พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปฐมเวทนาสูตร ว่าด้วยเวทนา ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40075
อ่าน  404

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 346

ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๓. ปฐมเวทนาสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 346

๓. ปฐมเวทนาสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ ประการ

[๒๓๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิด แห่งเวทนา ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่ดับ แต่งเวทนา และมรรคอันให้ถึงความสิ้น ไปแห่งเวทนา ภิกษุหายหิวแล้ว ดับรอบ แล้ว เพราะความสิ้นไปแต่งเวทนาทั้งหลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมเวทนาสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 347

อรรถกถาปฐมเวทนาสูตร

ในปฐมเวทนาสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวทนา ความว่า เจตสิกธรรม ชื่อว่า เวทนา เพราะรู้ คือ เสวยรสแห่งอารมณ์. เพื่อจะทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น โดยจำแนกออกไป จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุขา เวทนา ดังนี้. บรรดาศัพท์เหล่านั้น สุขศัพท์ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ด้วยสามารถแห่งอัตถุทธารกัณฑ์.

แต่ ทุกข ศัพท์ มาในเรื่องของทุกข์ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์). มาในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เช่นในประโยค มีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ ทุกฺขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาวกฺกนฺตํ ดูก่อนมหาลี เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ ถูกทุกข์ติดตาม (และ) หยั่งลงสู่ทุกข์. มาในการสะสมทุกข์ ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย การสั่งสม บาปเป็นทุกข์. มาในฐานะอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ดังในประโยคว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ ยาว ทุกฺขา นิรยา เพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์ ไม่ใช่ทำได้ง่าย. มาแล้วในทุกขเวทนา เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปทานา เพราะ ละสุข และละทุกข์เสียได้. แม้ในพระสูตรนี้ก็มาแล้วในทุกขเวทนาเท่านั้น. แต่โดยอรรถพจน์ ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย. ชื่อว่าทุกข์ เพราะยัง ผู้เสวยให้ลำบาก. เวทนา ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะไม่ทุกข์ไม่สุข. อักษร (ในคำว่า อทุกฺขมสุขา) ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งบทสนธิ.

บรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านั้น เวทนาที่มีการเสวยอิฏฐารมณ์เป็น ลักษณะ ชื่อว่า สุขเวทนา. ที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 348

ทุกขเวทนา. ที่มีการเสวยอารมณ์ที่ผิดจาก ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า อทุกขมสุขเวทนา เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนา จึงปรากฏ (ชัด) แต่อทุกขมสุขเวทนา ไม่ปรากฏ (ชัด). ด้วยว่า ในเวลาใด ความสุข เกิดขึ้น ในเวลานั้น ความสุขจะทำสรีระทั้งสิ้น ให้สะท้าน เคล้าคลึง แผ่ซ่าน ไปทั่วร่างทั้งสิ้น เหมือนให้บริโภคเนยใส ที่หุงแล้วร้อยครั้ง เหมือนทาด้วย น้ำมันงาที่เคี่ยวตั้งร้อยครั้ง และเหมือนให้ความเร่าร้อนดับไปด้วยน้ำพันหม้อ เกิดขึ้น เหมือนจะเปล่งวาจาออกมาว่า โอ! สุขจริง โอ! สุขจริง เมื่อใด ทุกข์เกิดขึ้น เมื่อนั้น ทุกข์จะทำให้สรีระทั้งสิ้นสะท้าน เคล้าคลึง แผ่ซ่านไป ตลอดร่าง เหมือนสอดกระเบื้องร้อนๆ เข้าไป และเหมือนเอาน้ำทองแดงละลาย แล้วราด เกิดขึ้นเหมือนให้บ่นเพ้อว่า โอ! ทุกข์จริง โอ! ทุกข์จริง ดังนี้. ดังนั้น ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนา และทุกขเวทนา จึงปรากฏชัด ส่วน อทุกขมสุขเวทนา รู้ได้ยาก ชี้ให้เห็นได้ยาก มืดมน อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นเวทนามีอาการเป็นกลางๆ โดยขัดกับอารมณ์ที่น่ายินดี และยินร้าย ใน เวลาที่สุขและทุกข์ปราศไป ย่อมปรากฏชัดแก่ผู้ถือเอาโดยนัยนี้เท่านั้น.

เปรียบเหมือนอะไร? เปรียบเหมือนทางที่เนื้อผ่านไปแล้วบนแผ่นหิน โดยเป็นทางที่เฉียดเข้าไป ในภูมิประเทศที่มีฝุ่น ในตอนต้นทางและ ปลายทาง ฉันใด ภาวะแห่งการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลางก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะรู้ได้ด้วยการเสวยสุขและทุกข์ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. การยึดถือเอา มัชฌัตตารมณ์ เป็นเหมือนการเดินไปบนแผ่นหิน (ของเนื้อ) เพราะไม่มี การยึดอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. และการเสวยมัชฌัตตารมณ์นั้น ก็คืออทุกขมสุขเวทนานั่นแหละ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในพระสูตรนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง โดยเป็นสุข ทุกข์ และอทุกขมสุขเวทนา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 349

(ก็จริง) แต่ ในที่บางแห่ง ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง โดยเป็นสุขเวทนา และ ทุกขเวทนา. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท เราตถาคตกล่าวเวทนา ไว้ ๒ อย่าง โดยปริยาย คือสุขเวทนาและทุกขเวทนาดังนี้. แม้ในที่บางแห่ง ตรัสไว้ ๓ อย่าง โดยแยกเป็นสุขส่วน ๑ ทุกข์ส่วน ๑ อทุกขมสุขส่วน ๑ ว่าสุขเวทนาเป็นสุขในฐีติขณะ แต่เป็นวิปริฌามทุกข์ (ทุกข์เมื่อสุขกลายเป็น ทุกข์) ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ในฐีติขณะ แต่เป็นวิปริฌานสุข (เมื่อทุกข์เปลี่ยน เป็นสุข) ส่วนอทุกขมสุขเวทนา เป็นญาณสุข (สุขเกิดแต่ญาณ) (แต่) เป็น อญาณทุกข์ (ทุกข์เกิดแต่ความไม่รู้). ในที่บางแห่งตรัสเวทนาแม้ทั้งหมดโดย ความเป็นทุกข์. สมดังที่ตรัสไว้ว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่า (รวมอยู่) ในทุกข์.

ในข้อนั้น พึงมีคำท้วงว่า ถ้าในสูตรอื่นๆ คล้ายอย่างนี้ และใน พระอภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ได้ตรัสเทศนาทั้ง ๓ ไว้แล้วไซร้ เมื่อ เป็นเช่นนั้น เหตุไฉนจึงตรัสไว้อย่างนี้ว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกอย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์ และว่า ดูก่อนอานนท์ และเวทนาทั้งสองอย่าง เราตถาคตกล่าวไว้โดยอ้อม ดังนี้. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย ทรงหมายเอาคำทั้งสองนี้ เพราะฉะนั้น เทศนานั้นจึงจัดเป็นเทศนาโดยอ้อม. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ความแปรปรวนของ สังขาร เราตถาคตกล่าวหมายถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ความเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์. และว่า อานนท์เวทนา ทั้ง ๒ อย่าง เราตถาคตกล่าวไว้โดยปริยาย. เพราะว่า ในบรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้ ความที่เวทนาทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คือ สุขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เป็นทุกข์โดยตรงไม่มี แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เป็น ทุกข์โดยปริยาย เพื่อจะทรงแสดงแก่ผู้ไม่มีฉันทะในเวทนาทั้งสองนั้น ตาม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 350

อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ เพราะฉะนั้น เทศนาแบบนั้นจึงจัดเป็นเทศนาโดยอ้อม ส่วนเทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ นี้ เป็นเทศนาโดยตรง เพราะมีอธิบายว่า กล่าว ตามสภาวธรรม. เพราะฉะนั้นในข้อนี้ กถานี้ของอาจารย์ทั้งหลาย จึงมีเพื่อ ความลงกัน.

ส่วนผู้ที่ชอบพูดพล่อยๆ กล่าวว่า เทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นเทศนา โดยอ้อมเหมือนกัน เพราะกล่าวถึงความเป็นทุกข์ ๒ อย่าง. เขาพึงถูกทักท้วง อย่างนี้ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเวทนาทุกอย่าง ว่าเป็นทุกข์ โดยมีพระประสงค์ว่า ดูก่อนอานนท์ ความแปรปรวนแห่งสังขาร เราตถาคตกล่าวหมายถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ความเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์. ก็ถ้าในเรื่องนี้ เทศนาที่ว่าด้วยหมวด ๓ แห่งเวทนาพึงเป็นเทศนาโดยอุ้มไซร้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอานี้ ก็ควร พูดได้ละซิว่า เวทนาเป็น ๓ แต่คำนี้ก็หาได้กล่าวไว้ไม่.

อีกอย่างหนึ่ง ข้อความนี้นั้นเอง ควรกล่าวได้ว่า ดูก่อนอาวุโส ก็อะไรเล่าเป็นพระประสงค์ เพื่อจะทรงแสดงเวทนาทั้ง ๓. ถ้าหากจะมีผู้พูดว่า เวทนา ๓ พระองค์ตรัสไว้ ตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ว่า ทุกขเวทนาอย่างอ่อน เป็นสุขเวทนา อย่างแรงเป็นทุกขเวทนา อย่างกลางเป็นอทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ไซร้ แท้จริงในเวทนาเหล่านั้น ความเจริญแห่งสุขเวทนาเป็นต้น หามี แก่สัตว์ทั้งหลายไม่ ดังนี้. เขาจะต้องถูกทักท้วงว่า ดูก่อนอาวุโส ก็อะไรเล่า เป็นสภาวะของทุกขเวทนา ที่เป็นเหตุให้เวทนาทั้งหมดถูกเรียกว่าเป็นทุกข์ ผิว่า เวทนาใดเกิดขึ้น สัตว์ทั้งหลายประสงค์จะให้จากไปอย่างเดียว นั่นแหละ เป็นสภาวะของทุกขเวทนา ส่วนเวทนาใดเกิดขึ้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายไม่ประสงค์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 351

จะให้จากไปเลย (และ) เวทนาใดเกิดขึ้น ไม่ประสงค์ทั้งสองอย่าง เวทนานั้น จะพึงเป็นทุกขเวทนาได้อย่างไร? แท้จริง เวทนาใดตัดรอนสุขนิสัยของตน เวทนานั้นก็เป็นทุกข์ เวทนาใดกระทำการอนุเคราะห์ (สุขนิสัยของตน) เวทนา นั้นจะพึงเป็นทุกข์ได้อย่างไร? และอีกอย่างหนึ่ง พระอริยเจ้าทั้งหลาย เห็น สภาพูดเป็นทุกข์ สภาพนั้นเป็นสภาวะของทุกขเวทนา พระอริยะทั้งหลาย เห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ และเวทนา ก็เป็นสภาพที่มีอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้น เวทนาเหล่านั้นจะพึงมีภาวะเป็น ทุกข์อย่างอ่อน อย่างกลาง และอย่างแรงกล้าได้อย่างไร? และถ้าเวทนาทั้งหลาย พึงมีความเป็นทุกข์ เพราะความที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์เท่านั้นไซร้ เทศนา ที่ทรงจำแนกความเป็นทุกข์ออกไปดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ มี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ทุกฺขทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือ ทุกขเวทนา) วัปริณามทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือ ความเปลี่ยนแปลงของสุข) สงฺขารทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือ สังขาร) ก็พึงไร้ประโยชน์ละซี่ และเมื่อเป็น เช่นนั้น พระสูตรนั้นแหละ จะพึงถูกคัดค้านว่า ก็ถ้าคำที่ว่าทุกขเวทนาอย่างอ่อน (เป็นสุขเวทนา) ในรูปาวจรฌาน ๓ ข้างนี้ก็ถูก เพราะบ่งถึงสุขเวทนา อย่างกลาง (เป็นอทุกขมสุข) ในจตุตถฌาน และอรูปฌาน เพราะบ่งถึง อทุกขมสุขเวทนา เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า รูปาวจรสมาบัติ ๓ อย่างข้างต้น สงบกว่าจตุตถฌานสมาบัติ และอรูปสมาบัติ ก็ถูกค้านด้วยละซี.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่ทุกขเวทนาเป็นของยิ่งกว่ากัน ในสมาบัติที่สงบ และประณีตกว่ากัน จะถูกได้อย่างไร? เพราะฉะนั้น ความที่เทศนาว่าด้วย เวทนา ๓ เป็นเทศนาโดยอ้อม จึงไม่ถูก.

ถามว่า ในสมาบัติทั้ง ๓ เบื้องต้น ก็คำใดที่ตรัสไว้ว่า สัญญาวิปลาส ในทุกข์ว่าเป็นสุข คำนั้นเป็นอย่างไร? ตอบว่า ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 352

ตรัสหมายเอา สัญญาในความเป็นสุขโดยส่วนเดียว และสัญญาในทุกขนิมิต ว่าเป็นสุขนิมิต เพราะทรงรู้ตามความจริง ชื่อวิปริณามทุกข์ และสังขารทุกข์.

ถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ส่วนพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เวทนาที่เป็นสุข พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ดังนี้ เป็นอย่างไร? ตอบว่า คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงประกอบความให้สนิทในการ ทรงแสดงความเปลี่ยนแปลง เพราะความที่ทุกข์นั้น เป็นอุบายให้เข้าถึงความ คลายกำหนัดในสุขเวทนานั้น และเพราะความที่สุขเวทนาคล้อยไปหาทุกข์มาก. จริงอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายเห็นสุขว่าเป็นทุกข์นั่นเอง ดำเนินไปแล้ว เพราะ สุขเป็นเหตุของทุกข์ และเพราะสุขถูกทุกขธรรมเป็นอเนกประการติดตาม.

แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ สุขเวทนาก็ไม่มีเลย เพราะเหตุแห่งความสุขไม่มี กำหนดแน่นอน เพราะว่า เครื่องบริโภคและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ที่สมมติ กันว่าเป็นเหตุแห่งสุขเวทนานั่นแหละ เมื่อบริโภคและใช้สอยเกินประมาณ และไม่ถูกกาล ย่อมถึงความเป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา แต่ไม่สมควรกล่าวว่า สุขเกิดขึ้นด้วยเหตุอันใด ความทุกข์ก็เกิดขึ้นด้วยเหตุอันนั้น เหมือนกัน เพราะ ฉะนั้น เครื่องบริโภคและเครื่องนุ่งห่มเหล่านั้น จึงไม่ใช่เหตุแห่งความสุข. แต่เป็นสัญญา (เครื่องหมาย) แห่งความสุขของผู้ไม่รู้ (คนโง่) ทั้งหลายใน เมื่อทุกข์ปราศไปในระหว่าง. อุปมาเหมือนผู้ยังอยู่ในอิริยาบถ (เดียว) มีการ ยืนเป็นต้น เป็นเวลานานๆ (จะมีความสำคัญว่าเป็นสุข) ในเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ (เป็นอิริยาบถอื่น) จากอิริยาบถนั้น และเหมือน (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ของ ผู้แบกของหนัก ในเมื่อวางของหนักและเมื่อ (ร่างกาย) สงบ เพราะฉะนั้น จะไม่มีความสุขเลยหรือ? ข้อนี้นั้น เป็นการกำหนดความที่ทุกข์ไม่มีกำหนด แน่นอน โดยไม่ได้กำหนดรู้เหตุแห่งสุข โดยถูกต้องนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 353

แท้จริง สุขเป็นเพียงอารมณ์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ เพราะทรงมนสิการถึงเหตุแห่งความสุขอย่างเดียว ความสุขนั้นต่างกันโดยการ กำหนดสรีระที่เป็นไปในภายใน ส่วนทั้งสองอย่างนั้นที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เกิดขึ้น ในที่เดียวกัน พึงทราบว่าเป็นเหตุแห่งความสุขเป็นต้น.

ก็ทั้งสองอย่างนั้น ชนิดใดเป็นเหตุแห่งสุขเวทนา ชนิดนั้นแม้บางครั้ง ก็ไม่เป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา เพราะฉะนั้น เวทนาที่ท่านกำหนดไว้นั่นแหละ เป็นเหตุแห่งความสุขเป็นต้น อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เตโชธาตุ (จากอุณหภูมิ) กระทบพืชชนิดใด บรรดาข้าวสาลี ข้าวยวะ พืชผักและข้าวกล้าเป็นต้น ระหว่าง ที่ตั้งลำต้นได้แล้ว ก็เป็นเหตุแห่งความยินดีและมีรสอร่อย แต่แม้บางครั้ง กระทบพืชชนิดนั้นเหมือนกัน แต่ก็ไม่เป็นเหตุแห่งความยินดี และมีรสอร่อย ฉันใด ข้ออุปไมยก็พึงทราบฉันนั้นเหมือนกัน. แม้บางคราว เวทนาที่ยังไม่ ปราศไปจากทุกข์ ก็ได้รับสุขเวทนาอย่างอื่น ในกาลนั้น จะมีความสำคัญใน ความสุขนั่นแหละว่าเป็นสุข ไม่ใช่เพียงเวลาที่ความทุกข์ปราศไป เหมือนความ สำคัญในความสุขว่าเป็นสุข ของผู้เมื่อยล้าในการเดินทาง และเดือดร้อน เพราะความกระวนกระวาย ในเพราะการนวดพื้น และการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ฉะนั้น. โดยประการอื่น แม้ในระหว่างกาล สุขสัญญาพึงมีได้ในเวลาที่อันตราย ผ่านไป แต่ในขณะที่เพียงแต่ทุกข์ผ่านไป การกำหนดว่าเป็นสุขพึงมี เพราะ ไม่เข้าไปได้เวทนาพิเศษ. และข้ออุปไมยนี้ ก็พึงสำเร็จอย่างนั้น โดยส่วนเดียว นั่นเอง เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายปรารถนายิ่งซึ่งอารมณ์ทั้งหลาย ที่ประณีตๆ ยิ่ง ในรูปอย่างเดียว ด้วยความลำบากมาก และเมื่อนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่สามารถ ทำการตอบสนองสัตว์เหล่านั้นได้ ด้วยปัจจัยเพียงเท่าที่ได้มา มีแต่จะให้เกิด ตัณหาขึ้น ดังนี้แล. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิดขึ้น ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความสำคัญว่าเป็นสุขพิเศษ เมื่อเกิดขึ้นโดยความที่วัตถุทั้งหลาย มีของหอม

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 354

มีรสอร่อย และสุขสัมผัสเป็นต้น เป็นอย่างอื่นไปพึงเกิดในฆานทวาร ชิวหาทวาร และกายทวารทั้งหลาย และในโสตทวารอันเป็นที่รับรองเสียงแห่งดุริยางค์ มีองก์ ๕ คล้ายกับทิพสังคีต. เพราะเหตุนั้น ในทุกขเวทนาอย่างเดียว สุข สัญญาจึงไม่มี เพราะทุกข์ในระหว่างผ่านไป ถึงสุขสัญญาก็ไม่มี ในขณะ เพียงแต่ทุกข์ผ่านไปอย่างเดียว. เวทนาทั้ง ๓ พระองค์ทรงกำหนดไว้ โดยอาคม โดยข้อยุติ เพราะฉะนั้น เทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ หมวด ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเป็นนีตัตถเทศนา (เทศนาที่มีเนื้อความนำออกไปแล้ว คือทรงแสดงเฉพาะ บุคคล) อย่างเดียว ไม่ใช่เนยยัตถเทศนา (เทศนาที่มีเนื้อความซึ่งจะต้องนำ ออกแสดงแก่คนทั่วไป) ควรเข้าใจความหมายดังว่ามานี้ ถ้าผู้ใดเข้าถึงเทศนา นั้น ตามที่พรรณนามานี้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าผู้นั้นเข้าไม่ถึงเทศนานั้น เขาจะต้องถูกส่งไปว่า จงไปตามสบายของตน ดังนี้.

เวทนา ๓ เหล่านั้น ที่มีลักษณะถูกกำหนด สภาวะที่ขัดแย้งกัน ดัง พรรณนามานี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว. ก็และเวทนาทั้ง ๓ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ แก่พระโยคาวจรทั้งหลายผู้ประกอบการ บำเพ็ญวิปัสสนา โดยมุขคือเวทนา. เพราะว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ รูปกรรมฐาน และอรูปกรรมฐาน. ในกรรมฐานทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสรูปกรรมฐาน ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการมนสิการโดยสังเขปบ้าง ด้วยสามารถแห่งการมนสิการโดยพิสดารบ้าง ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธาตุ เป็นต้นอย่างนั้นบ้าง แต่เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ก็ตรัสด้วยสามารถแห่ง ผัสสะบ้าง ด้วยสามารถแห่งเวทนาบ้าง ด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง. เพราะว่า พระโยคาวจรบางรูปเมื่อระลึกถึงอารมณ์ที่เข้าสู่คลอง ผัสสะมีจิตและเจตสิกตก ไปครั้งแรกในอารมณ์นั้น ถูกต้องอารมณ์นั้นอยู่ ก็จะปรากฏชัด. สำหรับ พระโยคาวจรบางรูป เวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นเกิดขึ้น จะปรากฏชัด. (แต่)

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 355

สำหรับบางรูป วิญญาณที่รู้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น จะปรากฏชัด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอรูปกรรมฐานตามที่ปรากฏโดยอัธยาศัยของบุคคล นั้นๆ ไว้ ๓ อย่าง โดยมีผัสสะเป็นต้นเป็นประธาน.

ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น ผัสสะปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนด อารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ นั่นแหละว่า ไม่ใช่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึง เวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับผัสสะนั้น ถึงสัญญาที่ จำอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่คิดถึงอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้ชัดซึ่งอารมณ์ นั้นอยู่ ก็จะเกิดพร้อมกับผัสสะนั้น. เวทนาปรากฏแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนด อารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกันว่า ไม่ใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึงสัมผัสที่ถูกต้องอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ถึงสัญญาที่จำได้อยู่ ถึงเจตนาที่นึกคิดอยู่ ถึงสัญญาที่รู้แจ้งอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น. วิญญาณปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นก็จะกำหนดอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกับว่า ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น แม้เวทนาที่ เสวยอารมณ์อยู่ แม้สัญญาที่จำได้อยู่ แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อม กับวิญญาณนั้น.

พระโยคาวจรนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้ อาศัยอะไรอยู่ดังนี้ จะรู้ชัดว่า อาศัยวัตถุอยู่. กรชกาย ชื่อว่า วัตถุ.

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็แลวิญญาณของเรานี้ อิงอาศัยอยู่ใน กรชกายนี้ เนื่องแล้วในกรชกายนี้ ทรงหมายเอากรชกายใด กรชกายนั้น โดยเนื้อความ ได้แก่ภูต และอุปทายรูปทั้งหลาย. เธอเห็นเป็นเพียงนามกับ รูปเท่านั้นว่า บรรดา ๒ อย่างนี้ วัตถุเป็นรูป ธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ เป็นนาม ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในสองอย่างนี้ รูปได้แก่รูปขันธ์ นามได้แก่ขันธ์ ๔

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 356

ที่ไม่ใช่รูป ดังนั้นจึงรวมเป็นเพียงขันธ์ ๕. แท้จริง เบญจขันธ์ที่จะพ้นจาก นามรูป หรือนามรูป ที่จะพ้นจากเบญจขันธ์ไปเป็นไม่มี. เธอเมื่อใคร่ครวญ อยู่ว่าเบญจขันธ์เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ ก็เห็นว่ามีอวิชชาเป็นเหตุ แต่นั้นจะ ยกเบญจขึ้นธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยสามารถแห่งนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า นาม รูปนี้เป็นทั้งปัจจัย เป็นทั้งปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอย่างอื่น มีเพียงกองสังขารล้วนๆ เท่านั้น แล้วท่องเที่ยวพิจารณาตามลำดับวิปัสสนาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้. เธอจำนงหวัง ปฏิเวธ (การตรัสรู้) อยู่ว่า (เราจะตรัสรู้) ในวันนี้ๆ ในสมัยเช่นนั้น ได้ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย โภชนะเป็นที่สบายหรือการฟังธรรมเป็นที่สบายแล้ว นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่า นั้น ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด ย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตตผล. พึงทราบกรรมฐานจนถึงพระอรหัต ของชน ๓ เหล่า ดังที่พรรณนามานี้. แต่ในพระสูตร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ตามอัธยาศัยของผู้ที่จะตรัสรู้ ด้วยสามารถแห่งเวทนา จึงตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเวทนา.

ปกิณณกกถา

ในพระสูตรนี้ พึงทราบปกิณณกะดังนี้คือ

ลักษณะ ๑ อธิฏาน ๑ อุปปัตติ ๑ อนุสัย ๑ ฐานะ ๑ ปวัตติกาล ๑ อันทรีย์ ๑ ทุวิธาทิตา ๑.

บรรดาปกิณณกะ ๘ อย่างนั้น ลักษณะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในหนหลัง แล้วทีเดียว. ผัสสะ ชื่อว่า อธิฏาน. ก็เพราะพระบาลีว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาดังนี้ ผัสสะจึงเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา. จริงอย่างนั้น ผัสสะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบด้วยอุปมากับ แม่โคที่เขาถลกหนังแล้ว เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา. บรรดาเวทนา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 357

เหล่านั้น ผัสสะที่ให้เสวยสุข เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ผัสสะที่ให้เสวยทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ผัสสะที่ให้เสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา อธิบายว่า ได้แก่อาสันนการณ์ (เหตุใกล้).

ถามว่า เวทนา เป็นปทัฏฐานของอะไร. ตอบว่า เวทนาเป็นปทัฏฐาน ของตัณหา โดยมีความปราถนายิ่งๆ ขึ้นไป โดยพระบาลีว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี.

ถามว่า สุขเวทนา เป็นปทัฏฐานแห่งตัณหา จงยกไว้ก่อน แต่เวทนา นอกนี้ (ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา) เป็นปทัฏฐานแห่งตัณหาได้อย่างไร. ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป ก่อนอื่น แม้ผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขยังปรารถนาความสุข เช่นนั้น หรือความสุขที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้ที่ถูกความ ทุกข์ครอบงำ. และอทุกขมสุข ท่านเรียกว่าสุขเหมือนกัน เพราะเป็นความ สงบ เวทนาแม้ทั้ง ๓ จึงเป็นปทัฏฐานแห่งตัณหา.

เหตุเป็นที่เกิด ชื่อว่า อุปปัตติ. แท้จริง สัตว์และสังขารทั้งหลาย ที่เป็นอิฎฐารมณ์ เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งสุขเวทนา. สัตว์และสังขารเหล่านั้น นั่นแหละ ที่เป็นอนิฎฐารมณ์ เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา ที่เป็น มัชฌัตตารมณ์ เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งอทุกขมสุขเวทนา ก็ในอุปัตติเหตุนี้ พึงทราบความเป็นอิฎฐารมณ์และอนิฎฐารมณ์ โดยการถือเอาอาการของเวทนา นั้นจากวิบาก.

บทว่า อนุสโย ความว่า ในบรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้ เพราะ สุขเวทนา ราคานุสัยจึงนอนเนื่องอยู่ เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย จึงนอน เนื่องอยู่ เพราะอทุกขมสุขเวทนา อวิชชานุสัย จึงนอนเนื่องอยู่. สมดัง ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เพราะเวทนาเป็นสุขแล ราคานุสัย จึงนอนเนื่องอยู่ ดังนี้เป็นต้น. นักศึกษาพึงจัด ทิฏานุสัย และมานานุสัย

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 358

ที่เป็นฝักฝ่ายของราคะ เข้าในราคานุสัยนี้ด้วย. เพราะผู้มีทิฏฐิทั้งหลาย ย่อม เชื้อมั่นในสักกายะ (กายของตน) โดยนัยมีอาทิว่า เป็นของยั่งยืน เพราะเพลิด เพลินกับความสุข. และผู้มีมานะมาแต่กำเนิด อ้างมานะโดยนัยมีอาทิว่า เรา เป็นผู้ประเสริฐที่สุด. ส่วนวิจิกิจฉานุสัย ที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งอวิชชา ก็ต้อง จัดเข้าไว้ด้วย. สมดังที่ตรัสไว้ในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี. และอนุสัยทั้งหลาย ยังมีการดำเนินไปด้วยกำลังอยู่ เพราะภาวะ ที่ยังละไม่ได้ในสันดานนั้นๆ. เพราะฉะนั้น คำว่า สุขาย เวทนาย ราคานุสโย อนุเสติ จึงได้ความว่า ราคะที่ควรแก่การเกิดขึ้น ในเมื่อได้เหตุที่ เหมาะสม จึงเป็นเสมือนนอนอยู่ในสันดานนั้น เพราะยังละไม่ได้ด้วยมรรค. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า านํ ความว่า กายและจิตเป็นฐานของเวทนา. สมดังที่ตรัส ไว้ว่า ในสมัยนั้น ความสุขทางกาย ความยินดี การเสวยสุข อันเกิดแต่กาย สัมผัสอันใด และว่า ในสมัยนั้น ความสุขทางใจ ความยินดี การเสวยสุข อันเกิดแต่สัมผัสทางใจอันใด ดังนี้.

ปวัตติขณะและการนับความเป็นไป ชื่อว่า ปวัตติกาล อธิบายว่า ความที่สุขเวทนาเป็นสุขและความที่ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ ท่านกำหนดแล้วด้วย ปวัตติขณะ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่เป็นสุขแล เป็นฐิติสุข (สุขในฐีติขณะ) แต่เป็นวิปริณามทุกข์ (ทุกข์เมื่อเปลี่ยนแปลง) ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่เป็นทุกข์แล เป็นฐิติทุกข์ (ทุกข์ในฐีติขณะ) แต่เป็นวิปริณามสุข (สุขเมื่อเปลี่ยนแปลง). อธิบายว่า ความมีอยู่แห่งสุขเวทนา เป็นความสุข ความไม่มีแห่งสุขเวทนา เป็นทุกข์ ความมีอยู่แห่งทุกขเวทนา เป็นทุกข์ ความไม่มีอยู่แห่งทุกขเวทนา เป็นสุข. การนับความเป็นไปแห่ง อทุกขมสุขเวทนา คือการนับ การไม่นับ ได้แก่ การรู้ การไม่รู้ ซึ่งความ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 359

เป็นไป แห่งอทุกขมสุขเวทนา เป็นเครื่องกำหนคความเป็นสุขและเป็นทุกข์. ก็แลแม้คำนี้ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ ทุกข์แล เป็นญาณสุข (สุขเพราะรู้) แต่เป็นอญาณทุกข์ (ทุกข์เพราะไม่รู้).

บทว่า อินฺทริยํ ความว่า จริงอยู่ เวทนา ๓ มีสุขเวทนาเป็นต้น เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ โดยอินทรีย์ ๕ ประการ คือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ เพราะ อรรถว่าเป็นอธิบดี. อธิบายว่า ความยินดีทางกาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกว่า สุขินทรีย์. ความไม่ยินดี ตรัสเรียกว่า ทุกขินทรีย์. ส่วนความ ยินดีทางใจ ตรัสเรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. ความไม่ยินดี ตรัสเรียกว่า โทมนัสสินทรีย์. แม้ทั้งสองอย่าง ไม่ตรัสเรียกว่า ความยินดี ความไม่ยินดี เป็นอุเบกขินทรีย์. ถามว่า ในข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุเล่า. ตอบว่า เพราะไม่มี ความแตกต่างกันว่า อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสจำแนกไว้ เหมือนสุขเวทนาทุกขเวทนา ทางกายและทางใจที่ตรัสจำแนกไว้ว่า สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ดังนี้. เพราะว่า สุขเวทนา มีการอนุเคราะห์เป็นสภาพ ส่วนทุกขเวทนามีการแผดเผาเป็นสภาพ อย่างหนึ่ง ทำการอนุเคราะห์กาย อีกอย่างหนึ่งทำการแผดเผาใจ ฉันใด อทุกขสุขเวทนา ไม่เหมือนอย่างนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ตรัสจำแนกไว้ เพราะไม่มีความแตกต่างกัน.

บทว่า ทุวิธาทิตา ความว่า แท้จริง เวทนาแม้ทั้งหมด โดยความหมาย ว่า เสวยอารมณ์ ก็มีอย่างเดียวเท่านั้น แต่โดยแยกที่อาศัย ก็มีสองอย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ. (โดยอารมณ์) มี ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา โดยอำนาจกำเนิด ๔ มี ๔ อย่าง โดยอำนาจอินทรีย์ และโดยอำนาจคติมี ๕ อย่าง โดยอำนาจทวาร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 360

และโดยอำนาจอารมณ์มี ๖ อย่าง โดยการประกอบกับวิญญาณธาตุ ๗ มี ๗ อย่าง โดยมีโลกธรรม ๘ เป็นปัจจัย มี ๘ อย่าง โดยการจำแนกสุขเป็นต้น แต่ละอย่าง ออกเป็นอดีตเป็นต้น มี ๙ อย่าง. เวทนาเหล่านั้นแหละ โดยแยกเป็นภายใน และภายนอก มี ๑๘ อย่าง โดยแยกอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ออกเป็นอย่างละ ๓ ตามอำนาจของสุขเป็นต้น ก็ (๑๘) เท่านั้นเหมือนกัน. อธิบายว่า ในรูปารมณ์ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง อทุกขมสุขบ้างเกิดขึ้น. แม้ในอารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้น นอกนี้ก็เช่นนั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจมโนปวิจาร ๑๘ เวทนา ก็มี ๑๘. สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ย่อมเข้าไปพิจารณารูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมพิจารณารูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปพิจารณารูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ได้ยิน เสียงด้วยโสต ฯลฯ รู้ธรรมด้วยใจ ย่อมเข้าไปพิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส ย่อมเข้าไบ่พิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปพิจารณา ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เวทนาจึงมี ๑๘ อย่าง. อีกประการหนึ่ง เวทนาเป็น ๓๖ อย่างนี้ คือ เคหสิตโสมนัส (โสมนัส ที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ เคหสิตโทมนัส (โทมนัสที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ โสมนัสเป็นต้นที่อาศัยเนกขัมมะ ก็มีเหมือนกัน. เวทนามีถึง ๑๐๘ คือ เวทนาในอดีต ๓๖ ในอนาคต ๓๖ ในปัจจุบัน ๓๖. ในอธิการแห่งเวทนาน พึงทราบความที่เวทนามี ๒ อย่างเป็นต้น ดังพรรณนา มานี้แล.

จบปกิณณกถา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 361

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า สมาหิโต ความว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ แยกประเภทเป็น อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. ด้วยบทว่า สมาหิโต นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการ ประกอบเนืองๆ ซึ่งสมถภาวนา. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า รู้ชัดอยู่ โดยชอบ ด้วยสัมปชัญญะ ๔ ประการ มีสาตถกสัมปชัญญะเป็นต้น. ด้วยบทว่า สมฺปชาโน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการประกอบเนืองๆ ซึ่ง วิปัสสนา. บทว่า สโต ความว่า เป็นผู้ตั้งสติ ด้วยบทว่า สโต นั้น ธรรม ทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา โดยนัยแห่งสมถะและวิปัสสนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนานุโยคนั้น. บท ว่า เวทนา จ ปชานาติ ความว่า พุทธสาวกเมื่อกำหนดรู้ ด้วยปริญญา ๓ ในส่วนเบื้องต้น โดยจำแนกตามความเป็นจริงว่า เวทนาเหล่านี้ เวทนามี เท่านี้ และโดยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นว่า เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้ว เจริญวิปัสสนา ย่อมรู้ชัดด้วย การแทงตลอด ด้วยการกำหนดรู้ ด้วยอริยมรรค. บทว่า เวทนาญฺจ สมฺภวํ ได้แก่ สมุทยสัจ. บทว่า ยตฺถ เจตา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า ด้วยเหตุเพียง เท่านี้ เวทนาย่อมดับไปในที่ใด ที่นั้นเป็นนิโรธสัจ. บทว่า ขยคามินํ เชื่อม ความว่า รู้อริยมรรคที่เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาด้วย. บทว่า เวทนานํ ขยา ความว่า เพราะคับโดยไม่ให้เกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลาย ด้วยอริยมรรคที่แทงตลอด สัจจะทั้ง ๔ ดังนี้. บทว่า นิจฺฉาโต ปริพฺพุโต ความว่า หมดตัณหา คือ ละตัณหาได้ เป็นผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสปริ- นิพพาน และขันธปรินิพพาน.

จบอรรถกถาปฐมเวทนาสูตรที่ ๓