พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. อปายสูตร ว่าด้วยชน ๒ พวก เกิดในอบาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40071
อ่าน  490

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 327

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๑๑. อปายสูตร

ว่าด้วยชน ๒ พวก เกิดในอบาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 327

๑๑. อปายสูตร

ว่าด้วยชน ๒ พวก เกิดในอบาย

[๒๒๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชน ๒ พวกนี้จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก เพราะไม่ละความประพฤติชั่วช้า ๒ พวกเป็นไฉน คือ ผู้ไม่ใช่พรหมจารีปฏิ- ญาณว่าเป็นพรหมจารี ๑ ผู้ตามกำจัดชนผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ด้วยอพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชน ๒ พวกนี้แล จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก เพราะไม่ละความประพฤติชั่วช้านี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้กล่าวคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก ก็หรือชนใดทำบาปกรรมแล้วกล่าวว่า ไม่- ได้ทำ แม้คนทั้ง ๒ นั้น ย่อมเข้าถึงนรก เหมือนกัน ชนทั้ง ๒ พวกนั้น เป็นมนุษย์ ผู้มีกรรมอันเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 328

ผู้เสมอกันในโลกหน้า คนเป็นอันมากอัน ผ้ากาสาวะพันคอ มีธรรมอันลามกไม่สำรวม คนลามกเหล่านั้นย่อมเข่าถึงนรก เพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย ก้อนเหล็ก ร้อนเปรียบด้วยเปลวไฟ อันผู้ทุศีลบริโภค แล้ว ยังประเสริฐกว่า ผู้ทุศีล ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะ ประเสริฐอะไร.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบอปายสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาอปายสูตร

ในอปายสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปายิกา ชื่อว่า อบาย เพราะจักเกิดในอบาย. ชื่อว่า นรก เพราะจักเกิดในนรก. บทว่า อิทมฺปหาย ได้แก่ เพราะไม่ละ ความประพฤติชั่วช้า ๒ อย่างอันจะกล่าวถึงในบัดนี้. อธิบายว่า เพราะไม่สละ วาจา จิต และทิฏฐิ อันเป็นไปแล้วด้วยการปฏิบัติมาอย่างนั้น ยกย่องมา อย่างนั้น. บทว่า อพฺรหฺมจารี ความว่า ชื่อว่า พรหมจารี เพราะ ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ธรรมอันประเสริฐที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พรหมจารี เพราะมีความประพฤติพรหมจรรย์อันประเสริฐที่สุด ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 329

อพฺรหฺมจารี เพราะไม่ใช่พรหมจารี. อธิบายว่า คนทุศีลเป็นพรหมจารีปลอม. บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ได้แก่ มีปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหมจารี. บทว่า ปริปุณฺณํ ได้แก่ ไม่พิกล เพราะไม่มีอวัยวะหักเป็นต้น. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ บริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส. บทว่า อมูลเกน ได้แก่ ด้วยอพรหมจรรย์ คือ ด้วยความประพฤติไม่ประเสริฐ เว้นจากข้อมูลมีเหตุเป็นต้น คือ เว้น จากการท้วงอันไม่มีมูลเหล่านั้น คือ ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้รังเกียจแล้ว. บทว่า อนุทฺธํเสติ ได้แก่ ทั้งที่รู้อยู่ว่า ผู้นี้บริสุทธิ์ ยังกำจัด รุกราน ท้วง หรือด่า.

บทว่า อภูตวาที ได้แก่ ยังไม่เห็นโทษของผู้อื่นเลย กล่าวมุสาวาท โดยไม่เป็นจริง ไร้ประโยชน์ แล้วตู่ผู้อื่น. บทว่า กตฺวา ได้แก่ ก็หรือผู้ใด กระทำกรรมลามกแล้วยังกล่าวว่า เรามิได้ทำกรรมนี้. บทว่า อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ได้แก่ ชนแม้ ๒ พวกเหล่านั้น ครั้นไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้แล้ว เป็นผู้เสมอกันโดยคติ เพราะเข้าถึงนรก. ในนรกนั้นกำหนดคติของชน ๒ พวก ไว้ แต่ไม่ได้กำหนดอายุของพวกเขาไว้. เพราะคนทำบาปมาก ย่อมไหม้ใน นรกนาน คนทำบาปน้อย ย่อมไหม้ในนรกตลอดกาลเล็กน้อย ก็เพราะกรรม ของชน ๒ พวกเหล่านั้น ลามกเหมือนกัน ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ ชนทั้ง ๒ เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทรามละโลก นี้ไปแล้ว ดังนี้. ควรเชื่อมบทว่า ปรตฺถ ด้วยบทว่า ปรโต เปจฺจ ดังนี้. อธิบายว่า ผู้มีกรรมเลวทรามละไปแล้ว คือ ไปจากโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ เสมอกันในโลกหน้า ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงวิบากแห่งมุสาวาทอันเป็นไป แล้ว ด้วยการกล่าวตู่คำที่ไม่เป็นจริง และปกปิดโทษที่เป็นจริง บัดนี้ เพื่อให้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 330

เกิดสังเวชด้วยการเห็นวิบากแห่งกรรมชั่ว ของภิกษุชั่วมากซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้น จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ด้วยประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กาสาวกณฺา ได้แก่ มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ เพราะมีรสฝาดและสีเหลือง. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ธรรมลามก. บทว่า อสฺญฺตา ได้แก่ เว้นจากการสำรวมทางกายเป็นต้น. บทว่า ปาปา ได้แก่ บุคคลลามกเห็นปานนั้น เกิดด้วยกรรมลามก ย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ตามนัยที่กล่าว แล้วในลักขณสังยุตมีอาทิว่า แม้ร่างกายของเขาก็ร้อนโพลง มีไฟลุก แม้สังฆาฏิ ก็ร้อน ดังนี้.

ในคาถาที่ ๓ พึงทราบความย่อต่อไปนี้. บทว่า ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ได้แก่ คนทุศีล คือ ไม่มีศีล ไม่สำรวมด้วยกายเป็นต้น ปฏิญาณว่าเราเป็น สมณะ รับก้อนข้าวที่ชาวแว่นแคว้นให้ด้วยศรัทธา บริโภคก้อนเหล็กร้อนมี แสงไฟอันผู้ทุศีลบริโภคยังประเสริฐกว่า คือ ดีกว่าคนทุศีลนั้น. ถามว่า เพราะ เหตุไร. ตอบว่า เพราะการบริโภคก้อนเหล็กเป็นเหตุ เขาก็พึงไหม้ในอัตภาพ เดียวเท่านั้น. ส่วนคนทุศีลบริโภคของที่เขาให้ด้วยศรัทธา เขาพึงไปเกิดในนรก หลายร้อยชาติ.

จบอรรถกถาอปายสูตรที่ ๑๑