๘. มุนีสูตร ว่าด้วยผู้รู้ ๓ อย่าง
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 411
ติกนิบาต
วรรคที่ ๒
๘. มุนีสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ ๓ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 411
๘. มุนีสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ ๓ อย่าง
[๒๔๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้รู้ทางกาย ๑ ความเป็นผู้รู้ทางวาจา ๑ ความเป็น ผู้รู้ทางใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ ๓ อย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 412
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้รู้ทางกาย ผู้รู้ ทางวาจา ผู้รู้ทางใจ ผู้หาอาสวะมิได้ว่า เป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี มี บาปอันล้างแล้ว.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบมุนีสูตรที่ ๘
อรรถกถามุนีสูตร
ในมุนีสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า โมเนยฺยานิ นี้ บุคคลชื่อว่า มุนิ เพราะรู้ทั้งโลกนี้และ โลกหน้า และทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ได้แก่ พระเสกขะบุคคล ๗ จำพวก พร้อมด้วยกัลยาณปุถุชน และพระอรหันต์. แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาพระอรหันต์เท่านั้น. ความเป็นแห่งมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โมเนยยะ ได้แก่ กายสมาจาร วจีสมาจาร และมโนสมาจารของพระอรหันต์. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือ โมเนยยปฏิปทา ที่ทำให้เป็นมุนี ชื่อว่า โมเนยยะ.
โมเนยยะเหล่านั้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้ บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ นั้น กายโมเนยยะเป็นอย่างไร? คือการละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า กายโมนยยะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 413
กายสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า กายโมเนยยะ ญาณในธรรมที่มีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่า กายโมเนยยะ การกำหนดรู้กาย ชื่อว่า กายโมเนยยะ มรรคที่สหรคต ด้วยการกำหนดรู้กาย ชื่อว่า กายโมเนยยะ การละฉันทราคะในกาย ชื่อว่า กายโมเนยะ การเข้าจตุตถฌาน มีการดับกายสังขาร ชื่อว่า กายโมเนยยะ. บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ นั้น วจีโมเนยยะ เป็นอย่างไร คือการละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่า วจีโมเนยยะ วจีสุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่า วจีโมเนยยะ ญาณในธรรมมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่า วจีโมเนยยะ การกำหนดรู้วาจา ชื่อว่า วจีโมเนยยะ มรรคที่สหรคตด้วยการกำหนดรู้วาจา ชื่อว่า วจีโมเนยยะ การละฉันทราคะในวาจา ชื่อว่า วจีโมเนยยะ การเข้าทุติยฌาน มีการดับ วจีสังขาร ชื่อว่า วจีโมเนยยะ. บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ อย่างนั้นมโนโมเนยยะ เป็นอย่างไร? คือการละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า มโนโมเนยยะ มโนสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า มโนโมเนยยะ ญาณในธรรมมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่า มโนโมเนยยะ การกำหนดรู้ใจ ชื่อว่า มโนโมเนยยะ มรรคที่สหรคต ด้วยการกำหนดรู้ใจ ชื่อว่า นโนโมเนยยะ การละฉันทราคะในใจ ชื่อว่า มโนโมเนยยะ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีการดับจิตสังขาร ชื่อว่า มโนโมเนยยะ แล.
บทว่า นินฺหาตปาปกํ ความว่า ผู้มีมลทินคือบาปอันล้างดีแล้วด้วย น้ำอันเลิศ คืออัษฎางคิกมรรค.
จบอรรถกถามุนีสูตรที่ * ๘
* ม. โมเนยยสูตร