พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. ทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิพัวพันพาไป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40072
อ่าน  387

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 330

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๑๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิพัวพันพาไป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 330

๑๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิพัวพันพาไป

[๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 331

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฏฐิ ๒ อย่าง พัวพันแล้ว บางพวกย่อมติดอยู่ บางพวกย่อมแล่นเลยไป ส่วนพวกที่มีจักษุ ย่อมเห็น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วใน ภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิต ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่ ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อม ติดอยู่อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไร เล่า ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อใด คนนี้เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก นี้ละเอียด นี้ประณีต นี้ถ่องแท้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวก ย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็น (ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว) จริง ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 332

อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่ เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปใน นิพพานตามความเป็นจริงเพราะภวตัณหา หมดสิ้นไป ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้ ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพ น้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิด แห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว.

เนื้อควานแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๑๒

จบวรรคที่ ๒

อรรถกถาทิฏฐิสูตร

ในทิฏฐิสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทฺวีหิ ทิฏฺิคเตหิ นี้ ทิฏฺิคต ก็คือทิฏฐินั่นแหละ ดุจ ในบทมีอาทิว่า คูธคตํ มุตฺตคตํ (คูถ มูตร) ดังนี้. ทิฏฐิทั้งหลายอันมี ฐานะเป็นทิฏฐิ เพราะเป็นเพียงถึงทิฏฐิโดยประการที่ว่างจากอาการถือเอา ด้วย ทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า ปริยุฏฺิตา ได้แก่ ครอบงำหรือพัวพัน. ศัพท์ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 333

ปริยุฏฐาน มีอรรถว่า พัวพันดุจในบทมีอาทิว่า โจรา มคฺเค ปริยุฏฺึสุ พวกโจรดักอยู่ที่หนทาง ดังนี้. บทว่า เทวา ได้แก่ อุบัติเทพ. ก็อุบัติเทพ เหล่านั้นท่านเรียกว่า เทวา เพราะเล่น คือ เล่นด้วยกามคุณอันยิ่งและสูงสุด และด้วยฌานเป็นต้น หรือถึง คือ บรรลุประโยชน์ที่ตนปรารถนาด้วยอานุภาพ แห่งฤทธิ์. ชื่อว่า มนุสฺสา เพราะเป็นผู้มีใจสูง. อนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวด้วย การชี้แจงเป็นเยี่ยมเหมือนอย่างที่ว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาแห่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า โอลิยนฺติ เอเก ความว่า เทวดาและ มนุษย์บางพวกย่อมพัวพัน ย่อมติด ย่อมถึงการซบ ย่อมไม่ออกไปจากนั้น ด้วยควานเห็นว่าเที่ยง อันเป็นการติดและการยึดมั่นในภพทั้งหลายว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ ตน และโลกเที่ยง ดังนี้. บทว่า อติธาวนฺติ ความว่า ไม่ถือความสัมพันธ์โดยความเป็นเหตุผลของสภาวธรรม แม้มีสภาพ ทำลายไปโดยปรมัตถ์ ย่อมแล่นไปในภพนั้นๆ เอง ด้วยการถือแม้นัยอันเป็น ความต่างกัน เพราะฉะนั้น ย่อมแล่นไป คือ ก้าวล่วงความเป็นธรรมในการ ทักท้วง การปฏิบัติเพื่อดับภพในความสูญว่า อุจฺฉิชฺชติ อตฺตา จ โลโก จ นโหติ ปรมฺมรณา ตนและโลกย่อมขาดสูญ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่มี. ศัพท์ในบทว่า จกฺขุมนฺโต จ ปสฺสติ ลงในอรรถแย้งกัน. ก็เทวดาและ มนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุด้วยความแก่กล้าของญาณ แห่งการถึงพร้อมด้วยการ ประกอบในเบื้องตน ไม่อาศัยที่สุดทั้งสอง คือ ความเที่ยง และความขาดสูญ ด้วยปัญญาจักษุนั้นแล กระทำให้ประจักษ์ด้วยการเห็นข้อปฏิบัติสายกลาง. จริงอยู่ เทวดา เละมนุษย์เหล่านั้นย่อมเห็นโดยไม่คิดว่า ธรรมชาตินี้อาศัยเพียงนามรูป เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เที่ยงก็ไม่ใช่ แม้ขาดสูญก็ไม่ใช่ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้ เพื่อ ทรงแสดงถึงความติดเป็นต้น โดยบุคลาธิษฐาน ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 334

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภวา ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรปภพ. ยังมี ภพอื่นอีก ๓ คือ สัญญีภพ (ภพของผู้มีสัญญา) อสัญญีภพ (ภพของผู้ไม่มีสัญญา) เนวสัญญีนาสัญญีภพ (ภพของผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่). ยังมีภพอื่นอีก ๓ คือ เอกโวการภพ (ภพของผู้มีขันธ์เดียว) จตุโวการภพ (ภพของผู้มีขันธ์ ๔) ปัญจโวการภพ (ภพของผู้มีขันธ์ ๕). ชื่อว่า ภวารามา เพราะยินดีพอใจด้วยภพเหล่านั้น ชื่อว่า ภวรตา เพราะยินดี คือยินดียิ่งใน ภพทั้งหลาย. ชื่อว่า ภวสมุทฺทิตา เพราะเพลิดเพลินด้วยดีในภพทั้งหลาย. บทว่า ภวนิโรธาย ได้แก่เพื่อดับภพเหล่านั้นให้สิ้นสุด คือ เพื่อไม่ให้เกิดต่อ ไป. บทว่า ธมฺเม เทสิยมาเน ได้แก่ เมื่อนิยยานิกธรรม อันพระตถาคต ทรงประกาศแล้ว คือ ทรงบอกอยู่. บทว่า น ปกฺขนฺทติ ได้แก่ จิตไม่เข้าไป คือ ไม่หยั่งลง เพราะมีความหดหู่เป็นธรรมดาเพราะยึดมั่น ในความเป็นของเที่ยง. บทว่า น ปสีทติ ได้แก่ ไม่ถึงความเลื่อมใส คือ ไม่เชื่อธรรมนั้น. บทว่า น สนฺติฏฺติ ได้แก่จิตไม่ดำรงอยู่ คือ ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในเทศนานั้น. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมคิดอยู่ในภพด้วยความ ยึดมั่นในความเป็นของเที่ยง. บทว่า อฏฺฏิยมานา ความว่า เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายเห็นชราโรคและมรณะเป็นต้น และการฆ่า การจองจำ การตัดเป็นต้น แล้วถูกความทุกข์เหล่านั้นบีบคั้นด้วยภพ อันมีทุกข์เหล่านั้นพร้อม เป็นผู้ยึด มั่นในทุกข์. บทว่า หรายมานา ได้แก่ ระอา. บทว่า ชิคุจฺฉมานา ได้แก่ เผาอยู่โดยเป็นของปฏิกูล. บทว่า วภวํ ได้แก่ความขาดสูญ บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ย่อมเพลิดเพลินเพราะความพะวง ด้วยความยินดีตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ยโต โข กิร โภ เป็นต้น แสดงถึงอาการยินดีของเทวดาและมนุษย์ เหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 335

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต แปลว่า เมื่อใด. บทว่า โภ เป็นอาลปนะ. บทว่า อยํ อตฺตา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสิ่งที่พระองค์กำหนดด้วย ความเป็นตัวการเป็นต้น. บทว่า อุจฺฉิชฺชติ แปลว่าขาดสูญ บทว่า วินฺสสติ ได้แก่ไม่ปรากฏ ถึงความพินาศ คือ ความไม่มี. บทว่า น โหติ ปรมฺมรณา ได้แก่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก. บทว่า เอตํ สนฺตํ ได้แก่ความขาดสูญเป็นต้น ของตนนี้ ชื่อว่า สงบ เพราะสงบจากอารมณ์ทั้งปวงและเพราะสงบจากความ เดือดร้อนทั้งปวง ชื่อว่า ประณีต เพราะความเป็นของละเอียด ชื่อว่า ถ่องแท้ เพราะไม่ผิดจากความจริง. ในบทเหล่านั้น เทวดาและมนุษย์กล่าวบททั้งสองนี้ ว่า สนฺตํ ปณีตํ ด้วยความยินดียิ่งในตัณหา. กล่าวบทว่า ยาถาวํ ด้วยความ ยินดียิ่งในทิฏฐิ. กล่าวบทว่า เอวํ ด้วยยึดมั่นในความขาดสูญตามที่กล่าวแล้ว อย่างนี้. บทว่า ภูตํ ได้แก่ขันธบัญจก. ด้วยว่า ขันธบัญจักนั้นท่านกล่าวว่า ภูตํ เพราะเกิดด้วยปัจจัยและเพราะมีอยู่โดยปรมัตถ์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภูตมิทํ ภิกฺขเว สมนุปสฺสถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงพิจารณาขันธบัญจกนี้. ภิกษุย่อมเห็นโดยความเป็นจริง โดยไม่ วิปริต โดยมีลักษณะและโดยสามัญลักษณะ. เพราะขันธบัญจกนี้เป็นเพียงนามรูป อธิบายว่า ภิกษุย่อมเห็นขันธบัญจกนี้เป็นเพียงนามรูป ด้วยการเห็นนามรูป พร้อมด้วยปัจจัยอย่างนี้ ในนามรูปนั้น ธรรมทั้งหลายมีปฐวีธาตุเป็นต้น เหล่านี้ เป็นรูป ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้เป็นนาม ขันธบัญจกเหล่านี้เป็น ลักษณะเป็นต้นของนามรูปเหล่านั้น อวิชชาเป็นต้นเหล่านั้นเป็นปัจจัยของนามรูปเหล่านั้น และด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ทั้งหมด ไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วเสื่อม เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายจึงไม่เที่ยง เพราะไม่ เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา ดังนี้. ด้วยเหตุเพียง เท่านี้เป็นอันทรงแสดงวิปัสสนาภูมิ อันมีตรุณวิปัสสนา (วิปัสนาอย่างอ่อน) เป็นที่สุด.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 336

บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่ายธรรมชาติอันเป็นไป ในภูมิ ๓ อันได้แก่ ขันธปัญจก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพลววิปัสสนา (วิปัสสนาแรงกล้า) ด้วยบทนี้. บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อวิราคะคือเพื่อ คลายกำหนัด ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงมรรค บทว่า นิโรธาย ได้แก่เพื่อดับแม้ด้วยบทนี้พระองค์ก็ทรงแสดงถึงมรรคเหมือนกัน อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิโรธาย พระองค์ทรงแสดงถึงอนุปาทิเสสนิพพาน พร้อมด้วย ปฏิปัสสัทธินิโรธ (การดับด้วยความสงบ). บทว่า เอวํ จกฺขุมนฺโต ปสฺสนฺติ ได้แก่ ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นจตุสัจจธรรมด้วยจักษุ คือมรรคปัญญาโดยส่วนอันมีในเบื้องต้นอย่างนี้.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า โย ภูตํ ภูตโต ทิสฺวา ความว่า พระอริยสาวกใดเห็นขันธปัญจกที่เกิดแล้ว โดยความเป็น จริง คือ โดยสภาพที่ไม่วิปริต ด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา ด้วยบทนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงปริญญาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยกำหนดรู้). บทว่า ภูตสฺส จ อติกฺกมํ ได้แก่ ภาวนาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยภาวนา). จริงอยู่ อริยมรรคท่านกล่าวว่า ก้าวล่วงขันธปัญจกที่เกิดแล้ว เพราะเป็นเหตุ ก้าวล่วงขันธปัญจกที่เกิดแล้ว. บทว่า ยถาภูเต ได้แก่ น้อมไปในนิพพาน อันมีสภาพเป็นสัจจธรรมไม่วิปริต. ด้วยบทนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงสัจฉิกิริยาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง). บทว่า ภวตณฺหาปริกฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นไป คือ เพราะตัดขาดภวตัณหา ด้วยประการทั้งปวง. ด้วยบทนี้ พระองค์ทรงแสดงถึง สมุทยปหาน (การละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์). ก็บทว่า สเจ ในบทว่า สเจ ภูตํ ปริญฺโ โส นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ถ้าว่า อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ขันธปัญจกที่เกิดแล้ว คือ กำหนด

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 337

รู้ขันธ์ เพราะสิ้นภวตัณหาด้วยมรรคอันเป็นอุบายก้าวล่วงขันธปัญจกะที่เกิดแล้ว แต่นั้นก็น้อมไปในนิพพานตามเป็นจริง. บทว่า ภวาภเว ความว่า ภิกษุ ปราศจากตัณหา คือ ทำลายกิเลสได้แล้ว ในภพน้อยและภพใหญ่ หรือใน เพราะการเห็นความขาดสูญเป็นต้น ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ คือถึงความเป็นผู้ไม่มี บัญญัตินั่นเอง เพราะความไม่เกิด คือ ไม่เกิดอีกต่อไปแห่งอัตภาพ อันได้แก่ อุปาทานขันธ์ที่เกิดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

พระองค์ตรัสถึงวัฏฏะในสูตรที่ ๑๑ ในวรรคนี้ ตรัสถึงวัฏฏะและ วิวัฏฏะในสูตรที่ ๓ - ๔ - ๕ และในสูตรสุดท้าย ด้วยประการฉะนี้. แม้ในสูตร ที่เหลือก็พึงทราบว่า เป็นวิวัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๑๒

จบอรรถกถาทุกนิบาตอิติวุตตกะแห่งอรรถกถา

ขุททกนิกาย ชื่อว่า ปรมัตถวิภาวินี

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิตักกสูตร ๒. เทศนาสูตร ๓. วิชชาสูตร ๔. ปัญญาสูตร ๕. ธรรมสูตร ๖. อชาตสูตร ๗. ธาตุสูตร ๘. สัลลานสูตร ๙. สิกขาสูตร ๑๐. ชาคริยสูตร ๑๑. อปายสูตร ๑๒. ทิฎฐิสูตร และอรรถกถา.

จบทุกนิบาต