พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สุจิสูตร ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40089
อ่าน  382

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 410

ติกนิบาต

วรรคที่ ๒

๗. สุจิสูตร

ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 410

๗. สุจิสูตร

ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง

[๒๔๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สะอาด ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้สะอาดทางกาย ๑ ความเป็นผู้สะอาดทาง วาจา ๑ ความเป็นผู้สะอาดทางใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สะอาด ๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้สะอาดทางกาย ผู้สะอาดทางวาจา ผู้สะอาดทางใจ ผู้หา อาสวะมิได้ ว่าเป็นผู้สะอาด ผู้ถึงพร้อม ด้วยความเป็นผู้สะอาด ผู้ละกิเลสทั้งปวง เสียได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบสุจิสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 411

อรรถกถาสุจิสูตร

ในสุจิสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โสเจยิยานิ ได้แก่ความสะอาด. บทว่า กายโยเจยฺยํ ได้ แก่ กายสุจริต. แม้วจีโสเจยยะ และ มโนโสเจยยะ ก็ได้แก่วจีสุจริตและ มโนสุจริตนั่นเอง. สมจริงดังคำที่ตรัสไว้มีอาทิว่า บรรดาโสเจยยะ ๓ อย่าง นั้น กายโสเจยยะ คืออะไร? คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้ ชื่อว่าความสะอาดทางกาย เพราะละกายทุจริตทุกอย่างได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กายสุจิ. บทว่า โสเจยฺยสมฺปนฺนํ ความว่า เข้าถึงแล้วด้วย โสเจยยสมบัติที่บริสุทธิดีแล้ว เพราะระงับกิเลสได้แล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสุจิสูตรที่ ๗