๗. ปฐมอาสวสูตร ว่าด้วยอาสวะ ๓ ประการ
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 373
ติกนิบาต
วรรคที่ ๑
๗. ปฐมอาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ ๓ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 373
๗. ปฐมอาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ ๓ ประการ
[๒๓๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 374
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัด ซึ่งอาสวะทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ดับแห่งอาสวะทั้งหลาย และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุหายหิวแล้ว ดับรอบแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบปฐมอาสวสูตรที่ ๗
อรรถกถาปฐมอาสวสูตร
ในปฐมอาสวสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อาสวะในกามทั้งหลาย ชื่อว่า กามาสวะ อีกอย่างหนึ่ง อาสวะ กล่าวคือกาม ชื่อว่า กามาสวะ แต่โดยเนื้อความ กามราคะ และความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น ชื่อว่า กามสวะ. ฉันทราคะ ในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ และความปรารถนาในภพ ชื่อว่า ภวาสวะ. อวิชชานั่นแหละ ชื่อว่า อวิชชาสวะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 375
ในบทว่า อาสวานญฺจ สมฺภวํ นี้ อโยนิโสมนสิการ และกิเลสทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ชื่อว่า เป็นเหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเกิดก่อน ความไม่ละอายแก่ใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป จะคล้อยตามการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า มคฺคญฺจ ขยคามินํ ความว่า ซึ่งพระอริยมรรค อันเป็นเหตุให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะด้วย. บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะจะละได้ด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะ และอวิชชาสวะ จะละได้ด้วยอรหัตตมรรค. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้กามาสวะ ก็ถูกมรรคเบื้องปลายฆ่า เหมือนกามุปปาทาน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปฐมอาสวสูตรที่ ๗