พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. วิตักกสูตร ว่าด้วยอกุศลวิตก ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40103
อ่าน  653

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 488

ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๑. วิตักกสูตร

ว่าด้วยอกุศลวิตก ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 488

อิติวุตตกะ ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๑. วิตักกสูตร

ว่าด้วยอกุศลวิตก ๓ ประการ

[๒๕๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ วิตกประกอบด้วยการไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่นตน ๑ วิตกประกอบด้วยลาภ สักการะและความสรรเสริญ ๑ วิตกประกอบด้วยความเอ็นดูในผู้อื่น ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยการไม่ให้ ผู้อื่นดูหมิ่นตน ผู้หนักในลาภและสักการะ มีปกติยินดีกับด้วยอำมาตย์ทั้งหลาย เป็น ผู้ห่างไกลจากความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ ละบุตร ปศุสัตว์ การให้กระทำวิวาหะ และการหวงแหน เสียได้ ภิกษุเช่นนั้นๆ เป็นผู้ควรเพื่อจะ บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

จบวิตักกสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 489

วรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาวิตักกสูตร

ในวิตักกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกุสลา วิตกฺกา ความว่า วิตกทั้งหลายอันเกิดจากความ เป็นผู้ไม่ฉลาด อธิบายว่า ได้แก่ มิจฉาวิตก. บทว่า อนวญฺตฺติ ในบทว่า อนวญฺตฺติปฏิสํยุตฺโต นี้ ได้แก่การไม่ถูกดูหมิ่นเพราะความที่ตนไม่ถูกผู้อื่น ดูหมิ่น คือ ไม่ถูกดูแคลน คือ อิจฉาจารที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ คน เหล่าอื่นไม่พึงดูหมิ่นเรา ดังนี้ คือการเกี่ยวข้องอันประกอบด้วยการไม่ถูกดูหมิ่น นั้น หรือวิตกอันปฏิสังยุตด้วยการไม่ดูหมิ่น ซึ่งปรารภการคลุกคลีนั้นเป็นไปแล้ว เพราะฉะนั้น คำว่า อนวญฺตฺติ นี้ เป็นชื่อของวิตกที่ผู้ดำรงอยู่ในอิจฉาจารให้ เป็นไปแล้ว เพราะต้องการความยกย่องว่า กระไรหนอ คนเหล่าอื่นทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต จะไม่พึงเหยียดหยามเราให้ต่ำต้อย. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิสํยุตฺโต ความว่า วิตกที่ประกอบด้วยลาภมีจีวรเป็นต้น สักการะ และ กิตติศัพท์ โดยทำให้เป็นอารมณ์. บทว่า ปรานุทฺทยตาปฏิสํยุตฺโต ความว่า ประกอบด้วยความรักที่เป็นเจ้าเรือน อันเป็นความเอ็นดูเทียมในผู้อื่น ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพระราชา ราชมหาอมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดี เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ทั้งหลาย เมื่อเขาสุข ก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 490

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยการ ไม่ดูหมิ่น ชื่อว่า อนวญฺตฺติสํยุตฺโต บุคคลชื่อว่า ลาภสกฺการคารโว เพราะมีความตระหนักในลาภสักการะ ไม่ใช่ในธรรม. บุคคลชื่อว่า อมัจจะ เพราะเป็นผู้ใกล้ชิด คือร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน ได้แก่ผู้อุปถัมภ์คล้ายกับสหาย บุคคลผู้มีปกติยินดี กับด้วยอำมาตย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจความรักที่เป็นเจ้าเรือน ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกับด้วยอมาตย์ทั้งหลาย. ด้วยบทว่า สหนนฺที อมจฺเจหิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงวิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูผู้อื่น. บทว่า อารา สํโยชนกฺขยา ความว่า บุคคลถูกวิตกทั้ง ๓ เหล่านี้ครอบงำ ย่อม เป็นผู้ห่างไกลจากความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ คือพระอรหันต์. พระอรหันต์นั้น เป็นของหาได้ยาก สำหรับเขา. บทว่า ปุตฺตปสุํ ได้แก่ทั้งบุตร ทั้งสัตว์เลี้ยง. และด้วยปุตฺตศัพท์ ในคำว่า ปุตฺตปสุํ นี้ ทรงสงเคราะห์เอาภรรยาเป็นต้น ไว้ด้วย. ด้วยปสุศัพท์ ทรงสงเคราะห์เอาม้า กระบือ นา และสวนเป็นต้น เข้าไว้ด้วย. บทว่า วิวาเห ความว่า ในการให้วิวาทมงคล. ด้วยบทว่า อาวาโห นี้ ทรงสงเคราะห์เอาอาวาหมงคลเข้าไว้ด้วย. บทว่า สงฺคหานิ ได้แก่การหวงแหน อธิบายว่า ควรแก่การระมัดระวัง. แต่อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่า ได้แก่การสนิทสนม อธิบายว่า สนิทสนมกันฉันมิตร. เธอมีความว่า ละทิ้งทั้งหมด. บทว่า ภพฺโพ โส ตาทิโส ภิกฺขุ ความว่า เธอสละสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้า ทุกอย่าง. ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสารด้วยสัมมาปฏิบัติที่พระศาสดาตรัสไว้แล้ว โดยประการใด ชื่อว่าเป็นผู้เช่นนั้น เพราะ พึงเห็นโดยประการนั้น ย่อมควรเพื่อบรรลุการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม คือพระอรหัต.

จบอรรถกถาวิตักกสูตรที่ ๑