พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อชาตสูตร ว่าด้วยการไม่เกิดอีกเป็นสุขในโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40066
อ่าน  536

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 297

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๖. อชาตสูตร

ว่าด้วยการไม่เกิดอีกเป็นสุขในโลก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 297

๖. อชาตสูตร

ว่าด้วยการไม่เกิดอีกเป็นสุขในโลก

[๒๒๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 298

ปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าธรรมชาติ อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว จักไม่ได้มี แล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุ ที่ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่ง แล้วมีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำ แล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ธรรมชาติอันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดขึ้น พร้อมแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ระคนแล้วด้วยชราและมรณะ เป็นรังแห่งโรค ผุผัง มีอาหารและตัณหา เป็นแดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีธรรมชาติ นั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น เป็น บทอันระงับ จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ความดับแห่งทุกขธรรม ทั้งหลาย คือ ความที่สังขารสงบระงับ เป็นสุข.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอชาตสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 299

อรรถกถาอชาตสูตร

ในอชาตสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ถามว่า เกิดอะไรขึ้น. ตอบว่า ได้ยินว่า วันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศโทษในสงสารโดยอเนกปริยาย แล้วทรงแสดงพระธรรมปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน ด้วยการชี้แจงเป็นต้น ภิกษุ ทั้งหลายได้เกิดปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสงสารนี้พร้อมด้วยเหตุด้วย การณะทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น แต่มิได้ตรัสถึงการณะไรๆ แห่งนิพพานอัน เข้าไปสงบสงสารนั้น ข้อนี้นั้นมิใช่เหตุ ย่อมได้โดยทางสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงกำจัดความสงสัยของภิกษุ เหล่านั้น เพื่อทำลายวาทะอัน ผิดของสมณพราหมณ์ในโลกนี้ ผู้มีทิฏฐิมากใน ภายนอก ผู้ปฏิบัติผิดดุจโลกายติกะเป็นต้นว่า จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ชื่อว่านิพพาน ย่อมไม่มีเพียงกล่าวว่า นิพพาน นิพพาน เท่านั้น เพราะมีสภาวะที่ตนยังไม่ได้ เพื่อแสดงความมีแห่งอมตมหานิพพานโดยปรมัตถ์ และเพื่อแสดงถึงความมี อานุภาพมีการออกไปแห่งอมตมหานิพพานเป็นต้น จึงได้ทรงภาษิตสูตรนี้ด้วย อุทานอันเป็นกำลังแห่งปีติ. เป็นความจริงพระสูตรนี้สงเคราะห์เข้าในอุทานด้วย

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ ได้แก่ มีอยู่ คือ ได้โดยปรมัตถ์. บทแม้ทั้งหมดว่า อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ เป็นไวพจน์ของกันและกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อชาตํ เพราะไม่เกิด คือ ไม่บังเกิดโดยความพร้อมเพรียง แห่งเหตุ กล่าวคือการประชุมแห่งเหตุปัจจัย ดุจเวทนาเป็นต้น. ชื่อว่า อภูตํ เพราะเว้นเหตุแล้ว จะไม่เป็น ไม่ปรากฏ ไม่เกิดเอง. ชื่อว่า อกตํ เพราะ อันปัจจัยไม่กระทำแล้วด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะไม่เกิดและเพราะไม่-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 300

เป็นอย่างนี้. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า อสงฺขตํ (อันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้ว) เพื่อ แสดงว่า สภาพอันเกิดแล้ว เป็นแล้ว ย่อมมีแก่สังขตธรรมมีนามรูปเป็นต้น หาได้มีแก่นิพพาน อันมีสภาพเป็นอสังขตะไม่. ชื่อว่า สงฺขตํ เพราะอันปัจจัย ปรุงแต่งแล้ว. อนึ่ง ชื่อว่า อสงฺขตํ เพราะอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้ว และ เว้นจากลักษณะอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว. ท่านกล่าวว่า อกตํ (อันปัจจัยไม่ทำ แล้ว) เพื่อแสดงว่า อันปัจจัยไรๆ ไม่ทำแล้วด้วยความสงสัยว่า เมื่อเสร็จสิ้น สภาพแห่งการเกิดด้วยเหตุไม่น้อยอย่างนี้ จะพึงมีทำด้วยเหตุหนึ่งเท่านั้นหรือ หนอ ท่านกล่าวว่า อภูตํ (ไม่เป็นแล้ว) เพื่อกลับความสงสัยเท่านั้นว่า ธรรมชาตินี้ แม้ไม่มีปัจจัยก็ยังเป็นแล้ว ปรากฏแล้วเองหรือหนอ. ท่านกล่าวว่า อชาตํ เพื่อแสดงว่า ความที่ธรรมชาตินี้อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ไม่กระทำ ไม่เป็น นี้ เพราะความเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิดทุกสิ่งทุกอย่าง พึงทราบความ ที่บทแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ มีเนื้อความอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่นิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่ง แล้วมีอยู่ เพื่อจะทรงแสดงเหตุในธรรมชาตินั้น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า โน เจตํ ภิกฺขเว ดังนี้.

พึงทราบความสังเขปแห่งบทนั้นดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผิว่า อสังขตธาตุมีสภาพไม่เกิด เป็นต้น จักไม่ได้มีคำ ไม่พึงมี การสลัดออก คือ การเข้าไปสงบวัฏฏะโดยไม่เหลือแห่งสังขาร กล่าวคือ ขันธบัญจกมีรูปเป็นต้น อันมีความเกิดเป็นสภาพ จะไม่พึงปรากฏ คือ ไม่พึงได้ ไม่พึงมีในโลกนี้. เพราะธรรมคืออริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เป็น ไปอยู่ ย่อมตัดขาดกิเลสทั้งหลายโดยไม่เหลือ ด้วยเหตุนั้น ความไม่เป็นไป ความไปปราศ การสลัดออกซึ่งวัฏทุกข์แม้ทั้งหมดย่อมปรากฏในนิพพานนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 301

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงถึงความที่นิพพานมีอยู่ โดยแย้งกัน บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงนิพพานนั้นโดยคล้อยตามกัน จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข ดังนี้. คำนั้นมีความดังได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง ในข้อนี้เพราะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งปวงทรงแสดงความความเป็นเอง โดยปรมัตถ์แห่งนิพพานธาตุด้วยสูตรแม้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ อันไม่เกิดแล้วมีอยู่ ด้วยบทพระสูตรไม่น้อยมีอาทิว่า ธรรมไม่เป็นปัจจัย ธรรมเป็นอสังขตะมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นไม่ใช่แผ่นดิน ฐานะ แม้นี้แลเห็นได้ยาก คือ การสงบสังสารทั้งปวง การสละกิเลสทั้งปวง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นอสังขตะ และปฏิปทาให้ถึงอสังขตะ แก่พวกเธอ ฉะนั้นจึงไม่ควรคัดค้าน ความสงสัยหรือความเคลือบแคลง มิได้ มีแก่ผู้รู้ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ประจักษ์ในข้อนั้น การวิจารณ์ข้อยุติโดยยกหัวข้อขึ้น อธิบายในเรื่องนี้ เพื่อบรรเทาความสงสัยของบุคคลผู้ไม่มีปัญญา. การสลัดออก อันมีสภาพไกลจากนั้นซึ่งเป็นปฏิปักษ์แห่งกามและรูปทั้งหลายอันยิ่ง เพราะ ความเป็นผู้กำหนดรู้ ย่อมปรากฏ ฉันใด อันการสลัดออกซึ่งมีสภาพไกลไป จากนั้น อันเป็นปฏิปักษ์แห่งสังขตธรรมทั้งปวงซึ่งมีปัจจัยนั้นเป็นสภาพ พึงมี ฉันนั้น. การสลัดออกนั้นเป็นอสังขตธาตุ.

พึงทราบบางอย่างยิ่งๆ ขึ้นไป วิปัสสนาญาณ หรืออนุโลมญาณมี สังขตธรรมเป็นอารมณ์ ไม่สามารถจะละกิเลสทั้งหลายได้ด้วยการละเด็ดขาด. อนึ่ง ญาณในปฐมฌานเป็นต้น อันมีสมมติสัจเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลาย ได้ด้วยการข่มไว้เท่านั้น ละไม่ได้ด้วยเด็ดขาด. อารมณ์อันมีสภาพผิดไปจาก ทั้งสองนั้น พึงมีได้แก่ญาณ อันมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ และมีสมมติสัจเป็น อารมณ์ เพราะไม่สามารถละกิเลสทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่อริยมรรคญาณอัน ทำการละกิเลสเหล่านั้นได้เด็ดขาด นั่นคืออสังขตธาตุ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 302

บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ นี้เป็นคำ สอนถึงความที่นิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ไม่ผิด จริงอยู่ คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ไม่ผิดเป็นปรมัตถ์เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ดังนี้. อนึ่ง นิพพานศัพท์เป็นปรมัตถวิสัยตามที่เป็นจริง ในวิสัย ไหนๆ เพราะมีความเป็นไปใกล้เคียง เหมือนสีหศัพท์ฉะนั้น. พึงทราบความ ที่อสังขตธาตุมีอยู่โดยปรมัตถ์แม้โดยยุติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า อสังขตธาตุมี อยู่โดยปรมัตถ์ เพราะมีสภาพพ้นจากความวิปริตนอกนั้นเหมือนคำว่าปฐวีธาตุ เวทนาเป็นต้น ดังนี้.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายต่อไปนี้ บทว่า ชาตํ ได้แก่ ชื่อ ชาตํ เพราะอรรถว่า เกิด อธิบายว่า ถึงลักษณะแห่งชาติ. บทว่า ภูตํ ชื่อว่า ภูตํ เพราะอรรถว่า เป็น อธิบายว่า ไม่เป็น แล้วเป็น. บทว่า สมุปฺปนฺนํ ได้แก่ เกิดขึ้นแล้วด้วยความมีประโยชน์และเกิดขึ้นแล้วด้วยธรรม อันมีประโยชน์. บทว่า กตํ ได้แก่ เกิดด้วยปัจจัยอันเป็นเหตุ. บทว่า สงฺขตํ ได้แก่ ชื่อว่า สงฺขตํ เพราะอันปัจจัยนั่นแลปรุงแต่งแล้ว. คำนั้นทั้งหมด เป็นชื่อของการเกิดแห่งปัจจัย ชื่อว่า อทฺธุวํ (ไม่ยั่งยืน) เพราะเว้นจากสิ่ง ที่มีสาระอันเป็นของเที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่า ชรามรณสงฺฆาฏํ (ระคนแล้วด้วย ชราและมรณะ) เพราะระคน คือ เกี่ยวข้องด้วยชราและมรณะโดยส่วนเดียว เท่านั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชรามรณสงฺฆฏํ บ้าง. อธิบายว่า ถูกชรา และมรณะเบียดเบียนคือบีบคั้น. ชื่อว่า โรคนิทฺธํ (เป็นรังแห่งโรค) เพราะ เป็นรังแห่งโรคหลายอย่างมีโรคคาเป็นต้น. ชื่อว่า ปภงฺคุณํ (ผุพัง) เพราะ มีปกติผุพังเป็นอย่างยิ่ง โดยการแสดง โดยความพยายาม. ชื่อว่า อาหารเนตฺ- ติปฺปภวํ (มีอาหารและตัณหาเป็นแดนเกิด) เพราะมีอาหาร ๔ อย่าง และ เนตติ คือ ตัณหา เป็นแดนเกิด คือ เป็นสมุฏฐาน. ปัจจัยแม้ทั้งหมดเป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 303

อาหาร. แต่ในบัดนี้พึงทราบว่า โทษทั้งหลายชื่อว่า ตัณหา เพราะตัณหาท่าน ใช้ศัพท์ว่า เนตติ. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า อาหารเนตฺติภวํ เพราะมีอาหาร และตัณหาเป็นแดนเกิด หรือชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่า นำไป ชื่อตัณหา เพราะอรรถว่า เป็นไป แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า อาหารเนตฺติปฺปภวํ.

บทว่า นาลํ ตทภินนฺทิตุํ ได้แก่ไม่ควรยินดี พอใจอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นไปยิ่งด้วยปัจจัยอย่างนี้ จากนั้นก็เป็นของไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ด้วย ตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ตสฺส นิสฺสรณํ ความว่า การสลัดออก คือ การออกไปแห่งสักกายะนั้นดังได้กล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ชาตํ ภูตํ เกิดแล้ว เป็นแล้ว ดังนี้ ชื่อว่าเป็นบท เพราะควรเข้าถึงด้วยการล่วงสังสารทุกข์ อันชื่อว่า ระงับ เพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น และสังขารทั้งปวงอันมีสภาพไม่สงบ เพราะความสงบแห่งกิเลสและสังขารนั่นแล เพราะมีความสรรเสริญ ชื่อว่า จะคาดคะเนเอาไม่ได้ เพราะไม่มีอารมณ์แห่งในการคาดคะเน ชื่อว่าเป็นของ ยั่งยืน เพราะอรรถว่าเที่ยง จากนั้นก็ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ชื่อว่า ไม่มีความโศก เพราะไม่มีเหตุให้โศก ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะธุลีมีราคะเป็นต้นปราศจาก แล้วชื่อว่า ความดับ เพราะเป็นเหตุดับแห่งทุกขธรรมมีชาติเป็นต้น ชื่อว่า เป็นความสงบแห่งสังขาร เพราะเป็นเหตุสงบแห่งสังขารทั้งปวงอันเป็นทุกขธรรม จากนั้นก็ชื่อว่าเป็นความสุข เพราะเป็นความสุขโดยส่วนเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องอมตมหานิพพานเท่านั้นด้วยบททั้งหมด.

พระผู้มีพระภาคะจ้าทรงยังนิพพานให้แจ่มแจ้งด้วยแย้งกันในคาถาที่ ๑ ด้วยการคล้อยตาม ด้วยคาถาที่ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอชาตสูตรที่ ๖