๘. กัลยาณสูตร ว่าด้วยศีลงามธรรมงามปัญญางาม
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 602
ติกนิบาต
วรรคที่ ๕
๘. กัลยาณสูตร
ว่าด้วยศีลงามธรรมงามปัญญางาม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 602
๘. กัลยาณสูตร
ว่าด้วยศีลงามธรรมงามปัญญางาม
[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม มีปัญญา งาม เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้ สูงสุดในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัย นี้ เป็นผู้มี่ศีล สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 603
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีล งามด้วยประการดังนี้.
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบ ด้วยความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้.
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มี ปัญญางามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม ด้วย ประการนี้ เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็น บุรุษสูงสุดในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุใดไม่มีการทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น กล่าวภิกษุผู้มีหิรินั้นแลว่าผู้มีศีล งาม.
ภิกษุใดเจริญดีแล้วซึ่งธรรมทั้งหลาย อันให้ถึงอริยมรรคญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ดี ที่ตนได้บรรลุแล้ว พระอริยเจ้าทั้งหลายมี พระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าวภิกษุผู้ไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้นนั้นแลว่า ผู้มีธรรมอันงาม.
ภิกษุรู้ชัดซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 604
ของตนในอัตภาพนี้แล พระอริยเจ้าทั้ง หลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวภิกษุ ผู้ไม่มีอาสวะ สมบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านั้น ผู้ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ไม่ อาศัยละกิเลสทั้งหมดในโลกทั้งปวงนั้นแล ว่าผู้มีปัญญางาม.
จบกัลยาณสูตรที่ ๘
อรรถกถากัลยาณสูตร
ในกัลยาณสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กลฺยาณสีโล ความว่า ผู้มีศีลอันงาม คือ มีศีลสมบูรณ์แล้ว ได้แก่ มีศีลบริบูรณ์แล้ว. ในองคคุณทั้ง ๓ นั้น ภิกษุชื่อว่า มีศีลบริบูรณ์ ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยการเห็นโทษแห่งศีลวิบัติโดยชอบนั่นเอง ๑ ด้วยการเห็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๑. แต่ในข้อที่ว่ามีศีลอันงามนี้ พึงทราบ ความที่ศีลนั้นงามด้วยสามารถแห่งมรรคศีลและผลศีล ที่พ้นจากข้อผูกพัน ทั้งหมด (และ) บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง.
โพธิปักขิยธรรมทั้งหมด ทรงประสงค์เอาว่า กัลยาณธรรม เพราะฉะนั้น ภิกษุชื่อว่า มีกัลยาณธรรม เพราะมีโพธิปักขิยธรรม มีสต-ิ ปัฏฐานเป็นต้น อันงดงาม.
และภิกษุผู้มีปัญญางามด้วยสามารถแห่งมรรคผลปัญญานั่นแล ชื่อว่า ผู้มีปัญญางาม อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ที่เป็นโลกุตรธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 605
เท่านั้น ชื่อว่า เป็นกัลยาณธรรมโดยส่วนเดียว เพราะเป็นธรรมมีอันไม่กำเริบ เป็นสภาพ.
ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภิกษุชื่อว่า มีศีลอันงามด้วยสามารถ แห่งจตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่ามีธรรมอันงาม ด้วยสามารถแห่งธรรมคือวิปัสสนามรรค ชื่อว่า มีปัญญาอันงาม ด้วยสามารถแห่งมรรคผลปัญญา. อาจารย์ พวกหนึ่ง กล่าวว่า ศีลธรรมและปัญญาเหล่านั้น ก็คืออเสขะ. ส่วนอาจารย์ เหล่าอื่น กล่าวว่า มรรคศีล และผลศีล ของพระโสดาบันและ พระสกทาคามีทั้งหลาย ชื่อว่า กัลยาณศีล เพราะฉะนั้น ทั้งพระ โสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา แล้ว ด้วยบทว่า กลฺยาณสีโล นี้. อธิบายว่า พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ธรรม คือ อนาคามิมรรค และอนาคามิผล และธรรมคือมรรคอันเลิศ ชื่อว่าเป็นกัลยาณธรรม เพราะว่า ในบรรดาธรรมเหล่านั้น โพธิปักขิยธรรม ย่อมถึงความ บริบูรณ์ด้วยภาวนา เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคล ๓ จำพวก นับแต่ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคที่ ๓ ไป ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ เอาแล้ว ด้วยบทว่า กลฺยาณธมฺโม นี้ ปัญญาในผลอันเลิศ (อรหัตตผล) ชื่อว่า ปัญญางาม เพราะถึงที่สุดแห่งกิจด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้มีกัลยาณธรรม บุคคลอย่างว่ามานี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาแล้ว. เพราะ ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไร ด้วย (ข้อโต้แย้ง) อันทำให้เนิ่นช้านี้ ในข้อนี้ ธรรมคือมรรคอันเลิศ และผลอันเลิศ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 606
กัลยาณศีลเป็นต้น ดังนั้น ข้อนี้ จึงเป็นความชอบใจของพวกเราทั้งหลาย เพราะว่า โดยวิภาคแห่งธรรมแล้ว นี้เป็นปุคคลวิภาค มิใช่ธรรมวิภาค.
พระนิพพาน อันสงัดจากสังขตธรรมทุกอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส เรียกว่า ล้วนๆ ในบทว่า เกวลี นี้ เพราะไม่มีอะไรๆ เจือปน ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ล้วนๆ เพราะท่านบรรลุพระนิพพานแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นพระอรหัต อย่างเดียว เพราะบริบูรณ์ด้วยปหานภาวนา และบริบูรณ์ ด้วยธรรมอันหาโทษมิได้ เป็นปริโยสาน และเพราะมีความสุขอันเจริญตา เจริญใจ เพราะมีความงามอยู่ในตัว ชื่อว่า พระขีณาสพล้วนๆ เพราะได้ บรรลุพระอรหัตนั้น. ชื่อว่า อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะอยู่จบมรรคพรหมจรรย์ คือยังมรรคพรหมจรรย์ ให้สำเร็จตั้งอยู่แล้ว. ภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกว่าอุตตมบุรุษ (บุรุษสูงสุด) เพราะประกอบไปด้วย อเสกขธรรม ที่สูงสุด หรือยอดเยี่ยม.
ถามว่า ในบทว่า สีลวา นี้ ชื่อว่าศีล ด้วยอรรถว่าอะไร? ตอบว่า ชื่อว่า ศีล ด้วยอรรถว่า ปกติ. ถามว่า ที่ชื่อว่า ปกติ เป็นอย่างไร? ตอบว่า ได้แก่ สมาธาน (ความตั้งมั่น) อธิบายว่า ได้แก่ ความ เป็นผู้มีกายกรรมเป็นต้น เรียบร้อย ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การเข้าไปทรงไว้ อธิบายว่า ได้แก่ ภาวะที่เข้าไป ทรงไว้ ด้วยสามารถแห่งการดำรงไว้ซึ่งกุศลธรรม มีฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ศีล เพราะตั้งมั่นหรือเพราะรองรับไว้. นี้ ว่าด้วยอรรถแห่งศีล โดย นัยแห่งลักษณะของศัพท์ก่อน. ส่วนอาจารย์พวกอื่นพรรณนาความโดยนัยแห่ง นิรุกติว่า สีลัฏะ มีสิระเป็นอรรถ สีลัฏะ มีสีตละเป็นอรรถ สีลัฏะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 607
มีสิวะเป็นอรรถ. บุคคล ชื่อว่า สีลวา เพราะยังศีลนั้นให้บริบูรณ์ หรือ เพราะมีศีล โดยความดียิ่ง. อธิบายว่า สมบูรณ์ด้วยศีล ด้วยสามารถแห่ง จตุปาริสุทธิศีล. อาจารย์บางพวกให้อรรถาธิบายว่า เพื่อจะทรงแสดงศีลที่ เป็นหลักในบรรดาจตุปาริสุทธิศีลเหล่านั้นให้พิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต ดังนี้.
ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้โดยบททั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลไว้แล้ว (แต่) เพราะศีลคือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง ใน บทนอกนี้ อินทริยสังวรศีล จึงเป็นเพียงการรักษาทวาร ๖ เท่านั้น อาชีวปาริสุทธิศีล เป็นเพียงการยังปัจจัยให้เกิดขึ้นโดยธรรมอย่างเดียว ปัจจยสันนิสิตศีล เป็นเพียงการพิจารณาปัจจัยที่ได้มาแล้ว ว่านี้เป็นประโยชน์ แล้วจึง บริโภคเท่านั้น ว่าโดยตรงแล้ว ศีล ก็คือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง ภิกษุใด มีศีลขาดแล้ว ภิกษุนั้นเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีหัวขาดแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึง (ในเรื่อง) มือและเท้า ว่าจะต้องรักษาอวัยวะที่เหลือไว้ ส่วนภิกษุใด ศีลไม่ขาด ภิกษุนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะยังไม่ขาด ย่อมสามารถรักษาศีลเหล่านั้น ทำให้เป็นปกติได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาฏิโมกขสังวรศีล นั่นแหละ ขึ้นไว้ด้วยบทว่า สีลวา นี้ แล้วเพื่อจะยังปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นให้ พิสดาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ ศีลคือสิกขาบท. อธิบายว่า ศีลคือสิกขาบทนั้น ชื่อว่า ปาฏิโมกข์ เพราะยังสัตว์ผู้คุ้มครอง รักษาศีล คือสิกขาบทนั้น ให้พ้น คือ หลุดพ้น จากทุกข์ทั้งหลาย มีทุกข์ที่ ทำให้ต้องเกิดในอบายเป็นต้น. ความสำรวมระวัง ชื่อว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วงทางกาย ทางวาจา. ความสำรวมคือปาฏิโมกข์ ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 608
ภิกษุ ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวรสังวุตะ เพราะสำรวมแล้ว คือ มีกายวาจา อันปิดกั้นแล้ว ด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น. บทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต นี้ เป็นเครื่องชี้ชัดถึงความที่ภิกษุนั้นตั้งมั่นแล้วในศีลนั้น. บทว่า วิหรติ แสดง ถึงความพร้อมเพรียงแห่งการอยู่สมควรแก่ปาฏิโมกขสังวรนั้น. บทว่า อาจารโคจรสมฺปนโน แสดงถึงธรรมที่เป็นอุปการะแก่การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ในเบื้องต่ำ และแก่การตามประกอบคุณพิเศษในเบื้องสูง. บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี แสดงถึงสภาพธรรมดาของการไม่เคลื่อน จากปาฏิโมกขศีล. บทว่า สมาทาย แสดงถึงการถือเอาสิกขาบททั้งหลาย โดยไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า สิกฺขติ แสดงถึงภาวะ คือ ความพร้อมเพรียง ในสิกขา. บทว่า สิกฺขาปเทสุ แสดงถึงธรรมที่จะต้องศึกษา.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า มีปกติตกไปในอบาย ทั้งหลาย มากครั้ง เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีกำลังด้วย เพราะความที่การทำ ความชั่ว ทำได้ง่ายด้วย และเพราะการทำบุญทำได้โดยยาก ได้แก่ ปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า ถูกแรงกรรมซัดไปในภพ เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า มีการดำเนินไปเป็นปกติ เพราะหมุน ไปรอบ โดยหาที่ตั้ง (อันแน่นอน) ไม่ได้ ดุจเครื่องสูบน้ำ (สำหรับตักน้ำ) อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะยังอัตภาพให้ตกไปในสัตตนิกายนั้นๆ ด้วย อำนาจแห่งมรณะ ได้แก่สัตตสันดาน คือ จิตนั่นเอง. ศีล ชื่อว่า ปาฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ผู้จะตกไปนั้น ให้พ้นจากสังสารทุกข์ อธิบายว่า สัตว์ พ้น แล้ว (จากทุกข์) ด้วยความหลุดพ้นแห่งจิต. ดังคำที่ตรัสไว้ว่า สัตว์ บริสุทธิ์ได้ เพราะความผ่องแผ้วแห่งจิต บ้าง ว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น บ้าง ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 609
อีกอย่างหนึ่ง บุคคล ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า ตกไป คือ ดำเนินไป ได้แก่ เป็นไปในสงสารด้วยเหตุที่เป็นเค้ามูลมีอวิชชาเป็นต้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า เมื่อหมู่สัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นที่ กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ (ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ) ๑ ดังนี้. สังวรชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ หลุดพ้น จากสังกิเลสทั้ง ๓ มีตัณหาเป็นต้น ของสัตว์ผู้จะตกไปนั้น. บทนั้น พึงทราบว่า สำเร็จรูปเป็นสมาส เหมือนคำมีอาทิ ตณฺหากาโล ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง สภาพ ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้ตกไปให้ ถึงความเสื่อมคือให้ถึงทุกข์ ได้แก่ จิต. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมฉุดไปดังนี้. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะ อรรถว่าเป็นเครื่องพ้นของสัตว์ผู้จะตกไปนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะ อรรถว่าเป็นเหตุตกไปในอบายทุกข์ หรือในสังสารทุกข์ ได้แก่ สังกิเลส มี ตัณหาเป็นต้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีอาทิว่า ตัณหายังบุรุษ ให้เกิดและบุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ดังนี้. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะ อรรถว่าพ้นไปจากกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ตกไปนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติชื่อว่า ปาติ เพราะเป็นที่ตกไป ได้แก่ อายตนะภายใน และภายนอก ๖. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า เมื่ออายตนะ ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมทำความชมเชย ในอายตนะ ๖๑ ดังนี้. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะอรรถว่า พ้นจากกิเลสเป็นเหตุให้ ตกไป กล่าวคืออายตนะภายใน และอายตนะภายนอก ๖ นั้น. อีกอย่างหนึ่ง สภาพ ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า มีกาตกไป คือ ให้ถึงความเสื่อม ได้แก่ สงสาร. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะพ้นจากสงสารนั้น.
๑. สํ ๑/๕๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 610
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ธรรมิศร ชาวโลกขนาน พระนามว่า บดี เพราะความเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าโลกทั้งปวง. ภิกษุย่อมหลุดพ้น ด้วยอุบายนั้น เพราะเหตุนั้น อุบายนั้น จึงชื่อว่า โมกขะ อุบายเป็นเครื่อง หลุดพ้นของผู้ที่เป็นบดี อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงบัญญัติแล้ว เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปติโมกข์. ปติโมกข์นั่นเอง ก็คือ ปาติโมกข์. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า เป็นบดี เพราะอรรถว่า สูงสุด โดยความ เป็นรากเง่าของคุณทั้งปวงด้วย ชื่อว่า โมกขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปตามที่กล่าว แล้วด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปติโมกข์. ปติโมกข์นั่นเอง ก็คือ ปาติโมกข์. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า ปาติโมกข์นี้ เป็นหัวหน้า คำว่า ปาติโมกข์นี้เป็นประธาน พึงทราบความพิสดารต่อไป.
อีกอย่างหนึ่ง ป ศัพท์ ลงในอรรถว่า ปการะ. ศัพท์ อติ เป็น นิบาตใช้ในอรรถว่าเกินส่วน. เพราะฉะนั้น สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะ อรรถว่า ยังสัตว์ให้พ้นเกินส่วน. โดยประการทั้งหลาย. ก็ศีลนี้ ตัวเอง ไปพร้อมกับสมาธิ ไปพร้อมกันกับปัญญาด้วยสามารถแห่งตทังคะ. ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะยังสัตว์ให้พ้น คือหลุดพ้น เกินส่วน ด้วยสามารถวิกขัมภนปหาน และสมุจเฉทปหาน. ก็ศีลนั้นแหละ คือ พระปาติโมกข์.
อีกอย่างหนึ่ง สังวร ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า หลุดพ้น เฉพาะๆ. อธิบายว่า พ้นเฉพาะ คือเป็นส่วนๆ จากโทษที่จะพึงล่วงละเมิด นั้นๆ. ปฏิโมกข์ ก็คือ ปาฏิโมกข์. อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพาน ชื่อว่า โมกขะ. สังวร ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพ้นเฉพาะ คือ เป็นเหมือนรูปเปรียบแห่งโมกขะนั้น. อธิบายว่า ปาฏิโมกขสีลสังวร ย่อม เป็นเหมือนพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ และธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยโมกขธรรม นั้น อันเป็นแดนอุทัยแห่งพระนิพพาน เพราะยังกิเลสให้ดับตามสมควร เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฏิโมกข์. ปฏิโมกข์นั้นแหละ คือ ปาฏิโมกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 611
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า ดำเนินไปสู่ความ หลุดพ้น คือ มุ่งหน้าสู่พระนิพพาน. ปฏิโมกข์นั่นเอง ก็คือ ปาฏิโมกข์. ในอธิการนี้ พึงทราบความแห่งศัพท์ว่า ปาฏิโมกข์ เท่าที่พรรณนามานี้ก่อน.
กุศลธรรม ชื่อว่า สังวรด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องระวัง คือ ปิดกั้นไว้. สังวร คือ พระปาฏิโมกข์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวร. แต่โดย อรรถ ได้แก่ เจตนาเครื่องงดเว้นจากโทษที่จะพึงก้าวล่วงบาปธรรมนั้นๆ. ภิกษุผู้เข้าถึง คือ ประกอบไปด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสเรียกว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต (ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในพระ ปาฏิโมกข์). สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์ว่า ภิกษุ ย่อมเป็น ผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปใกล้แล้ว เข้าไปใกล้พร้อมแล้ว ถึงพร้อม แล้ว ประกอบแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต. บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมอยู่ คือผลัดเปลี่ยน ได้แก่ เป็นไปด้วยการอยู่ โดย (การผลัดเปลี่ยน) อิริยาบถ.
บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ความว่า ภิกษุชื่อว่า สมบูรณ์ด้วย อาจาระและโคจร เว้นอโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น เพราะสมบูรณ์ด้วยอาจาร สมบัติอันสมควรแก่ภิกษุ ดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ความไม่ล่วงละเมิดเป็นไป ทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดเป็นไปทางวาจาดังนี้ เพราะเว้นอนาจารโดยประ การทั้งปวง โดยไม่กระทำมิจฉาอาชีวะมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้น และการคะนอง ทั้งหลายมีการคะนองกายเป็นต้น และด้วยโคจร กล่าวคือ สถานที่อันสมควร เพื่อจะเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา มีความเคารพ มีความยำเกรงในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ถึงพร้อมด้วย หิริและโอตัปปะ นุ่งห่ม เป็นปริมณฑล ทอดตาลงต่ำ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 612
มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยการก้าวไป ด้วยการถอยกลับ ด้วยการเหลียวซ้าย ด้วยการแลขวา ด้วยการเหยียดเท้า ด้วยการเหยียดออก ที่น่าเลื่อมใส รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบความเพียร ประกอบ ด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัดแล้ว ไม่คลุกคลี (ด้วยหมู่) กระทำโดยเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไป ด้วยความเคารพ ยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่าสมบูรณ์ด้วยอาจาระ.
ก็โคจรมี ๓ อย่างคือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร. ในโคจร ๓ อย่างนั้น กัลยาณมิตร ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ คือ กถาวัตถุ ๑๐ มีลักษณะดังกล่าวแล้วอาศัยภิกษุใด ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง ทำข้อที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บรรเทาความสงสัยเสียได้ กระทำความเห็นให้ตรง ยังจิตให้เลื่อมใส และเมื่อติดตามศึกษา ภิกษุใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อุปนิสัยโคจร.
ภิกษุใด เข้าไปในละแวกบ้าน เดินไปสู่ถนนทอดตาลงต่ำ มองดูชั่วแอก สำรวมแล้วเดินไป ไม่มองดูช้าง ไม่มองดูม้า ไม่มองดูรถ ไม่มองดูคนเดินเท้า ไม่มองดูสตรี ไม่มองดูบุรุษ ไม่เพ่งดูทิศน้อย ทิศใหญ่ ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่ ซึ่งภิกษุเข้าไปผูกพันจิตของตนไว้. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็ อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ สติ- ปัฏฐาน ๔ ดังนี้. ดังนั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว และโคจรสมบัตินี้.
บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็น ภัยในโทษทั้งหลาย ต่างด้วยอกุศลจิตตุปบาทในเสขิยวัตร ที่ต้องแล้วโดยไม่ ได้ตั้งใจ เป็นต้น มีประมาณน้อย คือ มีประมาณเท่าอณู. อธิบายว่า ภิกษุ ใด เห็นโทษมีประมาณเท่าปรมาณู ทำให้ใหญ่ เหมือนขุนเขาสิเนรุราชที่สูง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 613
ถึง ๖๘ แสนโยชน์ ก็ดี ภิกษุใด เห็นอาบัติเพียงทุพภาสิตอัน (มีโทษ) เบากว่าอาบัติทั้งปวง ทำให้ (หนัก) เหมือนอาบัติปาราชิก ก็ดี ภิกษุนี้ ชื่อว่า มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย. บทว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า ในบรรดาสิกขาบททั้งหลาย สิกขาบทอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องศึกษา สมาทานสิกขาบทนั้น หมดทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ครบถ้วนโดยประการทั้งปวง ได้แก่ ไม่ให้เหลือ แล้วศึกษา คือ บำเพ็ญให้เป็นไป.
บทว่า อิติ กลฺยาณสีโล ความว่า เป็นผู้มีศีลอันงามด้วยประการ นี้ อธิบายว่า ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ด้วยสามารถแห่ง บุคลาธิษฐาน แล้วทรงย้ำด้วยสามารถแห่งบุคลาธิษฐานที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีศีลอันงาม ด้วยประการอย่างนี้แล นั้นเองอันพระองค์ตรัสไว้ว่า อิติ กลฺยาณสีโล เป็นผู้มีศีลงาม ด้วยประการ ฉะนี้ ดังนี้อีก เพื่อจะทรงแสดงว่า ศีลนี้ เป็นที่ตั้งของธรรมเหล่านั้น โดย มีพระประสงค์ จะทรงเสดงธรรมที่ตรัสไว้แล้วในบท ว่า กลฺยาณธมฺโม นี้. บททั้งปวงมีอาทิว่า สตฺตนฺนํ โพธิปกฺขิยานํ มีเนื้อความดังกล่าวในหน หลังแล้วแล. คำว่า กลฺยาณสีโล เป็นต้น เป็นคำตรัสย้ำอีก.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า ทุกฺกฏํ แปลว่า กระทำแล้วชั่ว อธิบายว่า ได้แก่ ทุจริต. บทว่า หิรีมนํ ความว่า มี ความละอาย คือ ถึงพร้อมด้วยหิริ. อธิบายว่า ได้แก่ สภาวะที่รังเกียจ ความประพฤติชั่วโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หิรีมนํ ได้แก่ จิตที่ประกอบด้วยหิริ. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ทรงถือเอาแม้โอตัปปะ ไว้ด้วยศัพท์ว่า หิริแล้วทีเดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเหตุแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 614
ความเป็นผู้ทุจริต โดยประการทั้งปวง ด้วยศัพท์ว่า หิริโอตัปปะ ชื่อว่า ย่อม ทรงยังความเป็นผู้มีศีลอันงามให้แจ่มแจ้ง โดยเหตุ.
ภิกษุชื่อว่า สมฺโพธิคามิโน เพราะถึง คือ ประสบสัมโพธิญาณ คือ อริยมรรคญาณ. อธิบายว่า เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งโพธิ. บทว่า อนุสฺสทํ ความว่า เว้นจากกิเลสที่ฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น. บางอาจารย์ กล่าวว่า ตถาวิธํ ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า คำว่า หมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งการเจริญโพธิปักขิยธรรมนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วในกาลก่อน อย่างใดๆ ก็เป็น อย่างนั้น คือเป็นเช่นนั้น.
บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์ หรือเหตุแห่งวัฏทุกข์. บทว่า อิเธว ขยมตฺตโน ความว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งความสิ้นไป คือความไม่บังเกิดขึ้น แห่งชัฏคือกิเลส อันเป็นเหตุแห่งวัฏทุกข์ของตน คือเป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง สมุทัย ด้วยการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะในอัตภาพนี้แหละ คือในอัตภาพ นี้ทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรู้ซึ่งความสิ้นไป คือความหมดไปแห่งวัฏทุกข์ นั่นแหละ ด้วยความดับแห่งจริมกจิต ในอัตภาพนี้ทีเดียว.
บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ สมฺปนฺนํ ความว่า ประกอบแล้วด้วยธรรม มีศีลตามที่กล่าวแล้วเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อสิตํ ความว่า ไม่อาศัย คือ ไม่เนื่องในอะไรๆ เพราะละธรรมเป็นเครื่องอาศัย คือ ตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว. บทว่า สพฺพโลกสฺส ได้แก่ ในสัตว์โลกทั้งปวง. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าว แล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถากัลยาณสูตรที่ ๘