พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อสุภสูตร ว่าด้วยเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40110
อ่าน  440

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 524

ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๖. อสุภสูตร

ว่าด้วยเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 524

๖. อสุภสูตร

ว่าด้วยเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พิจารณาเห็น อารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ ย่อมละราคานุสัยใน เพราะความเป็นธาตุงามได้ เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะ หน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตกทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภาย นอก อันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี เมื่อเธอทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 525

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อม เกิดขึ้น.

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม ในกาย มีสติเฉพาะในลมหายใจ มีความ เพียรทุกเมื่อ พิจารณาเห็นซึ่งนิพพานอัน เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้ เห็นโดยชอบพยายามอยู่ ในนิพพานเป็นที่ ระงับ แห่งสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้อยู่ จบอภิญญาสงบระงับล่วงโยคะเสียได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี.

จบอสุภสูตรที่ ๖

อรรถกถาอสุภสูตร

ในอสุภสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสุภานุปสฺสี ความว่า เธอทั้งหลายเมื่อพิจารณาเห็นว่า ไม่งาม ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่งาม คืออาการที่ไม่งามในกาย ด้วย สามารถแห่งอาการ ๓๒ และด้วยสามารถแห่งการน้อมนำเข้าไปหานิมิตที่ตน ถือเอาแล้ว ในศพที่ขึ้นพองแล้วเป็นต้นอยู่. บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่ สติในลมหายใจ คือสติที่ปรารภลมหายใจนั้นเป็นไป. อธิบายว่า สติที่กำหนด ลมหายใจเข้าลมหายใจออก. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ มีอาทิว่า ลมหายใจเข้า ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ลมหายใจออก ลมหายใจออกชื่อว่า ปานะ ไม่ใช่ลมหายใจเข้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 526

บทว่า โว แปลว่า เพื่อเธอทั้งหลาย. ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ ท่านประสงค์ เอาอารมณ์ภายใน. บทว่า ปริมุขํ ได้แก่ เฉพาะหน้า. บทว่า สุปติฏฺิตา ความว่า สติที่ตั้งมั่นไว้แล้วด้วยดี. ท่านอธิบายไว้ว่า ก็อานาปานสติจงเป็น อันเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งไว้แล้วด้วยดี เฉพาะหน้ากรรมฐานดังนี้. อีกอย่าง หนึ่ง บทว่า ปริมุขํ ความว่า มีการนำออกไปตามที่กำหนดไว้แล้ว สมจริง ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า บทว่า ปริ มีความหมายว่า กำหนด บทว่า มุขํ มีความหมายว่านำออก. บทว่า สติ มีความหมายว่า เข้าไปตั้งไว้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จงตั้งสติไว้เฉพาะหน้า ดังนี้. ด้วยบทว่า ปริมุขํ สตึ นี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง แสดงถึงการเจริญกรรมฐาน คือ อานาปานสติ ๑๖ ประเภท ในสติ- ปัฏฐาน ๔.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ที่เป็นสัปปายะแก่ผู้มีราคจริต และวิตกจริต ด้วยสามารถแห่งการ พิจารณากายเนืองๆ ด้วยการทำไว้ในใจว่าปฏิกูล โดยสังเขปเท่านั้นอย่างนี้ แล้ว. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเฉพาะวิปัสสนากัมมัฎฐานล้วนๆ จึงตรัสคำมี อาทิว่า สพฺเพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรถ ดังนี้.

ในวิปัสสนากัมมัฏฐาน พึงทราบหมวดทั้ง ๔ นี้ คือ อนิจจัง ๑ อนิจจลักษณะ ๑ อนิจาปุปัสสนา ๑ อนิจจานุปัสสี ๑. ขันธบัญจก ชื่อว่า อนิจจัง เพราะมีแล้วกลับไม่มี เพราะประกอบด้วยความเกิดขึ้นและความ เสื่อมไป เพราะเป็นไปชั่วคราว และเพราะแย้งต่อนิจจะ (ความเที่ยง). อาการ ที่มีแล้ว กลับไม่มีอันใดของขันธบัญจกนั้น อันนั้นชื่อว่า อนิจจลักษณะ. วิปัสสนาที่ปรารภอนิจจลักษณะนั้นเป็นไป ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา พระโยคาวจรผู้เห็นแจ้ง อนิจจลักษณะนั้นว่าไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 527

ก็ในสติปัฏฐานนี้ ควรจะกล่าวอสุภกถา ๑๑ อย่าง ให้ถึงปฐมฌาน อานาปานกถา ที่มีวัตถุ ๑๖ ให้ถึงจตุตถฌาน และวิปัสสนากถาโดยพิสดาร แต่อสุภกถา เป็นต้นนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์พิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิมรรค โดย ครบถ้วนทุกอาการ เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัย ดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเถิด.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงผลพิเศษ ที่จะพึงให้สำเร็จด้วยอสุภานุปัสสนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า อสุภานุปสฺสีนํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาย ธาตุยา ความว่า ในความเป็น ของงาม อธิบายว่า ในสุภนิมิต. บทว่า ราคานุสโย ได้แก่ กามราคานุสัยนั้น ที่ควรแก่การเกิดขึ้นในเพราะสุภารมณ์. กามราคานุสัยนั้น พระ โยคาวจรละได้ด้วยอนาคามิมรรค ที่ตนถือเอาอสุภนิมิต ของผู้พิจารณาเห็น อสุภะในอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น หรือในซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้น แล้วยัง ปฐมฌานให้เกิดขึ้นในเพราะอสุภนิมิตนั้น ทำปรมฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วจึงบรรลุ อธิบายว่า ตัดขาดโดยประการทั้งปวง. สมดังที่ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ควรเจริญอสุภะเพื่อละกามราคะ ดังนี้.

บทว่า พาหิรา ความว่า อกุศลธรรมที่ชื่อว่า ข้างนอก คือที่ชื่อว่า เป็นภายนอก เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ในภายนอก และไม่นำประโยชน์มาให้. บทว่า วิตกฺกาสยา ได้แก่ มิจฉาวิตก มีความดำริในกามเป็นต้น. ก็มิจฉาวิตก เหล่านั้น ที่ยังละไม่ได้ จะคล้อยตามอาสยะ (กิเลสที่นอนเนื่อง) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิตกฺกาสยา เพราะเมื่อมีความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย ก็จะเกิดขึ้นได้. ก็ในวิตกทั้ง ๓ นี้ กามวิตก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือ เอาแล้ว ด้วยศัพท์ว่า กามราคะนั่นเอง. เพราะฉะนั้น วิตกที่เหลือจากกามวิตก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 528

นั่นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว. บทว่า วิฆาตปกฺขิกา ความว่า เป็นส่วนแห่งความทุกข์ คือกระทำการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ ด้วย อำนาจแห่งความอยาก. บทว่า เต น โหนฺติ ความว่า ละกามวิตกเหล่านั้นได้. มหาวิตก ๙ อย่าง พร้อมด้วยกามวิตก ๘ คือ พยาบาทวิตก (วิตกถึงพยาบาท) วิหิงสาวิตก (วิตกถึงการเบียดเบียน) ญาติวิตก (วิตกถึงหมู่ญาติ) ชนบทวิตก (วิตกถึงชนบท) อมราวิตก (วิตกถึงเทวดา) วิตกที่ประกอบด้วย ความไม่ดูหมิ่น วิตกที่ประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ วิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูในผู้อื่น ที่ข่มได้ในเบื้องต้น ด้วยสมาธิ ที่เกิดเพราะอานาปานสติจะละได้ โดยไม่มีเหลือ ตามสมควรด้วยอริยมรรค ที่ทำวิปัสสนานั้นให้เป็นเบื้องบาทแล้วจึงบรรลุ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อเข้าไปตัดเสียซึ่งวิตก ดังนี้.

บทว่า ยา อวิชฺชา สา ปหียติ ความว่า อวิชชาใดที่ปกปิดสภาพ แห่งความจริง ทำความฉิบหายให้ทุกอย่าง เป็นมูลฐานแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น อวิชชานั้น ผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงอยู่จะตัดขาดได้. ได้ยินว่า บทว่า ยา อวิชฺชา สา ปหียติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยสามารถแห่ง พระขีณาสพผู้เป็นสุกขวิปัสสกผู้อยู่จบพรหมจรรย์ โดยอาการแห่งอนิจจลักษณะ ข้อนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้. เมื่อพระโยคาวจรทั้งหลายเริ่มตั้งสัมมัสสนญาณ เห็นแจ้งสังขารทั้งปวงที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินี ทีเป็นไปอยู่ว่าไม่เที่ยงดังนี้ สืบต่อได้ด้วยมรรค ในเวลาใด ในเวลานั้น อรหัตตมรรคก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ เมื่อท่านเหล่านั้น พิจารณาอนิจจลักษณะเนืองๆ อยู่ ก็จะละอวิชชาได้โดยไม่เหลือ อรหัตตมรรควิชชา จะเกิดขึ้น. คำว่า อนิจฺจานุปสฺสีนํ วิหรตํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยอนิจจลักษณะ เป็นธรรมปรากฏแก่พระโยคาวจรเหล่านั้น. หรือโดยเป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 529

อุบายในการถือเอาลักษณะทั้งสองนอกนี้ แต่ไม่ได้ตรัสไว้ โดยที่พระโยคาวจร จะพึงพิจารณาลักษณะอย่างเดียวเท่านั้นเนืองๆ. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ดังนี้ ทั้งยังตรัสคำอื่นไว้ว่า ดูก่อนเมฆิยะ ก็อนัตตสัญญาของผู้มีอนิจจสัญญา จะตั้งมั่น ผู้มีอนัตตสัญญา จะถึงการถอนอัสมิมานะขึ้นได้ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อานาปาเน ปฏิสฺสโต ความว่า มีสติเฉพาะๆ ในอานาปานนิมิต อธิบายว่า เข้าไป ตั้งสติไว้มั่น. บทว่า ปสฺสํ ความว่า เห็นอยู่ซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับ สังขาร ด้วยญาณจักษุ อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. บทว่า อาตาปี สพฺพทา ความว่า มีความเพียรอยู่เนืองๆ ในธรรมมีอสุภานุปัสสนา (การพิจารณาเห็น ว่าไม่งาม) เป็นต้น โดยไม่หยุดชะงักในระหว่าง คือประกอบแล้วประกอบเล่า (ทำสม่ำเสมอ). บทว่า ยโต ได้แก่ พยายามอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่เป็น ผู้แน่นอนในธรรมนั้น คือในพระนิพพานอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวงด้วย สัมมัตตนิยาม หลุดพ้นด้วยการหลุดพ้น ด้วยอำนาจอรหัตตผล. คำที่เหลือ มีนัยดังที่กล่าวแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอสุภสูตรที่ ๖