พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อกุศลมูลสูตร ว่าด้วยอกุศลมูล ๒ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40073
อ่าน  369

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 338

ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๑. อกุศลมูลสูตร

ว่าด้วยอกุศลมูล ๒ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 338

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๑

๑. อกุศลมูลสูตร

ว่าด้วยอกุศลมูล ๒ ประการ

[๒๒๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน? คือ โลภะเป็นอกุศลมูล ๑ โทสะเป็นอกุศลมูล ๑ โมหะเป็น อกุศลมูล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดแล้ว ในตน ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้มีจิตอันลามก เหมือนขุยไผ่ ย่อมเบียดเบียนไม้ไผ่ ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอกุศลอมูลสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 339

ติกนิบาตวรรณนา

วรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาอกุศลมูลสูตร

ในอกุศลมูลสูตรที่ ๑ แห่งติกนิบาต พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตีณิ เป็นการกำหนดนับจำนวน. บทว่า อิมานิ เป็นคำ ชี้ชัดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า. บทว่า อกุสลมูลานิ เป็นตัวอย่างแห่งธรรมที่ ทรงกำหนดไว้. ในบทว่า อกุสลมูลานิ นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ กิเลสชาติ ชื่อว่า เป็นอกุศลมูล เพราะมันเป็นทั้งอกุศล เป็นทั้งรากเง่า (ของอกุศล). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะเป็นรากเง่า (ของอกุศลทั้งหลาย) โดยความหมายว่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นปกวะ (แดนเกิดก่อน) เป็น ชนกะ (ผู้ให้กำเนิด) เป็นสมุฏฐาปกะ (ผู้สถาปนา) เป็นนิพพัตตกะ (ผู้ให้เกิด) แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย คือเป็นทั้งการณะ (เหตุ) แห่งอกุศลธรรม ทั้งหลาย. เพราะว่าการณะ ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นแดน คือเป็นไป แห่งผล เรียกว่า ปัจจัย เพราะเป็นเหตุให้ผลอาศัยเป็นไป เรียกว่า ปภวะ เพราะเป็นแดงเกิดก่อนแห่งผล เรียกว่า ชนกะ เพราะยังผลของตนให้เกิด เรียกว่า สมุฏฐาปกะ เพราะให้เผล็ดผล และเรียกว่า นิพัตตกะ เพราะยัง ผลให้เกิดขึ้น ฉันใด กิเลสชาติมีโลภะเป็นต้น ชื่อว่าเป็นรากเง่า เพราะอรรถ ว่าเป็นที่ตั้ง (แห่งอกุศลทั้งหลาย) ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า บทว่า อกุสลมูลานิ หมายความว่า เป็นเหตุให้ (อกุศลธรรมทั้งหลาย) สำเร็จความ เป็นธรรมที่ตั้งไว้สมบูรณ์แล้ว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 340

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความโลภที่ให้อกุศลทั้งหลายสำเร็จ ความเป็นอกุศล เป็นมูลฐานของอกุศลทั้งหลาย มีโลภเป็นต้น เหมือนพืช (พันธุ์) ของข้าวสาลีเป็นต้น เป็นมูลฐานของข้าวสาลีเป็นต้น และเหมือนน้ำ ใสดุจแก้วมณี เป็นต้น เป็นมูลฐานของประกาย ของอัญญมณีเป็นต้น ฉะนั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น ในรูปที่มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่พึงมีความที่อกุศลธรรม เหล่านั้น เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพราะว่า รูปที่มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐานเหล่านั้น ให้สำเร็จความเป็นอกุศลธรรมแก่มันไม่ได้ แต่ว่าไม่ใช่จะเป็นปัจจัยไม่ได้ สมจริง ดังคำที่ตรัสไว้ว่า เหตุเป็นปัจจัย โดยเหตุปัจจัย แก่ธรรมทั้งหลายที่ สัมปยุตด้วยเหตุ และรูปทั้งหลาย ที่มีธรรมสัมปยุตด้วยเหตุเหล่านั้น เป็น สมุฏฐาน.

ก็ความที่มีโมหะเป็นอกุศล ไม่พึงมีแก่อเหตุกสัตว์ เพราะไม่มีรากเง่า อย่างอื่น ที่ให้สำเร็จความเป็นอกุศล. อนึ่ง ความที่ธรรมทั้งหลายมีโลภะ เป็นต้น เป็นอกุศลเป็นต้น สำเร็จแล้วโดยสภาวะพึงมีได้ แต่ความที่ธรรม ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยโลภะเป็นต้นเหล่านั้นเป็นอกุศลเป็นต้น เป็นธรรม เนื่องด้วยโลภะเป็นต้น พึงมีได้ดังนี้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความที่อกุศลธรรม ทั้งหลาย แม้มีอโลภะเป็นต้น เป็นกุศลสำเร็จได้โดยสภาวะ เหมือนความที่ โสภะเป็นต้น เป็นอกุศลสำเร็จได้โดยสภาวะนั้น ดังนั้น อโลภะเป็นต้น พึงเป็น กุศลอย่างเดียว ไม่เป็นอัพยากฤตและไม่มีอยู่ด้วย. เพราะฉะนั้น นักศึกษา ควรแสวงหาสภาพของกุศลธรรมเป็นต้น แม้ในรากเง่าทั้งหลายเหมือนใน สัมปยุตธรรมทั้งหลาย. บัณฑิตพึงถือเอามูล (รากเง่านั่นแหละ) ว่าเป็นเหตุ ดุจโยนิโสมนสิการเป็นต้น เป็นเหตุแห่งความเป็นกุศล (และ) ดุจอโยนิโสมนสิการเป็นต้น เป็นเหตุแห่งความเป็นอกุศล. เมื่อไม่ถือเอามูลฐานแห่งความ โลภเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการยังความเป็นอกุศลให้สำเร็จ แล้วถือเอา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 341

(มูลฐาน) ด้วยอำนาจแห่งการยังความเป็นธรรมที่ประดิษฐานไว้อย่างดีแล้ว ให้ สำเร็จอย่างนี้ ก็ไม่มีโทษอะไร. เพราะว่าธรรมทั้งหลายที่ได้เหตุและปัจจัยแล้ว จะประดิษฐานมั่นคง เหมือนต้นไม้ที่มีรากแผ่ไพศาล ส่วนธรรมที่เว้นจากเหตุ จะไม่ประดิษฐานมั่นคง เหมือนงาและสาหร่ายมีพืชเป็นต้น เพราะฉะนั้น กิเลสทั้ง ๓ อย่าง จึงชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะเป็นมูลเหตุที่เป็นอุปการะ แก่อกุศลธรรมทั้งหลาย โดยความหมายมีเหตุเป็นต้น. แต่เพราะเหตุที่จิตตุปบาทที่เป็นอกุศลที่พ้นจากกิเลสที่เป็นรากเง่าย่อมไม่มี ฉะนั้น พึงทราบว่า ด้วยกิเลสที่เป็นมูลทั้ง ๓ พระองค์ทรงแสดงคลุมเอากองอกุศลทั้งหมดไว้.

เพื่อจะทรงแสดงอกุศลมูลเหล่านั้น โดยสรุป จึงตรัสคำมีอาทิว่า โลโภ อกุสลมูลํ ความโลภเป็นอกุศลมูล ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำที่จะต้องกล่าว ในความโลภเป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล้วทั้งนั้น ก็ใน ตอนนั้นความโลภเป็นต้น อันมรรคที่ ๓ จะพึงฆ่ามีมาแล้ว แต่ในพระสูตรนี้ ความโลภเป็นต้น ไม่มีเหลือเลย นี่แหละเป็นข้อที่แตกต่างกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี่ บทว่า ปาปเจตสํ ได้แก่ จิตลามก เพราะประกอบด้วยอกุศลธรรม. บทว่า หึสนฺติ ความว่า ย่อม เบียดเบียนในขณะแห่งความเป็นไปของตน และในขณะแห่งวิบากในอนาคต. บทว่า อตฺตสมฺภูตา ความว่า เกิดแล้วในตน. บทว่า ตจสารํ ได้แก่ ไม้มีหนาม อธิบายว่า ไม้ไผ่. บทว่า สมฺผลํ ได้แก่ ผลของตน. มีอธิบาย ว่า ไม่เป็นไม้มีแก่นข้างใน เหมือนไม้ตะเคียน และไม้ประดู่ลายเป็นต้น (แต่) เป็นไม้ไผ่เป็นต้น ที่ได้นามว่า ตจสาระ เพราะมีแก่นอยู่ข้างนอก คือ ความโลภเป็นต้นที่เกิดในคนนั่นเอง จะยังบุคคลผู้มีจิตลามก ปราศจากแก่น คือศีลในภายในให้พินาศไป เหมือนขุยไผ่ที่เกิดในตนนั่นเอง ย่อมเบียดเบียน คือให้ต้นไผ่พินาศไป ฉะนั้น. ่

จบอรรถกถาอกุศลมูลสูตรที่ ๑