พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใส ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40115
อ่าน  497

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 556

ติกนิบาต

วรรคที่ ๕

๑. ปสาทสูตร

ว่าด้วยความเลื่อมใส ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 556

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๕

๑. ปสาทสูตร

ว่าด้วยความเลื่อมใส ๓ ประการ

[๒๗๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์ประมาณเท่านั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใส ในบุคคลผู้เลิศ ก็และผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณ เท่าใด วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความระหาย ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรม อันเลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 557

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรม เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในธรรมคืออริยมรรค ชน เหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส ในธรรมอันเลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด หมู่สาวก ของพระตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่และ คณะเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเลื่อมใสในหมู่ผู้เลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้เลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เมื่อชนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วใน พระรัตนตรัยที่เลิศ โดยความเป็นของเลิศ รู้แจ้งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ ยอดเยี่ยม เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ ซึ่งเป็นที่สิ้นกำหนัด และเป็นที่สงบ เป็น สุข เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่ง เป็นบุญเขตอย่างยอดเยี่ยม ถวายทานใน พระรัตนตรัย ที่เลิศ บุญที่เลิศย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุขะและ พละอันเลิศย่อมเจริญ นักปราชญ์ถวาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 558

ไทยธรรมแก่พระรัตนตรัยที่เลิศ ตั้งมั่นอยู่ ในธรรมอันเลิศแล้ว เป็นเทวดาหรือเป็น มนุษย์ก็ตาม เป็นผู้ถึงควานเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปสาทสูตรที่ ๑

อรรถกถาปสาทสูตร

ในปสาทสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อคฺค ศัพท์นี้ ในคำว่า อคฺคปฺปสาทา นี้ปรากฏ (ในความหมายว่า) เบื้องต้น ที่สุด ส่วน และประเสริฐที่สุด. จริงอย่างนั้น อคฺค ศัพท์ นี้ ปรากฏในความหมายเบื้องต้น เช่น (ในประโยค) ว่าสหายผู้เฝ้าประตูเอ๋ย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะปิดประตูสำหรับนิครนถ์ และนิครันถีทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (เรา) ถึง (พระรัตนตรัย) เป็นที่ระลึกตลอดชีวิต. ปรากฏในความหมายที่สุด เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอาปลายนิ้วนั้นนั่นแหละ ลูบปลายนิ้วนั้น (และ) ปลายอ้อยและปลายไม้ไผ่. ปรากฏในส่วน เช่นใน ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนแห่งขาทนียโภชนียะที่มีรสเปรี้ยว ก็ตาม ส่วนแห่งขาทนียโภชนียะที่มีรสหวานก็ตาม ส่วนแห่งขาทนียโภชนียะ ที่มีรสขมก็ตาม เราตถาคตอนุญาตให้แจกแบ่งกัน ตามส่วนแห่งวิหาร หรือ ตามส่วนแห่งบริเวณ. และปรากฏในความหมายว่า ประเสริฐที่สุด เช่นใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 559

ประโยคมีอาทิว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ล้ำเลิศ กว่าบุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ เราเป็นผู้ประเสริฐของชาวโลก. แม้ในพระสูตรนี้ อคฺค ศัพท์นี้ พึงทราบว่า ปรากฏในความหมายประเสริฐ- ที่สุดเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ความเลื่อมใสในสิ่งที่ล้ำเลิศทั้งหลาย คือสิ่งที่ประเสริฐสุด จึงชื่อว่าเป็นสิ่งที่ล้ำเลิศ หรือความเลื่อมใสที่เป็นสิ่ง ประเสริฐสุด จึงชื่อว่าเป็นความเลื่อมใสที่ล้ำเลิศ. อนึ่ง ในความหมายอย่างก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นไว้ด้วยอัคคศัพท์.

ในสัตวโลกเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐก่อน โดยความหมายว่าไม่มีผู้เปรียบ โดยความหมายว่าเป็นผู้วิเศษ ด้วยคุณความดี และโดยความหมายว่าไม่มีผู้เสมอเหมือน. จริงอยู่ พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ โดยความหมายว่า ไม่มีผู้เปรียบ เพราะทรงทำอภินิหารมามาก และการสั่งสม บารมี ๑๐ ประการมาเป็นเบื้องต้น จึงไม่เป็นเช่นกับคนทั้งหลายที่เหลือ เพราะ พระคุณคือพระโพธิสมภารเหล่านั้น และเพราะพุทธคุณทั้งหลาย. ชื่อว่าเป็น ผู้ล้ำเลิศ เพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แม้โดยความหมายว่า เป็นผู้วิเศษ ด้วยคุณความดี เพราะพระองค์มีพระคุณมีพระมหากรุณาคุณเป็นต้น ที่วิเศษ กว่าคุณทั้งหลายของสรรพสัตว์ที่เหลือ. ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ แม้โดยความหมายว่า ไม่มีผู้เสมอเหมือน เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เอง เป็นผู้เสมอ โดยพระคุณทางรูปกาย และพระคุณทางธรรมกายกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในปางก่อน ผู้ไม่เสมอเหมือนกับสรรพสัตว์. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า เป็นผู้เลิศในโลก เพราะมีปรากฏการณ์ที่หาได้ยาก เพราะความ เป็นอัจฉริยะ. เพราะนำมาซึ่งหิตสุขแก่คนหมู่มาก และเพราะความเป็นผู้ไม่เป็น ที่สอง (ของใคร) และไม่มีใครเป็นสหาย (ร่วมคิด) เป็นต้น เช่นที่ตรัสไว้ ในปาฐะ (พระบาลี) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 560

ผู้เป็นเอก หาได้ยากในโลก. บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร? คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก จะอุบัติขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้น ในโลก จะอุบัติขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ฯลฯ บุคคลผู้เป็น เอกนั้น คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก จะเกิดขึ้น ไม่เป็นที่ ๒ (ของใคร) ไม่มีใครเป็นสหาย (ร่วมคิด) ไม่มีผู้เทียบ ไม่มีผู้เทียม ไม่มีบุคคลเทียมทัน ไม่มีผู้เสมอ ไม่มี ผู้เสมอเหมือน เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก (นั้น) คือใคร คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. แม้พระธรรมและพระสงฆ์ ก็ชื่อว่าล้ำเลิศกว่าพระธรรมและพระสงฆ์เหล่าอื่น (ของลัทธิอื่น) โดยความหมายว่า ไม่มีสิ่งเหมือนและผู้ละม้าย และโดยเป็นของมีปรากฏการณ์ที่หาได้ยาก เพราะเป็นผู้มีคุณความดีพิเศษเป็นต้น. จริงอย่างนั้น พระธรรมและพระสงฆ์ เหล่าอื่น จะละม้ายหรือมีความเลวน้อยกว่าคุณวิเศษมีความที่พระธรรมเป็น สวากขาตธรรม และความที่พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น หามีไม่ คือ จะเป็นผู้ประเสริฐสุดมาแต่ไหน. ก็แหละพระธรรมและพระสงฆ์ (ในพระศาสนานี้) ชื่อว่า ประเสริฐที่สุด กว่าพระธรรมและพระสงฆ์อื่นเหล่านั้น เพราะเป็นธรรมและเป็นหมู่ที่มีคุณวิเศษในตัวเองนั่นแหละ. อนึ่ง พระธรรม และพระสงฆ์เหล่านั้น เป็นเหตุนำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ชนหมู่มาก เพราะเป็นความเกิดขึ้นที่หาได้ยากและเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ และมีสภาพไม่เป็น ที่ ๒ ของใคร และไม่มีใครเป็นสหาย (ร่วมคิด) เป็นต้น. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีความปรากฏที่หาได้ยาก เพราะธรรมที่ล้ำเลิศอันใด แม้ พระธรรมและพระสงฆ์ ก็เป็นผู้มีความปรากฏที่หาได้ยาก็เพราะธรรมที่ล้ำเลิศ อันนั้น. แม้ในความเป็นอัจฉริยะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ความเลื่อมใส

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 561

ในสิ่งที่ล้ำเลิศ คือ สิ่งที่ประเสริฐ สูงสุด ที่บวร ได้แก่ สิ่งที่วิเศษด้วยคุณ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัคคัปปสาทา (ความเลื่อมใสในสิ่งที่ล้ำเลิศ) แต่ความเลื่อมใสที่เป็นของล้ำเลิศ เพราะเกิดขึ้นในพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ล้ำเลิศตามที่กล่าวมาแล้ว ในความหมายที่ ๒ ชื่อว่า เป็นความเลื่อมใสอันล้ำเลิศ. ส่วนชนเหล่าใด ดำเนินมาแล้ว ตามทางของพระอริยเจ้า มีความ เลื่อมใสหยั่งลงแล้ว ความเลื่อมใสเหล่านั้น เป็นความเลื่อมใสล้ำเลิศโดยส่วนเดียวนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัคคัปปสาทา. ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย อริยสาวกในพระศาสนานี้เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสที่ หยั่งลงแล้วในพระพุทธเจ้าดังนี้เป็นต้น. อนึ่ง ความเลื่อมใสเหล่านี้ ชื่อว่า เป็นความเลื่อมใสล้ำเลิศ เพราะมีผลล้ำเลิศบ้าง. สมจริงดังที่พระองค์ได้ตรัส ไว้ว่า ก็เมื่อบุคคลเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศแล้ว ผลเลิศก็จะมี.

บทว่า ยาวตา ความว่ามีประมาณเท่าใด. บทว่า สตฺตา ได้แก่ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย. บทว่า อปาทา ได้แก่ หาเท้ามิได้. บทว่า ทฺวิปาทา ได้แก่ มีเท้า ๒ เท้า. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. วา ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ (มีความหมายรวม ไม่ใช่แยกแปล และไม่ใช่แปลว่าหรือ) เหมือนในคำนี้ว่า กามาสวะที่ยังไม่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นบ้าง กามาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญขึ้นบ้าง มีความหมายว่า ยังไม่เกิดขึ้น และ เกิดขึ้นแล้ว และในคำนี้ว่า เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายที่เป็นภูตบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายที่เป็นสัมภเวสีบ้าง มีความหมายว่า ทั้งภูตและ สัมภเวสี และในคำว่า จากไฟบ้าง จากน้ำบ้าง จากความแตกแยกมิตรสัมพันธ์ กันบ้าง มีความหมายว่า ทั้งจากไฟ ทั้งจากน้ำ และจากความแตกจาก มิตรสัมพันธ์กัน ฉันใด แม้ในคำว่า อปาทา วา ฯเปฯ อคฺคมกฺขายติ (ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ กล่าวว่าเลิศ) นี้ ก็ฉันนั้น พึงทราบความหมายด้วยอำนาจ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 562

การรวมกันว่า ทั้งไม่มีเท้า ทั้งมี ๒ เท้า ด้วยเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า วา ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ. บทว่า รูปิโน วา ได้แก่ มีรูป. บทว่า อรูปิโน วา ได้แก่ ไม่มีรูป. บทว่า สญฺิโน วา ได้แก่ มีสัญญา ชื่อว่า ไม่มีสัญญา เพราะหาสัญญามิได้. สัตว์ทั้งหลายที่นับเนื่องใน ภวัคพรหม ชื่อว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชาทรงแสดงเท้าความถึงภพทั้ง ๙ โดยไม่มีเหลือ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ เอกโวการภพ ๑ จตุโวการภพ ๑ ปัญจโวการภพ ๑ สัญญีภพ ๑ อสัญญีภพ ๑ เนวสัญญีนาสัญญีภพ ๑.

อธิบายว่า บรรดาภพทั้ง ๙ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง กามภพ รูปภพ ปัญจโวการภพ เอกโวการภพไว้ด้วย รูป ศัพท์. ทรงแสดง อรูปภพ จตุโวการภพ ไว้ด้วย อรูป ศัพท์. ส่วนสัญญีภพเป็นต้นทรงแสดงไว้ โดยสรุปนั่นเอง. ด้วยอปาทศัพท์เป็นต้น ทรงแสดงเอกเทศ (ส่วนหนึ่ง) ของกามภพปัญจโวการภพและสัญญีภพ.

ถามว่า ก็เหตุไฉน ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไปทรงทำการหมาย เอาสัตว์ไม่มีเท้าเป็นต้น โดยไปทรงหมายเอาสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้นว่าเป็นผู้เลิศ กว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย เหมือนในอทุติยสูตร (สูตรที่ว่าด้วยบุคคลเอกที่ไม่ เป็นที่ ๒ ของใคร) แต่ทรงหมายเอาสัตว์ไม่มีเท้าเป็นต้น? ข้าพเจ้าจะกล่าวตอบ ในอทุติยสูตร (สูตรว่าด้วยบุคคลอย่างเอกที่ไม่เป็นที่ ๒ ของใคร) ก่อน พระองค์ทรงหมายเอาสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น ด้วยอำนาจที่เป็นผู้ประเสริฐกว่า บุคคลผู้ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เมื่อจะอุบัติขึ้นในโลกนี้ จะไม่อุบัติขึ้นในจำพวก สัตว์ผู้ไม่มีเท้า หรือมี ๔ เท้า หรือมีมากเท้า แต่จะอุบัติขึ้นในจำพวกสัตว์ผู้มี ๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์มี ๒ เท้าจำพวกไหน? ในจำพวกมนุษย์และเทวดา ทั้งหลายเท่านั้น. เมื่ออุบัติขึ้นในจำพวกมนุษย์ จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 563

สามารถ ให้สัตวโลกทั้งมวลเป็นไปในอำนาจ (ของพระองค์) แต่ในอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวไว้ว่า ทรงสามารถให้สัตวโลกสามพันโลกธาตุเป็นไป ในอำนาจ. เมื่ออุบัติขึ้นในจำพวกเทพจะอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ให้สัตว์ หมื่นโลกธาตุเป็นไปในอำนาจ ชนผู้เป็นกัปปิยการก หรืออารามิกชน ย่อมถึง พร้อมแก่พระพุทธเจ้านั้น ด้วยประการดังนี้ ท่านจึงกล่าวไว้ในอทุติยสูตร นั้นว่า เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายโดยประเสริฐแม้กว่ามนุษย์และเทวดา นั้นนั่นเอง. แต่ในพระสูตรนี้ตรัสไว้อย่างนี้ โดยครอบคลุมไปถึงสัตว์ไม่มีเหลือว่า ก็สัตว์ทั้งที่เนื่องด้วยอัตภาพมีประมาณเท่าใด หาเท้ามิได้ก็ตาม ฯลฯ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ก็ตาม บรรดาสัตว์เหล่านั้น พระตถาคตเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ. ก็คำว่า เตสํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถนิทธารณะ (สิ่งที่รวมกันอยู่ซึ่งจะต้องแยกออก). ม อักษร ทำการเชื่อมบท แยกบทออกเป็น อคฺโค อกฺขายติ ดังนี้.

บทว่า อคฺโค วิปาโก โหติ ความว่า ความเลื่อมใสใดของผู้- เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศ ความเลื่อมใสนั้นเป็นสิ่งล้ำเลิศ เป็นสิ่ง ประเสริฐ เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นสิ่งสุดยอด เพราะฉะนั้น แม้ผลของความ เลื่อมใสนั้น ก็เป็นสิ่งล้ำเลิศ เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นสิ่งสูงสุด เป็นสิ่งสุดยอด เป็นสิ่งโอฬารที่สุด เป็นสิ่งประณีตที่สุด แต่ความเลื่อมใสนั้น ยังมี ๒ อย่าง โดยแยกเป็นโลกิยะ และโลกุตระ ใน ๒ อย่างนั้น (จะว่าถึงผล) ของความ เลื่อมใสที่เป็นโลกิยะก่อน ควรทราบการประกอบผลพิเศษของความเลื่อมใส ด้วยสามารถแห่งสุตตบท มีอาทิอย่างนี้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าแล้วสิ ว่าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจัก ไม่ไปอบายภูมิ พวกเขาละร่างมนุษย์ไป

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 564

แล้ว จักให้กายทิพย์บริบูรณ์. เพราะว่า ปีติที่มีอยู่ ในกายของผู้กำหนดว่า พุทฺโธ เป็นสิ่งประเสริฐกว่า ปีติของชาวชมพูทวีป แม้โดยกสิณ ช้างแสนเชือก ม้าแสนตัว รถเทียมด้วยม้าหนึ่งแสน หญิงสาวผู้ตก แต่งด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑลแสนคน ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการย่างเท้าก้าวเดียว.

ข้าแต่ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่ระลึกเป็นการดีแล เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแล ท่านจอมเทพ สัตว์ทั้งหลาย บางจำพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว เพราะกายแตกสลายไป จะเข้าถึง สุคติ คือ โลกสวรรค์ อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น จะประสบสิ่งเป็นทิพย์อย่างอื่น โดยฐานะ ๑๐ อย่างคือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์. เพราะฉะนั้น ความเลื่อมใสนั้นพึงทราบว่า อำนวยวิบากเป็นสุข ในสัมปัตติภพ พร้อมด้วยการให้อบายทุกข์หมุนกลับ (ห้ามอบายทุกข์ได้). ส่วนความ เลื่อมใสที่เป็นโลกุตระ ให้วิบากที่เป็นสามัญผลด้วย ยังวัฎทุกข์ให้หมุน กลับด้วย (ห้ามวัฏทุกข์ไว้). และความเลื่อมใสแม้ทั้งหมดนี้ จะให้วัฏทุกข์ หมุนกลับได้ในสัมปรายภพทีเดียว. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธาของตน สมัยนั้น จิตของท่านจะไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม จะไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม จะไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมเลย สมัยนั้น จิตของ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 565

ท่านจะดำเนินไปตรงทีเดียว ผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ความปราโมทย์จะเกิด ขึ้น ผู้มีปราโมทย์ (บรรเทิง) แล้วปีติจะเกิดขึ้น จะรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ ไม่มีอีกแล้ว. สภาวธรรม ชื่อว่าธรรม. บทว่า สงฺขตา ความว่า ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยทั้งหลาย ปรุงแต่งเสร็จ เรียบร้อยแล้ว เพราะ ฉะนั้นจึง ชื่อว่า ปรุงแต่งแล้ว คือ ธรรมที่มีปัจจัย. (ส่วน) ธรรมทั้งหลายที่ ทั้งเหตุทั้งปัจจัยอะไรๆ ไม่ได้ทำ คือ ไม่ได้ปรุงแต่งแล้ว เพราะฉะนั้นจึง ชื่อว่า อสังขตะ คือ พระนิพพานที่หาปัจจัยไม่ได้. ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่า อสังขตะ เพราะขัดแย้งต่อสังขตธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น (คำนี้) จึงเป็น พหูพจน์. บทว่า วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ ความว่า บรรดาสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น อสังขตธรรม กล่าวคือ วิราคะ บัณฑิตเรียกว่า เลิศ คือประเสริฐ ได้แก่สูงสุด หมายความว่าล้ำเลิศเพราะ เป็นสิ่งละเอียด และสุขุมตามสภาพนั่นเอง เพราะเป็นสิ่งสงบและประณีตกว่า เพราะเป็นสิ่งลึกซึ้งเป็นต้น และเพราะเป็นความสร่างเมาเป็นต้น. บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต ความหมายคือ โย อยํ (แปลว่านี้ใด). คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของนิพพานเหมือนกัน. จริงอย่างนั้น ความ เมาทุกอย่าง มีเมาเพราะมานะ เมาในความเป็นบุรุษเป็นต้น จะสร่างไป คือ ถูกทำลายเพราะมาถึงนิพพานนั้น ความระหายทั้งหมดมีระหายกามเป็นต้น ก็จะ ถูกนำออกไป ถึงความอาลัยทั้งมวล มีอาลัยในกามเป็นต้น ก็จะถูกถอนขึ้น กรรมวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์ทั้งผอง ก็จะถูกตัดขาด ตัณหาทั้งปวงที่แยก ประเภทออกเป็น ๑๐๘ อย่าง ก็จะสิ้นไป กิเลส ก็จะสำรอกออกหมด ทุกข์ ย่อมจะดับไปสิ้น เพราะมาถึงนิพพานนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า มทนิมฺมทโน (สร่างเมา) ฯลฯ นิโรโธ (ดับทุกข์). อนึ่ง ตัณหานี้ ใด ที่ท่านเรียกว่า วานะ เพราะตั้งวิเคราะห์ว่า นำไป คือเย็บภพเข้ากับภพ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 566

(และ) กรรมเข้ากับผล ตัณหา คือ วานะนั้น ไม่มีในธรรมชาตินี้ หรือเมื่อ บรรลุถึงธรรมชาตินั้นแล้ว วานะนั้น ไม่มีแก่พระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นิพพาน.

แม้ในคำว่า อคฺโค วิปาโก โหติ นี้ ควรทราบผลพิเศษของความ เลื่อมใสในพระธรรม ด้วยสามารถแห่งสุตตบท มีอาทิว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระธรรม ว่าเป็นที่ระลึกแล้วสิ ฯลฯ เพราะว่าปีติที่มี อยู่ในกายของผู้กำหนดว่า ธมฺโม เป็นสิ่ง ประเสริฐทีเดียว

ข้าแต่ท่านจอมเทพ การถึงพระธรรม เป็นสรณะ เป็นการดีแล ข้าแต่ท่านจอมเทพ เพราะเหตุแห่งการถึงพระธรรมเป็นสรณะแล คนบาง จำพวกในโลกนี้ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์. เมื่อเป็นเช่นนั้น ในข้อนี้ ความเลิศ ก็ชื่อว่า มาแล้วด้วยสามารถแห่งอสังขตธรรมเท่านั้น. แม้ความสามารถแห่ง อริยมรรค ก็ได้เนื้อความนี้เหมือนกัน เพื่อแสดงถึงการออกไปแห่งสังขตธรรม ทั้งหมด. สมจริงตามที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมทั้งหลายมี ประมาณท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศ กว่าสังขตธรรม เหล่านั้นดังนี้ และว่าอัฏฐังคิกมรรค ประเสริฐที่สุดดังนี้.

บทว่า สงฺฆา วา คณา วา ได้แก่ หมู่หรือคณะ ในโลกกล่าว คือ ชุมนุมชน มีประมาณเท่าใด. บทว่า ตถาคตสาวกสงฺโฆ ได้แก่ สงฆ์สาวกของพระตถาคตเจ้า ผู้รวมกันด้วยความเสมอกันแห่งทิฏฐิ และศีล กล่าวคือ ชุมนุมพระอริยบุคคล ๘ จำพวก. บทว่า เตสํ อคฺคมกฺขายติ ความว่า สงฆ์สาวกของพระตถาคตเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศ คือประเสริฐ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 567

สุด ได้แก่ สูงสุด หมายความว่า ล้ำเลิศ ด้วยคุณวิเศษ มีศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติเป็นต้นของตน. บทว่า ยทิทํ ความว่า เหล่านี้ใด. บทว่า จตฺตาริ ปุริสยุคานิ ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ คู่ โดยเป็นคู่ๆ อย่างนี้ คือ ท่านผู้ดำรง ในมรรคที่ ๑ ท่านผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๑ นี้คู่ ๑ จนถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในมรรคที่ ๔ ท่านผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๔ นี้คู่ ๑. บทว่า อฏฺ ปุริสปุคฺคลา ได้แก่ บุรุษบุคคล ๘ จำพวก ด้วยอำนาจบุรุษบุคคลตามนัยนี้ คือ บุรุษบุคคลผู้ ดำรงอยู่ในปฐมมรรค คน ๑ บุรุษบุคคลผู้ดำรงอยู่ในปฐมผล คน ๑. ก็ ในที่นี้ บทเหล่านี้ คือ ปุริโส ก็ตาม ปุคฺคโล ก็ตาม มีความหมาย อย่างเดียวกัน. แต่คำนี้พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์. บทว่า เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ ความว่า โดยเป็นคู่ คู่บุรุษ ๔ คู่ เหล่านี้ โดยแยกกัน บุรุษบุคคล ๘ จำพวกนี่แหละ ชื่อว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้า.

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อาหุเนยฺโย เป็นต้นต่อไป สิ่งของชื่อว่า อาหุนะ เพราะเขาพึงนำมาบูชา. อธิบายว่า พึงนำมาจากที่ไกล แล้วถวาย แด่ท่านทั้งหลายผู้มีศีล. คำนี้เป็นชื่อของปัจจัย ๔. พระสงฆ์ชื่อว่าเป็นผู้ควร รับของที่เขาพึงนำมาบูชานั้น เพราะทำให้เป็นทานมีผลมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาหุเนยยะ. อีกอย่างหนึ่ง แม้สมบัติทั้งมวล ที่เขาพึงนำมาแม้แต่ ที่ไกลแล้ว บูชาไว้ในไฟคืออาหุนะนี้ หรือไฟคืออาหวนะ ควรแก่สักการะ เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อาหวนียะ. ไฟของพราหมณ์ทั้งหลายนี้ใด ชื่อว่า อาหวนียะ ที่เป็นเหตุให้พราหมณ์เหล่านั้นมีลัทธิว่า ยัญที่บูชาแล้วมี ผลมาก ถ้าหากไฟนั้นชื่อว่า อาหวนียะ เพราะภาวะที่บูชาแล้วมีผลมาก พระสงฆ์นั่นเอง ก็ชื่อว่า อาหวนียะ เพราะยัญที่บูชาแล้วในพระสงฆ์ ก็มี ผลมาก ดังที่ตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 568

ก็การบูชาของผู้บูชา ท่านผู้อบรม คนแล้วผู้เดียว แม้เพียงครู่เดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่าการบูชาของผู้บำเรอ (บูชา) ไฟในป่า เป็นเวลาร้อยปี การบูชาเป็น เวลาร้อยปี จะประเสริฐอะไรเล่า?

บทว่า อาหวนีโย นี้นั้น ในนิกายอื่น โดยเนื้อความแล้ว เป็น อันเดียวกันกับบทว่า อาหุเนยฺโย ในพระสูตรนี้ แต่โดยพยัญชนะแล้ว ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำการพรรณนาความไว้ อย่างนี้.

แต่ว่า ของที่จะให้แขก (ของรับแขก) ที่จัดไว้ด้วยสักการะ เพื่อ ประโยชน์แก่ญาติและมิตรทั้งหลาย ผู้เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ ที่มาๆ แล้ว จากทิศและทิศเฉียง พระองค์ตรัสเรียกว่า ปาหุนะ ในคำว่า ปาหุเนยฺ โย นี้ ของที่จะให้แขกแม้นั้น เว้นคนเหล่านั้น คือ แขกประเภทนั้น แล้วควรถวาย แก่พระสงฆ์เท่านั้น. อนึ่ง เพราะว่าพระสงฆ์นั่นจะปรากฏ แม้ในระหว่าง พุทธันดรหนึ่งและไม่ดาษดื่น. แต่ในที่นี้ ความหมายของบทมีดังนี้ พระสงฆ์ ประกอบแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลาย อันกระทำความเป็นผู้น่ารัก น่าพอใจ ดังนั้น ตามที่พรรณนามานี้ พระสงฆ์จึงชื่อว่า ปาหุเนยฺโย เพราะของต้อนรับ ควรจะถวายแก่ท่าน และท่านควรรับของต้อนรับ ส่วนอรรถาธิบายของ อาจารย์ทั้งหลาย ที่มีบาลีว่า ปาหวนีโย มีว่า เพราะเหตุที่พระสงฆ์ควรซึ่ง การทำก่อน ฉะนั้น พระสงฆ์จึงชื่อว่า ปาหวนีโย เพราะคนทั้งหลายควร นำของมาบูชาก่อนผู้อื่น. อีกอย่างหนึ่ง พระสงฆ์ชื่อว่า ปาหวนีโย เพราะควร ซึ่งการบูชา โดยประการทั้งปวง. ในพระสูตรนี้ พระสงฆ์นี้นั้น พระองค์ ตรัสเรียกว่า ปาหุเนยฺโย โดยอรรถาธิบายนั้นนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 569

บทว่า ทกฺขิณา ความว่า พระสงฆ์ชื่อว่า ทักขิเณยยะ เพราะควร ซึ่งทานที่คนทั้งหลายเชื่อปรโลกแล้วถวายซึ่งทักษิณานั้น หรือเป็นผู้เกื้อกูลแก่ ทักษิณา เพราะให้ทักษิณาหมดจด โดยทำให้มีผลมาก. พระสงฆ์ชื่อ อัญชลีกรณียะ เพราะควรซึ่งอัญชลีกรรม (การไหว้) ที่ชาวโลกทั้งหมดทำ โดย วางมือทั้ง ๒ ไว้บนศีรษะ. บทว่า อนุตฺตรํ ปุญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส ได้แก่ เป็นสถานที่งอกงามแห่งบุญของสัตวโลกทั้งมวล ไม่มีสถานที่อื่นเหมือน. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า สถานที่ๆ ข้าวสาลีแดง หรือข้าวยวะงอกงาม ชาวโลก เรียกว่า นาข้าวสาลี นาข้าวยวะ ฉันใด พระสงฆ์ก็ฉันนั้น เป็นสถานที่ งอกงามแห่งบุญของสัตวโลก พร้อมทั้งเทวโลก. เพราะว่า บุญทั้งหลายที่ให้ เกิดประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่สัตวโลก อาศัยพระสงฆ์แล้วจึงงอกงาม ขึ้น เพื่อฉะนั้น พระสงฆ์จึงชื่อว่า เป็นนาบุญของสัตวโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า.

แม้ในที่นี้ก็ควรทราบ การประกอบผลพิเศษของความเลื่อมใสใน พระสงฆ์ ด้วยสามารถแห่งสุตตบท มีอาทิอย่างนี้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งแล้วซิ ฯลฯ เพราะว่าปีติที่มีอยู่ ในกายของผู้กำหนดอยู่ (ในใจ) ว่า สงฺโฆ เป็นสิ่งที่ประเสริฐทีเดียว

ข้าแต่ท่านจอมเทพ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เป็นการดีแล เพราะ เหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะแล ท่านจอมเทพ ฯลฯ คนบางจำพวกใน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 570

โลกนี้ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์. ด้วยพระพุทธพจน์นั้น พึงทราบความที่ความ เลื่อมใสนั้น เป็นของล้ำเลิศ และความที่ความเลื่อมใสนั้น มีผลเลิศ. อนึ่ง พึงทราบความที่ความเลื่อมใสมีผลเลิศ ด้วยสามารถแห่งการให้สำเร็จผลอัน โอฬาร มีอาทิอย่างนี้ว่า การตัดขาดวัฏทุกข์ เริ่มต้นแต่การเกิดในภพที่ ๗ เป็นต้น เพราะได้เฉพาะซึ่งการเห็นอันยอดเยี่ยม เป็นเหตุแห่งการบรรลุความ สุขที่ยอดเยี่ยม.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้. บทว่า อคฺคโต ความว่า ผู้เลื่อมใสแล้ว ในพระรัตนตรัยอันล้ำเลิศ โดยความเป็นของเลิศ นั่นเอง. บทว่า อคฺคํ ธมฺมํ ความว่า รู้อยู่ คือทราบอยู่. ซึ่ง สภาวะที่ล้ำเลิศ คือ ความที่พระพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ดีแล้ว ความที่ พระธรรมเป็นธรรมดี และความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ได้แก่ภาพที่ สูงสุดของพระรัตนตรัย ที่ไม่ทั่วไปแก่สิ่งอื่น หรือสภาพของคุณความดี มี ทศพลญาณเป็นต้น (ของพระพุทธเจ้า) ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว (ของพระธรรม) และความเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้น (แห่ง พระสงฆ์).

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระรัตนตรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใสอันเลิศ โดยทั่วไปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงพระรัตนตรัยนั้น โดยไม่ทั่วไป ด้วยการทรงจำแนกออกไป จึงได้ตรัสคำมีอาทิ ไว้ว่า อคฺเค พุทฺเธ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺนฺนานํ ความว่า เลื่อมใสแล้ว คือ น้อมใจเชื่อแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่ตั้งมั่นแล้ว และด้วยความเลื่อมใสนอก

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 571

จากนี้. บทว่า วิราคูปสเม ความว่า ที่คลายกำหนัดและที่สงบ. อธิบายว่า ที่เป็นเหตุคลายกำหนัดล่วงส่วนแห่งราคะทั้งหมด และที่เป็นเหตุสงบล่วงส่วน แห่งกิเลสทั้งมวล. บทว่า สุเข ความว่า ที่ชื่อว่าเป็นสุข เพราะพระธรรม เป็นเหตุสิ้นวัฏทุกข์ และเพราะพระธรรมเป็นเหตุแห่งความสุข เพราะระงับ สังขารทั้งหลาย. บทว่า อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ ความว่า ให้ทานอยู่ คือ บริจาคไทยธรรมอยู่ ในพระรัตนตรัยที่ล้ำเลิศ.

บรรดารัตนะทั้ง ๓ เหล่านั้น เหล่าชนเมื่อบำรุงคือบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ ด้วยปัจจัยสี่ และบำรุงคือบูชาได้แก่ สักการะพระธาตุเจดีย์เป็นต้น อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จปรินิพพาน แล้ว ชื่อว่า ถวายทานในพระพุทธเจ้า. บทว่า ธมฺมํ ปูเชสฺสาม ความว่า ชนเหล่าใดอุปฐากคือบูชา ได้แก่สักการะอยู่ซึ่งบุคคลทั้งหลายผู้ทรงธรรม ด้วยปัจจัยสี่ และเมื่อสร้างพระธรรมไว้ให้ดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ชื่อว่า ให้ ทานในพระธรรม. เมื่ออุปฐากคือบูชา ได้แก่สักการะพระอริยสงฆ์อย่างนั้น ด้วยปัจจัย ๔ และปฏิบัติอย่างนั้น แม้ในภิกษุนอกจากนี้ อุทิศพระอริยสงฆ์นั้น ชื่อว่า ถวายทานในพระสงฆ์.

บทว่า อคฺคํ ปุญฺํ ปวฑฺฒติ ความว่า เมื่อชนทั้งหลายมีใจ เลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างนี้ ยังการบริจาคอย่างโอฬาร และการบูชา สักการะอย่างโอฬารให้เป็นไป เป็นอันก่อสร้างกุศลที่ล้ำเลิศคือ โอฬารทุกๆ วัน.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความที่บุญนั้นเป็นของล้ำเลิศ เพราะมีผลเลิศ จึงตรัสคำมีอาทิไว้ว่า อคฺคํ อายุ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคํ อายุ ได้แก่ อายุทิพย์ (เทวดา) หรืออายุมนุษย์ที่ล้ำเลิศคือยืนที่สุด. บทว่า ปวฑฺฒติ ความว่า เพิ่มพูนสูงๆ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 572

ขึ้นรูป. บทว่า วณฺโณ ได้แก่ รูปสมบัติ. บทว่า ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ. บทว่า กิตฺติ ได้แก่ เสียงสดุดีกึกก้อง. บทว่า สุขํ ได้แก่ ความสุข ทางกายและความสุขทางใจ. บทว่า พลํ ได้แก่ กำลังกายและกำลังความรู้. บทว่า อคฺคสฺส ทาตา ความว่า ถวายแก่พระรัตนตรัยอันล้ำเลิศ อีกอย่างหนึ่ง บำเพ็ญบุญในพระรัตนตรัยนั้น โดยทำการถวายไทยธรรมอันเลิศให้โอฬาร. บทว่า อคฺคธมฺมสมาหิโต ความว่า ดำรงอยู่แล้ว คือ ประกอบแล้วด้วย ธรรมคือความเลื่อมใส และธรรมมีทานเป็นต้น ที่ล้ำเลิศ ได้แก่ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว หรือประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย มีความ รักใคร่และความพอใจของคนจำนวนมากเป็นต้น ที่เป็นผลของความเลื่อมใส นั้น. บทว่า อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติ ความว่า ประสบความล้ำเลิศ คือ ความประเสริฐสุด ในหมู่สัตว์ที่ตนเกิดแล้ว หรือเป็นผู้บรรลุมรรคผลที่เป็น โลกุตระแล้ว ย่อมบันเทิงคือรื่นเริงใจ ได้แก่พอใจมาก ดังนี้แล.

จบอรรถกถาปสาทสูตรที่ ๑