พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. มารเธยยสูตร ว่าด้วยธรรม ๓ เครื่องกัาวล้วงบ่วงมาร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40082
อ่าน  432

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 380

ติกนิบาต

วรรคที่ ๑

๑๐. มารเธยยสูตร

ว่าด้วยธรรม ๓ เครื่องก้าวล่วงบ่วงมาร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 380

๑๐. มารเธยยสูตร

ว่าด้วยธรรม ๓ เครื่องก้าวล่วงบ่วงมาร

[๒๓๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้ว ย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์อัน เป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบแล้ว ด้วยธรรม ๓ ประการ นี้แล ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้ว ย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 381

ภิกษุใด เจริญศีล สมาธิ และปัญญา ดูแล้ว ภิกษุนั้น ก้าวล่วงบ่วงแห่งมาร ได้แล้ว ย่อมรุ่งเรือง ดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมารเธยยสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑

อรรถกถามารเธยยสูตร

มารเธยยสูตรที่ ๑๐ มีการเกิดขึ้นอย่างไร? เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง พระบรมศาสดา มีบริษัทผู้เป็นพระเสกขะเป็นส่วนมากแวดล้อมแล้ว ประทับนั่ง ตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทเหล่านั้น เมื่อจะทรงชมเชยอเสขภูมิ จึงตรัสพระสูตร นี้ไว้ เพื่อให้เกิดอุตสาหะในการบรรลุคุณพิเศษ ที่สูงๆ ขึ้นไป.บรรดาบทเหล่านั้น ในบทเป็นต้นว่า อติกฺกมฺม มีความสังเขป ดังต่อไปนี้ (ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓) จะรุ่งโรจน์ ก้าวล่วง คือ ล่วงเลย ได้แก่ครอบงำ ที่ตั้งแห่งมารคืออารมณ์ ได้แก่วิสัย คือฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง อิสริยะของมาร ดุจพระอาทิตย์. พระอาทิตย์ที่พ้นจากความมืดมัว มีเมฆ เป็นต้น ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ ฤทธิ์ อานุภาพ และเดช ของตนพุ่งขึ้นสู่นภากาศ ไพโรจน์ สว่างไสว แผดแสง ข่ม ขับ ครอบงำ กำจัดความมืด ที่อยู่ในอากาศทั้งหมด ฉันใด ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ พ้นจากอุปกิเลสทุกอย่าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 382

ย่อมรุ่งโรจน์ ครอบงำพฤติการแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ กล่าวคือที่ตั้ง แห่งมาร ฉะนี้แล.

ธรรมชื่อว่า เสกขะ ในบทว่า อเสกฺเขน นี้ เพราะเกิดแล้วในเพราะ สิกขาทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายชื่อว่าเสกขะ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นของพระเสกขะ ๗ จำพวก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสกขะ เพราะกำลังศึกษา อยู่ด้วยตนเองทีเดียว โดยที่ยังศึกษาไม่สำเร็จ ได้แก่มรรคธรรมและผลธรรม เบื้องต่ำ ๓ อย่าง แต่ผลธรรมอันเลิศ (อรหัตตผล) ไม่เป็นเสกขธรรมเพราะ ไม่มีศีลที่จะต้องศึกษาในเบื้องสูง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อเสกขะ. เพราะว่า นี้เป็นการคัดค้านในธรรมที่ยังมีความสงสัยในความเป็นพระเสกขะ เพราะฉะนั้น ทั้งในโลกิยธรรม และนิพพานธรรม พึงทราบว่า ยังไม่ควรแก่ความเป็น อเสขธรรม. เพราะว่า สิกขา กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่พ้นแล้วจากกิเลส ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน คือบริสุทธิ์แล้ว ที่ควรกล่าวได้ว่า เป็นสิกขาที่ดียิ่ง เพราะไม่เข้าถึงแม้ความเป็นอารมณ์ของอุปกิเลสทั้งหลาย มีอยู่ในมรรคผลทั้ง ๘ เพราะเหตุนั้น แม้ธรรมคืออรหัตตผล ก็จะเป็นธรรมเกิดขึ้นในเพราะสิกขา เหล่านั้น เหมือนกับธรรม คือมรรค ๔ และผล ๓ เบื้องต่ำ ฉะนั้น ก็เมื่อ พระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยสิกขานั้น ยังเป็นเสกขะเหมือนท่านนอกนี้ ก็จะพึงมี ความสงสัยว่า ที่ชื่อว่าเสกขะ เพราะอรรถว่าธรรมเหล่านี้ เป็นของเสกขบุคคล เพราะอรรถว่า ศีลเป็นสิกขาของท่านเหล่านี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น เพื่อจะห้าม ความสงสัยนั้นเสีย ท่านจึงกล่าวคำว่า อเสกฺขา ไว้ เป็นการปฏิเสธภาวะ แห่งเสกขบุคคลตามที่กล่าวแล้ว. เพราะว่าสิกขาทั้งหลาย ที่เป็นไปอยู่ใน อรหัตตผล จะไม่ทำกิจของการศึกษา เพราะเสร็จกิจของการศึกษาแล้ว จะเป็น ไปโดยความเป็นผลของการศึกษาอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น สิกขาเหล่านั้น จึงไม่ควรเรียกว่า สิกขา. ทั้งผู้ที่พร้อมด้วยสิกขานั้น ก็ไม่ควรเรียกว่าเสกขบุคคล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 383

อนึ่ง ธรรมที่สัมปยุตด้วยสิกขานั้น ก็ไม่ได้มีการศึกษาเป็นปกติ. ผลธรรม อันเลิศ (อรหัตตผล) ก็ไม่เป็นเสกขธรรมตามความหมาย มีอาทิอย่างนี้ว่า เกิดแล้วในสิกขาทั้งหลาย. ส่วนสิกขาในผลเบื้องต่ำทั้งหลาย ยังทำกิจของการ ศึกษา ในสกทาคามิมรรคอยู่เพราะความเป็นอุปนิสัยของวิปัสสนาเป็นต้น เพราะฉะนั้น สิกขาทั้งหลายจึงควรเรียกว่า สิกขา และผู้ที่พร้อมเพรียงด้วย สิกขานั้น ก็ควรเรียกว่าเสกขบุคคล ทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วยสิกขานั้น ก็เป็น ธรรมมีการศึกษาเป็นปกติ. เสกขธรรมทั้งหลายต้องเป็นเสกขธรรมอยู่นั่นเอง ตามความหมายที่กล่าวแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะมีคำท้วงว่า บทว่า เสกฺขา เป็นคำเรียกพระอริยะทั้งหลาย ผู้ยังไม่สำเร็จการศึกษา ดังนี้ (ส่วน) บทว่า อเสกฺขา เป็นคำ แสดงถึงพระอริยสาวกทั้งหลาย ผู้สำเร็จการศึกษา เพราะฉะนั้น โลกิยธรรม และนิพพานธรรม หาควรเป็นอเสกขธรรมไม่ ธรรมทั้งหลายที่ถึงความเจริญ เป็นทั้งเสกขธรรม เป็นทั้งอเสกขธรรม ความที่ธรรมบางประเภท ในบรรดา เสกขธรรมทั้งหลายที่ถึงความเจริญแล้ว เป็นอเสกขธรรมก็ถูกต้อง เพราะ ฉะนั้น ธรรมคืออรหัตตมรรคทั้งหลาย เป็นอเสกขธรรมก็ถูกต้อง เพราะ อธิบายอย่างนี้ว่า ถึงความเจริญแล้ว และเป็นเสกขธรรม ตามความหมายที่ กล่าวแล้ว ดังนี้หรือ? ตอบว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการเรียก อย่างนั้น (มี) ในธรรมที่คล้ายกัน. เพราะว่า อรหัตตผลมีการกระทำที่ไม่แตกต่าง ออกไปจากอรหัตตมรรค เว้นไว้แต่การกระทำหน้าที่ มีปริญญาเป็นต้น (ของ อรหัตตมรรค) และความเป็นวิบากของ (อรหัตตผล) เพราะฉะนั้น เสกขธรรม เหล่านั้นแหละ อาจกล่าวได้ว่า ถึงความเป็นอรหัตตผล และวิปากสุข (ความ สุขที่เกิดแต่ผล) เป็นสุขประณีตกว่ากุศลสุข (สุขที่เกิดแต่กุศล) เพราะสงบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 384

กว่ากัน. เพราะฉะนั้น ธรรมที่ถึงความเจริญนั่นแหละยังมีอยู่ ฉะนั้นจึงเรียกว่า อเสกขธรรม.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศอานุภาพของพระขีณาสพ ด้วยการถึงพร้อมด้วยธรรมเหล่านั้น โดยทรงจำแนกอเสกขธรรมเหล่านั้น ออกเป็น ๓ อย่าง ตามอำนาจของขันธ์ไว้ในที่นี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อเสกฺเขน สีลกฺขนฺเธน ดังนี้.

เนื้อความของสีลศัพท์ ในคำว่า สีลกฺขนฺเธน นั้น ข้าพเจ้าได้กล่าว แล้วในหนหลัง. ส่วนขันธศัพท์ มีประโยคที่เห็นได้ (ใช้ได้) ในอรรถทั้งหลาย เป็นอันมาก คือในกอง ในบัญญัติ ในความงอกงาม ในคุณธรรม. จริงอย่างนั้น ขันธศัพท์มาในกอง ในประโยคมีอาทิว่า อาโป น้ำที่นับไม่ถ้วน คำนวณ ไม่ได้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นกอง (ห้วงน้ำ) ใหญ่ทีเดียว. มีมาในบัญญัติ ใน ประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ ที่กำลัง ถูกกระแสน้ำคงคาพัดมา. มาในความงอกงาม ดังในประโยคมีอาทิว่า จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ วิญญาณ วิญญาณขันธ์. มาในคุณธรรม ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ทั้ง ๓ ไม่ได้สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เลย ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ แต่ว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ทั้ง ๓ อย่างแล. แม้ในพระสูตรนี้ ขันธศัพท์พึงเห็นว่า (มาแล้ว) ในคุณธรรมอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น จึงมี อธิบายว่า ด้วยคุณธรรมกล่าวคือศีลที่เป็นอเสกขะ.

บทว่า สมนฺนาคโต ความว่า ประกอบพร้อมแล้ว คือเป็นผู้ พรั่งพร้อมแล้ว. ชื่อว่า สมาธิ เพราะเป็นเหตุตั้งมั่น หรือเพราะตั้งมั่นเอง หรือความตั้งมั่น แห่งจิตนั่นเอง. ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ คือแทงตลอดตาม เป็นจริง โดยประการทั้งหลาย. ขันธ์คือศีลนั่นเอง ชื่อว่า ศีลขันธ์ แม้ในสมาธิ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 385

และปัญญาที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อันเป็นผลเลิศ ชื่อว่า สีลขันธ์ที่เป็นอเสกขะ โดยสภาพนั่นเอง ในบรรดาขันธ์เหล่านั้น. สัมมาสมาธิก็เช่นกัน (คือเป็นผลอันเลิศ) ชื่อว่า สมาธิขันธ์ที่เป็นอเสกขะ. ส่วนสัมมาวายามะ และสัมมาสติ ถึงการสงเคราะห์ เข้าในสมาธิขันธ์ เพราะเป็นอุปการะแก่สมาธิขันธ์นั้น. สัมมาทิฏฐิก็เช่นนั้น (คือเป็นผลเลิศ) ชื่อว่า ปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสกขะ. สัมมาสังกัปปะ ถึงการ สงเคราะห์เข้าในปัญญาขันธ์ เพราะเป็นอุปการะแก่ปัญญาขันธ์ ด้วยประการ ดังพรรณนามานี้ ในข้อนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคือ อรหัตตผลทั้ง ๘ สงเคราะห์เข้ากับขันธ์ทั้ง ๓.

บทว่า ยสฺส เอเต สุภาวิตา มีการเชื่อมความว่า พระอรหันต์ รูปใด อบรมตามขันธ์ที่เป็นอเสขะ มีศีลเป็นต้นเหล่านี้ดีแล้ว คือเจริญดีแล้ว พระอรหันต์นั้น ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์. บางท่านสวดว่า ยสฺส เจเต ดังนี้ก็มี. ศัพท์ของบทว่า เจเต นั้น เป็นเพียงนิบาต.

ในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏะไว้ในสูตรแรก ตรัสวิวัฏฎะ ไว้ในสูตรสุดท้าย ส่วนในสูตรนอกนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ ดัง พรรณนามานี้.

จบอรรถกถามารเธยยสูตรที่ ๑๐

จบวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อกุศลมูลสูตร ๒. ธาตุสูตร ๓. ปฐมเวทนาสูตร ๔. ทุติยเวทนา สูตร ๕. ปฐมเอสนาสูตร ๖. ทุติยเอสนาสูตร ๗. ปฐมอาสวสูตร ๘. ทุติย อาสวสูตร ๙. ตัณหาสูตร ๑๐. มารเธยยสูตร และอรรถกถา.