พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยเอสนาสูตร ว่าด้วยที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40078
อ่าน  386

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 371

ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๖. ทุติยเอสนาสูตร

ว่าด้วยที่ตั้งแห่งทิฏฐิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 371

๖. ทุติยเอสนาสูตร

ว่าด้วยที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

[๒๓๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

การแสวงหากาม การแสวงหาภพ กับการแสวงหาพรหมจรรย์ การยึดมั่นว่า จริงดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น การ แสวงหาทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ พระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีแล้วด้วยความยินดี ทั้งปวง ผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา สละคืนเสียแล้ว ถอนขึ้นได้แล้ว ภิกษุ เป็นผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีความสงสัย เพราะความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้งหลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยเอสนาสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 372

อรรถกถาทุติยเอสนาสูตร

ในทุติยเอสนาสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า พร้อมกับด้วยการแสวงหา พรหมจรรย์. ก็ด้วยการลบวิภัตติออกเสีย ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริเยสนา นี้ จึงเป็นศัพท์นิเทศ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พฺรหฺมจริยเอสนา นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ (แต่) ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ กามเอสนา ภวเอสนา รวมกับ พรหมจริยเอสนา จึงเป็นเอสนา ๓ อย่าง. ในบรรดาเอสนาเหล่านั้น เพื่อจะทรงแสดงพรหมจริยเอสนาโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้ว่า อิติ สจฺจปรานาโส ทิฏฺิฏานา สมุสฺสยา การยึดมั่นว่าจริง ดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น ดังนี้.

คำนั้นมีอธิบายดังนี้ การยึดมั่นว่า สิ่งนี้เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการ อย่างนี้ ชื่อว่า อิตสจฺจปรามาโส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาการ คือ ความเป็นไปแห่งทิฏฐิไว้ว่า "สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ" ทิฏฐิ นั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฺิฏานา เพราะเป็นเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวโทษที่จะ พึงตำหนิว่า มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่งดังนี้ และมีคำอธิบายว่า มิจฉาทิฏฐิ เหล่านั้นแหละ ทั้งที่เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งเป็นที่เกิดขึ้น โดยเป็นที่เกิดแห่ง กิเลส มีโลภะเป็นต้น ทิฏฐิทั้งหลายที่ยึดมั่นผิดๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่น เป็นโมฆะ ดังนี้ เป็นทั้งเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง เป็นทั้งเหตุแห่งการก่อทุกข์ คือกิเลส จึงชื่อว่า พฺรหฺมจริยเอสนา. ด้วยบทแห่งพระคาถาว่า อิติสจฺจ- ปรามาโส ทิฏฺฐฏฺานา สมุสฺสยา นี้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 373

ทรงแสดงพรหมจริยเอสนาไว้แล้ว โดยอาการแห่งการเป็นไป และโดยความ สำเร็จ. บทว่า สพฺพราควิรตสฺส ความว่า พระอรหันต์ผู้คลายความกำหนัด จากกามราคะ และภวราคะทั้งหลาย ทั้งปวง ดังแต่นั้นไป ก็ชื่อว่า ผู้หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เพราะพ้น ในเพราะพระนิพพาน กล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา. บทว่า เอสนา ปฏินิสฺสฏฺา ความว่า กามเอสนาและภวเอสนา เป็นอันท่านสลัดออกแล้ว คือละแล้วโดยประการ ทั้งปวง. บทว่า ทิฏฺิฏฺานา สมูหตา ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิกล่าวคือ พรหมจริยเอสนา และถูกถอนขึ้นด้วยปฐมมรรคนั่นเอง. บทว่า เอสนานํ ขยา ความว่า เพราะสิ้นไป คือ เพราะดับไปโดยไม่เกิดขึ้น แห่งการแสวงหา ทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว ตรัสเรียกว่า นิราโส เพราะหาความหวังมิได้ โดยประการทั้งปวง และตรัสเรียกว่า อกถังกถี เพราะละการกล่าวถ้อยคำว่าอย่างไร ด้วยความสงสัยที่เป็นทิฏฐิได้แล้ว.

จบอรรถกถาทุติยเอสนาสูตรที่ ๖