พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. จักขุสูตร ว่าด้วยจักษุ ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40084
อ่าน  424

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 391

ติกนิบาต

วรรคที่ ๒

๒. จักขุสูตร

ว่าด้วยจักษุ ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 391

๒. จักขุสูตร

ว่าด้วยจักษุ ๓ อย่าง

[๒๓๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ มังสจักษุ ๑ ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ อย่าง นี้แล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 392

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า บุรุษได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้ คือ มังสจักษุ ๑ ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ๑ ความบังเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่ง ทิพยจักษุ เมื่อใดญาณบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ นั้น บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเพราะ การได้เฉพาะซึ่งปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบจักขุสูตรที่ ๒

อรรถกถาจักขุสูตร

ในจักขุสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จกฺขูนิ ความว่า ชื่อว่าจักษุ เพราะบอก. อธิบายว่าเป็นไป เหมือนจะบอกทางที่ราบเรียบ และไม่ราบเรียบ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จักษุ เพราะอรรถว่า ชอบใจ. ถามว่า ที่ชื่อว่า ชอบนี้ คืออย่างไร? ตอบว่า ชอบใจ. จริงอย่างที่คนทั้งหลายกล่าวว่า (ผึ้ง) ชอบน้ำหวาน (คน) ชอบกับข้าว. อีกอย่างหนึ่ง อายนะเหล่านั้น เมื่อเสวยรสแห่งอารมณ์ย่อมเป็นเสมือน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 393

ชอบใจอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าชอบใจ. แต่จักษุเหล่านั้น โดยสังเขปมี ๒ อย่าง คือ ญาณจักษุ และมังสจักษุ. บรรดาจักษุทั้ง ๒ อย่างนั้น มังสจักษุ ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น (แต่) ในพระสูตรนี้ ญาณจักษุ ตรัสแยกไว้เป็น ๒ อย่าง คือ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพจกฺขุ ความว่า จักษุ ชื่อว่า ทิพย์ เพราะเป็นเหมือนทิพย์ อธิบายว่า จักษุของเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดแต่สุจริตกรรม ไม่ถูกน้ำดี เสมหะ และเลือดเป็นต้นปิดบัง เป็นจักษุที่มีประสาทเป็นทิพย์ สามารถรับอารมณ์แม้ไกลได้ เพราะพ้นจากอุปกิเลส. แม้ญาณจักษุนี้ที่เกิดด้วย พลังแห่งการเจริญวิริยะ ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นเหมือนทิพย์ ญาณจักษุชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะได้มาด้วยสามารถแห่ง ทิพวิหารธรรม เพราะอาศัยทิพวิหารธรรมของตน เพราะรุ่งโรจน์มากด้วย การกำหนดอาโลกกสิณ และแม้เพราะมีการกระทำไปได้กว้างขวาง โดยการ เห็นรูปที่อยู่ในที่นอกกำแพงเป็นต้น ทิพยจักษุทั้งหมดนั้น พึงทราบตามแนวแห่งสัททศาสตร์ อายตนะ ชื่อว่า จักษุ เพราะอรรถว่าเป็นเหมือนจักษุ โดยอรรถว่าเห็น คือ โดยการทำกิจคือการเห็นดังนี้บ้าง. จักษุนั้นด้วย เป็น ทิพย์ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิพยจักษุ.

ธรรมชาติ ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ชัด. รู้ชัดอะไร? รู้ชัดอริยสัจ ๔ โดยนัยมีอาทิว่า นี้ทุกข์. สมจริงตามที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ธรรมชาติที่เรียกว่า ปัญญา เพราะรู้ทั่วแล. รู้ทั่วอะไร? รู้ทั่วว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ เป็นต้น. ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า ปัญญา ด้วยสามารถแห่งการบัญญัติ. บัญญัติว่าอย่างไร? บัญญัติว่า อนิจจัง ... ทุกขัง ... อนัตตา ก็แลปัญญานั้น โดยลักษณะเป็นต้น มีการแทงตลอด ความจริงเป็นลักษณะ หรือมีการแทงตลอดโดยไม่พลาดพลั้งเป็นลักษณะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 394

เหมือนการแทงทะลุของลูกศรที่นายขะมังธนูผู้ฉลาดยิงออกไป มีการส่องให้ เห็นอารมณ์เป็นกิจ เหมือนดวงประทีป มีการไม่หลงเป็นเครื่องปรากฏ เหมือน มัคคุเทสก์ชั้นดี บอกทางแก่ผู้ไปป่า แต่โดยพิเศษแล้ว ในที่นี้ ทรงประสงค์ เอาปัญญา กล่าวคืออาสวักขยญาณว่า ชื่อว่า ปัญญาจักษุ เพราะหมายความว่า เห็นสัจจะทั้ง ๔ ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาว่า จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้ เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

อนึ่ง บรรดาจักษุเหล่านั้น มังสจักษุ เป็นของเล็ก (ปริตตัง) ทิพยจักษุ เป็นของใหญ่ (มหัคคตะ) นอกนี้ (ปัญญาจักษุ) หาประมาณมิได้ (อัปปมาณัง) มังสจักษุ เป็นรูป สองอย่างนอกนี้เป็นอรูป. ทั้งมังสจักษุ และ ทิพยจักษุ เป็นโลกิยะยังมีอาสวะ และมีรูปเป็นอารมณ์ นอกนี้ (ปัญญาจักษุ) เป็นโลกุตระ ไม่มีอาสวะ มีสัจจะทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ มังสจักษุเป็นอัพยากฤต ทิพยจักษุเป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ปัญญาจักษุก็เหมือนกัน (เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี) มังสจักษุ เป็นกามาวจร ทิพยจักษุ เป็นรูปาวจร นอกนี้ (ปัญญาจักษุ) เป็นโลกุตระ พึงทราบการจำแนกโดยนัยมีอาทิดังพรรณนามานี้.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อนุตฺตรํ ตรัสหมายถึงปัญญาจักษุ. ด้วยว่าปัญญาจักษุนั้น ชื่อว่า อนุตฺตรํ เพราะเป็น อาสวักขยญาณ. บทว่า อกฺขาสิ ปุริสุตฺตโม ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดคือเลิศกว่าคนทั้งหลาย ทรงแสดงไว้. ความเป็นไปแห่งมังสจักษุชื่อว่า อุปปาทะ. อุบายคือเหตุแห่งทิพยจักษุ ชื่อว่ามรรค อธิบายว่า ทิพยจักษุ เกิดขึ้นแก่ผู้มีตาดี ตามปกติเท่านั้น เพราะมีการเจริญอาโลกกสิณ แล้วเกิด ทิพยจักษุญาณขึ้น และอาโลกกสิณนั้นไม่มีในมณฑลแห่งกสิณ โดยเว้นจาก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 395

อุคคหนิมิต ดังนี้. บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า าณํ ได้แก่ อาสวักขยญาณ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปญฺาจกฺขุ อนุตฺตรํ ปัญญาจักษุ เป็นจักษุยอดเยี่ยม. บทว่า ยสฺส จกฺขุสฺส ปฏิลาภา ความว่า บุคคลย่อมพ้น คือหลุดพ้นจากวัฏฏะทั้งปวงได้ ด้วยภาวนา เพราะปัญญาจักษุ ที่ประเสริฐใดเกิดขึ้น.

จบอรรถกถาจักขุสูตรที่ ๒