พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. พหุการสูตร ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ย. 2564
หมายเลข  40134
อ่าน  451

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 677

จตุกนิบาต

๘. พหุการสูตร

ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 677

๘. พหุการสูตร

ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มี อุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้เธอทั้งลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์ และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจ อามิสทานและธรรมทาน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อต้องการสลัดโอฆะ เพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 678

คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยกันและกัน ๒ ฝ่าย ย่อมยังสัทธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ให้ สำเร็จ (คือ) บรรพชิตทั้งหลายย่อม ปรารถนาเฉพาะจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และคิลานปัจจัย อันเป็นเครื่อง บรรเทาเสียซึ่งอันตรายจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือน อาศัยพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วเชื่อถือซึ่งถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย มี ปกติเพ่งพินิจด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ดี ประพฤติธรรมอันเป็นทางไปสู่สุคติใน ศาสนานี้ ปกติเพลิดเพลิน เป็นผู้ใคร่ กามบันเทิงอยู่ในเทวโลก.

จบพหุการสูตรที่ ๘

อรรถกถาพหุการสูตร

ในพหุการสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺราหฺมณคฺคหปติกา ได้แก่ ผู้เป็นทั้งพราหมณ์ เป็นทั้ง คหบดี. ทุกจำพวกเมื่อครองเรือน ยกเว้นพวกพราหมณ์ พึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นคหบดี ในที่นี้. บทว่า เย เท้าความถึงผู้ที่อ้างมาโดยไม่แน่นอน. บทว่า เต เป็นทุติยาวิภัตติพหุวจนะ. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 679

ทรงแสดงว่าคฤหัสถ์มีอุปการะแก่ภิกษุ

ภิกษุทั้งหลาย พราหมณคหบดีทั้งหลาย ผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ ทั้งพราหมณ์ทั้งผู้ครองเรือนที่เหลือ เธอทั้งหลายเท่านั้นที่เขาพากัน ทำนุบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น โดยคิดว่า (นี้) เป็นบุญเขตของ เราทั้งหลาย ซึ่งพวกเราจะพากันประดิษฐานไว้ซึ่งทักษิณา ให้มีค่าสูง มีผล อันงามเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้มี อุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยการถวายอามิส คือ โดยการแจกแบ่งอามิส ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยอามิส อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็มีอุปการะแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น (เหมือนกัน) โดยการให้ธรรม คือ การแจกแบ่งพระธรรม ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรม จึงได้ตรัส คำมีอาทิไว้ว่า ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว. คำนั้น ก็มีนัยดุจที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.

ด้วยคำนี้ พระองค์ตรัสถึงอะไร? ตรัสถึง ความอ่อนน้อมต่อบิณฑ- บาต (เคารพบิณฑบาต). ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พราหมณคหบดีเหล่านี้ ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้ ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้แล้ว เขาต้องการผลวิเศษ โดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้ เป็นผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ บุญที่เราทั้งหลายทำ ในสมณะเหล่านี้ จักมี ผลานิสงส์มาก ดังนี้ จึงทะนุบำรุงเธอทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น ฉะนั้น เธอทั้งหลายควรให้ความประสงค์นั้นของพวกเขาเต็มเปี่ยม ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด แม้ธรรมเทศนา ก็จะงดงามและน่าถือเอาสำหรับเขา เหล่านั้นผู้ทำตามอยู่นั่นแหละ ไม่ใช่สำหรับคนเหล่าอื่นนอกจากนี้ เธอทั้งหลาย พึงทำความไม่ประมาทในสัมมาปฏิบัติ ดังที่พรรณามานี้แล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 680

ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า เอวมิทํ ภิกฺขเว มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างก็อาศัยกันด้วยอำนาจ อามิสทานและธรรมทานมีประการดังที่กล่าวมานี้อย่างนี้แล้ว อยู่ประพฤติ ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์นี้ ด้วยอำนาจการนิยมอุโบสถศีล เป็นต้น และด้วยอำนาจปาริสุทธศีล ๔ เป็นต้น เพื่อต้องการถอนโอฆะ ทั้ง ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกาม (โอฆะ) เป็นต้น และเพื่อทำที่สุดแห่ง วัฏทุกข์แม้ทั้งหมด โดยชอบนั่นเอง.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า สาคารา ได้แก่ คฤหัสถ์ทั้งหลาย. บทว่า อนาคารา ได้แก่ ผู้สละเรือนออกบวช. บทว่า อุโภ อญฺโญฺนิสฺสิตา ความว่า ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นต่างก็อาศัยกัน. อธิบายว่า คฤหัสถ์ ผู้มีเรือนอาศัยธรรมทานของบรรพชิต ผู้ไม่มีเรือน และบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนก็อาศัยการถวายปัจจัยของคฤหัสถ์ผู้มีเรือน. บทว่า อาราธยนฺติ ความว่า ให้สำเร็จ คือ ให้ถึงพร้อม. บทว่า สทฺธมฺมํ ได้แก่ ปฏิบัติสัทธรรมและปฏิเวธสัทธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ ทรงแสดงพระธรรมที่สูงสุด ในบรรดาสัทธรรมเหล่านั้น จึงได้ตรัสว่า โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ (คือ) พระอรหัตและพระนิพพาน. บทว่า สาคาเรสุ ความว่า จากคฤหัสถ์ผู้มีเรือนทั้งหลาย. บทนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในความหมาย ปัญจมีวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) ในสำนักของคฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้มีเรือน. บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ ปัจจัย ๒ อย่าง ที่เหลือจากที่กล่าวมาแล้ว คือ บิณฑบาตและเภสัช. บทว่า ปริสฺสยวิโนทนํ ได้แก่ที่อยู่อาศัยมีวิหาร เป็นต้น ที่บำบัดอันตรายมีอันตรายที่เกิดจากฤดูเป็นต้น.

บทว่า สุคตํ ได้แก่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกพร้อมด้วยกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ความจริง พระสาวกพระองค์ทรงประสงค์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 681

เอาว่า สุคต ในพระคาถานี้. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาเรือน. อธิบายว่า ผู้มีปกติอยู่บ้านครอบครองเรือนแสวงหาอุปกรณ์แห่งโภคทรัพย์ และคุณธรรมมีศีลของคฤหัสถ์เป็นต้น. บทว่า สทฺทหนฺตา อรหตํ ความว่า ผู้เชื่อถ้อยคำของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์ หรือเชื่อข้อ ปฏิบัติชอบของท่านเหล่านั้น. อธิบายว่า เชื่อมั่นอยู่ว่า ท่านเหล่านี้เป็นผู้ปฏิบัติ ชอบแน่นอน สำหรับผู้ปฏิบัติตามที่ท่านเหล่านี้บอก การปฏิบัตินั้นก็จะเป็นไป เพื่อสวรรคสมบัติและนิพพานสมบัติ. ปาฐะว่า สทฺทาตา ดังนี้ก็มี. บทว่า อริยปญฺาย ความว่า ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ดีแล้ว. บทว่า ฌายิโน ความว่า ผู้เพ่งด้วยฌานทั้ง ๒ คือ อารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน. บทว่า อิธ ธมฺนํ จริตฺวาน ความว่า ครั้นปฏิบัติธรรมมีศีลเป็นต้น ที่เป็นทาง แห่งโลกิยสุขและโลกุตรสุข ในอัตภาพนี้ หรือในศาสนานี้แล้ว จะไปสู่สุคติ ตลอดเวลาที่ยังไม่บรรลุปรินิพพาน. บทว่า นนฺทิโน ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปกติ เพลิดเพลิน เพราะประกอบด้วยปีติและโสมนัส. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ธมฺมํ จริตฺวาน มคฺคํ ความว่า บรรลุโสดาปัตติมรรค. บทว่า เทวโลกสฺมึ ความว่า ในเทวโลกชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น. บทว่า โมทนฺ- ติ กามกามิโน ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ใคร่กาม คือ เป็นผู้ประสงค์บรรเทิงอยู่ เพราะสำเร็จตามวัตถุที่ประสงค์แล้ว.

จบอรรถกถาพหุการสูตรที่ ๘