พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ภินทนสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ต้องแตกเป็นธรรมดา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40100
อ่าน  398

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 474

ติกนิบาต

วรรคที่ ๓

๘. ภินทนสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ต้องแตกเป็นธรรมดา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 474

๘. ภินทนสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ต้องแตกเป็นธรรมดา

[๒๕๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีความแตกเป็นที่สุด วิญญาณมี การคลายไปเป็นธรรมดา ขันธบัญจกทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุรู้กายว่ามีความแตกไปเป็นที่สุด และรู้วิญญาณว่ามีความย่อยยับไป เห็นภัย ในอุปธิ*ทั้งหลายแล้ว ล่วงชาติและ มรณะเสียได้ มีตนอันอบรมแล้ว จำนง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 475

อยู่ซึ่งกาลเป็นที่ดับขันธ์ เพราะบรรลุถึง ความสงบอย่างยิ่ง.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบภินทนสูตรที่ ๘

อรรถกถาภินทนสูตร

ในภินทนสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภิทุรายํ ตัดบทเป็น ภิทุโร อยํ. บทว่า กาโย ได้แก่ รูปกาย. ก็รูปกายนั้น ชื่อว่ากาย เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมแห่งอวัยวะ น้อยใหญ่ทั้งหลาย มีผมเป็นต้นด้วย และชื่อว่ากาย เพราะมีวิเคราะห์ว่าเป็น อายะ คือ เป็นแหล่งเกิดแห่งของน่าเกลียดน่าชังทั้งหลายอย่างนี้บ้าง. ในคำว่า กาย นั้น มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ อาการชื่อว่า อาโย เพราะเป็นที่มา. ถามว่า อะไรมา. ตอบว่า สิ่งที่น่าเกลียดมีผมเป็นต้นมา. ดังนั้น อาการชื่อว่า กาย เพราะเป็นที่มาแห่งของน่าเกลียดทั้งหลาย ดังนี้บ้าง. แต่โดยใจความแล้ว ได้แก่ กองแห่งธรรมทั้งหลาย คือภูตรูป และอุปาทายรูปที่เป็นไปอยู่ ด้วย อำนาจแห่งสันตติ ๔ อย่าง. มีพุทธาธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปกาย ที่สำเร็จด้วยมหาภูตทั้ง ๔ นี้ มีการแตกดับ มีการแตกสลายไปเป็นสภาพ มี การกระจัด กระจายไปทุกขณะเป็นสภาพ. ปาฐะว่า ภิทุรายํ ดังนี้ก็มี. เนื้อความก็อย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า วิญฺาณํ ได้แก่ กุศลจิตเป็นต้นที่ เป็นไปในภูมิ ๓. ส่วนอรรถพจน์มีดังต่อไปนี้ จิตชื่อว่า วิญญาณ เพราะรู้ชัด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 476

ซึ่งอารมณ์นั้นๆ เพราะว่าการแยกความรู้สึกออกจากความจำได้ คือการรู้ชัด อารมณ์ ได้แก่ญาณ (อุปลัทธิ) ชื่อว่า วิญญาณ. บทว่า วิราคธมฺมํ คือ มีการเสื่อมคลายเป็นธรรมดา อธิบายว่า มีการแตกดับไปเป็นธรรมดา. บทว่า สพฺเพ อุปธีติ ความว่า อุปธิเหล่านี้คือ อุปธิคือขันธ์ อุปธิคือกิเลส อุปธิคืออภิสังขาร (กรรม) อุปธิคือเบญจกามคุณ ที่หมายรู้กันว่าอุปธิ เพราะอรรถว่า เป็นที่เข้าไปทรงทุกข์ไว้ แม้ทั้งหมดได้แก่อุปาทานขันธ์ กิเลส เป็นอภิสังขารเป็นเบญจกามคุณ ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี. ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าเกิดขึ้น และเสื่อมไป และบีบคั้น ชื่อว่ามีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะอรรถว่าละปกติเหตุเป็นสภาวะที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ชรากับมรณะ.

ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงวาระแห่ง การพิจารณา (สัมมัสสนญาณ) ตามอัธยาศัย แห่งบุคคลผู้รู้อย่างนั้น โดยมุข คือ อนิจจานุปัสสนา และทุกขาวิปัสสนา ทรงแยกรูปธรรมและวิญญาณออก จากกัน แล้วทรงรวมธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดเข้าเป็นอันเดียวกัน โดยทรงจำแนกออกเป็นอุปธิอีก เพราะบรรดาลักษณะทั้ง ๓ นี้ อนิจจลักษณะ เห็นได้ง่าย. ก็ในบรรดาลักษณะทั้ง ๓ นี้ ลักษณะ ๒ อย่างเท่านั้น มีมาใน พระบาลี ก็จริง ถึงกระนั้น โดยพระบาลีว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา พึงเข้าใจว่า แม้อนัตตลักษณะ พระองค์ก็ทรงแสดงไว้แล้ว เหมือนกันด้วย ทุกขลักษณะนั่นเอง.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้ บทว่า อุปธีสุ ภยํ ทิสฺวา ความว่า เห็นภัยในอุปธิทั้ง ๓ ด้วยสามารถแห่งภยตูปัฏฐานญาณ คือเห็นความ ที่อุปธิเหล่านั้นเป็นของน่ากลัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวิปัสสนาที่มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 477

กำลังไว้ ด้วยบทว่า อุปธีสุ ภยํ ทิสฺวา นี้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง จำแนกภยตูปัฏฐานญาณนั่นแหละออกไปแล้ว ตรัสวิปัสสนาที่มีกำลัง เป็น อาทีนวานุปัสสนา ๑ นิพพิทานุปัสสนา ๑ โดยเป็นญาณที่แปลกกัน. บทว่า ชาติมรณมจฺจคา ความว่า ภิกษุพิจารณาอย่างนี้อยู่ จะสืบต่อวิปัสสนาญาณ ด้วยมรรค แล้วจะบรรลุอรหัตตผล ต่อจากมรรคนั้นไป ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ล่วงพ้น ชาติ และมรณะได้ล่วงพ้นได้อย่างไร? บทว่า สมฺปตฺวา ปรมํ สนฺตึ ความว่า เพราะบรรลุสันติธรรม อันยอดยิ่งคือสูงสุด ได้แก่ไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่า คือพระนิพพานอันเป็นที่ระงับสังขารทั้งมวล และภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้. บทว่า กาลํ กงฺขติ ภาวิตตฺโต ความว่า ภิกษุชื่อว่า มีตนอบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา เหตุที่สำเร็จ การบรรลุภาวนา ด้วยสามารถแห่งอริยมรรค ๔ ไม่อาลัยถึงความตาย และ ความเป็นอยู่ ย่อมจำนงหวัง คือเล็งเห็นกาลกิริยา ด้วยขันธปรินิพพานของตน ถ่ายเดียว. เธอไม่มีความปรารถนาในอะไรๆ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราตถาคตไม่คำนึงถึงความตาย ไม่ คำนึงถึงชีวิต มุ่งแต่กาลกิริยา (ขันธปรินพพาน) อย่างเดียว เหมือนลูกจ้าง มุ่งแต่ค่าจ้างเท่านั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาภินทนสูตรที่ ๘