๘. อันธการสูตร ว่าด้วยอุกุศลและกุศลวิตก ๓ ประการ
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 534
ติกนิบาต
วรรคที่ ๔
๘. อันธการสูตร
ว่าด้วยอุกุศลและกุศลวิตก ๓ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 534
๘. อันธการสูตร
ว่าด้วยอุกุศลและกุศลวิตก ๓ ประการ
[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการนี้ การทำ ความมืดมน ไม่กระทำปัญญาจักษุ กระทำความไม่รู้ ยังปัญญาให้ดับ เป็น ไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน อกุศลวิตก ๓ ประการ เป็นไฉน? คือ กามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการนี้แล กระทำความมืดมน ไม่กระทำปัญญาจักษุ กระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 535
ความไม่รู้ ยังปัญญาให้ดับ เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน.
[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลวิตก ๓ ประการนี้ ไม่กระทำ ความมืดมน การทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไป ในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน กุศลวิตก ๓ ประการ เป็นไฉน? คือ เนกขัมมวิตก ๑ อพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย กุศลวิตก ๓ ประการนี้แล ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไป เพื่อนิพพาน.
พึงตรึกกุศลวิตก ๓ ประการ แต่พึง นำอกุศลวิตก ๓ ประการออกเสีย พระโยคาวจรนั้นแล ยังมิจฉาวิตกทั้งหลายให้ สงบระงับ เปรียบเหมือนฝนยังธุลีที่ลมพัด ฟุ้งขึ้นแล้วให้สงบฉะนั้น พระโยคาวจรนั้น มีใจอันเข้าไปสงบวิตก ได้ถึงสันติบทคือ นิพพานในปัจจุบันนี้แล.
จบอันธการสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 536
อรรถกถาอันธการสูตร
ในอันธการสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อกุสลวิตกฺกา ได้แก่ วิตกทั้งหลายที่เกิดแต่ความไม่ฉลาด. พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อนฺธกรณา ดังต่อไปนี้ วิตก ชื่อว่า กระทำความมืดมน เพราะเกิดขึ้นเองแก่ผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นมืดมน เพราะ ห้ามการเห็นตามความจริง ชื่อว่า ไม่ทำปัญญาจักษุ เพราะไม่ทำให้เกิด ปัญญาจักษุ. ชื่อว่า กระทำความไม่รู้ เพราะทำความไม่รู้. บทว่า ปญฺานิโรธา ความว่า ชื่อว่า ยังปัญญาให้ดับ เพราะดับปัญญา ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กัมมัสสกตาปัญญา ๑ ฌานปัญญา ๑ วิปัสสนาปัญญา ๑ โดยทำ ไม่ให้เป็นไป. ชื่อว่า เป็นไปในฝักใฝ่แห่งความคับแค้น เพราะเป็น ไปในฝักฝ่ายแห่งวิฆาตะ กล่าวคือทุกข์ เหตุที่ให้ผลอันไม่น่าปรารถนา. ชื่อว่า ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะไม่ยังกิเลสนิพพาน ให้เป็นไป. บทว่า กามวิตกฺโก ได้แก่ วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยธรรม อธิบายว่า กามวิตกนั้นเป็น วิตกที่ประกอบด้วยกิเลสกามแล้วเป็นไปในวัตถุกาม. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยวิหิงสา ชื่อว่า วิหิงสาวิตก. และวิตกทั้ง ๒ อย่างนี้ (กามวิตก และพยาบาทวิตก) เกิดขึ้นในสัตว์บ้าง ในสังขารบ้าง. อธิบายว่า กามวิตก เกิดขึ้นแก่ผู้วิตกถึงสัตว์หรือสังขาร อันเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ. พยาบาทวิตก เกิดขึ้นในสัตว์หรือสังขารอันไม่- เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ตั้งแต่เวลาที่โกรธ (เขา) แล้วมองดู จนถึงให้ ฉิบหายไป. วิหิงสาวิตก ไม่เกิดขึ้นในสังขารทั้งหลาย (เพราะว่า) ธรรมดา สังขารที่จะให้เป็นทุกข์ไม่มี แต่จะเกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย ในเวลาที่คิดว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงลำบากบ้าง จงถูกฆ่าบ้าง จงขาดสูญบ้าง จงพินาศบ้าง อย่าได้มีเลยบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 537
ก็ความดำริในกามเป็นต้น ก็คือกามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง. อธิบายว่า โดยเนื้อความแล้ว กามวิตกเป็นต้น กับกามสังกัปปะเป็นต้น ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย. ส่วนสัญญาที่สัมปยุตด้วยกามเป็นต้นนั้น ชื่อว่า กามสัญญาเป็นต้น. ก็ (เพราะเหตุที่) ความแปลกกัน แห่งกามธาตุเป็นต้น จะพึง หาได้ เพราะมาแล้วในพระบาลีว่า ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบ ด้วยกาม มิจฉาสังกัปปะนี้เรียกว่า กามธาตุ ความตรึก ความตรึกตรอง อัน ประกอบด้วยพยาบาท ทิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า พยาบาทธาตุ ความที่จิต อาฆาตในอาฆาตวัตถุ ๑๐ ความอาฆาตมาดร้าย ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้ เรียกว่า พยาบาทธาตุ. ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยวิหิงสา มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียน สัตว์ ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือ เชือก นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก.
ฉะนั้น กถา ๒ อย่างในกามธาตุทั้ง ๓ นั้น ท่านร้อยกรองไว้หมด และไม่คละกัน. บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น เมื่อถือเอากามธาตุ ธาตุทั้ง ๒ แม้ นอกนี้ ก็ชื่อว่าย่อมเป็นอันถือเอาแล้วด้วย แต่ครั้นทรงนำออกจากกามธาตุ นั้นแล้ว ก็จะทรงชี้ได้ว่า นี้เป็นพยาบาทธาตุ นี้เป็นวิหิงสาธาตุ ฉะนั้น กถานี้ จึงชื่อว่า สัพพสังคาหิกา. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถึงกามธาตุ ก็ทรง วางพยาบาทธาตุไว้ในตำแหน่งแห่งพยาบาทธาตุ วางวิหิงสาธาตุไว้ในตำแหน่ง แห่งวิหิงสาธาตุ แล้วตรัสบอกธาตุที่เหลือว่า ชื่อว่า เป็นกามธาตุ. ฉะนั้นกถานี้ จึงชื่อว่า อสัมภินนกถา.
พึงทราบเนื้อความในธรรมฝ่ายขาว โดยปริยายที่แยกจากที่กล่าวแล้ว ดังต่อไปนี้ วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า เนกขัมมวิตก เนกขัมม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 538
วิตกนั้น เป็นกามาวจรในส่วนเบื้องต้นที่เจริญอสุภ เป็นรูปาวจรในฌานที่มีอสุภ เป็นอารมณ์ เป็นโลกุตระในเวลามรรคผลเกิดขึ้น เพราะทำฌานนั้นให้เป็น เบื้องบาท. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยความไม่พยาบาท ชื่อว่า อพยาบาทวิตก. อพยาบาทวิตกนั้น เป็นกามาวจรในส่วนเบื้องต้น ที่เจริญเมตตาเป็นรูปาวจร ในฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ เป็นโลกุตระในเวลาที่มรรคผลเกิดขึ้น เพราะ กระทำฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยอวิหิงสา ชื่อว่า อวิหิงสาวิตก อวิหิงสาวิตกนั้น เป็นกามาวจรในส่วนเบื้องต้นที่เจริญกรุณา เป็นรูปาวจรในส่วนที่มีกรุณาเป็นอารมณ์ เป็นโลกุตระในเวลาที่มรรคผล เกิดขึ้น เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท แต่เมื่อใดอโลภะเป็นประธาน เมื่อนั้น เมตตาและกรุณา ทั้งสองอย่างนอกนี้ ก็จะคล้อยตามอโลภะนั้น เมื่อใด เมตตาเป็นประธาน เมื่อนั้นอโลภะเป็นกรุณา ทั้ง ๒ อย่างนอกนี้ ก็จะคล้อย ตามเมตตานั้น เมื่อใดกรุณาเป็นประธาน เมื่อนั้นอโลภะและเมตตา ทั้ง ๒ อย่างนอกนี้ ก็จะคล้อยตามกรุณานั้น. เนกขัมมสังกัปปะ เป็นต้น ก็คือ เนกขัมมวิตกเป็นต้นเหล่านี้นั่นเอง อธิบายว่า โดยเนื้อความแล้ว เนกขัมมวิตก เป็นต้น กับเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย แต่สัญญาที่ สัมปยุตด้วยเนกขัมมวิตกเป็นต้น ชื่อว่า เนกขัมมสัญญาเป็นต้น.
ก็เพราะเหตุที่เนกขัมมธาตุเป็นต้น มีความแตกต่างกัน เพราะมีมา ในพระบาลีว่า ความตรึก ความตรึกตรอง ความดำริชอบ อันประกอบไป ด้วยเนกขัมมะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า เนกขัมมธาตุ. ความตรึก ความตรึกตรอง ความดำริ อันประกอบไปด้วย ความไม่พยาบาท นี้เรียกว่า อพยาบาทธาตุ ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี เมตตาเจโตวิมุตติในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อพยาบาทธาตุ. ความตรึก ความตรึกตรอง ความดำริ อันประกอบด้วยอวิหิงสา นี้เรียกว่า อวิหิงสา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 539
ธาตุ. ความกรุณา กิริยาที่กรุณา สภาพที่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณา เจโตวิมุตติในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ. แม้ในสุกกปักษ์นี้ กถาทั้ง ๒ อย่าง คือ สัพพสังคาหิกากถา อสัมภินนกถา ก็พึงทราบตามนัย ที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. ข้อความที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า วิตกฺกเย ได้แก่ ในหมวด ๓ แห่งวิตก. บทว่า นิรากเร ความว่า ออกจากสันดานของตน คือพึงบรรเทา อธิบายว่า พึงละ. บทว่า สเว วิตกฺกานิ วิจาวิตานิ สเมติ วุฏฺีว รชํ สมูหตํ ความว่า อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน เมื่อเมฆนอกกาลเวลา ก้อนใหญ่ตกต่ำลงมา ฝนจะให้ฝุ่น ที่กองรวมกันอยู่ที่ แผ่นดิน ที่ลมพัดฟุ้งขึ้นโดยทั่วๆ ไป ให้สงบลงได้ในทันใด ฉันใด พระโยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะให้วิตกที่ท่องเทียวไปในมิจฉาวิตก และ วิจารที่สัมปยุตด้วยวิตกนั้น สงบคือระงับลงได้ ได้แก่ตัดขาดไป และพระ โยคาวจรผู้เป็นอย่างนั้น มีใจสงบด้วยวิตก คือมีอริยมรรคจิต ที่ชื่อว่า สงบแล้วด้วยวิตก เพราะระงับมิจฉาวิตกทุกอย่างได้ จะได้ถึง คือได้บรรลุ สันติบท คือพระนิพพานในโลกนี้แหละ คือในปัจจุบันนี้ทีเดียว.
จบอรรถกถาอันธการสูตรที่ ๘