พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สิกขาสูตร ว่าด้วยสิกขามีอานิสงส์ ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40069
อ่าน  353

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 315

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๙. สิกขาสูตร

ว่าด้วยสิกขามีอานิสงส์ ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 315

๙. สิกขาสูตร

ว่าด้วยสิกขามีอานิสงส์ ๒ อย่าง

[๒๒๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 316

ปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็นใหญ่อยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เธอทั้งหลายมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็น ใหญ่อยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์ มี ความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา มีปัญญายิ่ง มี ปกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติ ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดนั้นแล ว่า ผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี ในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ มีความเพียร มีปกติเห็นที่สุด คือ ความ สิ้นไปแห่งชาติ ครอบงำมารพร้อมด้วย เสนาได้แล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติ และ มรณะ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบสิกขาสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 317

อรรถกถาสิกขาสูตร

ในสิกขาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า สิกฺขา ในบทว่า. สิกฺขานิสํสา นี้ เพราะต้องศึกษา. สิกขานั้นมี ๓ อย่าง คือ อธิสีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ซึ่งว่า สิกฺขานิสํสา เพราะมีสิกขา ๓ อย่างนั้นเป็นอานิสงส์ มิใช่ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ บทว่า วิหรถ ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็น อานิสงส์อยู่เถิด. อธิบายว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เห็นอานิสงส์ในสิกขา ๓ อย่าง นั้น คือ เห็นอานิสงส์ที่ควรจะได้ด้วยสิกขา ๓ อย่างนั้นอยู่เถิด. บทว่า ปญฺญตรา ความว่า ชื่อว่า มีปัญญายิ่ง เพราะในสิกขา ๓ อย่างนั้นมี ปัญญา ได้แก่ อธิปัญญาสิกขา มีปัญญานั้นยิ่ง คือ เป็นประธานประเสริฐสุด. อธิบายว่า ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์อยู่ เป็นผู้มีปัญญายิ่ง ดังนี้. บทว่า วิมุตฺติ- สารา ได้แก่ ชื่อว่า มีวิมุตติเป็นสาระ เพราะมีวิมุตติอันได้แก่ อรหัตตผลเป็น สาระ. อธิบายว่า ถือเอาวิมุตติตามที่กล่าวแล้วนั่นแล โดยความเป็นสาระแล้ว ตั้งอยู่. จริงอยู่ ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์และมีปัญญายิ่ง ย่อมไม่ปรารถนาภพวิ- เศษ. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายหวังความเจริญ ย่อมปรารถนาวิมุตติเท่านั้นโดย ความเป็นสาระ. บทว่า สตาธิปเตยฺยา ได้แก่ชื่อว่า มีสติเป็นใหญ่ เพราะ มีสติเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า ทำให้เจริญ. อธิปติ นั่นแลทำให้เป็น อธิปเตยฺยํ อธิบายว่า มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ขวนขวายในการเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยหลักวิปัสสนามีกายานุปัสสนาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ กระทำการศึกษาสิกขา ๓ อย่าง ในการได้ขณะที่ได้ยากเห็นปานนี้ ให้เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 318

อานิสงส์อยู่เถิด และเมื่ออยู่อย่างนี้ จงเป็นผู้มีปัญญายิ่ง คือ ยิ่งด้วยปัญญา จงเป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอยู่เถิด ครั้นเป็นอย่างนี้แล้ว จงเป็นผู้มี วิมุติเป็นสาระ มีนิพพานเป็นสาระ ไม่มีอย่างอื่นเป็นสาระอยู่เถิด ข้อที่เธอ ทั้งหลายจงเป็นผู้มีสติเป็นใหญ่ จงเป็นผู้ขวนขวายในการเจริญสติปัฏฐาน หรือ จงเป็นผู้มีจิตมีสติรักษาในที่ทั้งปวงอยู่เถิด นั้นเป็นอุบายของความเป็นอย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายในสิกขา ๓ ด้วยประการ ฉะนี้ ทรงแสดงถึงอุบายที่จะให้สิกขา ๓ ที่ควรศึกษาถึงความบริบูรณ์โดย สังเขป บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศถึงความปฏิบัตินั้นไม่เป็นโมฆะด้วยเห็นผล วิเศษของผู้ปฏิบัติตามที่ได้สอนไว้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สิกฺขานิสํสานํ ดังนี้ ข้อนั้นมีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า ปริปุณฺณสิกฺขํ ได้แก่ พระอเสกขะผู้มีสิกขาบริสุทธิ์ด้วยการบรรลุผลอันเลิศ. วิมุตติทั้งหลายอันกำเริบ ท่านเรียกว่า หานธรรม (มีความเสื่อมเป็นธรรมดา) ในบทว่า อปหานธมิมํ นี้. ก็ปหานธรรม ได้แก่ มีความเสื่อมเป็นธรรม มีความกำเริบเป็นธรรมดา. ชื่อว่า อปหานธมฺโม เพราะไม่มีความเสื่อมเป็นธรรมดา. บาลีว่า อกุปฺปธมฺโม อปหานธมฺโม ดังนี้บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน. ชื่อว่า ขยนฺโต เพราะมีความสิ้นไปเป็นที่สุด. ความสิ้นไปแห่งชาติ ชื่อว่า ชาติขยนฺโต ได้แก่ นิพพานนั้นเอง. ชื่อว่า ชาติขยนฺตทสฺสี เพราะเห็นนิพพานนั้น. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะที่สุดแห่งการถึงฝั่งแห่งชรานี้ เป็นอานิสงส์ แห่งการทำสิกขาให้บริบูรณ์. บทว่า สทา คือ ตลอดกาลทั้งหมด. บทว่า ณานรตา ได้แก่ ยินดีแล้วในฌาน ๒ อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน (การ เข้าไปเพ่งลักษณะ) ๑ อารัมมณูปนิชฌาน (การเข้าไปเพ่งอารมณ์) ๑ คือ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 319

มีจิตตั้งมั่นจากฌานนั้น. บทว่า มารํ สเสนํ อภิภุยฺย ได้แก่ ครอบงำ มาร ๔ อย่างพร้อมด้วยเสนามาร อันได้แก่ เสนา คือ กิเลส และเสนา คือ ความพินาศ ไม่ให้เหลือ. จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายท่านเรียกว่า เสนา เพราะ เข้าถึงความเป็นสหายแม้ของเทวบุตตมารในการฆ่าคุณความดี อนึ่ง ความพินาศ มีโรคเป็นต้น ก็เป็นเสนาของมัจจุมาร. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า

กามา เต ปมา เสนา ทุติยา อรติ วุจฺจติ ตติยา ขุปฺปิปาสา เต จตุตฺถี ตณฺหา ปวุจฺจติ ปญฺจมี ถีนมิทฺธนฺเต ฉฏฺา ภิรู ปวุจฺจติ สตฺตมี วิจิกิจฺฉา เต มกฺโข ถมฺโภ จ อฏฺโม โลโภ สิโลโก สกฺกาโร มิจฺฉา ลทฺโธ จ โย ยโส โย จตฺตานํ สมุกฺกํโส ปเร จ อวชานติ เอสา นมุจิ เต เสนา กณฺหฺสสาภิปฺปหาริณี น นํ อสุโร ชินาติ เชตฺวา จ ลภเต สุขํ

กามทั้งหลายเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๑ ความริษยาเป็นเสนาที่ ๒ ความอยากความกระหายเป็นเสนาที่ ๓ ตัณหาเป็นเสนาที่ ๔ ถีนมิทธะเป็นเสนาที่ ๕ ความขลาดเป็นเสนาที่ ๖ ความสงสัย เป็นเสนาที่ ๗ ความลบหลู่ ความหัวดื้อ ความโลภ ความสรรเสริญ สักการะ ความ เห็นผิด ยศที่ได้รับแล้ว การยกตน และ การข่มผู้อื่นเป็นเสนาที่ ๘ สารทำลายนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 320

เป็นเสนาของท่าน มีปกติทำลายความ ชั่วร้าย อสูรชนะมารนั้นไม่ได้ ก็ครั้น ชนะได้แล้ว ย่อมได้ความสุข.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺา มรณํ สุเว น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา ควรทำความเพียร ในวันนี้ทีเดียว ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะ การผัดเพี้ยนความตายอันมีเสนาใหญ่นั้น ของเราทั้งหลายมีไม่ได้เลย ดังนี้.

บทว่า ภวถ ชาติมรณสฺส ปารคา ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็น ผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ คือ ถึงนิพพานเถิด.

จบอรรถกถาสิกขาสูตรที่ ๙