พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ชาคริยสูตร ว่าด้วยผู้ตื่นอยู่ มีผล ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40070
อ่าน  444

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 320

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๑๐. ชาคริยสูตร

ว่าด้วยผู้ตื่นอยู่ มีผล ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 320

๑๐. ชาคริยสูตร

ว่าด้วยผู้ตื่นอยู่ มีผล ๒ อย่าง

[๒๒๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งใน กุศลธรรมทั้งหลาย สมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ เถิด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 321

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลายสมควรแก่กาล ในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เธอทั้งหลายคืนอยู่ จงฟังคำนี้ เธอ เหล่าใดผู้หลับแล้ว เธอเหล่านั้นจงตื่น ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้ใด ตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใส พิจารณาธรรมอยู่ โดยชอบโดยกาลอันควร ผู้นั้นมีสมาธิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว พึงกำจัดความ มืดเสียได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบ ธรรมเครื่องเป็นผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปกติได้ ฌาน ตัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วย ชาติและชราได้แล้ว พึงถูกต้องญาณอัน เป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพ นี้แล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบชาคริยสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 322

อรรถกถาชาคริยสูตร

ในชาคริยสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชาคโร ได้แก่ เป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น คือ ปราศจากความหลับ ประกอบความเพียร ขวนขวายในการมนสิการกรรมฐาน ตลอดคืนและวัน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้ ชำระจิตจากอาวรณียธรรม (ธรรมเครื่องกัน) ด้วยการนั่งจงกรมตลอดวัน ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการนั่งจงกรมตลอดปฐมยามของราตรี สำเร็จ สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามของราตรี มีสติสัมปชัญญะด้วยการ ทับเท้าด้วยเท้า มนสิการถึงอุฏฐานสัญญา (ความสำคัญในการลุกขึ้น) แล้ว ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการลุกขึ้นนั่งจงกรมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดราตรีต้น และราตรีปลาย.

ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีอรรถรวบรวม). เมื่อพูดตั้งร้อย เป็นต้น ย่อมประมวลด้วย ศัพท์. บทว่า อสฺส แปลว่า พึงเป็น. อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า ชาคโร จ ภิกฺขุ วิหเรยฺย ภิกษุพึงมีความเพียรอยู่. บทว่า สโต ได้แก่ มีสติโดยไม่อยู่ปราศจากสติ ด้วยไม่ละกรรมฐานในที่ ทั้งปวง และโดยกาลทั้งปวง. บทว่า สนฺปชาโน ได้แก่ มีสัมปชัญญะด้วย อำนาจแห่งสัมปชัญญะ ๔ อย่าง อันเป็นไปในฐานะของสัตว์. บทว่า สมาหิโต ได้แก่มีจิตตั้งมั่น คือมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. บทว่า ปมุทิโต ได้แก่ เบิกบาน คือมากด้วยความปราโมทย์ เพราะเห็น อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ และเพราะเห็นการปรารภความเพียรไม่เป็นโมฆะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 323

ด้วยการบรรลุความวิเศษยิ่งๆ ขึ้นไป. บทว่า วิปฺปสนฺโน ได้แก่ ผ่องใส ด้วยดี เพราะเป็นผู้มากด้วยศรัทธา ในสิกขาอันเป็นข้อปฏิบัติจากความเบิกบาน นั้น และในพระศาสนาผู้ทรงแสดงข้อปฏิบัติ. พึงเชื่อมความว่า สพฺพตฺถ อสฺส พึงมีในที่ทั้งปวง. หรือเชื่อม สพฺพตฺถ วิหเรยฺย พึงอยู่ในที่ทั้งปวง.

บทว่า ตตฺถ กาลวิปสฺสี จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ เห็นแจ้ง ในกาลนั้น หรือเห็นแจ้งสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้น. ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า ภิกษุเริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วพิจารณา ด้วยการ พิจารณาเป็นกลุ่มก้อนเป็นต้น เว้นอสัปปายธรรม ๗ มีอาวาสเป็นต้น แล้วเสพ สัปปายธรรม ไม่ถึงความสิ้นสุดลงในระหว่าง มีตนส่งไปแล้ว กำหนดอาการ ที่จิตตั้งมั่น ประพฤติอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ในลำดับโดยเคารพ พึงเป็นผู้ เห็นแจ้ง สมควรแก่กาลในกาลนั้นๆ หรือในการประกอบกรรมฐานนั้นอย่างนี้ คือ ในกาลใดวิปัสสนาจิตหดหู่ ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้ง ในโพชฌงค์มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์ ก็ในกาลใดจิตฟุ้งซ่าน ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้งในธรรมคือโพชฌงค์ อันหาโทษมิได้เป็นกุศล ได้แก่ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้. แต่ สติสัมโพชฌงค์พึงปรารถนาในทุกๆ กาลทีเดียว สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพติถกํ วทามิ ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย เรากล่าวว่าสติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง ดังนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงความเพียรเป็นเครื่องตื่น ด้วยเทศนา อันเป็นบุคลาธิษฐาน แล้วจึงทรงประกาศธรรมอันมีการประกอบความเป็น เครื่องตื่นสมบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวาระแห่งการพิจารณา พร้อมด้วย อุบการกธรรม (ธรรมเกื้อหนุนกัน) ของภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา โดยสังเขปแล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 324

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความไม่ดูแคลน ต่อการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ชาครสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ดังนี้.

การยึดถือสติสัมปชัญญะในการประกอบความเพียรนั้น นำมาซึ่งความ บันเทิงและความเลื่อมใส อันจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. การถือเอาห้องแห่ง วิปัสสนาอันถึงความแก่กล้าแล้ว ชื่อว่า วิปัสสนาสมควรแก่กาลในการประกอบ กรรมฐานนั้น. เมื่อวิปัสสนาญาณกล้าแข็งดำเนินไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลส แล้วนำไปอยู่ ความปราโมทย์ยิ่งและความเลื่อมใสของพระโยคี ย่อมมีในที่ ใกล้แห่งการบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยความปราโมทย์และความเลื่อมใสนั้น. สมดัง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ ลภติ ปีติปาโมชฺชํ อมตํ ตํ วิชานตํ ปามุชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พทฺธสาสเน อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ

เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นความเกิด และความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย เมื่อนั้น ผู้รู้แจ้งอมตธรรมนั้น ย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พึงบรรลุทาง อันเป็นความสงบ อันเข้าไปสงบสังขาร นำความสุขมาให้ ดังนี้.

บทว่า ชาครนฺตา สุณาเถตํ ความว่า เธอทั้งหลายตื่นอยู่ เพื่อตื่น จากความหลับคือความประมาท ความหลับคืออวิชชาโดยส่วนเดียวเท่านั้น คือประกอบความเพียรด้วยการขวนขวายธรรม มีสติสัมปชัญญะเป็นต้น จงฟัง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 325

คำของเรานี้. บทว่า เย สุตฺตา เต ปพุชฺฌถ ความว่า เธอเหล่าใดเป็น ผู้หลับ คือ เข้าถึงความหลับ ด้วยการนอนหลับตามที่กล่าวแล้ว เธอเหล่านั้น จงยึดอินทรีย์ พละและโพชฌงค์ ด้วยการประกอบความเพียรแล ขวนขวาย วิปัสสนา จงตื่นจากหลับนั้นด้วยการปฏิบัติความไม่ประมาทเถิด. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชาครนฺตา คือ เป็นนิมิตแห่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น บทว่า เอตํ ในบทว่า สุณาเถตํ นี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว. ถามว่า คำนั้นคืออะไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เย สุตฺตา เต ปพุชฺฌถ เธอเหล่าใดหลับ เธอเหล่านั้นจงตื่น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย สุตฺตา ได้แก่ เธอเหล่าใดหลับแล้ว ด้วยการนอนหลับคือกิเลส เธอเหล่านั้นจงตื่น ด้วยการตรัสรู้อริยมรรค. บทว่า สุตฺตา ชาคาริยํ เสยฺโย นี้ เป็นคำกล่าวถึงเหตุแห่งการตรัสรู้. เพราะความ เป็นผู้ตื่น คือการตื่นมีประการดังกล่าวแล้ว จากการหลับดังกล่าวแล้ว เป็น คุณประเสริฐ คือน่าสรรเสริญ นำประโยชน์สุขมาให้แก่กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ ฉะนั้น เธอทั้งหลายจงตื่น. บทว่า นตฺถิ ชาครโต ภยํ นี้แสดงถึงอานิสงส์ ในความเป็นผู้ตื่นนั้น. ด้วยว่าผู้ใดเป็นผู้ตื่น เพราะประกอบด้วยธรรมเป็น เครื่องตื่น มีศรัทธาเป็นต้น ย่อมตื่นคือไม่เข้าถึงการหลับคือความประมาท วัฏภัยแม้ทั้งหมด คืออัตตานุวาทภัย ปรานุวาทภัย ทัณฑภัย ทุคติภัย อันมี ชาติเป็นต้นเป็นนิมิต ย่อมไม่มีแก่ผู้นั้น.

บทว่า กาเลน ได้แก่ โดยกาลแห่งอาวาสสัปปายะอันตนได้แล้ว. บทว่า โส เป็นเพียงนิบาต. บทว่า สมฺมา ธมฺมํ ปริวิมํสมโน ความว่า พิจารณาโดยรอบ คือเห็นแจ้งโดยอาการทั้งปวง โดยประการที่ความเบื่อหน่าย และความคลายกำหนัดเป็นต้นย่อมเกิด ด้วยการรู้ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ อัน เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยชอบ. บทว่า เอโกทิภูโต ได้แก่ ชื่อว่า เอโกทิ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 326

สมาธิ เพราะมีสมาธิอันเป็นธรรมเอก คือประเสริฐที่สุดผุดขึ้น. ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะมีสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. พึงเห็นคำอันเป็นบท แห่งภูตศัพท์ ในบทนี้ ดุจบทแห่งศัพท์ว่า อคฺคิอาหิตาทิ ไฟถูกจุดแล้ว. อีก อย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะเป็นธรรมเอกผุดขึ้นคือถึงแล้ว. ใน บทว่า เอโกทิ นี้ ท่านประสงค์เอาสมาธิอันเลิศ. ก็ในบทว่า สมาหิโต นี้ ได้แก่ วิปัสสนาสมาธิ พร้อมด้วยสมาธิอันมีฌานเป็นบาท. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กาเลน คือโดยกาลแทงตลอดมรรค. บทว่า สมฺมา ธมฺมํ ปริวีมํสมาโน ได้แก่ พิจารณาจตุสัจจธรรม ด้วยปริญญาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้) เป็นต้นโดยชอบ คือ ตรัสรู้ด้วยเอกาภิสมัย (ตรัสรู้ธรรมเป็นเอก). บทว่า เอโกทิภูโต ได้แก่ ชื่อว่า เอโกทิ เพราะเป็นธรรมเอก คือประเสริฐ ไม่มีธรรมร่วมผุดขึ้น. ทำกิจ ๔ ให้สำเร็จ คือตั้งไว้โดยชอบ. ธรรมนั้นเป็น ธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว. บททั้งปวงเช่นกับบทก่อนนั่นเอง. บทว่า วิหเน ตมํ โส ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นอย่างนี้นั้นพึงกำจัด คือพึงตัดความมืด คือ อวิชชา ด้วยอรหัตตมรรคโดยไม่เหลือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่การปฏิบัติไม่เป็นโมฆะ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงชี้ชวนให้มั่นคงในข้อนั้น จึงตรัสคาถา สุดท้ายว่า ตสฺมา หเว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการเจริญสมถะและ วิปัสสนาของผู้ตื่นอยู่ ด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติเป็นต้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ อริยมรรคย่อมปรากฏโดยลำดับ จากนั้นวัฏภัยทั้งหมดย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น. บทว่า หเว คือ มั่นคงโดยส่วนเดียว. บทว่า ภเชถ แปลว่า พึงคบ. อธิบายว่า ภิกษุคบธรรมเป็นเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้ และประกอบด้วยคุณ มี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 327

ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นต้นทำลายสังโยชน์ พึงถูกต้อง คือพึงบรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ได้แก่ญาณอันเป็นผลเลิศ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล.

จบอรถกถาชาคริยสูตรที่ ๑๐