พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. จวมานสูตร ว่าด้วยเทวดาจุติมีนิมิต ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40108
อ่าน  943

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 501

ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๔. จวมานสูตร

ว่าด้วยเทวดาจุติมีนิมิต ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 501

๔. จวมานสูตร

ว่าด้วยเทวดาจุติมีนิมิต ๕ ประการ

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติจาก เทพนิกาย เมื่อนั้น นิมิต ๕ ประการ ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้ ย่อมเหี่ยวแห้ง ๑ ผ้าย่อมเศร้าหมอง ๑ เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ ๑ ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย ๑ เทวดาย่อมไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายทราบว่า เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจาก เทพนิกาย ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ ๓ อย่างว่า แน่ะท่าน ผู้เจริญ ขอท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่สุคติ ๑ ครั้น ไปสู่คติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่าน ได้ดีแล้ว ๑ ครั้นได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ขอเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี ๑.

[๒๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติ ของเทวดาทั้งหลาย? อะไรเป็นส่วนแห่งลาภทีเทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว? อนึ่ง อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย? พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 502

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความเป็นมนุษย์แล เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลาย ซึ่งเทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภ ที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูล เกิดแล้วประดิษฐานมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก พึงนำไปไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นส่วน แห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย.

เมื่อใด เทวดาจะต้องจุติจากเทพนิ- กายเพราะความสิ้นอายุ เมื่อนั้น เสียง ๓ อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี ย่อม เปล่งออกไปว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านจาก เทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความ เป็นสหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิด ท่าน เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอย่างยิ่งใน พระสัทธรรม ศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็น คุณชาติตั้งลงมั่น มีมูลเกิดแล้ว มั่นคงใน พระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว อันใครๆ พึงนำไปมิได้ตลอดชีพ ท่านจง ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และ อย่ากระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบ ด้วยโทษ กระทำกุศลด้วยกาย ด้วยวาจา ให้มาก กระทำกุศลด้วยใจหาประมาณ มิได้ หาอุปธิมิได้ แต่นั้นท่านจงกระทำ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 503

บุญ อันให้เกิดสมบัติ (อุปธิ) นั้นให้มาก ด้วยทาน แล้วยังสัตว์แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ ในพระสัทธรรม ในพรหมจรรย์ เมื่อใด เทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ เมื่อนั้น ย่อมพลอยยินดีด้วยความอนุเคราะห์นี้ว่า แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อยๆ.

จบจวมานสูตรที่ ๔

อรรถกถาจวมานสูตร

ในจวมานสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยทา แปลว่าในกาลใด. บทว่า เทโว ได้แก่เทวดาเหล่า อุปบัติเทพ.

ก็เทวดามี ๓ จำพวก คือ สมมติเทพ ๑ อุปบัติเทพ ๑ วิสุทธิ- เทพ ๑. ในเทวดา ๓ จำพวกเหล่านั้น กษัตริย์ผู้เป็นพระราชาทั้งหลายชื่อว่า สมมติเทพ เทวดาผู้สูงกว่านั้นขึ้นเริ่มแต่เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น ชื่อว่า อุปบัติเทพ. พระขีณาสพ ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. แต่ในพระสูตร ทรงประสงค์เอาเทพชั้น กามาวจร. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า บทว่า เทโว ได้แก่ อุปบัติเทพ.

บทว่า เทวกายา ความว่า จากชุมนุมแห่งเทพ หรือจากตำแหน่ง แห่งเทพ. อธิบายว่า จากเทวโลก. เพราะว่ากายศัพท์นี้ บ่งถึงการอยู่กัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 504

เป็นหมู่. บทว่า จวนธมฺโม ความว่า มีความตายเป็นธรรมดา อธิบายว่า มีมรณะปรากฏแล้ว เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ.

บทว่า ปญฺจสฺส ปุพฺพนิมิตฺตานิ ปาตุภวนฺติ ความว่า บุพนิมิต แห่งความตาย ๕ ประการ ย่อมเกิดขึ้น หรือปรากฏแก่เทพนั้น ผู้มีมรณะ ปรากฏแล้ว. บทว่า มาลา มิลายนฺติ ความว่า ดอกไม้ที่เทพบุตรนั้นประดับนั้น จะเหี่ยว คือหมดความงดงาม เหมือนโยนไปที่แดดในเวลาเที่ยง. บทว่า วตฺถานิ กิลิสฺสนฺติ ความว่า (อาภรณ์คือ) ผ้าที่เทพบุตรนั้น นุ่งห่มแล้ว มีสีเหมือนพระอาทิตย์อ่อนๆ ที่ทอแสงอยู่ในอากาศที่ปราศจาก เมฆหมอกในสรทสมัย มีสีต่างๆ จางลง ไม่แวววาว เศร้าหมอง เหมือน ถูกโยนลงไปในโคลนแล้วขยำในขณะนั้นทีเดียว. บทว่า กจฺเฉหิ เสทา มุจฺขนฺติ ความว่า ในขณะนั้น หยาดเหงื่อ หลั่งไหลออกจากรักแร้ทั้งสองของ เทพบุตร ผู้มีร่างปราศจากคราบเหงื่อไคลมาก่อน เหมือนแก้วมณี โดยกำเนิด ที่บริสุทธิ์ดี และเหมือนรูปหล่อทองคำที่ศิลปินผู้เชี่ยวชาญตกแต่งแล้ว ก็ไม่ใช่ ไหลออกจากรักแร้ อย่างเดียวเท่านั้น แม้แต่เหงื่อกาฬ ก็จะไหลออกจาก ร่างกายทั้งสิ้นของเทพบุตรนั้น โดยที่กายของเทพบุตรเป็นเสมือนหนักอึ้งด้วย ข่ายที่ประดับประดาล้วนไปด้วยข่ายแห่งมุกดาที่ตนประดับแล้ว. บทว่า กาเย ทุพฺพณฺณิยํ โอกฺกมติ ความว่า ในชั้นต้นเริ่มแต่ปฏิสนธิ ร่างกายจะแผ่ รัศมีพวยพุ่งไปตลอดสถานที่โยชน์ ๑ บ้าง ๒ โยชน์บ้าง จนถึงที่ประมาณ ๑๒ โยชน์บ้าง ตามอานุภาพ (ของตน) จะปราศจากชราภาพ มีฟันหักและหนังย่น เป็นต้น ความหนาว ความร้อน จะไม่เข้าไปกระทบกระทั่ง จะเป็นเหมือนเทพธิดารุ่นสาว อายุราว ๑๖ ปี จะเป็นเหมือนเทพบุตรรุ่นหนุ่มอายุราว ๒๐ ปี (แต่) ในขณะนั้นเอง ความผิดรูปผิดร่าง (ขี้เหล่) จะเข้ามาแทนที่ คือ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 505

สถิตอยู่ในกายที่สิ้นรัศมี หมดเดช. บทว่า สเก เทโว เทวาสเน นาภิรมติ ความว่า จะไม่ยินดี คือ ไม่ได้ความชื่นใจ ในทิพอาสน์ สำหรับเล่น และ บำเรอ กับด้วยหมู่สาวสวรรค์ของตน.

ได้ยินว่า ความตายจักมีแก่เทพบุตรนั้น โดย ๗ วันด้วยการนับวัน ในมนุษย์ เพราะฉะนั้น บุพนิมิตเหล่านี้จึงปรากฏด้วยการเกิดขึ้นแห่งบุพนิมิตนั้น เทพบุตรนั้นย่อมถูกความโศกมีกำลังครอบงำ ด้วยคิดว่า เราต้อง พลัดพรากจากสมบัติเห็นปานนี้. ด้วยเหตุนี้ ความกระวนกระวายอย่างใหญ่หลวง ย่อมเกิดขึ้นในกายของเทพบุตรนั้น ด้วยเหตุนั้น เหงื่อจึงไหลออกจากลำตัวโดย ประการทั้งปวง. เทพบุตรบางองค์ ที่มีทุกข์หาประมาณมิได้ตลอดกาลเนิ่นนานมา เมื่อไม่สามารถจะยับยั้งทุกข์นั้นไว้ได้ คร่ำครวญปริเทวนาการอยู่ว่า เราร้อน เรากลุ้ม ไม่ได้ความแช่มชื่นในที่ไรๆ พรำเพ้อ ละเมื่อ เที่ยวไปในที่นั้นๆ บางองค์ตั้งสติได้ แม้ไม่ได้แสดงความผิดปกติทางกายและวาจา เมื่ออดกลั้นทุกข์ คือความพลัดพรากจากของรักไม่ได้ จะเดือดร้อนเที่ยวไป.

ก็บุพนิมิตเหล่านี้ ย่อมปรากฏเฉพาะเทวดาผู้มเหศักดิ์ทั้งหลายเท่านั้น เหมือนนิมิตทั้งหลาย มีอุกกบาต แผ่นดินไหว และจันทรคราสเป็นต้น จะ ปรากฏแก่ผู้มีบุญใหญ่ในโลก เช่นพระราชา และราชมหาอมาตย์เป็นต้น หาปรากฏแก่คนทั่วไปไม่. ก็เทวดาบางเหล่า รู้นิมิตเหล่านั้นที่เกิดแล้วว่า นิมิตเหล่านี้ชื่อว่า เป็นบุพนิมิตแห่งมรณะ ไม่ใช่รู้หมดทุกองค์ ในเทพบุตร เหล่านั้น เทพบุตรที่เกิดด้วยกุศลธรรมอย่างอ่อน ก็จะกลัวไปว่า บัดนี้ใครเล่า จะรู้ว่า เราจักเกิดในที่ไหน? ส่วนพวกที่มีบุญมาก จะไม่กลัว ไม่หวาดหวั่น ด้วยคิดว่า เราได้ให้ทานได้รักษาศีล ได้สั่งสมบุญไว้มากแล้ว เราจุติจากโลก นี้แล้ว เป็นอันหวังได้สุคติทีเดียว. ก็เทวดาทั้งหลาย ครั้นถือเอาบุพนิมิต

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 506

ที่ปรากฏขึ้นอย่างนี้นั้นแล้ว ย่อมเข้าไปสู่สวนนันทนวัน สวนนันทนวันมีประจำ อยู่ในเทวโลกทุกชั้นทีเดียว.

บทว่า ตีหิ วาจาหิ อนุโมทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อม อนุโมทนา ด้วยคำทั้ง ๓ ที่ข้าพเจ้าจะกล่าวในบัดนี้ คือ ย่อมยังความรื่นเริง บันเทิงใจให้เกิดขึ้น ย่อมให้สบายใจ หรือกระทำความบันเทิง อันสมควร แก่สภาพการณ์ในขณะนั้น ด้วยสามารถแห่งความสบายใจนั้น ส่วนอาจารย์ บางพวกกล่าวความของบทว่า อนุโมทนฺติ เป็นโอวทนฺติ. บทว่า อิโต ความว่า จากเทวโลก. บทว่า โภ เป็นอาลปนะ (คำร้องเรียก). บทว่า สุคตึ ได้แก่ คติที่ดี อาจารย์ทั้งหลายกล่าวหมายถึงมนุษยโลก. บทว่า คจฺฉ ความว่า เข้าถึงด้วยสามารถแห่งการถือปฏิสนธิ.

บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงถ้อยคำ ที่เทวดาเหล่านั้นจะพึงกล่าวแก่เทพบุตรนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่านจากเทวโลก นี้แล้ว จงไปสู่สุคติเถิด ในครั้งนั้นอย่างนี้. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง คือรูปหนึ่ง ผู้ไม่ปรากฏโดยนามและโคตร นั่งอยู่ในบริษัทนั้น เป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ ได้กราบทูลคำนี้อาทิว่า กึ นุ โข ภนฺเต อะไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า นี้ด้วยประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสุคติเหล่านี้ไว้ โดยไม่แปลกกัน ไม่แจ่มแจ้งเลย อย่ากระนั้นเลย เราจักให้พระองค์ตรัสสุคติ เป็นต้นเหล่านั้น ให้ชัดเจน (กว่านี้อีก) ความเป็นมนุษย์อันเทวดาทั้งหลายประสงค์ยิ่งนัก โดย เป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะซึ่งคุณพิเศษมีศรัทธาเป็นต้น และโดยเป็นเหตุแห่ง การเข้าถึงความเป็นเทวดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุ ความเป็นมนุษย์แล เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลายดังนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 507

บทว่า สุคติคมนสงฺขาตํ ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้แล้วโดยชอบว่า ไปสู่สุคติ อธิบายว่า ทรงสรรเสริญ คือทรงชมแล้ว. บทว่า ยํ ในคำว่า ยํ มนุสฺสภูโต นี้ เป็นกิริยาปรามาส. ด้วยบทว่า ยํ นั้น ท่านเท้าความถึงกิริยาคือการได้เฉพาะ ในบทว่า ปฏิลภติ นี้ อธิบายว่า. ได้เฉพาะซึ่งศรัทธา. บทว่า มนุสฺสภูโต ความว่า เกิดแล้วในมนุษย์ทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ถึงความเป็นมนุษย์ เพราะเหตุที่ผู้ที่เกิดในเทวโลกโดย มากยากที่จะได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคตเจ้า ไม่เหมือนมนุษย์ ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มนุสฺสภูโต ดังนี้. บทว่า ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย ความว่า ในคำสอนที่สงเคราะห์ด้วย สิกขา ๓ ที่พระตถาคต คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.

เพราะว่า คำสอนนั้น ท่านเรียกว่าธรรมวินัย เพราะชื่อว่า ธรรม เหตุที่ไม่ปราศไปจากธรรม และชื่อว่า วินัย เพราะฝึกเวไนยสัตว์ ตามสมควร แก่กิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะแนะนำผู้มีกำเนิด แห่งบุคคล ผู้มีนัยน์ตามีธุลีน้อย ที่ชื่อว่าเป็นธรรม เพราะไม่ปราศไปจากธรรม เหตุที่สมบูรณ์ไปด้วยอุปนิสัย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่าธรรมวินัย เพราะ ฝึกด้วยธรรมอย่างเดียว ไม่ใช่ฝึกด้วยท่อนไม้และศาสตรา. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน เรียกว่า ธรรมวินัย เพราะการฝึกนั้นประกอบด้วยธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน เรียกว่า ธรรมวินัย เพราะนำเข้าไปหาธรรม เพื่อมรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะเป็นเครื่องแนะนำที่เป็น ไปแล้ว โดยธรรม มีมหากรุณาและพระสัพพัญุตญาณเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะพระธรรมเป็นเครื่องนำเข้าไปหาธรรม ของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นองค์ธรรม เป็นธรรมกาย เป็นธรรมสวามี ไม่ใช่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 508

นำเข้าไปหาธรรมของนักตรรกวิทยาทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะเป็นเครื่องแนะนำที่เป็นไปแล้วในธรรม คือ มรรคผลหรือ ในธรรม อันเป็นวิสัยที่จะพึงให้สำเร็จ. ในพระธรรมวินัยนั้น.

บทว่า สทฺธํ ปฏิลภติ ความว่า ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นโดยนัยมีอาทิว่า สฺวากฺขาโต ภควคา ธมฺโม (ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว) อธิบายว่า ผู้มีศรัทธา เมื่อปฏิบัติในธรรมวินัยนี้ ตามที่ทรงสอนไว้ ย่อมยัง ใจให้ยินดีในทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ ในบทว่า สุลทฺธลาภสงฺขาตํ นี้ มีอธิบายว่า การใช้เงิน ทอง นา และสวนเป็นต้น ย่อมนำความสุขในการใช้สอยมาให้สรรพสัตว์ ห้ามทุกข์ มีความหิวและความระหายเป็นต้น บรรเทาความยากจนเงินทองเสียได้ เป็น เหตุให้ได้รับรัตนะ มีมุกดาเป็นต้นและนำมาซึ่งสันตติในโลกมาให้ฉันใด แม้ ศรัทธาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระก็ฉันนั้น จะนำวิบากสุขที่เป็นโลกิยะและ โลกุตระมาให้ตามที่เกิดขึ้น จะหักห้ามทุกข์มีชาติชราเป็นต้นเสียได้ จะระงับ ความยากจนคุณธรรมเสียได้ จะเป็นเหตุให้ได้รับรัตนะมีสติสัมโพชฌงค์เป็น ต้น และจะนำมาซึ่งสันตติในโลก แก่เหล่าชนผู้ปฏิบัติ ด้วยสัทธาธุระ. สม จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีลเอิบอิ่ม ด้วยยศและโภคะ จะอยู่ประเทศใดๆ ก็ เป็นผู้ที่เขาบูชาแล้วในประเทศนั้นๆ ที่ เดียว ดังนี้.

พึงทราบความได้เฉพาะซึ่งศรัทธา เป็นลาภอันบุคคลได้ดีแล้ว ดัง พรรณนามานี้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 509

ก็เพราะเหตุที่การได้เฉพาะซึ่งศรัทธานี้ เป็นลาภที่ติดตามตนไปได้ ไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่าง และเป็นเหตุแห่งการได้โลกิยทรัพย์ มีเงินทองเป็นต้น อธิบายว่า ผู้มีศรัทธาเท่านั้น จะทำบุญมีทานเป็น ต้นได้ แล้วจะประสบทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจอันมโหฬาร และจะ ยังประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นนั่นแหละให้ถึงพร้อมด้วยบุญนั้น แต่บุญเหล่า นั้น จะไม่อำนวยประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า แก่ผู้ไม่มีศรัทธาเลย. พึงทราบว่าศรัทธาเป็นลาภที่ได้ด้วยดี ด้วยประการดังพรรณนามานี้. จริง อย่างนั้น ท่านพรรณนาศรัทธาไว้ ด้วยเหตุมิใช่น้อย ในฐานะต่างๆ กันว่า ศรัทธารวบรวมสะเบียงไว้บ้าง ศรัทธาเป็นเพื่อนที่สองของบุรุษบ้าง ศรัทธา เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจของบุรุษในโลกนี้บ้าง ช้างตัวประเสริฐ มีศรัทธาเป็น งวงบ้าง ศรัทธา เป็นพืช เป็นตบะ เป็นฝนบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกดำรงอยู่ในศรัทธาบ้าง ย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธาบ้าง ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า สา โข ปนสฺส ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงศรัทธา ชนิดที่หยั่งลงลึกอันเป็นเหตุให้ชื่อว่าเป็นผู้ดำรง มั่นในกุศลธรรม ในพระศาสนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺส นี้ มีความหมายเท่ากับ ภเวยฺย แปลว่า พึงเป็น. บทว่า นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่น คือแซกซึมเข้าไปสู่จิตสันดาน. บทว่า มูลชาตา ได้แก่มีรากเกิดแล้ว. ถามว่า ก็อะไรเล่า ชื่อว่า เป็นรากของศรัทธา? ตอบว่า การทำไว้ในใจโดยอุบาย อันเป็นเหตุแห่ง ความเธอ ในวัตถุที่ควรเธอ เป็นรากของศรัทธา. อีกประการหนึ่ง พึงทราบ องค์แห่งโสดาปัตติมรรค ๔ อย่างคือ การคบหาสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรม (ของสัตบุรุษ) ๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมโดยสมควร

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 510

แก่ธรรม ๑ ว่าเป็นรากแห่งศรัทธา. บทว่า ปติฏฺิตา ได้แก่หยั่งลงแล้ว โดยเป็นภาวะที่ใครๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ เพราะบรรลุอริยมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ทฬฺหา อสํหาริยา ดังนี้. บทว่า ทฬฺหา แปลว่ามั่นคง. บทว่า อสํหาริยา ความว่า เป็นสิ่งที่อันใครๆ ไม่สามารถ เพื่อจะนำไปได้ หรือให้หายไป หรือนำออกไปได้.

เทวดาเหล่านั้นหวังจะให้เทพบุตรนั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล จึงกล่าว อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. เพราะว่าเทวดาเหล่านั้น ปรารถนาพระอริยบุคคล ผู้สมควรแก่การเข้าไปเสวยกามสุข ในเทวโลกของคนเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดูก่อนเทพ ท่านจงมาบ่อยๆ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. แม้การตายเพราะหมด บุญย่อมมีได้ด้วยการเข้าไปตัดขาดแห่งชีวิตินทรีย์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมจุติเพราะสิ้นอายุ. บทว่า อนุโมทตํ ความว่า ผู้อนุโมทนาอยู่. บทว่า มนุสฺสานํ สหพฺยตํ ได้แก่ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม กันด้วยมนุษย์ทั้งหลาย. ชื่อว่า สหัพยะ เพราะอรรถว่าอยู่ร่วม ได้แก่เป็นไป ด้วยกัน ภาวะแห่งสหัพยะนั้น ชื่อว่า สหัพยตา. บทว่า นิวิฏฺสฺส ความว่า พึงเป็นคุณชาติตั้งมั่นลง. บทว่า ยาวชีวํ ความว่า เพียงไรแต่การดำเนินไป แห่งชีวิต. อธิบายว่า จนกว่าจะถึงปรินิพพาน. บทว่า อปฺปมาณํ ความว่า เว้นจากประมาณ ด้วยสามารถแห่งการกระทำให้มาก ให้โอฬาร และทำให้ มากครั้ง ด้วยความเคารพ. บทว่า นิรูปธึ ความว่า เว้นจากอุปธิ คือ สังกิเลส อธิบายว่า บริสุทธิ์อย่างยิ่ง คือปราศจากมลทินโทษ.

ก็เพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น ไม่ปรารถนามหัคคตกุศล เพราะยังไม่ อยากพ้นไปจากกามโลก ย่อมปรารถนาเฉพาะบุญที่เป็นกามาจรอย่างเดียว

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 511

ฉะนั้นในพระสูตรนี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ท่านจุติจากเทวโลกนี้แล้ว เกิดในหมู่มนุษย์ รู้เดียงสาแล้ว ละทุจริตทุกอย่างมีกายทุจริตเป็นต้น สั่งสม สุจริตทั้งมวลมีกายสุจริตเป็นต้น ให้โอฬาร ให้ไพบูลย์ แล้วจงเป็นผู้มีศรัทธา ที่มาแล้ว ด้วยอริยมรรค. ก็เพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น ยังปรารถนาปฐมมรรค บ้าง ทุติยมรรคบ้าง ในโลกุตรธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตนยังล่วงการเกิด ในเทวโลกไปไม่ได้ ฉะนั้น พึงทราบความแห่งบททั้งหลายว่า อปฺปมาณํ นิรูปธึ ด้วยสามารถแม้แห่งกุศลเหล่านั้นว่า กุศลชื่อว่า หาประมาณมิได้ เพราะเข้าไปตัดกิเลสทั้งหลาย มีกามราคะอย่างหยาบ ที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน ในฐานะเป็นศัตรูเป็นต้น อันกระทำซึ่งประมาณ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า หาอุปธิ มิได้ เพราะละขันธูปธิที่ควรแก่การเกิดขึ้น จากภพที่ ๗ และอภิสังขารูปธิ ที่เกิดแต่ขันธูปธินั้น ทั้งกิเลสูปธิ อันมรรคนั้นๆ พึงฆ่า และเพราะอาศัย พระนิพพานกล่าวคือธรรมชาติที่ไม่มีอุปธิ เหตุที่อุปธิเหล่านั้นเกิดขึ้นไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกรรมที่ปิดประตูอบายไว้ โดย ส่วนเดียวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงกรรมจะให้เกิดสวรรคสมบัติ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตโต โอปธิกํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปธิกํ ได้แก่ ให้เผล็ดผลเป็นอุปธิ. อธิบายว่า ให้เกิดสมบัติคืออัตภาพ และโภคสมบัติ. ก็อัตภาพท่านเรียกว่า อุปธิ. ดังที่ตรัสไว้ว่า มีอยู่กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่าง ที่ขัดขวาง อุปธิสมบัติยังไม่ให้ผล ดังนี้. แม้กามคุณก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ ดังที่ตรัสไว้ว่า ความเศร้าโศกของนรชนมีเพราะอุปธิ.

ในคำว่า อุปธีหิ นรสฺส โสจนํ นี้ มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ อัตภาพ และกามคุณ ชื่อว่า อุปธิ เพราะเป็นที่อันสัตว์ทรงไว้ซึ่งสุขและทุกข์. บุคคลชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 512

โอปธิกะ เพราะมีอุปธิเป็นเหตุ เป็นปกติ หรือควรซึ่งอุปธิ กระทำบุญนั้น ให้มาก คือให้โอฬาร.

ถามว่า ทำอย่างไร. ตอบว่า ทำด้วยทาน. เพราะว่า ทานคนนอกนี้ ทำได้ง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ทาเนน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายเอาอภัยทานด้วย. ไม่ใช่ตรัสอามิสทานเท่านั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เอาศีลเข้าไว้ด้วย.

ก็เพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น ปรารถนาความเสื่อมแห่งกายอสูร และ ความบริบูรณ์ของกายเทพ โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง แสดงอุบายแก่เทพบุตรนั้น จึงประกอบเทพบุตรไว้ในธรรมทาน ด้วยบาท แห่งคาถาว่า อญฺเปิ มจฺเจ สทฺธมฺเม พฺรหฺมจริเย นิเวสย (ยังสัตว์ แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ที่เป็นพรหมจรรย์) ดังนี้.

บทว่า ยทา วิทู ความว่า เวลาใด เทวดาทั้งหลายพึงรู้ คือพึงทราบ เทวดาผู้จะจุติ เวลานั้น เทวดาทั้งหลายจะอนุโมทนา ด้วยความอนุเคราะห์ คือด้วยความเป็นผู้ใคร่ เพื่อบำบัดทุกข์ ตามที่กล่าวแล้ว นี้ว่า ดูก่อนเทพ ท่านจงมา คือจงลับมาสู่เทวกายนี้ บ่อยๆ ดังนี้.

จบอรรถกถาจวมานสูตรที่ ๔