พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. นิสสรณสูตร ว่าด้วยธาตุที่สลัดออก ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40095
อ่าน  579

เล่มที่ 45 [เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 426

ติกนิบาต

วรรคที่ ๓

๓. นิสสรณสูตร

ว่าด้วยธาตุที่สลัดออก ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 426

๓. นิสสรณสูตร

ว่าด้วยธาตุที่สลัดออก ๓ อย่าง

[๒๕๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็นไฉน? คือ เนกขัมมะ (รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ๑ อรูปฌานเป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ๑ นิโรธเป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติ ที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุ เป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุผู้มีความเพียร รู้ธรรมเป็นที่ สลัดออกซึ่งกาม และอุบายเป็นเครื่อง ก้าวล่วงรูปทั้งหลาย ถูกต้องธรรมเป็นที่ ระงับสังขารทั้งปวงในกาลทุกเมื่อ ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมน้อมไปใน ธาตุนั้น ภิกษุนั้นแลอยู่จบอภิญญา สงบระงับ ก้าวล่วงโยคะได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบนิสสรณสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 427

อรรถกถานิสสรณสูตร

ในนิสสรณสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิสฺสรณิยา ความว่า ปฏิสังยุตด้วยธาตุที่สลัดออกไป. บทว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากสัตว์. บทว่า กามานํ ได้แก่ กิเลสกาม และวัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กามานํ ได้แก่กิเลสกาม เพราะว่าธาตุ ทั้งหลายเป็นที่ออกไปจากกิเลสกาม ถึงวัตถุกามก็ออกไปเหมือนกัน ไม่ใช่ ออกไปโดยประการอื่น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ใช่ กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริของคน (ต่างหาก) เป็นกามอารมณ์ที่ วิจิตรทั้งหลาย ก็สถิตอยู่ในโลกอย่างนั้น นั่นแหละ แต่ธีรชนจะนำความพอใจในกามนั้นออกไป.

การปราศไป ชื่อว่า นิสสรณะ. บทว่า เนกฺขมฺม ได้แก่ปรมฌาน. โดยพิเศษแล้ว เนกขัมมะนั้น พึงเห็นว่า มีอสุภะเป็นอารมณ์ แต่ผู้ใดทำฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุมรรคที่ ๓ แล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยอนาคามิผล จิตของผู้นั้น จะสลัดออกจากกาม ทั้งหลายโดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เนกขัมมะนี้ พึงทราบว่าเป็นการสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย อย่างอุกฤษฏ์. บทว่า รูปานํ ได้แก่ รูปธรรมทั้งหลาย โดยพิเศษแล้วก็คือ รูปาวจรธรรมทั้งหมด แยกประเภทเป็นกุศลวิบาก และกิริยา พร้อมด้วยอารมณ์ทั้งหลาย. บทว่า อรุปฺปํ ได้แก่ รปาวจรฌาน แต่อาจารย์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 428

บางพวกกล่าวเนื้อความของบทว่า กามานํ ไว้ว่า ได้แก่ กามาวจรธรรม ทั้งหมด และกล่าวเนื้อความของบทว่า เนกขัมมะ ว่าได้แก่รูปาวจรฌานทั้ง ๕. คำนั้นไม่มีในอรรถกถาทั้งหลาย และไม่ถูกด้วย. บทว่า ภูตํ แปลว่าเกิดแล้ว. บทว่า สงฺขตํ ความว่า ที่ปัจจัยทั้งหลายจัดแจง คือ ปรุงแต่ง ทำแล้ว. บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ ความว่า เกิดขึ้นจากเหตุ. ด้วยบทแม้ทั้ง ๓ ย่อม ครอบคลุมไปถึงธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดยไม่เหลือ. พระนิพพาน ชื่อว่า นิโรธ. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรู้กามไว้ด้วยธาตุแรก การกำหนดรู้รูปด้วยธาตุที่ ๒ การกำหนดรู้ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหมดด้วยธาตุ ที่ ๓ จึงเป็นอันตรัสการก้าวล่วงภพไว้ครบถ้วน.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า กามนิสฺสรณํ ตฺวา ความว่า รู้ว่า นี้เป็นการสลัดออกจากกาม และการสลัดออกจากกาม มีโดยอาการอย่างนี้. ชื่อว่า อติกฺกโม เพราะเป็นเหตุก้าวล่วงคืออุบายแห่งการก้าวล่วง. รู้เหตุก้าวล่วงนั้น คือ อรูป. ธรรมชื่อว่า สัพพสังขารสมถะ เพราะเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งมวล ได้แก่พระนิพพาน. เห็นอยู่ซึ่งพระนิพพานนั้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง.

จบอรรถกถานิสสรณสูตรที่ ๓