิสฺส สมฺมาสงฺกปฺโป โหติ ความดำริชอบย่อมมีแก่ผู้เห็น ชอบดังนี้. ก็ปัญญาที่ประสงค์เอาในที่นี้ท่านยกย่องว่า ประเสริฐที่สุด. เพื่อ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 290

ทรงแสดงถึงความเป็นไปนั้น จึงตรัสว่า ยายํ นิพฺเพธคามินี ปัญญาอันให้ถึง ความชำแรกกิเลส ดังนี้เป็นต้น.

อธิบายความแห่งบทนั้นว่า ปัญญาใดอันให้ถึงความชำแรกกิเลสว่า ปัญญานี้ถึงความชำแรก คือ ทำลายกิเลสมีกองโลภะเป็นต้นอันยังไม่เคยชำแรก ยังไม่เคยทำลาย ย่อมไป ย่อมเป็นไป โยคาวจรย่อมรู้ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน และอรหัตอันเป็นที่สิ้นไป เป็นที่สุดแห่งชาติ กล่าวคือ ความเกิดครั้งแรก แห่งขันธ์ทั้งหลายในหมู่สัตว์ ในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติและสัตตาวาส นั้นๆ และกรรมภพอันมีชาตินั้นเป็นนิมิต โดยชอบไม่วิปริต ด้วยปัญญาใด ปัญญานี้เป็นมรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา ประเสริฐที่สุดในโลก ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยกย่องพระขีณาสพ ผู้ถึงพร้อม แล้วด้วยบุญญานุภาพตามที่กล่าวแล้ว จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า เตสํ เทวา มนุสฺสา จ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ องค์นั้น ดังนี้.

อธิบายความแห่งบทนั้นว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมกระหยิ่มรัก ใคร่ต่อพระขีณาสพเหล่านั้น ผู้ชื่อว่าเป็นสัมพุทธะด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เพราะสำเร็จโสฬสกิจ มีปัญญาเป็นต้นในอริยสัจ ๔ ชื่อว่าผู้มีสติ เพราะมีสติ ไพบูลย์ ชื่อว่าผู้มีปัญญาร่าเริง ด้วยถึงความไพบูลย์แห่งปัญญา เพราะถอน ความลุ่มหลงเสียได้โดยนัยดังกล่าวแล้ว หรือว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญาร่าเริง ความ โสมนัส ความยินดี ความบันเทิง ตั้งแต่เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้นใน ส่วนเบื้องต้น จนถึงทำนิพพานให้แจ้ง ชื่อว่าผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด เพราะเป็นผู้สิ้นภวสังโยชน์โดยประการทั้งปวง ย่อมปรารถนาเพื่อบรรลุความ เป็นอย่างนั้นบ้างว่า บุญญานุภาพน่าอัศจรรย์ ถ้ากระไร แม้เราก็ควรเป็นผู้ข้าม พ้นทุกข์ทั้งปวงเช่นนี้ได้บ้าง ดังนี้.

จบอรรถกถาปัญญาสูตรที่ ๔