พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ธรรมสูตร ว่าด้วยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40111
อ่าน  345

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 530

ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๗. ธรรมสูตร

ว่าด้วยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 530

๗. ธรรมสูตร

ว่าด้วยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

[๒๖๕] เมื่อภิกษุกล่าวว่า ผู้นี้ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ด้วย การพยากรณ์ด้วยธรรมอันสมควรใด ธรรมอันสมควรนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ดังนี้ ชื่อว่าย่อมกล่าวธรรมอย่างเดียว ย่อม ไม่ตรึกถึงวิตกที่ไม่เป็นธรรม ภิกษุเว้นการกล่าวอธรรมและการตรึกถึงอธรรม ทั้ง ๒ นั้น เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในธรรม ค้นคว้าธรรมอยู่ ระลึกถึงธรรม อยู่เนื่องๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอน อยู่ก็ดี ให้จิตของตนสงบอยู่ ณ ภายใน ย่อมถึงความสงบอันแท้จริง.

จบธรรมสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 531

อรรถกถาธรรมสูตร

ในธรรมสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ในบทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิ- ปนฺนสฺส นี้ ธรรมที่สมควรแก่ธรรมนั้น คือธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น มีศีลวิสุทธิเป็นต้น แก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น คือกำลังปฏิบัติ เพื่อบรรลุ (โลกุตรธรรม) นั้น. บทว่า อยมนุธมฺโม โหติ ความว่า ธรรมนี้เป็นธรรมมีสภาพสมควร คือมีสภาพเหมาะสม. บทว่า เวยฺยากรณาย ได้แก่ ด้วยกถาสำหรับพูดกัน. บทว่า ยํ ในคำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ยํ เป็นปฐมาวิภัตติใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายว่า ภิกษุเมื่อพยากรณ์อยู่ว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น ควรชื่อว่า พยากรณ์อยู่โดยชอบทีเดียว ด้วยธรรมอันสมควรใด เธอไม่ควรถูกวิญญูชนตำหนิ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยํ เป็นกิริยาปรามาส. ด้วยบทว่า ยํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการกล่าวธรรมนั่นแหละ. และการตรึกถึงธรรมวิตก ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นเหตุสมควร คือเป็นเหตุเหมาะสมแก่กถา สำหรับ พูดกันว่า ธรรมนี้เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมนี้สมควร อย่างนั้น ดังนี้ ด้วยอุเบกขาที่สัมปยุตด้วยญาณ ในเมื่อไม่มีกิจทั้งสองอย่างนั้น. บทว่า ภาสมาโน ธมฺมํ เยว ภาเสยฺย ความว่า ถ้าหากภิกษุพูดอยู่ ก็พึงชื่อว่าพูดธรรม คือกถาวัตถุ ๑๐ อย่างนั่นเอง ไม่ใช่พูดอธรรมอันมีความ มักมากเป็นต้น ที่ตรงข้ามกับกถาวัตถุ ๑๐ อย่างนั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า กถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิตนี้ใด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 532

ย่อมเป็นไป เพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อสำรอกกิเลส เพื่อดับกิเลส เพื่อ ความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพาน คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิถถา ปวิเวกกถา อสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาเห็นปานนั้น เพราะผู้มีปกติได้กถาที่มี การขัดเกลาเท่านั้นจึงควรกล่าวธรรมนั้น. ด้วยคำว่า ภาสมาโน ธมฺมํเยว ภาเสยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึง การถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร.

บทว่า ธมฺมวิตกฺกํ ความว่า เมื่อภิกษุวิตกถึงเนกขัมมวิตกเป็นต้น ที่ไม่ปราศไปจากธรรมอยู่ อุตสาหะจักเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยคิดว่า เราจัก บำเพ็ญปฏิปทามีศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์. แต่วิตกนั้น พึงทราบว่ามีมากประเภท เพราะเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเว้นธรรมที่เป็นอุปการะ แล้วเพิ่มพูนธรรม ที่เป็นอุปการะแก่ศีลเป็นต้น (และ) ด้วยสามารถแห่งการนำความที่ธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมออกไป แต่ไม่ตั้งอยู่แม้ในความเป็นธรรมที่เป็น ไปในส่วนแห่งความมั่นคงแล้ว ยังความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งคุณพิเศษ และความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความเบื่อหน่าย ให้ถึงพร้อม. บทว่า โน อธมฺมวิตกฺกํ มีความว่า ไม่พึงตรึกถึงกามวิตก.

บทว่า ตทุภยํ วา ปน ความว่า ภิกษุเว้นการพูดธรรม เพื่ออนุ- เคราะห์ชนเหล่าอื่น และการตรึกธรรมเพื่ออนุเคราะห์ตนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว ก็อีกอย่างหนึ่ง เว้นขาด คือ ไม่ปฏิบัติ ได้แก่ ไม่ทำทั้งสอง อย่างนั้น. บทว่า อุเปกฺขโก ความว่า เป็นกลางในข้อปฏิบัติอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 533

เพิ่มพูนเฉพาะสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนาเท่านั้นอยู่ อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้วางเฉยแม้ในการปฏิบัติสมถะ ทำวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเดียวอยู่ คือ ยังวิปัสสนาให้ก้าวสูงขึ้น วางเฉยแม้ในวิปัสสนานั้น ด้วยสามารถแห่งสังขารู- เปกขาญาณ พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ โดยที่วิปัสสนานั้นจะเป็นญาณแก่กล้า เข้มแข็ง ผ่องใส ไหลไปจนกว่าวิปัสสนาญาณจะถูกสืบต่อด้วยมรรค.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป ภิกษุ ชื่อว่า ผู้มีธรรมเป็นที่ มายินดี เพราะมีธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา เป็นที่มายินดี ด้วยอรรถว่า ควร ยินดี. ชื่อว่า ผู้ยินดีแล้วในธรรม เพราะยินดีแล้วในธรรมนั่นเอง. ชื่อว่า ค้นคว้าธรรม เพราะวิจัยธรรมนั่นแหละบ่อยๆ คือระลึกถึงธรรมนั้น อธิบายว่า กระทำไว้ในใจ. บทว่า อนุสฺสรํ ความว่า ระลึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละเนืองๆ ด้วยสามารถแห่งภาวนาที่สูงๆ ในรูป. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้มีธรรมเป็นที่ มายินดี เพราะ มีธรรมมีศีลเป็นต้น เป็นที่มายินดี ด้วยอรรถว่า ต้องยินดี ด้วยสามารถแห่งการดำรงอยู่ในศีล ที่เป็นบ่อเกิดแห่งวิมุตติ แล้วแสดงแก่ผู้อื่น. ชื่อว่า ผู้ยินดีแล้วในธรรม เพราะยินดีแล้ว คือยินดียิ่งแล้ว ในธรรมนั้น อย่างนั้นนั่นแหละ. ภิกษุเมื่อแสวงหาการดำเนินแห่งธรรมทั้งหลาย มีศีลเป็นต้น เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่า ค้นคว้าธรรมอยู่ เพราะคิดค้นธรรมมีเนกขัมมสังกัปปะ เป็นต้น โดยไม่ให้โอกาสแก่กามวิตกเป็นต้นเลย. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเมื่อเผาวิตก ทั้งสองอย่างนั้น (กามวิตก พยาบาทวิตก) โดยเป็นวิตกอย่างหยาบ วางเฉยแล้ว ระลึกถึงเนืองๆ ซึ่งธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั่นเอง ด้วยสามารถแห่งภาวนา ที่สูงๆ ขึ้นไป คือให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งการเพิ่มพูน. บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ไม่เสื่อมจากโพธิปักขิยธรรมที่แยกประเภทออกไปเป็น ๓๗ ประการ และจากโลกุตรธรรม ๙ อย่าง อธิบายว่า ไม่นานก็จะได้บรรลุโลกุตรธรรมนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 534

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงวิธีแห่งการระลึกถึงธรรม นั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า จรํ วา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรํ วา ความว่า เดินไปด้วยสามารถ แห่งการเที่ยวภิกษาจาร หรือว่าด้วยสามารถแห่งการจงกรม. บทว่า ยทิ วา ติฏฺํ ความว่า เดินอยู่ก็ดี นั่งแล้วก็ดี. บทว่า อุท วา สยํ ความว่า นอนอยู่ก็ดี ดำรงอยู่ในอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้. บทว่า อชฺฌตฺตํ สมยํ จิตฺตํ ความว่า ในจิตของตนสงบ คือระงับอยู่ ในภายในอารมณ์กล่าวคือ กัมมัฏฐาน ตามที่กล่าวมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งการระงับ คือด้วยสามารถ แห่งการละกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น. บทว่า สนฺติเมวาธิคจฺฉติ ความว่า ถึงความสงบโดยส่วนเดียว คือพระนิพพานเท่านั้น.

จบอรรถกถาธรรมสูตรที่ ๗