พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สัลลานสูตร ว่าด้วยการหลีกเร้นมีผล ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40068
อ่าน  398

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 310

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๘. สัลลานสูตร

ว่าด้วยการหลีกเร้นมีผล ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 310

๘. สัลลานสูตร

ว่าด้วยการหลีกเร้นมีผล ๒ อย่าง

[๒๒๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 311

ยินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายใน เนื่องๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌาน ไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญา เป็นเครื่องรักษาตน มีสติ มีฌาน ไม่มี ความเพ่งเล็งในตามทั้งหลาย ย่อมเห็นแจ้ง ธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม รอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบสัลลานสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 312

อรรถกถาสัลลานสูตร

ในสัลลานสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปฏิสลฺลานารามา ได้แก่ เป็นผู้หลีกเลี่ยงจากสัตว์และสังขาร เหล่านั้นๆ แล้วหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว ชื่อว่ามีกายวิเวก เพราะเสพเอกมรรค. ชื่อว่า ปฏิสลฺานารามา เพราะเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่ยินดีถือเป็นที่ชอบใจ. บาลีว่า ปฏิสลฺลานารามา ดังนี้บ้าง. ชื่อว่าปฏิสลฺลานารามา เพราะเป็น ผู้มีความหลีกเร้นดังกล่าวแล้วเป็นที่มายินดี เพราะควรมายินดี. บทว่า วิหรถ ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เป็นอย่างนี้อยู่เถิด. ชื่อว่าปฏิสลฺลานรตาเพราะ เป็นผู้ยินดีแล้ว คือ ยินดีเป็นนิจ เบิกบานแล้วในความหลีกเร้น.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ การประกอบความเพียรและความเป็นผู้มีการหลีก เร้น อันเป็นนิมิตแห่งการประกอบความเพียรนั้น ท่านแสดงไว้แล้ว. การ ประกอบความเพียรเว้นจากธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ สีลสังวร ความเป็นผู้มี ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ สติ และสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าธรรมแม้เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในที่นี้โดยเนื้อความเท่านั้น.

บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนฺยุตฺตา ได้แก่ประกอบจิตของตน ไว้ในสมถะ. บทว่า อชฺฌตฺตํ อตฺตโน นี้ ความอย่างเดียวกัน พยัญชนะ เท่านั้นต่างกัน. บทว่า สมถํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ โดยประกอบตามศัพท์. บทว่า อนิรากตชฺฌานา ได้แก่ มีฌานไม่นำออกไป ภายนอกหรือมีฌานไม่เสื่อม. บทนี้ว่า การนำออกหรือความเสื่อมชื่อว่านิรากตํ ดุจในคำมีอาทิว่า ถมฺภํ นิรํกตฺวา นิวาตวุตฺติ การประพฤติอ่อนน้อมเพราะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 313

ไม่ยอมรับความดื้อ. บทว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคตา ได้แก่ประกอบแล้ว ด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง.

อนุปัสสนา ๗ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา (การเห็นว่าไม่เที่ยง) ๑ ทุกขานุปัสสนา (ความเห็นว่าเป็นทุกข์) ๑ อนัตตานุปัสสนา (ความเห็นว่าไม่- เป็นตัวตน) ๑ นิพพิทานุปัสสนา (ความเห็นด้วยความเบื่อหน่าย) ๑ วิราคานุ- ปัสสนา (ความเห็นในการปราศจากราคะ) ๑ นิโรธานุปัสสนา (ความเห็นในการดับทุกข์) ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ความเห็นในการสละทิ้ง) ๑ วิปัสสนา เหล่านั้นพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า พฺรูเหตาโร สุญฺาคารานํ ได้แก่ เจริญสุญญาคาร. อนึ่ง ในบทว่า สุญฺาคารานํ นี้ ได้แก่ ความสงัดอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น ฐานะอันสมควรแก่การบำเพ็ญภาวนา. ภิกษุทั้งหลายเรียนกรรมฐานทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานแล้ว เข้าไปยังสุญญาคารตลอดคืนและวัน นั่งบำเพ็ญภาวนาพึงทราบว่าเป็นผู้พอกพูนสุญญาคาร. ส่วนผู้อยู่แม้ในปราสาท ชั้นเดียวเป็นต้นเพ่งอยู่ ก็พึงทราบว่าเป็นผู้พอกพูนสุญญาคารเหมือนกัน.

ความเป็นผู้มีกายหลีกเร้นอยู่อันใดที่ท่านตั้งไว้ในบทนี้ว่า ปฏิสลฺลานา รามา ภิกฺขเว วิหรถ ปฏิสลฺลานรตา ความเป็นผู้มีกายหลีกเร้นอยู่นั้น ย่อมมีแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีศีลหรือมีศีลไม่บริสุทธิ์ เพราะผู้มี ศีลบริสุทธิ์นั้นไม่มีการหมุนกลับจิตจากรูปารมณ์เป็นต้น. อรรถแห่งความ พยายามท่านกล่าวไว้ในบทว่า สีลวิสุทฺธิ ทสฺสิตา สีลวิสุทธิท่านแสดงไว้ แล้ว. ท่านกล่าวถึงสมาธิภาวนาด้วยบท ๒ บทว่า อชฺฌตฺตญฺเจโตสมถมนุยุตฺตา (การประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายใน) ๑ อนิรากตชฺฌานา (มีฌานไม่เสื่อม) ๑. ท่านจัดปัญญาภาวนาไว้ด้วยบทนี้ว่า วิปสฺสนาย สมนฺ- นาคตา ดังนี้. ท่านแสดงสิกขา ๓ เป็นโลกิยะ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 314

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงถึงผลอันมีแน่แท้ของผู้ ตั้งอยู่ในสิกขา ๓ เหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปฏิสลฺลานารามา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรูเหตานํ คือ เจริญ. บทว่า ทวินฺนํ ผลานํ ได้แก่ ผลที่ ๓ และที่ ๔. บทว่า ปาฏิกงฺขํ ได้แก่ พึงปรารถนา คือ มีแน่แท้. บทว่า อญฺา ได้แก่พระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหัตนั้นท่าน เรียกว่า อญฺา เพราะรู้ไม่เกินขอบเขตที่รู้ได้ด้วยมรรคญาณเบื้องต่ำและ เพราะไม่มีกิจที่จะต้องรู้เบื้องสูง เพราะพระอรหันต์เป็นผู้มีความรู้บริบูรณ์แล้ว. บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ได้แก่ เมื่อยังมีกิเลสเหลืออยู่ไม่สามารถจะละได้ หรือเมื่อมีญาณยังไม่แก่กล้า กิเลสที่ควรจะละได้ด้วยญาณอันแก่กล้านั้นก็ละ ไม่ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกิเลสนั้น จึงตรัสว่า สติ วา อุปาทิ- เสเส ดังนี้. และเมื่อยังมีกิเลสอยู่ การปรุงแต่งขันธ์ทั้งหลายก็ยังคงอยู่นั้นเอง.

ในสูตรนี้ท่านแสดงธรรม ๒ อย่าง คือ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ ด้วยประการฉะนี้. ในสูตร ๒ สูตรนี้อกจากนี้ก็เหมือนในสูตรนี้.

ในคาถาทั้งหลาย มีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า เย สนฺตจิตฺตา ได้แก่ พระโยคาวรจรเหล่าใด ชื่อว่า มีจิตสงบแล้ว เพราะกิเลสสงบด้วยตทังคปหาน. ปัญญาท่านเรียกว่า เนปกฺกํ (ปัญญาเครื่องรักษาตน). ชื่อว่า นิปกา เพราะ ประกอบด้วยปัญญานั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงญาณเครื่องบริหารกรรมฐานแก่ชนเหล่านั้น ด้วยบทว่า เนปกฺกํ นี้. บทว่า สติมนฺโต จ ฌายิโน ได้แก่ ชื่อว่า มีสติ เพราะสติอันเป็นเหตุไม่ละกรรมฐาน ในการยืนและการนั่ง เป็นต้น ชื่อว่ามีฌาน เพราะมีฌานมีลักษณะเข้าไปเพ่งอารมณ์. บทว่า สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน ความว่า ไม่มีความเพ่งเล็ง คือ ไม่มีความต้องการในวัตถุกามและกิเลสกามโดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายเปรียบ เหมือนโครงกระดูกในก่อนนั้นแล ด้วยพิจารณาถึงโทษ ครั้นละกามทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 315

เหล่านั้นแล้วกระทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นบาท แล้วกำหนด นามรูปและปัจจัยแห่งนามรูปนั้น ย่อมเห็นธรรมคือขันธ์ ๕ ไม่วิปริตโดยชอบ ตามลำดับมีการพิจารณากลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นต้น โดยความเป็นของไม่ เพียงเป็นต้น. บทว่า อปฺปมาทรตา ได้แก่ ยินดี คือยินดียิ่งในความไม่ ประมาท ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนามีประการดังกล่าวแล้ว คือไม่ให้คืน และวันล่วงไปด้วยความประมาทในธรรมนั้น. บทว่า สนฺตา แปลว่ามีอยู่. บาลี ว่า สตฺตา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ได้แก่บุคคล. บทว่า ปมาเท ภยทสฺสิโน ได้แก่เห็นภัยในความประมาทมีการเข้าถึงนรกเป็นต้น. บทว่า อภพฺพาปริหานาย ได้แก่ ชนเห็นปานนั้นเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบจากธรรม คือสมถะและวิปัสสนา หรือจากมรรคผล. ด้วยว่าชนทั้งหลายไม่เสื่อมจาก สมาบัติ คือ สมถวิปัสสนา และย่อมบรรลุมรรคผลที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า นิพพานสฺเสว สนฺติเก ได้แก่ ในที่ใกล้แห่งนิพพานและแห่งอนุปาทิเสสนิพพานนั้นเอง. ไม่นานนัก ชนเหล่านั้นจักบรรลุนิพพานนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสัลลานสูตรที่ ๘