พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ทุจริตสูตร ว่าด้วยทุจริต ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40087
อ่าน  441

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 406

ติกนิบาต

วรรคที่ ๒

๕. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยทุจริต ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 406

๕. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยทุจริต ๓ อย่าง

[๒๔๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุจริต ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุจริต ๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญาทราม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และกระทำ อกุศลกรรมอย่างอื่นอันประกอบด้วยโทษ ไม่กระทำกุศลกรรม กระทำอกุศลกรรม เป็นอันมาก เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุจริตสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 407

อรรถกถาทุจริตสูตร

ในทุจริตสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

การประพฤติชั่ว หรือการประพฤติสิ่งเลวร้าย ชื่อว่าทุจริต. การประพฤติชั่วด้วยกายหรือการประพฤติชั่วที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่ากายทุจริต. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ทุจริตเหล่านี้ ควรจะกล่าวตามบัญญัติบ้าง กล่าวตามกรรมบถบ้าง. บรรดาทั้งสองอย่างนั้น จะกล่าวตามบัญญัติก่อน การละเมิดสิกขาบทที่ทรง บัญญัติไว้ ทางกายทวาร เป็นกายทุจริต การละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ แล้ว ทางวจีทวาร เป็นวจีทุจริต การละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ทั้ง ๒ ทาง เป็นมโนทุจริต นี้แล คือการกล่าวตามบัญญัติ. ส่วนเจตนา ๓ มีปาณาติบาต เป็นต้น ที่เกิดขึ้นทั้งทางกายทวาร ทั้งทางวจีทวาร ชื่อว่าเป็นกายทุจริต. เจตนาทั้ง ๔ มีมุสาวาทเป็นต้น ก็เช่นนั้น (ที่เกิดในทางกายทวารและวจีทวาร) ชื่อว่าเป็นวจีทุจริต ธรรมที่ประกอบด้วยเจตนา ๓ อย่าง คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต นี้แลคือการกล่าวตามกรรมบถ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้ บาปธรรม ที่ถึงกรรมบถ นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยความเป็นกายทุจริตเป็นต้น เพราะ ฉะนั้น เพื่อจะทรงสงเคราะห์เอาบาปธรรมอย่างอื่นนั้นเข้าด้วย พระองค์จึง ตรัสว่า อญฺจญฺํ โทสสณฺหิตํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โทสสณฺหิตํ ได้แก่ ประกอบด้วยกิเลส มีราคะเป็นต้น. คำที่เหลือ เข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุจริตสูตรที่ ๕