พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อินทริยสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40085
อ่าน  784

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 395

ติกนิบาต

วรรคที่ ๒

๓. อินทริยสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 395

๓. อินทริยสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๓ ประการ

[๒๔๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์) ยอมเกิดขึ้นแก่พระเสกขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 396

ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง ในเพราะความ สินกิเลส พระอรหัต (อัญญินทรีย์) ย่อม เกิดขึ้นในลำดับแห่งญาณนั้น ญาณ (คือ ปัจจเวกขณะ) ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ (อัญญาตาอินทรีย์) ผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้คง ที่ ต่อจากพระอรหัตนั้นว่า วิมุตติของเรา ไม่กำเริบเพราะความสิ้นไปแต่งกวสังโยชน์ ถ้าว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ผู้ระงับ แล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้ บุคคลนั้น ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้ ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบอินทริยสูตรที่ ๓

อรรถกถาอินทริยสูตร

ในอินทริยสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อินฺทฺริยานิ ความว่า ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็น ใหญ่ยิ่ง อธิบายว่า ธรรมชาติเหล่าใด เป็นประหนึ่งว่าเป็นใหญ่ในสหชาตธรรม ทั้งหลาย อันสหชาตธรรมเหล่านั้นจะต้องคล้อยตาม ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่า อินทรีย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 397

ผู้เป็นใหญ่ เป็นธรรมิศร และประกอบด้วยความเป็นใหญ่แห่งจิตอันยอดเยี่ยม ทรงเห็นแล้ว คือทรงบรรลุแล้วก่อนกว่าทุกคน และเพราะทรงเห็นแล้ว คือ ทรงแสดงแล้วแก่ชนเหล่าอื่น ก่อนกว่าทุกคน และเพราะทรงเห็นแล้ว ด้วยอารัมมณภาวนา และเสวนา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะเป็น เครื่องหมายแห่งบุญกรรมที่เป็นใหญ่ คือเป็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุมรรค ดังนี้บ้าง.

บทว่า อนญฺาตญฺสฺสามีตินฺทฺริยํ ได้แก่ อินทรีย์ที่เกิดขึ้น ในตอนต้นนี้ ของผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราจักบรรลุอมตบทหรือสัจจธรรมทั้ง ๔ ที่ยังไม่เคยรู้. คือไม่เคยบรรลุ ในสงสารที่มีที่สุด อันบุคคลตามไปไม่รู้แล้ว นี้เป็นชื่อของปัญญาในโสดาปัตติมรรค. บทว่า อญฺินฺทฺริยํ ได้แก่เป็นใหญ่ โดยการรู้ทั่ว. ในบทว่า อญฺินฺทฺริยํ นี้ มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ อินทรีย์ ชื่อว่า อญฺา เพราะรู้ทั่ว คือรู้ไม่เกินขอบเขตธรรมที่ได้เห็นแล้ว ด้วยปฐมมรรคญาณนั่นแหละ อุปมาเหมือนปัญญาในปฐมมรรค ย่อมเป็นไปด้วยสามารถ แห่งการบรรลุ ด้วยปริญญากิจเป็นต้น ในทุกข์เป็นต้น ฉันใด แม้ปัญญานี้ ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น อัญญานั้นด้วย ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ ตามความหมายดังที่กล่าวมาแล้วด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัินทรีย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัญญินทรีย์ เพราะเป็นอินทรีย์ของตระอริยบุคคลผู้ชื่อว่า อัญญะ เพราะอรรถว่ารู้ทั่วถึง. คำว่า อญฺินฺทริยํ นี้ เป็นชื่อของญาณ ในที่ ๖ สถานเริ่มต้นตั้งแต่โสดาปัตติผลไป. บทว่า อญฺาตาวินฺทฺริยํ ได้แก่ อินทรีย์ของพระอริยบุคคลผู้รู้ทั่วถึงแล้ว เพราะเกิดขึ้นแต่ท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว คือพระขีณาสพ ผู้มีกิจด้วยญาณสำเร็จแล้ว ในสัจจะทั้ง ๔ และเป็นแดนเกิด แห่งอินทรีย์ ๘ (มรรค ๔ ผล ๔). ก็ในบรรดาอินทรีย์ ๘ อย่างนี้ ข้อแรก และข้อสุดท้าย พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในฐานะอันเดียวด้วยโสดาปัตติมรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 398

และผลที่ ๔ นอกนี้ พึงทราบว่าตั้งอยู่ในฐานะ ๖ อย่าง ด้วยสามารถแห่ง มรรคและผล นอกจากนี้ (โสดาปัตติผล จนถึงอรหัตตมรรค).

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า สิกฺขมานสฺส ความว่า ศึกษาอยู่ คือบำเพ็ญอยู่ ซึ่งอธิสีลสิกขาเป็นต้น. บทว่า อุชุมคฺคานุสาริโน ความว่า อริยมรรคเรียกว่า ทางตรง. ผู้ชื่อว่าตามระลึกถึง ทางตรง เพราะระลึกถึงทางตรงนั้นเนืองๆ เหตุที่เว้นที่สุดสองอย่าง อธิบายว่า ยังมรรคให้เกิดขึ้นตามลำดับ. บทว่า ขยสฺมึ ความว่า ญาณในมรรคอันเลิศ (อรหัตตมรรค) กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไป เพราะกิเลสสิ้นไปโดยไม่เหลือ เกิดขึ้นก่อน คือแรกทีเดียว. บทว่า ตโต อญฺา อนนฺตรา ความว่า ต่อจากมัคคญาณนั้นไป อรหัตตผลก็เกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุชุมคฺคานุสาริโน ความว่า สำหรับ พระโยคาวจรผู้ระลึกถึงเนืองๆ คือติดตาม ได้แก่ ปฏิบัติมรรคชั้นต้นที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเว้น ความหดหู่ ความ ฟุ้งซ่าน ความชะงักงัน และความกระตือรือร้นเป็นต้น แล้วเจริญสมถะและ วิปัสสนา ทำให้เป็นยุคนัทธธรรม (ธรรมคู่แฝด) ในลำดับแห่งโคตรภูญาณ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ คือญาณที่ ๑ จะบังเกิดขึ้นในโสดาปัตติมรรค. ที่ชื่อว่าเป็นที่สิ้นไป เพราะกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน อันท่านเห็นแล้ว สิ้นไป. บทว่า ตโต อญฺา อนนฺตรา ความว่า ต่อจากปฐมญานนั้น คือตั้งแต่ระยะเวลาติดต่อกัน ไป จนถึงอัญญาคือมรรคเบื้องสูง (อรหัตตมรรค) อัญญินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า ตโต อญฺา วิมุตฺตสฺส ความว่า หลังจาก อัญญา คืออัญญินทรีย์นั้น คือต่อจากอรหัตมัคคญาณ ปัจจเวกขณญาณย่อม เกิดขึ้น แก่พระโยคาวจรผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอรหัตตผล คือ อัญญาตาวินทรีย์ โดยปัญญาวิมุตติ. บทว่า าณํ เว โหติ ตาทิโน ความว่า ในเวลา ต่อจากการบรรลุอรหัตตผล ปัจจเวกขณญาณจะเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ผู้ถึง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 399

ลักษณะของผู้คงที่ ในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า อกุปฺปา เม วิมุตฺติ (วิมุตติของเราไม่กำเริบ) ดังนี้ไว้ (เพื่อจะ แก้ข้อสงสัย) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุแห่ง การที่ผู้หลุดพ้นแล้วไม่กำเริบว่า ภวสํโยชนกฺขยา เพราะสิ้นไปแห่งภพและ สังโยชน์

บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชยพระขีณาสพเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๓ ไว้ว่า ส เว อินฺทฺริยสมฺปนฺโน พระขีณาสพนั้นแหละเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย อินทรีย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทฺริยสมฺปนฺโน ความว่า ผู้ประกอบ ด้วยโลกุตรอินทรีย์ ๓ อย่าง ตามที่กล่าวมาแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ประกอบ พร้อมแล้ว คือบริบูรณ์แล้ว ด้วยอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ที่บริสุทธิ์ บ้าง ที่ได้จากความสงบระงับบ้าง. ต่อจากนั้นไป ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย อินทรีย์ทั้งหลาย มีจักษุเป็นต้น ที่สงบระงับดีแล้ว ที่ปราศจากการส้องเสพ ที่ผิดแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า สนฺโต สงบระงับ แล้ว อธิบายว่า สงบระงับแล้ว ด้วยสงบความกระวนกระวาย อันเกิดจาก กิเลสทั้งมวล. บทว่า สนฺติปเท รโต ความว่า ยินดียิ่งแล้ว คือน้อมใจ ไปแล้ว ในพระนิพพาน. อนึ่ง ในพระคาถานี้ ด้วยบทว่า อินฺทฺริยสมฺปนฺโน นี้ทรงแสดงความที่พระขีณาสพนั้น เป็นผู้มีมรรคอันเจริญแล้ว และความเป็น ผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ด้วยบทว่า สนฺโต นี้ ทรงแสดงถึงความที่พระขีณาสพนั้น เป็นผู้ละกิเลสได้แล้ว. แต่ด้วยบทว่า สนฺติปเท รโต ที่ ทรง แสดงความที่พระขีณาสพนั้นเป็นผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งนิโรธแล้ว. คำที่เหลือมี นัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๓