พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมราคสูตร ว่าด้วยผู้ถูกมารผูกไว้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40091
อ่าน  337

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 414

ติกนิบาต

วรรคที่ ๒

๙. ปฐมราคสูตร

ว่าด้วยผู้ถูกมารผูกไว้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 414

๙. ปฐมราคสูตร

ว่าด้วยผู้ถูกมารผูกไว้

[๒๔๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยัง ละไม่ได้แล้ว บุคคลผู้นี้เรากล่าวว่า เป็นผู้อันมารผูกไว้แล้ว สวมบ่วงแล้ว และถูกมารผู้มีบาปพึงกระทำได้ตามความพอใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งละได้แล้ว บุคคลผู้นี้เรากล่าวว่า มารผูกไม่ได้ สวมบ่วงไม่ได้ และมารผู้มีบาปกระทำตามความพอใจไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้สำรอกราคะ โทสะ โมหะ และอวิชชาได้แล้ว ผู้มีตน อันอบรมแล้วผู้ใดผู้หนึ่ง ว่าเป็นผู้ประเสริฐ ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ล่วงเวร และภัย ผู้ละกิเลสทั้งปวงเสียได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมราคสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 415

อรรถกถาปฐมราคสูตร

ในปฐมราคสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยสฺส กสฺสจิ เป็นคำกล่าวถึงบุคคลที่ไม่ได้กำหนดแน่นอน. เพราะฉะนั้น อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม. บทว่า ราโค อปฺปหีโน ความว่า กิเลส ชื่อว่า ราคะ เพราะอรรถว่า กำหนัด อันผู้ใดผู้หนึ่งยังละไม่ได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด (สมุจเฉทปหาน) คือ ไม่ให้ถึงการไม่ให้เกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วยมรรค. แม้ในโทสะและโมหะ ทั้งหลายก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บรรดากิเลสเหล่านั้น ราคะ โทสะ โมหะ ที่จะให้ไปอบาย จะละได้ด้วยปฐมมรรค กามราคะอย่างหยาบ และโทสะอย่างหยาบ จะละได้ด้วยทุติยมรรค กามราคะและโทสะเหล่นั้นแหละ จะละ ไม่มีเหลือเลย ได้ด้วยตติยมรรค. ภวราคะ และโมหะที่เหลือ จะได้ด้วย มรรคที่ ๔. เมื่อละกิเลสเหล่านี้ได้อย่างนี้ กิเลสแม้ทั้งหมด ก็ย่อมละได้ เหมือนกัน เพราะตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับกิเลสเหล่านั้น. ราคะเป็นต้นเหล่านี้ ตามที่พรรณนามานี้ ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุ ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม ยังละไม่ได้แล้วด้วยมรรค.

บทว่า พนฺโธ มารสฺส ความว่า บุคคลนี้ เราตถาคตเรียกว่า ถูกมารคือกิเลสผูกไว้แล้ว และเขาถูกกิเลสมารผูกไว้แล้วด้วยบ่วงอันเลิศใด ก็เป็นอันถูกแม้อภิสังขารมารเป็นต้นผูกไว้แล้ว ด้วยบ่วงอันเลิศนั้นเหมือนกัน. บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส มารปาโส ความว่า กิเลสกล่าวคือบ่วงแห่งมาร เป็นอันเขาคือบุคคลนี้ ผู้ยังละกิเลสไม่ได้สวมไว้แล้ว เพราะยังละกิเลสไม่ได้ นั้นนั่นเอง อธิบายว่า คล้องไว้แล้ว คือสอดเข้าไปแล้ว ในจิตสันดานของตน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 416

ได้แก่ถูกมารนั้นบังคับให้ผูกเอง. อีกอย่างหนึ่ง บ่วงมาร พึงเป็นของที่เขา สวมแล้ว. พึงทราบอธิบาย ในธรรมฝ่ายขาวต่อไปนี้ บทว่า โอมุกฺกสฺส ความว่า บ่วงมารนั้น พึงเป็นของอันเขาเปลื้อง คือแก้แล้ว ได้แก่ตั้งอยู่ไม่ได้. คำที่เหลือพึงทราบตามบรรยายที่ตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว.

ในพระสูตรนี้ คาถามีมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นฝ่ายขาว เท่านั้น ในพระคาถานั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ พระอริยะทั้งหลายมี พระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวถึงพระอริยบุคคล

ผู้สำรอกราคะ โทสะ และอวิชชาออกแล้ว คือให้ดับไปแล้ว ด้วย มรรคอันเลิศ (อรหัตตผล) ผู้มีกายอันอบรมแล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐ คือเป็น พระพรหม หรือเป็นผู้ประเสริฐสุด คือบรรลุพระอรหัตแล้ว องค์ใดองค์หนึ่ง คือองค์หนึ่ง ภายในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชื่อว่าอบรมตนแล้ว เพราะ ที่ศีล สมาธิ และปัญญา พระขีณาสพอื่นๆ เป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ คือปุรพูปนิสัยมาแล้ว และท่านเหล่านั้น ถึงแล้วคือบรรลุแล้ว ซึ่งพระนิพพาน ด้วยมัชฌิมาปฏิปทาที่สงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ เว้น จากส่วนสุดทั้งสอง อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้น แทงตลอดลักษณะที่แท้จริง แห่งขันธ์เป็นต้น ตามความเป็นจริง ท่านเหล่านั้นรู้ยิ่งแล้วซึ่งทุกข์เป็นต้น อันเป็นธรรทที่แท้จริง โดยไม่ผิดพลาด และท่านเหล่านั้น เห็นอารมณ์ ทั้งหลายมีเป็นต้น ด้วยสามารถเพียงเห็นเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ มีวาจาเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งอริยโวหารอย่างเดียว โดยเว้นโวหารที่ไม่ใช่ของพระอริยะ มีกายเป็นไปแล้วเหมาะสมแก่วาจา และ มีวาจาเป็นไปแล้ว เหมาะสมแก่กาย ฉันใด พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น กล่าวคือเรียก ได้แก่สรรเสริญบุคคลนั้น ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ท่านว่า ผู้นี้เป็นพระอริยบุคคล ผู้ชื่อว่า รู้แล้ว เพราะรู้อริยสัจ ๔ ผู้ก้าวล่วงบุคคลเวร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 417

(เวรเกิดจากบุคคล) กิเลสเวร (เวรเกิดจากกิเลส) และภัยมีการติเตียนตน เป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัย ผู้ชื่อว่าละกิเลสทุกอย่างได้ เพราะละกิเลส และอภิสังขารเป็นต้นทั้งมวลได้ ฉันนั้น.

จบอรรถกถาปฐมราคสูตรที่ ๙