พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยราคสูตร ว่าด้วยผู้ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40092
อ่าน  369

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 417

ติกนิบาต

วรรคที่ ๒

๑๐. ทุติยราคสูตร

ว่าด้วยผู้ข้ามถึงฝังยืนอยู่บนบก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 417

๑๐. ทุติยราคสูตร

ว่าด้วยผู้ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก

[๒๔๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว ผู้นี้เรากล่าวว่า ข้ามสมุทรที่มีคลื่น มีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว ผู้นี้เรากล่าวว่า ข้ามพ้นสมุทรที่มีคลื่น มีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำได้แล้ว ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เรากล่าวว่า ผู้ใดสำรอกราคะ โทสะ โมหะ และอวิชชาได้แล้ว ผู้นั้นข้ามพ้น สมุทรที่มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ มีคลื่น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 418

น่าพึงกลัว ข้ามได้โดยยาก ได้แล้ว ผู้นั้น ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ละมัจจุราช หา อุปธิมิได้ ละทุกข์เพื่อความไม่เกิดอีก ถึง ความขาดสูญแล้ว ย่อมไม่ถึงการนับได้ เธอยังมัจจุราชให้หลงได้แล้ว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยราคสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๒

อรรถกถาทุติยราคสูตร

ในทุติยราคสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อตริ แปลว่า ข้ามไม่ได้แล้ว. บทว่า สมุทฺทํ ได้แก่ ทะเลคือสงสาร หรือทะเลคืออายตนะ มีจักขุอายตนะเป็นต้น สงสารและ อายตนะแม้ทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่า สมุทร เพราะเป็นเหมือนทะเล โดยความ หมายว่า เต็มได้ยาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่า เป็นเหมือน สมุทร อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นเหมือนสมุทร เพราะเป็นทีอยู่อาศัยของกิเลส คือ เพราะสันดานของสัตว์เป็นเรือนของกิเลส. บทว่า สวิจึ ความว่า มีระลอก โดยระลอกคือความโกรธ และความแค้น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่าภัยคือระลอกนี้แล เป็นชื่อของความโกรธและความแค้น. บทว่า สาวฏฺฏํ ความว่า พร้อมด้วยวังวน โดยวังวนคือกามคุณ ๕. สมจริงตามที่ตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 419

ดูก่อนภิกษุ คำว่า อาวัฏฏะ นี้ เป็นชื่อของกามคุณที่ ๕. บทว่า สคหํ สรกฺขสํ ความว่า ชื่อว่าประกอบด้วยบุคคลที่เป็นวิสภาคกัน (ศัตรู) เช่นกับด้วยมังกรดุ ปลาร้าย และผีเสื้อสมุทร เพราะให้เกิดอนัตถะแก่ผู้ไปสู่แหล่งหากินของตน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า สคหํ สรกฺขสํ นี้แล เป็นชื่อของมาตุคาม. บทว่า อตริ ความว่า ข้ามพ้นทะเลตามที่กล่าว แล้ว ด้วยเรือคือมรรคปัญญา. บทว่า ติณฺโณ แปลว่า ข้ามพ้นไปแล้ว. บทว่า ปารคโต ได้แก่ ผู้เข้าถึงฝั่ง คือฝั่งข้างโน้นของทะเลนั้น ได้แก่นิโรธ. บทว่า ถเล ติฏฺติ ความว่า ต่อจากนั้นไป เราตถาคตเรียกเขาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ลอยบาปแล้ว ยืนอยู่บนบก คือ ฝั่งโน้น ได้แก่พระนิพพาน เพราะข้าม ห้วงน้ำใหญ่มีกามเป็นต้น.

แม้ในพระสูตรนี้ คาถาก็มีมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นฝ่าย ขาวเหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมิภยํ ได้แก่ คลื่นและภัย ตามที่กล่าวแล้ว คลื่นนั้นชื่อว่าเป็นภัย เพราะเป็นแดนน่าสะพึงกลัว. บทว่า ทุตฺตรํ ได้แก่ ข้ามได้ยากเหลือเกิน. บทว่า อจฺจตริ แปลว่า ได้ข้ามพ้นแล้ว. บทว่า สงฺคาติโค ความว่า ชื่อว่าผ่านเครื่องข้องไปแล้ว เพราะเป็นผู้ก้าวเลย คือละเครื่องข้อง ๕ อย่าง มีราคะเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า อฏฺงฺคโต โส น ปมาณเมติ ความว่า ผู้นั้นเป็นอย่างนั้น คือเป็นพระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้ถึง ความขาดสูญแล้ว เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เป็นธรรมทำประมาณถึงความ ดับสูญไปโดยส่วนเดียวโดยแท้. และต่อแต่นั้นไป เป็นผู้ไม่อาจที่ใครๆ จะ นับได้ว่า บุคคลนั้นเป็นเช่นนี้ โดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา เพราะความ บริบูรณ์ แห่งธรรมขันธ์มีศีลเป็นต้น ชื่อว่าไม่ถึงการนับได้. อีกอย่างหนึ่ง ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ กล่าวคือ อนุปาทิเสสนิพพาน ชื่อว่า ย่อม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 420

ไม่ถึง คือไม่เข้าถึงการนับได้ เพราะเป็นผู้ที่ใครๆ ไม่สามารถจะนับได้ว่า พระอรหันต์นั้น เป็นผู้ดำรงอยู่แล้ว โดยคติชื่อนี้ และเป็นผู้เช่นนี้ โดยชื่อ และโคตร. ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระธรรมเทศนาลง ด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั่นแหละว่า เราตถาคตกล่าวว่า เธอยังมัจจุราชให้ หลงได้แล้ว คือเป็นผู้ที่พญามัจจุราชไม่สามารถจะติดตามได้.

ในวรรคนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวัฏฏะไว้ในสูตร ที่ ๑ ที่ ๕ และที่ ๖ ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๒ ที่ ๗ และที่ ๘ ตรัสทั้ง วัฏฏะและวิวัฏฏะ ไว้ในพระสูตรที่เหลือ ด้วยประการดังพรรณนามานี้.

จบอรรถกถาทุติยราคสูตรที่ ๑๐

จบวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ๒. จักขุสูตร ๓. อินทรียสูตร ๔. อัทธาสูตร ๕. ทุจริตสูตร ๖. สุจริตสูตร ๗. สุจิสูตร ๘. มุนีสูตร ๙. ปฐมราคสูตร ๑๐. ทุติยราคสูตร และอรรถกถา.