๙. กุหนาสูตร ว่าด้วยการหลอกลวง
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 682
จตุกนิบาต
๙. กุหนาสูตร
ว่าด้วยการหลอกลวง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 682
๙. กุหนาสูตร
ว่าด้วยการหลอกลวง
[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้หลอกลวง มีใจกระด้าง ประจบประแจง ประกอบด้วยกิเลสอันปรากฏดุจเขา มีกิเลสดุจ ไม้อ้อสูงขึ้น มีใจไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่นับถือเราตถาคต ภิกษุ เหล่านั้นปราศไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่หลอกลวง ไม่ประจบประแจง เป็นนักปราชญ์ มีใจไม่กระด้าง มีใจ ตั้งมั่นดี ภิกษุเหล่านั้นแล เป็นผู้นับถือเราตถาคต ไม่ปราศไปแล้วจากธรรม วินัยนี้ และย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลอกลวง มีใจ กระด้าง ประจบประแจง ประกอบด้วย กิเลสอันปรากฏดุจเขา มีกิเลสดุจไม้อ้อสูง ขึ้น มีใจไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ งอกงามในธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ไม่ หลอกลวง ไม่ประจบประแจง เป็นนักปราชญ์ มีใจไม่กระด้าง มีใจตั้งมั่นดี ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามในธรรมอัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
จบกุหนาสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 683
อรรถกถากุหนาสูตร
ในกุหนาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุหา ได้แก่ เป็นผู้หลอกลวงด้วยเครื่องหลอกลวงมีการร่าย มนต์เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ทำการลวง เพื่อต้องการประกาศคุณความดี ที่ตนไม่มีแล้วให้ผู้อื่นสนเท่ห์. บทว่า ถทฺธา ความว่า เป็นผู้มีใจกระด้าง เพราะความโกรธและมานะ คือ เป็นผู้ไม่ทำความยำเกรงอย่างยิ่งในครูทั้งหลายผู้ ควรทำความเคารพไม่อ่อนน้อมเที่ยวไปมาเหมือนกลิ่นขี้เหล็กเข้าไปแล้วยืนแข็ง ทื่ออยู่ฉะนั้น เพราะความโกรธที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า คนมักโกรธเป็นผู้มาก ด้วยความแค้นใจ ถูกว่า แม้นิดเดียวก็ข้อจงใจ โกรธ พยาบาท แผ่อำนาจไป ดังนี้ด้วย เพราะความเป็นผู้ว่ายากที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า คนว่ายากเป็น ผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับเอาอนุสาสนีด้วยความ เคารพดังนี้ด้วย เพราะความเมาแยกออกเป็นควานเมาในชาติเป็นต้น ที่ตรัส ไว้แล้วอย่างนี้ว่า ความเมาในชาติ ความเมาในโคตร ความเมาเพศ ความเมา ในความไม่มีโรค ความเมาในความหนุ่มสาว (และ) ความเมาในชีวิต ดังนี้ ด้วย. บทว่า ลปา ความว่า เป็นผู้ประจบประแจง คือ เป็นผู้สงเคราะห์ ตระกูลด้วยอำนาจมิจฉาชีพ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เป็นผู้พูด เพื่อปัจจัย ด้วยสามารถถ้อยคำที่ประดิษฐ์ประดอยแล้ว และด้วยสามารถแห่งอุบายโกง.
บทว่า สิงฺคี ความว่า วาจาที่ประกอบด้วยกิเลสที่เด่นชัด เช่นกับ เขาสัตว์ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า คำพูดดุจเขาสัตว์ เป็นไฉน. การพูด มีแง่งอน ภาวะที่พูดแง่งอน การพูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม กิริยาที่พูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม การพูดมีเหลี่ยมมีคู ภาวะที่พูดมีเหลี่ยมมีคู อันใด นี้เรียกว่าคำพูดดุจเขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 684
สัตว์๑ (มีแง่งอน). บทว่า อนฺนฬา ความว่า ผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่ชูขึ้น คือเที่ยวไปยกตนที่มีใจว่างเปล่าจากคุณวิเศษ คล้ายไม้อ้อชูขึ้นมาอ้าง. บทว่า อสมาหิตา ความว่า เป็นผู้ไม่ได้ แม้เพียงเอกัคคตาจิต.
บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ภิกษุของเรา ตถาคตเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นคนของเราตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า มยฺหํ (ของเราตถาคต) นี้ เพราะภิกษุเหล่านั้นบวชอุทิศพระองค์. แต่เพราะ เหตุที่ภิกษุเหล่านั้นไม่ปฏิบัติชอบ โดยประกอบการหลอกลวงเป็นต้น ฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสเรียกว่า มามกะ (เป็นคนของเราตถาคต).ด้วยบทว่า อปคตา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ถึงแม้ว่า ภิกษุเหล่านั้นบวชแล้วในศาสนา ของเราตถาคต แต่เพราะไม่ปฏิบัติตามที่เราตถาคตสอน จึงเท่ากับไปแล้วจาก พระธรรมวินัยนี้นั่นเอง คือ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าอยู่ไกลแสนไกลจากศาสนานี้. สมจริงดังที่ตรัสคำนี้ไว้ว่า
ท้องฟ้ากับพื้นปฐพี นักปราชญ์ กล่าวว่าอยู่ไกลัน และฝั่งมหาสมุทร (ทั้ง ๒) นักปราชญ์ก็กล่าวว่าอยู่ไกลกัน ข้า แต่พระราชา แต่ธรรมของสัตบุรุษกับของ อสัตบุรุษ นักปราชญ์ กล่าวว่าไกลกันยิ่ง กว่านั้นเสียอีก.
บทว่า วุฑฺมึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชติ ความว่า และภิกษุเหล่า นั้นผู้มีสภาพหลอกลวงเป็นต้น จะไม่เข้าถึง อธิบายว่า ไม่ประสบซึ่งความเจริญ ตามอำนาจของความเจริญด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น ซึ่งความงอกงามตาม
๑. ปาฐะว่า จาตุริยํ ปาริกฺกติยํ แต่ในขุททกวัตถุวิภังค์ อภิธรรมว่า จาตุริยํ ปริกฺขตตา ปาริกฺขติยํ จึงแปลตามบาลีในอภิธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 685
สภาพด้วยความไม่หวั่นไหว อยู่ในคุณความดีมีศีลเป็นต้นนั้น ซึ่งความ ไพบูลย์ด้วยความบริบูรณ์ด้วยธรรมขันธ์มีศีลเป็นต้น โดยความแผ่ไปในที่ ทุกแห่ง.
บทว่า เต จ โข เม ภิกฺขเว ภิกขู มามกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย แม้นอกนี้ว่า เม (ของเราตถาคต) เพราะ บวชอุทิศพระองค์. อนึ่ง ตรัสเรียกว่า มามกะ (เป็นคนของเราตถาคต) เพราะ เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยบรรยายที่ผิดไปจากที่กล่าวมา แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า งอกงามอยู่ในธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น จนถึงอรหัตตมรรค. แต่เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว จึงจะชื่อว่า ถึงความงอกงามไพบูลย์,
คาถาเข้าใจง่ายอยู่แล้ว.
จบอรรถกถากุหนาสูตรที่ ๙