พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อุปปัตติสูตร ว่าด้วยการเข้าถึงกาม ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40120
อ่าน  419

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 594

ติกนิบาต

วรรคที่ ๕

๖. อุปปัตติสูตร

ว่าด้วยการเข้าถึงกาม ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 594

๖. อุปปัตติสูตร

ว่าด้วยการเข้าถึงกาม ๓ ประการ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเข้าถึงกาม ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็น ไฉน? คือ เหล่าสัตว์ผู้มีกามอันปรากฏแล้ว ๑ เทวดาผู้ยินดีในกามที่ตน นิรมิตเอง ๑ เทวดาผู้ให้อำนาจเป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้ ๑ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็เข้าถึงกาม ๓ อย่างนี้แล.

เหล่าสัตว์ผู้มีกาม อันปรากฏแล้ว เทวดาผู้ยินดีในกามนิรมิตเอง เทวดาผู้ยัง อำนาจให้เป็นไป ทั้งมนุษย์และสัตว์ผู้บริ- โภคกามเหล่าอื่น ซึ่งเป็นผู้ฉลาดในการ บริโภคกาม ย่อมไปก้าวล่วงสงสารอันมี ความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นอย่างอื่น ไปได้ บัณฑิตพึงสละกามทั้งที่เป็นของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 595

ทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์เสียทั้งหมด บัณฑิตทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาในปิยรูป และสาตรูป ที่บุคคลก้าวล่วงได้โดยยาก ได้แล้ว ย่อมปรินิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ ล่วงทุกข์ได้โดยไม่มีส่วนเหลือ บัณฑิต ทั้งหลายผู้เห็นอริยสัจ รู้ถึงเวท รู้แล้ว โดยชอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งซึ่งความ สิ้นไปแห่งชาติ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่.

จบอุปปัตติสูตรที่ ๖

อรรถกถาอุปปัตติสูตร

ในอุปปัตติสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กามูปปตฺติโย ได้แก่ การได้กาม หรือการซ่องเสพกาม. บทว่า ปจฺจุปฏฺิตกามา ได้แก่ เป็นผู้ใคร่อยู่เป็นนิตย์ คือ มี อารมณ์เป็นนิตย์ เช่นมนุษย์ทั้งหลาย. อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลาย ตกอยู่ ในอำนาจวัตถุเป็นนิตย์ ที่จิตปฏิพัทธ์อยู่ ถึงจะนำเอามาตุคามนั้นแหละมาให้ ตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ยังรับอยู่ได้เป็นประจำ. และเทวดาบางพวก (ก็เหมือนกัน). อธิบายว่า เทวดาผู้อยู่ในเทวโลก ๔ ชั้น นับแต่เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาไป ก็ตกอยู่ในอำนาจวัตถุเป็นนิตย์เหมือนกัน. ก็ในข้อนี้ มีเรื่องของปัญจสิขเทพบุตร เป็นตัวอย่าง. ถึงสัตว์ที่เกิดในอบายที่เหลือ บางเหล่า เว้นสัตว์นรกที่ เกิดในอบาย ก็เหมือนกัน คือ ตกอยู่ในอำนาจวัตถุเนืองนิตย์ทั้งนั้น เพราะว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 596

ปลา ก็ตกอยู่ในอำนาจของปลาตัวเมียของตน เต่าก็ตกอยู่ในอำนาจของเต่าตัว เมียของตนเป็นอันว่า สัตว์เดียรัจฉานแม้ทั้งหมด และเปรตจำพวกวินิปาติกะ ย่อมตกอยู่ในอำนาจวัตถุเนืองนิตย์ ดังพรรณนามานี้ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้ ตั้งแต่สัตว์ที่เกิดในอบายที่เหลือ จนถึงเทวดาเหล่าชั้นดุสิต เว้นสัตว์นรก ชื่อว่า มีกามปรากฏแล้ว.

บทว่า นิมฺมานรติโน ความว่า เทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า นิมมานรดี เพราะมีความยินดีในสมบัติเนรมิต ที่เนรมิตขึ้นเอง. อธิบายว่า เทวดาเหล่า นั้น ย่อมปรารถนา รูปชนิดใด ด้วยสามารถแห่งรูปสีเขียว รูปสีเหลือง เป็นต้น ก็เนรมิตรูปชนิดนั้นแล้วยินดีอยู่ เหมือนเทวดาเหล่า มนาปกายิกา ผู้อยู่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธเถระฉะนั้น.

บทว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺติโน ความว่า เทวดา ชื่อว่า ปรนิมมิ- ตวสวัตดี เพราะตกอยู่ในอำนาจกาม ที่เทพเหล่าอื่นเนรมิตไว้. อธิบายว่า เทวดาเหล่าอื่นรู้ใจของเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี แล้วเนรมิต กามโภคะให้ ตามใจชอบ เทวดาเหล่านั้น จึงตกอยู่ในอำนาจกามโภคะนั้น. ถามว่า เทวดา เหล่านั้นรู้ใจของผู้อื่นได้อย่างไร? แก้ว่า รู้ได้ ด้วยสามารถแห่งการคบหา กันมาเป็นประจำ อธิบายว่า เหมือนเจ้าพนักงานห้องเครื่อง ผู้ฉลาดรู้พระ กระยาหารที่พระราชาผู้เสวย ชอบเสวย ฉันใด เทวดาเหล่าอื่นก็รู้อารมณ์ที่ เทวดาชั้นปรนิมมิตวัตดี ชอบใจ โดยปกติ ย่อมเนรมิต อารมณ์เช่นนั้น แหละ ฉันนั้น เทวดาเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจอารมณ์นั้น ย่อมบริโภคกาม ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการเสพเมถุนเป็นต้น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กามกิจ ของเทวดาเหล่านั้น ย่อมสำเร็จด้วยเหตุเพียงยิ้มแย้ม ด้วยเหตุเพียง การมองดู ด้วยเหตุเพียงสวมกอด และด้วยเหตุเพียงจับมือ ดังนี้. ในอรรถกถา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 597

ท่านค้านคำนั้นไว้ว่า ก็เหตุเพียงการยิ้มแย้มเป็นต้นนั้น ไม่มี. อธิบาย ว่า ผู้ที่ไม่ถูกต้องกันด้วยกาย กามกิจคือโผฏฐัพพะ ย่อมไม่สำเร็จได้เลย. สำหรับเทวดาชั้นกามาวจรทั้ง ๖ มีกามเป็นปกติเหมือนกัน. สมดังคำที่พระผู้- มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พวกเทวดา กามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น เหล่านี้ เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งปวง อายุของพวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร?

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า เย จญฺเ ได้แก่ เทวดาเหล่าอื่นจากเทวดาที่กล่าวมาแล้ว และมนุษย์ผู้บริโภคกาม ทั้ง สัตว์ผู้เข้าถึงอบายบางเหล่า ทั้งหมด. บทว่า อิตฺถภาวญฺถาภาวํ ความว่า เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่เป็นไปล่วง ถึงไม่ก้าวล่วง สงสาร สองประเภท คือ อัตภาพตามที่ได้มานี้ ๑ ความเป็นอย่างอื่นจากนี้ กล่าวคือ อุปบัติภพอื่น ๑. บทว่า สพฺเพ ปริจฺจเช กาเม ความว่า มนุษย์และเทวดาทั้งหมดนั้น ถึงสละกามทั้งหมด แยกประเภทเป็นกามทิพย์ เป็นต้น ทั้งที่เป็นวัตถุกาม และกิเลสกาม อธิบายว่า เมื่อละกิเลสกรรม ด้วยอนาคามิมรรคนั่นแหละชื่อว่า สละวัตถุกาม. บทว่า ปิยรูปสาตรูปคธิตํ ความว่า กำหนัดแล้วยินดีแล้ว ในปิยรูปทั้งหลาย ด้วยความพอใจสุขเวทนา ในรูปเป็นต้น. บทว่า เฉตฺวา โสตํ ทุรจฺจยํ ความว่า ตัดขาดกระแส ตัณหาที่ผู้อื่นก้าวล่วงได้โดยยาก คือข้ามได้ยาก. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลังทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอุปปัตติสูตรที่ ๖