ธนิยสูตรที่ ๒ ว่าด้วยคาถาโต้ตอบระหว่างนายธนิยะกับพระพุทธเจ้า
[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 52
อุรควรรคที่ ๑
ธนิยสูตรที่ ๒
ว่าด้วยคาถาโต้ตอบระหว่างนายธนิยะกับพระพุทธเจ้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 46]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 52
ธนิยสูตรที่ ๒
ว่าด้วยคาถาโต้ตอบระหว่างนายธนิยะกับพระพุทธเจ้า
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า
[๒๙๕] เรามีข้าวสำเร็จแล้ว มีน้ำนม รีด (จากแม่โค) รองไว้แล้ว มีการอยู่กับ ชนผู้เป็นบริวาร ผู้มีความประพฤติอนุกูล เสมอกันที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี เรามุงบังกระท่อมแล้ว ก่อไฟไว้แล้ว แน่ะฝน หากว่า ท่านย่อมปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า
เราเป็นผู้ไม่โกรธ มีกิเลสดุจหลักตอ ปราศไปแล้ว เรามีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่งที่ ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี กระท่อมมีหลังคาอันเปิด แล้ว ไฟดับแล้ว แน่ะฝน หากว่าท่าน ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า
เหลือบและยุงย่อมไม่มี โคทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปในประเทศใกล้แม่น้ำ ซึ่งมีหญ้า งอกขึ้นแล้ว พึงอดทนแม้ซึ่งฝนที่ตกลงมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 53
ได้ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตก ลงมาเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า
ก็เราผูกแพไว้แล้ว ตกแต่งดีแล้ว กำจัดโอฆะ ข้ามถึงฝั่งแล้ว ความต้องการ ด้วยแพย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่าน ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า
ภริยาเชื่อฟังเรา ไม่โลเล เป็นที่ พอใจ อยู่ร่วมกันสิ้นกาลนาน เราไม่ได้ยิน ความชั่วอะไรๆ ของภริยานั้น แน่ะฝน หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า
จิตเชื่อฟังเรา หลุดพ้นแล้ว เรา อบรมแล้ว ฝึกหัดดีแล้วสิ้นกาลนาน และ ความชั่วของเราย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า
เราเป็นผู้เลี้ยงตนด้วยอาหารและ เครื่องนุ่งห่มและบุตรทั้งหลายของเราดำรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 54
อยู่ดี ไม่มีโรค เราไม่ได้ยินความชั่วอะไรๆ ของบุตรเหล่านั้น แน่ะฝน หากว่าท่าน ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า
เราไม่เป็นลูกจ้างของใครๆ เราเที่ยว ไปด้วยความเป็นพระสัพพัญญูผู้ไม่มีความ ต้องการในโลกทั้งปวง เราไม่มีความต้องการ ค่าจ้าง แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ ตกลงมาเถิด.
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า
โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก แม่ โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคตัวปรารถนา ประเวณีก็มีอยู่ อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูงแห่ง โคก็มีอยู่ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็ เชิญตกลงมาเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า
โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก แม่โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคที่ปรารถนา ประเวณีก็ไม่มี อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูงแห่ง โคก็ไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็ เชิญตกลงมาเถิด.
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 55
เสาเป็นที่ผูกโคเราฝังไว้แล้ว ไม่ หวั่นไหว เชือกสำหรับผูกพิเศษประกอบ ด้วยปมและบ่วงเราทำไว้แล้ว สำเร็จด้วย หญ้ามุงกระต่ายเป็นของใหม่มีสันฐานดี สำหรับผูกโคทั้งหลาย แม้โคหนุ่มๆ ก็ไม่ อาจจะให้ขาดได้เลย แน่ะฝน หากว่าท่าน ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า
เราจักไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก เหมือนโคตัดเชือกสำหรับผูกขาดแล้ว เหมือนช้างทำลายเถากระพังโหมได้แล้ว ฉะนั้น แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ ตกลงมาเถิด.
ฝนได้ตกเต็มทั้งที่ลุ่ม ทั้งที่ดอน ใน ขณะนั้นเอง นายธนิยะคนเลี้ยงโค ได้ยิน เสียงฝนตกอยู่ ได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้า พระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่ พระองค์ผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ขอถึง พระองค์ ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหามุนี ขอพระองค์ทรงเป็นพระศาสดาของข้าพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 56
องค์ ทั้งภริยาทั้งข้าพระองค์เป็นผู้เชื่อฟัง ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ข้าพระองค์เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติ และมรณะ จะเป็นผู้กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.
มารผู้มีบาปได้กล่าวคาถาว่า
คนย่อมเพลิดเพลินเพราะอุปธิทั้ง หลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีบุตร ย่อม เพลิดเพลินเพราะบุตร บุคคลมีโค ย่อม เพลิดเพลินเพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่เพลิดเพลินเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า
คนย่อมเศร้าโศกเพราะอุปธิทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีบุตร ย่อมเศร้าโศก เพราะบุตร บุคคลผู้มีโค ย่อมเศร้าโศก เพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่ เศร้าโศกเลย.
จบธนิยสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 57
อรรถกถาธนิยสูตร
ธนิยสูตร ประกอบด้วยคาถาว่า ปกฺโกทโน เป็นต้น
ธนิยสูตรนี้ มีเหตุอุบัติขึ้นเป็นอย่างไร? ธนิยสูตรนี้ มีเหตุอุบัติขึ้น ดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี โดยสมัยนั้น คนเลี้ยง โคชื่อ ธนิยะ อาศัยอยู่บนฝั่งแม่น้ำมหี บุพกรรมของนายธนิยะนั้นมีดังต่อไป นี้ :-
เมื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ยังปรากฎอยู่ นายธนิยะผู้นี้ได้ถวายสลากภัตร ๒๐ ที่ แด่พระสงฆ์ทุกวันสิ้น ๒ หมื่นปี เขา จุติจากชาตินั้นแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลกทั้งหลายทีเดียว ทำพุทธันดรหนึ่งให้สิ้น ไปในเทวโลก พอถึงกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ก็บังเกิดเป็น บุตรเศรษฐี ในนครธรรมโกรัณฑะซึ่งเป็นนครที่ขึ้นอยู่ในปัพพตรัฐ ในตอน กลางของวิเทหรัฐ. เขาอาศัยฝูงโคเลี้ยงชีพ ด้วยว่าเขามีโคประมาณ ๓๐,๐๐๐ ตัว เขารีดนมจากแม่โค ๒๗,๐๐๐ ตัว ธรรมดาว่าพวกเลี้ยงโคทั้งหลายไม่ได้อยู่ ประจำที่ พวกเขาอยู่บนบก ๔ เดือนในฤดูฝน อีก ๘ เดือนที่เหลือ พวกเขา ได้หญ้าและน้ำที่โคสะดวกก็อยู่ที่นั้น และที่นั้นจะต้องเป็นฝั่งแม่น้ำ หรือไม่ก็ ฝั่งสระน้ำที่เกิดเองตามธรรมชาติ.
ต่อมาในฤดูฝน นายธนิยะผู้นี้ได้ออกจากบ้านที่ตนอยู่ไปเสาะแสวงหา ช่องทาง (โอกาส) เพื่อให้โคทั้งหลายอยู่อย่างสบาย จึงได้เข้าไปยังโอกาสที่แม่น้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 58
มหามหีแยกออกเป็น ๒ สาย ถึงการนับว่า (เรียกกันว่า) กาฬมหี สาย ๑ มหามหี สาย ๑ เมื่อไหลไป ก็มาบรรจบกันที่ใกล้ทะเลอีก แล้วได้ทำให้เกิด เกาะในระหว่างขึ้น เขาจึงสร้างโรงสำหรับโคทั้งหลายและที่อยู่ของตนขึ้น (ณ สันดอนอันเป็นเกาะแห่งนั้น) ได้เข้าอยู่อาศัย เขามีบุตร ๗ คน มีธิดา ๗ คน สะใภ้ ๗ คน และกรรมกรเป็นจำนวนมาก.
ธรรมดาว่า คนเลี้ยงโคทั้งหลาย ย่อมทราบนิมิตแห่งฝน (คือ) เมื่อ ใดนกทั้งหลายทำรังบนยอดไม้ ปูทั้งหลายปิดรูที่ใกล้แม่น้ำ ย่อมใช้รู (ใหม่) ใกล้ที่ดอน ในกาลนั้น คนเลี้ยงโคทั้งหลายย่อมถือว่า จักมีฝนชุก แต่เมื่อใด นกทั้งหลายย่อมทำรังเหนือพื้นน้ำในที่ต่ำ ปูทั้งหลายปิดรูที่ใกล้ที่ดอน (บนบก) ย่อมใช้รูใกล้แม่น้ำ ในกาลนั้น คนเลี้ยงโคทั้งหลายย่อมถือว่า จักมีฝนน้อย
ครั้งนั้น นายธนิยะนั้น กำหนดนิมิตว่าจักมีฝนดี พอฤดูฝนใกล้เข้ามา ก็ออกจากเกาะที่อยู่ในระหว่าง (แม่น้ำ) สร้างสถานที่ของตนขึ้นในสถานที่ น้ำท่วมไม่ถึง แม้ในเมื่อฝนตกอยู่สิ้น ๗ สัปดาห์ ที่ฝั่งหนึ่งของแม่น้ำมหามหี สร้างโรงโคล้อมที่อยู่ไว้โดยรอบ แล้วก็อยู่ในที่นั้น.
ครั้งนั้น เมื่อเขาทำการตระเตรียมวัสดุมีไม้และหญ้าเป็นต้นแล้ว เมื่อ พวกลูกๆ ภรรยา และพวกคนทั้งหลายทั้งปวงอยู่พร้อมหน้ากัน เมื่อของเคี้ยว และของบริโภคนานาประการที่ตนได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว กลุ่มแห่งเมฆฝน ทั้งหลายก็ตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทิศโดยรอบ.
นายธนิยะนั้น รีดนมจากแม่โคทั้งหลาย ให้ลูกโคทั้งหลายอยู่ในคอก ทั้งหลาย ให้สุมควันเพื่อโคทั้งหลายขึ้นทั่วทั้ง ๔ ทิศ (เพื่อไล่ยุง) ให้บริวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 59
ชนทุกคนบริโภคแล้ว ให้ทำกิจทุกอย่างแล้ว ให้ตามประทีปขึ้นในที่นั้นๆ ตนเองบริโภคภัตรด้วยน้ำนมสด นอนอยู่บนที่นอนอันใหญ่ เห็นสิริสมบัติ ของตนแล้ว ก็มีความยินดี นอนฟังเสียงฟ้าร้องมาจากทิศเบื้องหน้า ได้เปล่ง อุทานนี้ว่า
เรามีข้าวสำเร็จแล้ว มีน้ำนมรีด (จาก แม่โค) รองไว้แล้ว มีการอยู่กับชนผู้เป็น บริวาร ผู้มีความประพฤติอนุกูลเสมอกัน ที่ ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี เรามุงบังกระท่อมแล้ว ก่อไฟไว้แล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หาก ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
พรรณนาความในคาถาที่ ๑ นั้น ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปกฺโกทโน ได้แก่ ภัตรที่เสร็จแล้ว.
บทว่า พุทฺธขีโร ได้แก่ น้ำนมที่เขารีดจากแม่โคทั้งหลายแล้วถือเอา นายธนิยะย่อมแสดงตนเองด้วยคำว่า อหํ (ข้าพเจ้า).
บทว่า อสฺมิ ได้แก่ ความเป็นอย่างนั้นของตน อธิบายว่าเรามีข้าวสุก และ รีดนมแล้ว.
ศัพท์ว่า อิติ ความว่า นายธนิยโคปะกล่าวแล้วอย่างนี้ แต่ในคัมภีร์ นิทเทส ท่านกล่าวอรรถแห่งอิติศัพท์ไว้อย่างนี้ว่า ศัพท์ว่า อิติ ใช้ในการเชื่อม บท เป็นการเกี่ยวข้องกันแห่งบท เป็นการทำบทให้เต็ม เป็นที่ประชุมแห่ง อักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า อิติ นี้ เป็นชื่อแห่งบทเบื้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 60
ปลาย อิติศัพท์แม้นั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาเนื้อความนี้เท่านั้น ก็อิติศัพท์ ซึ่งประกาศเนื้อความนั้นนั่นแล แห่งบทที่ท่านกล่าด้วยบทเบื้องต้น ว่า ท่านกล่าวไว้แล้วอย่างนี้เป็นการเชื่อมบทด้วยบทเบื้องปลาย โดยนัยมีอาทิ อย่างนี้ว่า อิติ เมตฺเตยฺโย หรือว่า อิติ ภควา หาใช่โดยประการอื่นไม่.
สองบทว่า ธนิโย โคโป เป็นชื่อรวมของเศรษฐีบุตรนั้น ด้วยว่า นายธนิยโคปะนั้น ชื่อว่าธนิยะ ก็เพราะประกอบพร้อม (มั่งคั่ง) ไปด้วยทรัพย์ (ธนะ) คือ โค ที่ท่านกล่าวให้พิเศษไว้อย่างนี้ว่าทรัพย์ที่จะเสมอด้วยโคไม่มี ดังนี้ ก็หมายถึงการที่นายโคปะนั้นเป็นผู้มีอุปการะมากแก่ชาวโลก โดยการให้ ปัญจโครส ในบรรดาทรัพย์ทั้ง ๕ อย่าง มีอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เว้น ทรัพย์ที่จะติดตามตนไปได้มีทานและศีลเป็นต้น โดยเป็นอสังหาริมทรัพย์ มี นา สวน และอารามเป็นต้นบ้าง โดยเป็นทรัพย์ที่เดินได้มีวัวและม้าเป็นต้น บ้าง โดยเป็นสังหาริมทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้นบ้าง โดยเป็นทรัพย์ที่มี อวัยวะสมบูรณ์อันเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะเป็นต้น ชื่อว่าโคปะ ก็เพราะการเลี้ยง โคทั้งหลาย.
ด้วยว่า ผู้ใดเลี้ยงโคของตน ผู้นั้นชื่อว่าโคปะ ส่วนผู้ใดเลี้ยงโคของ คนเหล่าอื่น เป็นผู้รับค่าจ้าง ผู้นั้นชื่อว่านายโคบาล ก็บุตรเศรษฐีนั้นเป็นผู้เลี้ยง โคของตนเท่านั้น เขาจึงได้ขนานนามว่า โคปะ.
บทว่า อนุตีเร คือที่ใกล้ฝั่ง.
บทว่า มหิยา ได้แก่ แห่งแม่น้ำที่มีชื่อว่า มหามหี.
การอยู่ร่วมกันกับบริวารชนที่สมานสามัคคีกัน ที่มีความประพฤติ เกื้อกูลกัน การอยู่ร่วมกันนั้น เป็นการอยู่ร่วมของผู้ใด ก็นายธนิยโคปะนี้ เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า การอยู่ร่วมกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 61
บทว่า ฉนฺนา ได้แก่ ทำให้ฝนรั่วรดไม่ได้ ด้วยการมุงด้วยเครื่องมุง คือหญ้าและใบไม้ทั้งหลาย.
คำว่า กุฏิ นี้ เป็นชื่อของเรือนนั้น.
บทว่า อาหิโต คือ นำมาแล้ว หรือก่อไว้แล้ว. ไฟชื่อว่า คินิ ไฟ ท่านเรียกว่า คินิ ในฐานะนั้นๆ.
บทว่า อถ เจ ปตฺถยสิ มีคำอธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าว่าท่าน ปรารถนาในบัดนี้.
บทว่า ปวสฺส ความว่า จงรด คือจงหลั่งลง ได้แก่จงปล่อยน้ำลงมา นายธนิยะเรียกเมฆฝนว่าเทวะ. การพรรณนาเฉพาะในคาถานี้เพียงเท่านี้ก่อน ส่วนการพรรณนาเนื้อความมีดังต่อไปนี้.
นายธนิยโคปะนี้ นอนแล้วในเรือนอันเป็นที่นอนของตนอย่างนี้ ฟัง แล้วซึ่งเสียงร้องของเมฆ (เสียงฟ้าร้อง) กล่าวอยู่ว่า เรามีข้าวหุงเสร็จแล้ว ย่อมแสดงถึงการเตรียมไว้อย่างดีของตน อันเป็นอุบายที่จะให้ระงับความทุกข์ กาย และเป็นเหตุแห่งความสุขกาย เขาเมื่อกล่าวว่า เรารีดนมเสร็จแล้ว ชื่อว่า ย่อมแสดงถึงการจัดการดีของตน อันเป็นอุบายเพื่อเข้าไประงับทุกข์ทางใจ และเป็นเหตุแห่งความสุขใจ เมื่อกล่าวว่า ที่ฝั่งแม่น้ำมหี ย่อมแสดงถึงสมบัติ คือสถานที่อยู่ เขากล่าวอยู่ว่า การอยู่ร่วมกัน ย่อมแสดงถึงความไม่มีความ เศร้าโศก อันมีการพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นเหตุ ในกาลเช่นนั้น เมื่อกล่าว ว่า เรามุงกระท่อมแล้ว ย่อมแสดงถึงการกำจัดคือความปราศจากความทุกข์ อันเป็นทุกข์ทางกาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 62
บทว่า อาหิโต คินิ ความว่า เพราะเหตุที่นายโคบาลทั้งหลาย ก่อไฟ ๓ ชนิด คือ ไฟล้อมรอบ ไฟควัน และไฟผิง และพวกนายโคบาลเหล่า นั้นก็ได้ก่อไฟทั้ง ๓ ชนิดนั้นขึ้น ในเรือนของนายธนิยโคปะนั้น เพราะฉะนั้น เขาเมื่อกล่าวว่า เราก่อไฟแล้ว หมายถึงไฟล้อมรอบในทิศทั้งปวง ย่อม แสดงถึงการป้องกันการเข้ามาแห่งเนื้อร้าย เมื่อกล่าวว่า เราก่อไฟแล้ว หมาย เอาไฟควัน ซึ่งก่อจากวัตถุทั้งหลายมีโคมัยเป็นต้น ในท่ามกลางแห่งใดทั้งหลาย ย่อมแสดงถึงการไม่มีการเบียดเบียนโคทั้งหลายที่เกิดจากเหลือบและยุงเป็นต้น เมื่อกล่าวว่า เราก่อไฟเสร็จแล้ว หมายถึงไฟผิงในที่นอนทั้งหลายของพวก โคบาล ย่อมแสดงถึงการกำจัดอาพาธอันเกิดจากความหนาวของพวกนายโคบาล เขาแสดงอยู่อย่างนี้ ก็เกิดความปีติและโสมนัสขึ้นเพราะตนเองก็ดี โคทั้งหลาย ก็ดี บริวารชนก็ดี ไม่มีอาพาธไรๆ ซึ่งมีฝนเป็นปัจจัย จึงกล่าวว่า แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
เมื่อนายธนิยะ กล่าวคาถานี้อยู่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับ อยู่ในพระคันธกุฎี ในพระเชตวันมหาวิหาร ได้ทรงสดับเสียงของนายธนิยะ นั้น ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ซึ่งบริสุทธิ์ล่วงเลยโสตธาตุของมนุษย์ ก็แล ครั้นทรงสดับแล้ว ทรงตรวจดูอยู่ซึ่งโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นนายธนิยะ พร้อมกันภรรยาของเขา ก็ทรงทราบว่า แม้สามีภรรยาคู่นี้ ถึงพร้อมแล้วด้วย เหตุ ถ้าเราจักไปแสดงธรรม เขาแม้ทั้งคู่ก็จักบวชแล้วบรรลุพระอรหัต ถ้าเรา จักไม่ไป พรุ่งนี้เขาทั้งสองจักพินาศเพราะห้วงน้ำ.
ในขณะนั้นนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปยังสถานที่อยู่ของ นายธนิยะ โดยทางอากาศซึ่งเป็นระยะทาง ๗ โยชน์ จากเมืองสาวัตถี ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 63
ประทับยืนอยู่เบื้องบนกระท่อมของเขา นายธนิยะก็ยังกล่าวคาถานั้นอยู่บ่อยๆ ยังไม่จบ แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วก็ยังกล่าวอยู่นั่นเอง ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคาถานั้นแล้ว เพื่อจะแสดงว่า ชนทั้งหลาย ผู้พอใจแล้ว หรือเป็นผู้สละแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แต่ก็หาเป็นอย่างนี้ ไม่ จึงได้ภาษิตคาถาตอบ ที่เหมือนกันโดยพยัญชนะ แต่ต่างกันโดยอรรถ นี้ว่า
เราเป็นผู้ไม่โกรธ มีกิเลสดุจหลักตอ ปราศไปแล้ว เรามีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง ที่ ฝั่งแม่น้ำมหี กระท่อมมีหลังคาอันเปิดแล้ว ไฟก็ดับแล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หาก ท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตกลงเถิด.
ด้วยว่า บททั้งหลายมีบทว่า " ปกฺโกทโน " และบทว่า " อกฺโกธโน " โดยอรรถไม่เข้ากัน (ไม่เหมือนกัน) ดุจฝั่งนี้และฝั่งโน้นของมหาสมุทรฉะนั้น. แต่พยัญชนะบางตัวในคาถาทั้ง ๒ นี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บางบทใน คาถาทั้ง ๒ นี้จะเหมือนโดยพยัญชนะ.
ในคาถาต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งบทที่เหมือนกัน โดย นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ส่วนการพรรณนาทั้งโดยพยัญชนะทั้งโดยความ แห่ง บทที่ต่างกันมีดังนี้ :-
บทว่า อกฺโกธโน คือมีความไม่โกรธเป็นสภาพ ด้วยว่าความโกรธ ซึ่งเป็นอาฆาตวัตถุมีประการดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นใด แม้หน่อย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 64
หนึ่งบังเกิดขึ้นอยู่แก่คนบางคน ทำใจให้เราเร่าร้อนแล้วก็สงบลงได้. แต่ บางคน ย่อมทำหน้าสยิ้วด้วยความโกรธใด ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว มีกำลังแรงกว่า ความโกรธที่นิดหน่อยนั้น คนบางคนปรารถนาจะกล่าวคำหยาบ ด้วยความ โกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น จึงทำเหตุสักว่า คางสั่น (ปากสั่น) คนอีกพวกหนึ่ง กล่าวคำหยาบด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีกพวกหนึ่ง แสวงหา ท่อนไม้และศาสตรา เหลียวดูทิศทั้งหลายด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีกพวกหนึ่งจับท่อนไม้และศาสตรา ด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีก พวกหนึ่งถือท่อนไม้เป็นต้น วิ่งเข้าใส่ด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีก พวกหนึ่งประหาร ๒ - ๓ ครั้ง ด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีกพวกหนึ่งฆ่าแม้กระทั่งญาติสายโลหิตของตนด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีก พวกหนึ่ง เกิดวิปฏิสาร (เดือดร้อน) ขึ้นด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น แล้วฆ่าตัวเอง ดุจอำมาตย์ชาวกาลคามในเกาะสิงหล. ก็ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ความโกรธจัดว่าถึงความเพิ่มพูนขึ้นอย่างยิ่ง.
ความโกรธนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละได้แล้วที่โคนต้นโพธิ์นั้นเอง มีรากอันขาดแล้ว ดุจตาลยอดด้วนฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " เราเป็นผู้ไม่โกรธ."
บทว่า วิคตขีโล ได้แก่ มีกิเลสดังหลักตอ.
ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงกิเลสเพียงดังตะปูตรึงใจ ๕ เหล่านั้นใดไว้ เพราะความที่จิตเป็นสภาพแข็งกระด้าง. เมือฝนอันเป็นเหตุ แห่งกุศลมีการฟังพระสัทธรรมเป็นต้น แม้ตกรดอยู่ที่จิตอันเป็นดุจหลักตอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 65
เพราะกิเลสเพียงหลักตอเหล่าใด กุศลก็ไม่งอกขึ้น เปรียบเหมือนแม้เมื่อฝนตก อยู่ตลอด ๘ เดือน ในภูมิภาค อันเป็นเหมือนหลักตอ (มีหินกรวดมาก) ข้าวกล้าทั้งหลายก็งอกขึ้นไม่ได้ฉะนั้น กิเลสเพียงดังหลักตอเหล่านั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงละได้แล้วโดยประการทั้งปวง ที่ควงแห่งต้นโพธิ์นั่นเอง เพราะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราเป็นผู้มีกิเลสดุจหลักตอปราศไปแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีการอยู่สิ้นราตรี เพราะฉะนั้น พระองค์ จึงชื่อว่ามีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง. เหมือนอย่างว่า นายธนิยะนั้น เข้าอยู่ประจำ ตลอด ๔ เดือน ที่ฝั่งแม่น้ำมหามหีนั้น ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเป็น ฉันนั้นก็หามิได้ ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าอยู่ในที่นั้นเพียงคืนนั้น เท่านั้น เพราะความเป็นผู้ทรงใคร่ประโยชน์แก่นายธนิยะนั้น ฉะนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง.
บทว่า วิวฏา ได้แก่ ไม่มีหลังคา. อัตภาพชื่อว่า กุฎี. ด้วยว่า อัตภาพอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์นั้นๆ ท่านเรียกว่ากายบ้าง ว่าคูหาบ้าง ว่า เคหะบ้าง ว่าสันเทหะบ้าง ว่านาวาบ้าง ว่ารถบ้าง ว่าวณะ (แผล) บ้าง ว่าธชะ (ธง) บ้าง ว่าวัมมิกะ (จอมปลวก) บ้าง ว่ากุฎี (กระท่อม) บ้าง ว่า กุฏิกาบ้าง. ในที่นี้ อัตภาพพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กุฎี เพราะอาศัย กระดูกเป็นต้น ถึงการนับเข้า (ว่าเป็นกาย) เหมือนกุฎีที่ได้นามว่า เรือน ก็เพราะอาศัยไม้เป็นต้น สมดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ (ในมหาหัตถีปโทปมสูตร) ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้ อาศัยเถาวัลย์ ดิน และ หญ้าเป็นธรรมชาติแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงการนับว่าเป็นเรือนแม้ฉันใด ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 66
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูก อาศัยเอ็น เนื้อ หนัง เป็นธรรมชาติ แวดล้อมแล้ว ย่อมถึงการนับว่ารูป ฉันนั้นนั่นแล.
อีกอย่างหนึ่ง อัตภาพชื่อว่า กุฎี ก็เพราะเป็นที่อยู่ของลิง คือ จิต สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ก็กุฎี คือร่างกระดูกนี้ เป็นที่อยู่ของ ลิง เพราะฉะนั้น ลิงจึงออกจากกุฎีที่มีประตู พยายามอยู่บ่อยๆ ย่อมเที่ยวไปทางประตู.
ฝน คือกิเลสมีราคะเป็นต้น ย่อมรั่วรดซึ่งกุฎีใดบ่อยๆ เพราะสัตว์ ทั้งหลายถูกปกปิดไว้ ด้วยเครื่องปิด คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ กุฎีนั้น มีหลังคาอันเปิดแล้ว สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในคัมภีร์อุทาน) ว่า
ฝนคือกิเลสย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิด เพราะฉะนั้น พึงเปิด สิ่งที่ปกปิดไว้เสีย เมื่อเป็นอย่างนี้ ฝนคือ กิเลสย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดไว้นั้น.
คาถานี้ท่านกล่าวไว้ในที่ ๒ แห่ง คือในขันธกวินัยและในเถรคาถา๑
ในบรรดาอาคตสถานทั้ง ๒ แห่งนั้น ในขันธกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ เพราะอาศัยประโยชน์นี้ว่า ภิกษุใดปกปิดอาบัติไว้ กิเลสทั้งหลาย และอาบัติทั้งหลาย ย่อมรั่วรดจิตภิกษุนั้นบ่อยๆ ส่วนภิกษุใดไม่ปกปิดอาบัติ ไว้ กิเลสทั้งหลายและอาบัติทั้งหลายย่อมไม่รั่วรดจิตของภิกษุนั้น (ส่วน) ใน เถรคาถา ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดมีกิเลสดุจหลังคา มีราคะเป็นต้น กิเลสนั้นย่อม
๑. คาถานี้ ไม่พบในเถรคาถา แต่ปรากฏอยู่ใน ขุททกนิกาย อุทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 67
รั่วรดเรือน คือจิตที่ปกปิดไว้นั้นของผู้นั้น เพราะเรือนนั้นเป็นที่เกิดของ กิเลสมีราคะเป็นต้น ในอารมณ์ทั้งหลายมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือผู้ใดเมื่อ กิเลสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมอดกลั้นไว้.
ฝน คือกิเลสก็ย่อมรั่วรดกระท่อม คืออัตภาพของภิกษุนั่นเอง ที่ ปกปิดไว้ด้วยหลังคา คือกิเลสอันตนอดกลั้นเอาไว้ บ่อยๆ. การที่หลังคา คือ กิเลส อันผู้ใดกำจัดเปิดออกแล้ว ด้วยลม คืออรหัตตมรรคญาณ ฝน คือ กิเลสก็ย่อมไม่รั่วรดเรือน คือจิตของผู้นั้น เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาแล้วในที่นี้.
ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำจัดเครื่องปกปิด (หลังคา) ตามที่ กล่าวแล้ว โดยนัยตามที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า " กระท่อมมีหลังคาอันเปิดแล้ว."
บทว่า นิพฺพุโต คือเข้าไปสงบแล้ว ด้วยว่า สรีระทั้งหมดนี้ร้อน แล้วด้วยไฟ ๑๑ กองใด ไฟ ๑๑ กองนั้นชื่อว่า คินิ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค) ว่า " ร้อนแล้วด้วยไฟ คือราคะ เป็นต้น " เพราะฉะนั้น พึงตรวจดูความพิสดาร จากพระสูตรข้างต้นนั้น ไฟนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าดับสนิทแล้วที่ควงแห่งต้นโพธิ์นั่นแล ด้วยน้ำ คืออริยมรรค. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ไฟดับแล้ว ".
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าทรงตักเตือน คือโอวาท สั่งสอนนายธนิยะ ผู้ยินดีอยู่ด้วยสิ่งอันไม่ควรยินดี โดยทรงยกเอาสิ่งอื่นมา แสดงอ้างนั่นเทียว คืออย่างไร? คือ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 68
ว่า เราไม่โกรธ ก็ย่อมแสดงว่า ดูก่อนธนิยะ ท่านยินดีว่าเรามีข้าวหุงเสร็จแล้ว ก็ข้าวสุกอันบุคคลพึงหุงด้วยการสิ้นไปแห่งทรัพย์ตลอดชีวิต การสิ้นทรัพย์ เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ในบรรดาทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์เพราะการรักษาเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านชื่อว่าเป็นผู้ยินดีลงด้วยทุกข์ซิ. แต่ข้าพเจ้ายินดีอยู่ว่า " เราเป็นผู้ไม่โกรธ " จึงชื่อว่ายินดีแล้ว ด้วยความไม่มีทุกข์ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า เราไม่มีกิเลสเพียงดังหลักตอ ชื่อว่า ย่อมแสดงว่า (ดูก่อนธนิยะ) ท่านยินดีว่า " เรารีดนมเสร็จแล้ว " จึงคิดว่า " เราไม่ต้องทำงานแล้ว " หมดธุระแล้ว จึงยินดี แต่เราพอใจว่า " เราไม่มี กิเลสประดุจหลักตอ " เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว จึงยินดี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า " เราอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำมหีสิ้นราตรีหนึ่ง " ชื่อว่าย่อมแสดงว่า (ดูก่อนธนิยะ) ตัวท่านยินดีอยู่ว่า เราอยู่ร่วมกันที่ฝั่งแม่น้ำ มหี (กับด้วยภรรยา สะใภ้ และกรรมกร) ชื่อว่ายินดีแล้ว ด้วยการอยู่ร่วม ประจำถึง ๔ เดือน ก็การอยู่ประจำย่อมมีได้ ด้วยการเกี่ยวข้องด้วยที่อยู่ การ เกี่ยวข้องด้วยที่อยู่นั้นเป็นความทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัวท่านก็ชื่อว่าเป็นผู้ พอใจด้วยทุกข์นั่นเอง ส่วนข้าพเจ้าพอใจอยู่ว่า เราอยู่สิ้นราตรีเดียว ชื่อว่า พอใจด้วยการไม่อยู่ประจำ ก็การไม่อยู่ประจำย่อมมีได้เพราะการไม่เกี่ยวข้อง ด้วยที่อยู่ และการไม่มีความเกี่ยวข้องเป็นความสุข ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ พอใจด้วยความสุขทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า " กระท่อมมีหลังคาเปิดแล้ว " ชื่อว่า ย่อมแสดงว่า (ดูก่อนธนิยะ) ตัวท่านยินดีอยู่ว่า " เรามุงบังกระท่อมแล้ว "
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 69
ชื่อว่ายินดี เพราะเหตุที่เรือนได้มุงบังไว้แล้ว ก็แม้เมื่อท่านมุงเรือนแล้วก็ตาม ท่านเมื่อถูกห้วงน้ำใหญ่ทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นจากฝน คือกิเลสซึ่งรั่วรดกระท่อมคือ อัตภาพของท่านได้พัดไปอยู่ ก็จะถึงความพินาศ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็พึงชื่อว่า เป็นผู้ยินดีด้วยสิ่งที่ไม่ควรยินดีนั่นเอง แต่ข้าพเจ้ายินดีอยู่ว่า " กระท่อมมี หลังคาอันเปิดแล้ว " ชื่อว่ายินดีโดยความที่กระท่อม คืออัตภาพไม่มีหลังคา คือกิเลส ก็เมื่อเราเปิดกระท่อมแล้วอย่างนี้ เราถูกห้วงน้ำทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นจาก ฝน ซึ่งรั่วรดกระท่อม คืออัตภาพของเรานั้น ไม่ได้พัดไปอยู่ จะไม่พึงถึง ความพินาศได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้ยินดี ด้วยสิ่งที่ควรยินดีเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า " ไฟดับแล้ว " ชื่อว่าย่อมแสดงว่า ดูก่อนธนิยะ ท่านยินดีว่า " เราได้ก่อไฟแล้ว " คิดว่า เราผู้ไม่ได้สร้างเครื่อง ป้องกันอันตรายเลย ได้เป็นผู้สร้างเครื่องป้องกันอันตรายแล้ว แต่ข้าพเจ้า ยินดีอยู่ว่า " ไฟดับแล้ว " ชื่อว่ายินดีแล้ว เพราะเหตุที่เราได้ทำเครื่องป้องกัน อันตรายไว้แล้ว เพราะไม่มีเครื่องเร่าร้อนแต่ไฟ ๑๑ กอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า " แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด " ชื่อว่าย่อมแสดงว่า คำนี้ย่อมงาม (ย่อมถูก ต้อง) สำหรับคนทั้งหลายเช่นเราผู้ปราศจากความทุกข์แล้ว ผู้ประสบความสุข แล้ว ผู้ได้ทำกิจทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น แน่ะฝน ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญตกลง มาเถิด เพราะเมื่อท่านตกหรือไม่ตกก็ตาม ความเจริญหรือความเสื่อมก็หามีแก่ เราไม่. ส่วนตัวท่านกล่าวอย่างนี้เพราะเหตุไร?
เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ชื่อว่า ตรัสไว้แล้วโดยชอบทีเดียว เพราะว่า ก็พระองค์เมื่อตรัสอย่างนี้ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 70
ทรงตักเตือน คือ โอวาท สั่งสอนนายธนิยะ ผู้ยินดีอยู่ด้วยสิ่งที่ไม่ควรยินดีเลย โดยนำสิ่งอื่นมาเป็นเครื่องอ้างนั่นเอง.
คนเลี้ยงโคชื่อว่าธนิยะ แม้สดับพระคาถานี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้แล้วอย่างนี้ ก็ไม่พูดว่าใครนี้กล่าวคาถา พอใจยิ่งด้วยภาษิตนั้น ประสงค์ ที่จะฟังคาถาเห็นปานนั้นอีก จึงได้กล่าวคาถาแม้อีกว่า อนฺธกมกฺสา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อนฺธกา เป็นชื่อของเหลือบ แต่อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า คำว่า อนฺธกา เป็นชื่อของเหลือบสีน้ำตาล (ปิงฺคลมกฺขิกา) ก็มี ยุงนั้นเองชื่อว่า มกสา. บทว่า น วิชฺชเร คือ ไม่มี. ภูมิประเทศอันชุ่มชื้น ในคำว่า กจฺเฉ มี ๒ ชนิด คือ ภูมิประเทศอันชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำ ๑ ภูมิประเทศอันชุ่มชื้นใกล้ภูเขา ๑ ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา ภูมิประเทศอันซุ่มชื้นใกล้แม่น้ำ.
บทว่า รุฬฺหติเณ คือ ในหญ้าที่งอกขึ้น. บทว่า จรนฺติ ความว่า ย่อมหากิน. บทว่า วุฏมฺปิ ได้แก่ ฝนหลายชนิด มีฝนที่มากับลม (ลม เจือฝน) เป็นต้น. ก็ฝนเหล่านั้น ข้าพเจ้าจักได้ประกาศในอาฬวกสูตร. แต่ ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสหมายถึงฝนที่ตกในฤดูฝน (วสฺสวุฏฺิ) . บทว่า สเหยฺยุํ คือ พึงอดทน. คำที่เหลือชัดแล้วทั้งนั้น.
ในคาถาที่ ๓ นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :- เหลือบและยุง เหล่าใด ห้อมล้อมกินเลือด (ของโคทั้งหลาย) อยู่ ย่อมทำให้โคทั้งหลายถึง ความพินาศโดยครู่เดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น พอฝนตกลงมาเท่านั้น พวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 71
นายโคบาลเหล่านั้น จึงใช้ดินร่วน (ฝุ่น) และกิ่งไม้ ฆ่าเหลือบและยุงเหล่านั้นเสีย. นายธนิยะเมื่อแสดงถึงความเกษมแห่งโคทั้งหลาย เพราะเหลือบและยุงเหล่านั้น ไม่มี และ (แสดงถึง) ความไม่ลำบาก เพราะได้กล่าวถึงการไม่มีอันตราย ในการเดินทางไกล ด้วยการเที่ยวไปในภูมิประเทศที่ชุ่มชื้น ซึ่งมีหญ้างอกแล้ว ชื่อว่าย่อมแสดงว่า โคทั้งหลายของคนเหล่าอื่น ปรากฏอยู่ด้วยการรบกวนของ เหลือบและยุง ลำบากอยู่ด้วยการเดินทางไกล ฝ่ายผอมไปเพราะได้หญ้าน้อย ไม่พึงอดทนแม้ฝนที่ตกลงมาครั้งเดียวได้ฉันใด โคทั้งหลายของเราจะเป็น อย่างนั้นก็หามิได้ แต่โคทั้งหลายของเรา พึงอดทนฝนที่ตกลงมาได้ถึง ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง เพราะไม่มีอันตรายประการดังกล่าวแล้ว.
ลำดับนั้น เพราะเหตุที่นายธนิยะ กำลังอยู่ในเกาะในระหว่าง (แม่น้ำ ทั้งสองสาย) เห็นภัยแล้วก็ผูกแพขึ้น แล้วข้ามแม่น้ำมหามหี ถึงภูมิประเทศที่ ชุ่มชื้นนั้นแล้ว ก็สำคัญอยู่ว่า เรามาดี ดำรงอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว จึงได้กล่าว อย่างนี้ แต่เขาก็ยังดำรงอยู่ในที่มีภัยอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงพรรณนาถึงสถานที่ที่นายธนิยะนั้นมา สถานที่พระองค์เสด็จมา ความ ประเสริฐกว่า และความประณีตกว่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า พทฺธา หิ ภิสี เป็นต้น อันเป็นส่วนเสมอกันแห่งเนื้อความ หาได้ตรัสส่วนที่เสมอกัน แห่งพยัญชนะไม่.
ในพระคาถาที่ ๔ นั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- แพที่เขาผูก ทำให้แผ่ออก คือให้กว้างออก เขาเรียกกันในโลกว่า ภิสี. แต่ในธรรมวินัย ของพระอริยเจ้า อริยมรรค ท่านเรียกว่า แพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 72
มัคคะ ๑ ปัชชะ ๑ ปถะ ๑ ปันถะ ๑ อัญชสะ ๑ วฏุมายนะ ๑ นาวา ๑ อุตตรเสตุ ๑ กุลละ ๑ ภิสิ ๑ สังกมะ ๑ อัทธานะ ๑ ปภวะ ๑ (แต่ละอย่าง) ท่านประกาศไว้แล้ว ในที่นั้นๆ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทอยู่ ซึ่งนายธนิยะนั้นโดยนัยก่อนนั่นแล ด้วยคาถาแม้นี้ พึงทราบว่า พระองค์ตรัสแล้วซึ่งเนื้อความนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนธนิยะ ท่านผูกแพแล้ว ข้ามแม่น้ำ มหี มาถึงที่นี้แล้ว และแพของท่าน ท่านก็จักต้องผูก แม้อีกนั่นเอง และ แม่น้ำท่านก็จักต้องข้ามอีก ทั้งที่นั้นจะเป็นที่ปลอดภัยก็หามิได้. ส่วนแพที่เรา ทำองค์อริยมรรคให้ร่วมในจิตดวงเดียว แล้วผูกไว้ด้วยเครื่องผูก คือ ญาณ ด้วยการไม่ก้าวล่วงกันและกัน เพราะไม่มีเครื่องผูกที่จะผูกอีก เพราะไปตาม สภาวะที่มีรสอันเดียวกัน เนื่องจากบริบูรณ์ด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗. ชื่อว่า ผูกไว้ดี (เตรียมไว้ดีแล้ว) เพราะใครๆ ในเทวดาและมนุษย์ไม่อาจที่จะแก้ได้ เพราะไม่มีเครื่องประกอบที่จะพึงผูก เราเป็นผู้ข้ามแล้วด้วยแพนั้นถึงประเทศ แห่งฝั่งที่เราปรารถนาในกาลก่อนแล้ว และแม้ไปอยู่ จะไปถึงประเทศบางแห่ง เท่านั้น เหมือนพระโสดาบันเป็นต้นก็หามิได้. โดยที่แท้ เราไปถึงฝั่งคือ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ หรือฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง คือ บรรลุถึงพระนิพพาน อันสุขุม ปลอดภัยแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ติณฺโณ ได้แก่บรรลุสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ปารคโต ได้แก่ บรรลุพระอรหัต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 73
หากจะมีคำถามว่า พระองค์กำจัดอะไรจึงถึงฝั่งได้? ตอบว่า พระองค์ทรงกำจัดโอฆะ ๔ อย่าง มีกาโมฆะเป็นต้น ข้ามโอฆะแล้ว หรือ ล่วงพ้นโอฆะแล้วจึงถึงฝั่งได้.
ก็ในบัดนี้ เราไม่มีความต้องการด้วยแพอีก เพราะไม่มีฝั่งที่จะต้อง ข้ามไป เพราะฉะนั้น การพูดของเราเท่านั้น ถูกต้องแล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็น เช่นนี้ หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.
นายธนิยะ สดับพระดำรัสนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า โคปี มม อสฺสวา เป็นต้น.
บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น ด้วยบทว่า โคปี นายธนิยะ ย่อม แสดงถึง ภริยา.
บทว่า อสฺสวา ได้แก่ เป็นผู้เชื่อฟัง คือมีปกติฟังคำสั่งไม่ว่าใน กิจการใดๆ.
บทว่า อโลลา ความว่า ด้วยว่ามาตุคาม (สตรี) เป็นผู้โลเล ด้วยความโลเล ๕ ประการคือ ๑. ความโลเลในอาหาร ๒. ความโลเลใน เครื่องประดับ ๓. ความโลเลในบุรุษอื่น ๔. ความโลเลในทรัพย์ ๕. ความโลเล ในการเดินทาง. จริงอย่างนั้น มาตุคามโดยที่สุดย่อมบริโภคภัตรตามปกติบ้าง ย่อมเคี้ยวกินของควรเคี้ยวที่มาถึงมือบ้าง ได้ทรัพย์ ๒ เท่า แล้วดื่มสุราบ้าง เพราะเป็นผู้โลเลในอาหาร อันต่างด้วยภัตร ขนมและสุราเป็นต้น เพราะโลเล ในเครื่องประดับ เมื่อไม่ได้เครื่องประดับอย่างอื่น โดยที่สุดแม้เสยผมด้วย น้ำมันงาเจือน้ำก็ย่อมลูบหน้า เพราะเหตุที่โลเลในบุรุษอื่น โดยที่สุดแม้แต่บุตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 74
(ของตน) เรียกอยู่ในประเทศเช่นนั้น ก็ย่อมคิดถึงด้วยอำนาจอสัทธรรมก่อน เพราะโลเลในทรัพย์ ได้พญาหงส์ทองแล้ว ก็เสื่อมจาก (ขน) ทอง (ของ พญาหงส์นั้น) เพราะโลเลในการเดินทาง (การเที่ยวเตร่) มาตุคามจึงเป็นผู้ มักไปในที่มีสวนเป็นต้น ย่อมทำทรัพย์ทั้งปวงให้ฉิบหาย.
ในคาถานั้น นายธนิยะ เมื่อแสดงอยู่ว่า ความโลเลแม้สักอย่างหนึ่ง ก็ไม่มีแก่ภริยาของเรา จึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่โลเล.
ด้วยสองบทว่า ทีฆรตฺตํ สํวาสิยา นายธนิยะย่อมแสดงว่า " ภรรยาของข้าพเจ้าอยู่ร่วมกันสิ้นกาลนาน นับตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นหนุ่มก็เจริญ ขึ้นโดยมีใจเดียว ย่อมไม่รู้จักบุรุษอื่น เพราะการมีใจเดียวนั้น ".
ด้วยบทว่า มนาปา นายธนิยะย่อมแสดงว่า ภรรยาของข้าพเจ้า เธอไม่รู้บุรุษอื่นอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมแนบใจของข้าพเจ้าทีเดียว.
ด้วยบาทพระคาถาว่า ตสฺสา น สุณามิ กิญฺจิ ปาปํ นายธนิยะ ย่อมแสดงว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยินโทษแห่งการประพฤตินอกใจไรๆ ของภรรยา นั้นอย่างนี้ว่า ภรรยาของข้าพเจ้านี้ มีการหัวเราะหรือการพูดหยอกเย้ากับชาย ชื่อนี้.
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงโอวาทนายธนิยะผู้ยินดีอยู่ด้วย ภรรยา ด้วยคุณเหล่านี้ จึงได้ตรัสคาถานี้ ซึ่งเหมือนกันทั้งโดยอรรถและ เหมือนกันโดยพยัญชนะว่า จิตฺตํ มม อสฺสวํ เป็นต้น โดยนัยก่อนนั่นแล.
บททั้งหลายในคาถาที่ ๖ นั้น เข้าใจง่ายทั้งนั้น แต่มีอธิบายดังต่อไปนี้.
ดูก่อนธนิยะ ท่านดีใจว่า ภรรยาของเราเชื่อฟัง แต่ภรรยาของท่านนั้น เชื่อฟังบ้าง ไม่เชื่อฟังบ้าง จิตของผู้อื่นรู้ได้ยาก โดยเฉพาะจิตของมาตุคาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 75
ด้วยว่าบุรุษทั้งหลาย แม้จะเลี้ยงมาตุคามด้วยอาหาร ก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้เลย ก็เพราะเหตุที่จิตเป็นธรรมชาติรักษายากนั้นเอง คนทั้งหลายเช่นท่านไม่อาจที่ จะทราบได้ว่า สตรีมีความประพฤติโลเลหรือเชื่อฟัง หรือ เป็นที่รักหรือเป็น ที่พอใจ หรือ เป็นผู้ไม่มีความชั่ว แต่จิตของเราเชื่อฟัง ทำตามโอวาท เป็นไปในอำนาจของเรา เราไม่เป็นไปในอำนาจของจิตนั้น การที่จิตของ เรานั้นเชื่อฟังนั้น ได้ปรากฏแล้วแก่ชนทั้งปวง ในเมื่อท่อไฟและท่อน้ำ แห่งฉัพพัณณรังสี เป็นไปอยู่ในตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ ด้วยว่า (ในยมกปาฏิหาริย์นั้น) เราเข้าเตโชกสิณ ในเมื่อนิรมิตไฟขึ้นมา เข้าอาโปกสิณ ใน เมื่อนิรมิตน้ำ เข้ากสิณมีนีลกสิณเป็นต้น ในเมื่อนิรมิตสีเขียวเป็นต้นขึ้นมา เพราะว่า แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะมีจิต ๒ ดวง เป็นไปไม่พร้อมกัน ก็จิต ดวงเดียวเท่านั้นที่เป็นไปในอำนาจอย่างนี้ โดยความเป็นจิตที่เชื่อฟัง ก็จิต นั้นแลพ้นแล้ว เพราะพ้นจากความผูกพันแห่งกิเลสทั้งปวง เพราะเหตุที่หลุดพ้น ไปได้ จิตนั้นจึงไม่โลเล ไม่เหมือนกับภรรยาของท่าน ด้วยว่า จำเดิมแต่กาล ของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร เป็นต้นมา จิตของเราตั้งมั่นอยู่ด้วยดี ก็เพราะเราได้อบรมไว้ด้วยบารมี มีทานและศีลเป็นต้น ตลอดกาลนั้น ไม่ เหมือนกับภรรยาของท่าน จิตนี้นั้น ชื่อว่าฝึกดีแล้ว เพราะได้ฝึกแล้วด้วยการ ฝึกอย่างยอดเยี่ยม เพราะเหตุที่ฝึกดีแล้ว (นี้เอง) จิตของเราจึงสลัดการเสพผิด ในทวารทั้ง ๖ ด้วยอำนาจของตนได้ จึงชื่อว่า เป็นที่พอใจ เพราะเป็นไป ตามอำนาจแห่งความประสงค์ของเราได้ ไม่เหมือนภรรยาของท่าน.
ก็ด้วยคาถานี้ว่า ปาปํ ปน เม น วิชฺชติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงความที่จิตของตนนั้นไม่มีบาป เหมือนกับนายธนิยะแสดงความ ที่ภรรยาของตนไม่มีความประพฤติเสียหาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 76
ก็ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไม่มีบาปนั้น หาได้บังเกิดขึ้นใน กาลที่พระองค์ได้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียวไม่ (แต่) พึงทราบว่า ได้ บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ แม้เมื่อครองฆราวาสอยู่ ในกาลที่ทรงมีราคะเป็นต้น ตลอดเวลา ๒๙ ปี. จริงอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น กายทุจริตก็ตาม วจีทุจริต ก็ตาม มโนทุจริตก็ตาม ที่วิญญูชนเกลียด ที่สมควรแก่ผู้ครองเรือน ก็หา ได้เคยบังเกิดขึ้นแก่พระองค์ไม่. ยิ่งไปกว่านั้น แม้มารจะตามพระตถาคตเจ้า ถึง ๗ ปี คือ ติดตามพระองค์ ซึ่งยังไม่ได้ตรัสรู้ ๖ ปี ซึ่งตรัสรู้แล้ว (อีก) ๑ ปี ด้วยหวังว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเห็นความประพฤติชั่วของสมณโคดม นั้น แม้เท่าปลายขนทราย.
มารนั้น ครั้นไม่เห็นความประพฤติเสียหายของพระตถาคตเจ้า ก็เกิด ความเบื่อหน่าย จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ทุก ย่างก้าว ตลอด ๗ ปี ไม่ได้ประสบแล้ว ซึ่ง ความผิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสิริ.
แม้ในครั้งพุทธกาล อุตตรมาณพ ประสงค์จะเห็นความประพฤติของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงได้ติดตามพระองค์อยู่ถึง ๗ เดือน เขาก็ไม่ได้พบ โทษสักอย่างหนึ่ง ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงได้ลงความเห็นว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าเป็นผู้มีความประพฤติบริสุทธิ์.
ด้วยว่า สิ่งที่พระตถาคตเจ้าไม่ต้องรักษา มีอยู่ ๔ ประการ สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ตถาคตไม่ต้องรักษา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 77
๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ กายทุจริตที่ตถาคตจะพึงรักษา ด้วยคิดว่า ขอคนอื่นอย่าได้ทราบกายทุจริต ของเราเลย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ตถาคต
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ วจีทุจริตที่ตถาคตจะพึงรักษา ... ฯลฯ
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ มโนทุจริตที่ตถาคตจะพึงรักษา ฯลฯ
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีอาชีวะบริสุทธิ์ การเลี้ยงชีพผิด (มิจฉาอาชีวะ) ที่ตถาคตเจ้าจะพึงรักษา ด้วยคิดว่า ขอคนอื่นอย่าได้ทราบ มิจฉาชีพของเราเลย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ตถาคต.
เพราะเหตุที่บาปไม่มีแก่จิตของพระตถาคต ในกาลที่พระองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน บาปก็ไม่มี แก่จิตของพระองค์เหมือนกัน ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า บาปย่อมไม่มีแก่เรา.
พระคาถานั้นมีอธิบายว่า ใครๆ ไม่อาจได้ยินบาปแห่งจิตของเราเลย เหมือนท่าน (นายธนิยะ) ไม่อาจได้ยินความประพฤติชั่วของภรรยาของท่าน ฉะนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าท่านยินดีแล้วด้วยคุณเหล่านี้ ก็พึงกล่าวว่า แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าหากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกมาเถิด ก็คำนี้เราก็พึงกล่าว (เหมือนกัน).
นายธนิยะ ฟังแม้คำนั้นแล้ว ต้องการจะดื่มรสของสุภาษิตแม้ให้ยิ่งขึ้น ไปกว่านั้น เมื่อจะแสดงความที่ตนเป็นไท จึงกล่าวว่า อตฺตเวตตนภโตหสฺมิ เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 78
บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น ด้วยบทว่า อตฺตเวตฺตนภโต นายธนิยะ ย่อมแสดงว่า เราเลี้ยงตัวเองเท่านั้น ด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เราทำงาน ของตนจึงมีชีวิตอยู่ได้ หาได้รับค่าจ้างของคนอื่น แล้วทำงานเพื่อคนอื่นไม่. บุตรและธิดาทั้งหลาย ชื่อว่า บุตร บุตรและธิดาเหล่านั้นทั้งปวง ท่านเรียก รวมกันว่า บุตร เหมือนกัน.
บทว่า สมานิยา ได้แก่ ดำรงอยู่ด้วยดี คือ ไม่แยกกัน.
ด้วยบทว่า อโรคา นายธนิยะย่อมแสดงว่า บุตรและธิดาทุกคนนั่นเอง ไม่มีอาพาธ ทั้งหมดมีกำลังแข็งแรง.
บาทคาถาว่า เตสํ น สุณามิ กิญฺจิ ปาปํ ความว่า เราไม่ได้ยิน ความชั่วอะไรๆ ของบุตรและธิดาเหล่านั้นว่า บุตรคนนั้นหรือว่าธิดาคนนี้ เป็นโจร หรือว่าบุตรเหล่านี้ เป็นชู้กับภรรยาของคนอื่น หรือว่าบุตรและธิดา ทั้งหลายเป็นคนทุศีล.
เมื่อนายธนิยะกล่าวอยู่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงโอวาท นายธนิยะนั้น จึงได้ตรัสคาถานี้ว่า นาหํ ภตโก เป็นต้น.
บททั้งหลายแม้ในคาถาที่ ๘ นั้น เข้าใจง่ายทั้งนั้น แต่มีอธิบายดัง ต่อไปนี้ :- ท่านคิดว่า เราเป็นไท จึงดีใจ แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ท่านทำงาน ของตน แม้มีชีวิตอยู่ ก็ชื่อว่ายังเป็นทาสอยู่นั่นเอง เพราะท่านเป็นทาสของ ตัณหา ท่านจึงไม่พ้นจากคำที่ว่าเป็นลูกจ้าง สมจริงดังที่พระรัฐบาลทูลไว้ว่า สัตวโลก พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ตกเป็นทาสของตัณหา * เป็นต้น.
* ม. ม. รฏฺ ปาลสุตฺต ๔๐๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 79
แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ เราไม่ใช่ลูกจ้างของใคร เพราะเราไม่ใช่ ลูกจ้างของใครอื่น หรือเป็นลูกจ้างของตนเอง เพราะเหตุไร? เพราะเรา ย่อมเที่ยวไปในโลกทั้งปวง ด้วยความเป็นสัพพัญญู ที่ไม่มีความต้องการ ด้วยว่า เรานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร มาจนถึงการ ตรัสรู้ ก็เป็นคนรับจ้างของพระสัพพัญญุตญาณตลอดมา แต่เมื่อเราได้ บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว เราก็เป็นอยู่ด้วยการเป็นพระสัพพัญญู ที่ไม่มี ความต้องการนั้นแล และด้วยความสุขที่เกิดจากโลกุตรสมาธิ ประดุจข้าราชการ ที่ไม่ต้องการเงินเดือนฉะนั้น บัดนี้ เรานั้นไม่มีความต้องการด้วยค่าจ้างไรๆ ที่จะพึงได้รับ ดุจคนทั้งหลาย เช่นท่านที่ยังละปฏิสนธิไม่ได้จะพึงได้รับกัน เพราะไม่มีกิจไรๆ ที่จะยิ่งขึ้น หรือกิจเพียงเล็กน้อย พระบาลีว่า ภฏิยา ก็มี เพราะฉะนั้น ถ้าท่านยินดี เพราะเห็นว่าตนเป็นไท จะพึงกล่าวว่า แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ก็คำนี้ เราเองก็พึงกล่าว (เช่นกัน).
นายธนิยะฟังพระดำรัสแม้นั้นแล้ว ยังไม่อิ่ม (ด้วยพระดำรัสนั้น) เลย เมื่อแสดงถึงความบริบูรณ์แห่งฝูงโคที่มีอุปการะ ๕ ประเภท ของตนด้วยคำที่ เป็นสุภาษิต จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า อตฺถิ วสา เป็นต้น.
ในคาถานั้น โคแก่ที่ยังไม่ได้ฝึกทั้งหลาย ชื่อว่า วสา ลูกโคหนุ่มที่ กำลังดื่มน้ำนมทั้งหลาย ชื่อว่า เธนุปา อีกอย่างหนึ่ง แม่โคทั้งหลายที่ให้ น้ำนม ชื่อว่า เธนุปา โคทั้งหลายที่มีท้อง ชื่อว่า โคธรณิโย แม่โคทั้งหลาย ที่ปรารถนาการผสมพันธุ์กับโคถึกทั้งหลาย ซึ่งเจริญวัยแล้ว ชื่อว่า ปเวณิโย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 80
ด้วยสองบทว่า อุสโภปิ ควมฺปติ นายธนิยะย่อมแสดงว่า โคจ่าฝูงนั้น แม้ใด อันนายโคบาลทั้งหลายอาบน้ำให้แต่เช้าตรู่ ให้กินอาหารแล้ว ให้ เครื่องเจิม ๕ แห่ง สวมพวงมาลัยแล้ว ก็ส่งไปด้วยคำว่า แน่ะพ่อ เจ้าจงไป จงให้โคทั้งหลายถึงที่หากิน รักษาแล้วจงนำมา ก็โคจ่าฝูงนั้น อันนายโคบาล ทั้งหลายส่งไปแล้วอย่างนี้ รักษาโคทั้งหลายไม่ให้ไปสู่ที่อโคจร (ที่ไม่ควรไป) ให้เที่ยวไปในที่โคจร (ที่ควรเที่ยวไปหากิน) กีดกันแล้วจากภัยอันเกิดจาก สัตว์ร้ายทั้งหลาย มีสิงห์โตและเสือโคร่งเป็นต้น แล้วนำมา โคจ่าฝูงเห็นปานนี้ มีอยู่ในฝูงโคของเรา ในบ้านของเรานี้.
เมื่อนายธนิยะกล่าวแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงโอวาท นายธนิยะนั้นเหมือนอย่างนั้น จึงได้ตรัสคาถาตรงกันข้ามนี้ว่า นตฺถิ วสา เป็นต้น.
ก็ในคาถาที่ ๑๐ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ในศาสนาของเราทั้งหลายนี้ ไม่มีปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสที่กลุ้มรุมจิต) กล่าวคือ วสา (โคแก่) เพราะอรรถว่ายังไม่ได้ฝึก และเพราะอรรถว่าเป็น โคแก่ หรือว่าไม่มีอนุสัยกิเลส กล่าวคือโคที่ยังดื่มน้ำนม หมายเอาโคหนุ่ม ทั้งหลาย เพราะอรรถว่า เป็นมูลของโคแก่ที่ยังไม่ได้ฝึกทั้งหลาย หรือหมายถึง แม่โคนมทั้งหลาย เพราะอรรถว่าไหลออก หรือไม่มีเจตนาที่เป็นไปกับ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร กล่าวคือ โคมีครรภ์ เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งครรภ์คือปฏิสนธิ หรือว่าไม่มีความปรารถนากล่าว คือ ปเวณี คือตัณหา เพราะอรรถว่า ปรารถนาการประกอบ หรือว่าไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 81
อภิสังขารและวิญญาณ กล่าวคือจ่าฝูง เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ เพราะอรรถว่า ถึงก่อน (เป็นหัวหน้า) และเพราะอรรถว่าประเสริฐที่สุด เรานั้นยินดีแล้วใน ความไม่มี อันเป็นความเกษมจากโยคะทั้งปวงนี้ แต่ท่านซิยินดีแล้วในความมี อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ มีความเศร้าโศกเป็นต้น เพราะฉะนั้น การกล่าวของเรา ผู้ยินดีแล้วในความเกษมจากโยคะทั้งปวงนี้ จึงถูกต้องแล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็น เช่นนี้ หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาซิ.
นายธนิยะฟังแม้พุทธภาษิตนั้นแล้ว ปรารถนาจะเข้าถึงอมตรสแห่ง สุภาษิต แม้ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เมื่อจะแสดงสมบัติคือการผูกฝูงโคของตน ไว้ที่หลัก จึงกล่าวว่า ขีลา นิขาตา เป็นต้น.
เสาสำหรับผูกโค ชื่อว่า ขีลา. บทว่า นิขาตา ได้แก่ที่เขาตอกปักลง ไปในพื้นดิน คือ เป็นเสาเล็ก (หรือ) ใหญ่ ที่เขาฝังตั้งไว้แล้ว.
บทว่า อสมฺปเวธี คือ ไม่หวั่นไหว. เชือกสำหรับผูกพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยปมและบ่วง ที่เขาทำไว้แล้ว ชื่อว่า ทามา.
บทว่า มุญฺชมยา ได้แก่ ที่ทำด้วยหญ้าปล้อง (หญ้ามุงกระต่าย).
บทว่า นวา คือ ทำแล้วไม่นาน (ใหม่).
บทว่า สุสณฺานา ได้แก่ มีสัณฐานดี คือปั้นดี ได้แก่ มีลักษณะดี.
บทว่า น หิ สกฺขินฺติ ได้แก่ จักไม่อาจเลย.
บทว่า เธนุปาปิ เฉตฺตุํ ความว่า แม้โคหนุ่มทั้งหลายก็จักไม่อาจจะ ให้ขาดได้เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 82
เมื่อนายธนิยะ กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบกาล เป็นที่แก่รอบแห่งอินทรีย์ของนายธนิยะ เมื่อจะทรงโอวาทเขาโดยนัยก่อนนั้นเอง จึงได้ตรัสคาถาซึ่งแสดงสัจจะ ๔ ประการนี้ว่า อุสโภริว เฉตฺวา เป็นต้น.
พ่อโค คือ โคตัวนำฝูง ได้แก่ โคถึกตัวเป็นจ่าฝูง ชื่อว่า โคอุสโภ ในคาถานั้น.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โคที่เป็นใหญ่ในฝูงโค ๑๐๐ ตัว ชื่อว่า โคอุสภะ โคที่เป็นใหญ่ในฝูงโค ๑,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า โควสภะ โคที่เป็นใหญ่ ในฝูงโค ๑๐๐,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า โคนิสภะ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า โคที่เป็น ใหญ่ในตามเขตหนึ่ง ชื่อว่า โคอุสภะ โคที่เป็นใหญ่ในคามเขต ๒ ตำบล ชื่อว่า โควสภะ โคที่ไม่ถูกกีดกันในคามเขตทั้งปวง ชื่อว่า โคนิสภะ โคเหล่านี้ทั้งหมด เป็นการเนิ่นช้า (การพูดถึงโคทั้งหมดเป็นการชักช้า).
ก็อีกอย่างหนึ่ง โคเหล่านี้แม้ทั้งหมด พึงทราบว่า โคอุสภะบ้าง ว่า โควสภะบ้าง ว่าโคนิสภะบ้าง โดยอรรถว่าไม่เทียบเท่ากัน เหมือนอย่างที่เทวดา กล่าวไว้ (ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย) ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ องอาจ (นิสภะ) หนอ เป็นต้น.
ร อักษร (ในคำว่า อุสโภริว) เป็นการสนธิบท (ตามหลักไวยากรณ์).
บทว่า พนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูก คือเชือก และ เครื่องผูก คือ กิเลส ช้างชื่อว่า นาคะ. บทว่า ปูติลตํ ได้แก่ เถาหัวเน่า (เถาหัวด้วนก็เรียก) เหมือนอย่างว่า กายแม้จะมีวรรณะเพียงดังทอง ท่านก็เรียกว่า ปูติกาโย (กายเน่า). สุนัขแม้จะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี ท่านก็เรียกว่า กุกกุระ (ลูกสุนัข)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 83
สุนัขจิ้งจอกแม้จะเกิดในวันนั้น ท่านก็เรียกว่า ชรสิคาละ (สุนัขจิ้งจอกแก่) ฉันใด เถาหัวเน่า (หัวด้วน) แม้จะสดอยู่อย่างนี้ ท่านก็เรียกว่า ปูติลตา (เถาหัวเน่า) เพราะอรรถว่าไม่มีแก่น ฉันนั้น.
บทว่า ปทาลยิตฺวา (๑) ได้แก่ ตัดแล้ว ครรภ์นั้นเป็นที่นอนด้วย ชื่อว่า คพฺภเสยฺยํ (ครรภ์เป็นที่นอน) ในคำว่า คพฺภเสยฺยํ นั้น ชลาพุชะ กำเนิด พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วย คัพภศัพท์ กำเนิดที่เหลือพึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วย เสยยศัพท์ อีกอย่างหนึ่ง กำเนิดเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า ท่านกล่าวโดยยกเอา คัพภศัพท์ ขึ้นมาเป็นประธาน.
คำที่เหลือ (ที่ยังไม่ได้พูดถึง) ในคาถาที่ ๑๒ นี้ เมื่อว่าโดยบทแล้ว ก็เข้าใจง่ายทั้งนั้น
แต่ในคาถาที่ ๑๒ นี้ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ดูก่อนธนิยะ ท่านยินดีด้วยเครื่องผูก แต่เราอึดอัดด้วยเครื่องผูก จึงตัดสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ชนิดเสียได้ ด้วยความ เพียรอันมีกำลัง กล่าวคือ อริยมรรคที่ ๔ เปรียบเหมือนโคอุสภะตัวใหญ่ ซึ่ง สมบูรณ์ด้วยกำลัง และความเพียรสลัดเชือกทั้งหลายออกเสียได้ฉะนั้น (เรา) ทำลายสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการเสียได้ ด้วยความเพียรอันมีกำลัง กล่าวคือ อริยมรรคเบื้องต่ำ ๓ ประการ ดุจช้างทำลายเถาหัวเน่าให้ขาดไปฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เราตัด คือทำลายอนุสัยเสียได้ ดุจโคอุสภะทำลายเชือก เสียได้ฉะนั้น (เรา) ตัด คือ ทำลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งหลายเสียได้ ดุจช้าง
๑. บาลีเป็น ทาลยิตฺวา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 84
ทำลาย เถาหัวเน่า เสียฉะนั้น ฉะนั้น เราจึงไม่เข้าถึงครรภ์ที่สัตว์จะพึงนอนอีก. เรานั้นพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง อันเป็นที่ตั้งแห่งชาติทุกข์ จึงสบาย แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หากท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตกลงมาเถิด เพราะฉะนั้น (พระองค์) จึงตรัสว่า ถ้าหากว่า แม้ท่านเองต้องการประพฤติให้เหมือนเรา ก็จงตัดเครื่องผูกทั้งหลายเสียเถิด.
ในคาถาที่ ๑๒ นี้ เครื่องผูกทั้งหลายจัดเป็นสมุทยสัจ การนอนใน ครรภ์ จัดเป็นทุกขสัจ.
การไม่เข้าถึงในคำว่า น อุเปยฺยํ นี้ จัดเป็น นิโรธสัจ ด้วยอำนาจ อนุปาทิเสสนิพพาน การตัดในคำว่า เฉตฺวา ปทาเลตฺวา นี้ จัดเป็นนิโรธสัจ ด้วยอำนาจสอุปาทิเสสนิพพาน เครื่องตัดและเครื่องทำลาย จัดเป็นมรรคสัจ.
ในที่สุดพระคาถา คนทั้ง ๔ คือ นายธนิยะ ๑ ภรรยาของเขา ๑ และธิดาของเขา ๒ คน ได้ฟังคาถาที่แสดงสัจ ๔ ประการนี้ อย่างนี้แล้ว ก็ ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล ลำดับนั้น นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธา ซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้น แล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผู้มีหทัย อันธรรมกายตักเตือนแล้ว คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุด จนถึง ภวัคร พรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลัง เช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่อง ผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี.
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระกาย ซึ่งเป็น ราวกะว่าแสงเรืองรองที่รดด้วยน้ำทอง อันงดงามไปด้วยข่ายแห่งฉัพพัณณรังสี เข้าไปในบ้านของนายธนิยะ ด้วยประสงค์ว่า บัดนี้ เชิญท่านจงดูตามสบาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 85
ครั้งนั้น นายธนิยะเห็นบ้านของตน รุ่งเรืองสว่างไสวไปโดยรอบ ประหนึ่งแสงพระจันทร์และแสงสูรย์สอดส่องเข้าไปข้างใน (บ้าน) และประหนึ่ง ว่าจะสว่างไสวไปด้วยแสงประทีปตั้งพันดวง ที่ลุกโพลงขึ้นโดยรอบฉะนั้น จึง เกิดความคิดขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว.
ก็ในสมัยนั้นเอง แม้ฝนก็ตกลง เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ฝนได้ตกเต็มทั้งที่ลุ่มทั้งที่ดอน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นินฺนํ ได้แก่ ที่เป็นเปือกตม. บทว่า ถลํ ได้แก่ ที่ดอน. มีคำอธิบายว่า ฝน เมื่อจะทำที่ดอน และที่ไม่ใช่ที่ดอน ให้เต็ม เสมอกันหมด เริ่มหลั่งเม็ดลงมาแล้ว.
คำว่า ตาวเทว ความว่า ในขณะใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่ง พระรัศมีไป และนายธนิยะปล่อยรัศมีแห่งจิตที่สำเร็จด้วยศรัทธาไปด้วยคิดว่า พระศาสดาของเรามาแล้ว ในขณะนั้นฝนก็ตกลงมา. แต่อาจารย์บางพวก พรรณนาว่า ดวงอาทิตย์ได้ปรากฏขึ้นในขณะนั้นเหมือนกัน.
ก็ในขณะที่นายธนิยะเกิดความระลึกขึ้นได้ ในขณะที่พระตถาคตเจ้า ทรงแผ่โอภาสไป และในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังโผล่ขึ้นอยู่อย่างนี้ นายธนิยะ ฟังเสียงฝนที่กำลังตกลง ได้เกิดปีติโสมนัสขึ้น ได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า เป็น ลาภของข้าพระองค์ทั้งหลายไม่น้อยทีเดียว ดังนั้น (เนื้อความที่อธิบายในตอนนี้) จึงเป็น ๒ คาถา
ใน ๒ คาถานั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของ พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 86
โลกุตรจักษุ และกลับได้สัทธาที่เป็นโลกิยสัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภ ของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า.
คำว่า วต ในคำว่า ลาภา วต โน อนปฺปกา นั้น เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า ปลื้มใจ.
บทว่า โน คือ ข้าพระองค์ทั้งหลาย. บทว่า อนปฺปกา ได้แก่มาก. คำที่เหลือเข้าใจง่ายทั้งนั้น.
ส่วนในคำว่า สรณํ ตํ อุเปม นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
การถึงสรณะของนายธนิยะนั้น สำเร็จแล้วด้วยการบรรลุมรรคนั้นแล แม้ก็จริง ถึงกระนั้นในคำนั้น นายธนิยะนั้นถึงการตกลงทีเดียว บัดนี้เขา กระทำการมอบตนด้วยวาจา อีกอย่างหนึ่ง เขาเมื่อกระทำที่พึ่งด้วยการมอบตน ให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งมรรค และทำสรณะที่ไม่หวั่นไหวนั้น ให้ปรากฏ ด้วยวาจาแก่คนเหล่าอื่น จึงถึงสรณคมน์ด้วยการนอบน้อมด้วยมือ (อีก).
บทว่า จกฺขุมา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า จักขุมา (ผู้มีจักษุ) ด้วยจักษุ ๕ คือ ๑. จักษุปกติ ๒. จักษุทิพย์ ๓. ปัญญาจักษุ ๔. สมันตจักษุ ๕. พุทธจักษุ.
นายธนิยะเมื่อกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์ว่าเป็นที่พึ่ง.
ส่วนคำว่า ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงเป็นครูของข้าพระองค์ นี้ นายธนิยะทูลขึ้นก็เพื่อทำสรณคมน์ให้บริบูรณ์ ด้วยการเข้าถึงความเป็นศิษย์.
คำว่า ภรรยาด้วย ข้าพระองค์ด้วย เป็นผู้เชื่อฟัง ขอประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสุคตเจ้า นี้ นายธนิยะทูล เมื่อทำสรณคมน์ให้บริบูรณ์ ด้วยสามารถแห่งการสมาทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 87
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจริยํ เป็นชื่อแห่ง เมถุนวิรัติ มรรค สมณธรรม ศาสนา และสทารสันโดษ.
ด้วยว่า การงดเว้น จากเมถุน ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่าพฺรหฺมจารี อนาจารี ท่านเรียกว่า พรหมจรรย์.
การงดเว้นจากเมถุนในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนปัญจสิขะ ก็พรหมจรรย์นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว ดังนี้ ท่าน เรียกว่า มรรค.
พรหมจรรย์ ในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมทราบชัดแล ว่า เราประพฤติพรหมจรรย์ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้ ท่านเรียกว่า สมณธรรม.
พรหมจรรย์ ในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์นี้นั้น รุ่งเรืองและกว้างขวางแล้ว ดังนี้ ท่านเรียกว่า ศาสนา.
พรหมจรรย์ ในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า
เราทั้งหลาย ย่อมไม่นอกใจภรรยา ทั้งหลาย และภรรยาทั้งหลาย ไม่นอกใจเรา ทั้งหลาย เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ ในหญิงทั้งหลาย นอกจากภรรยาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นแล เราทั้งหลายจึงไม่ตาย แต่หนุ่มๆ ดังนี้ ชื่อว่า สทารสันโดษ.
แต่ในคาถานี้ นายธนิยะหมายถึง พรหมจรรย์ คือ มรรคเบื้องบน ๓ ประการ อันมีพรหมจรรย์คือสมณธรรมเป็นประธาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 88
คำว่า สุคเต ได้แก่ในสำนักของพระสุคต. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า สุคตะ เพราะพระองค์เสด็จไปด้วยดี ไม่ถึงที่สุด ๒ อย่าง (คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค) เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วย การบรรลุถึงอริยมรรค อันงาม และเพราะพระองค์ทรงบรรลุถึงสถานที่กล่าวคือ พระนิพพาน อันดีงาม.
ก็คำว่า สุคเต นี้เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถว่าใกล้ เพราะอธิบาย ว่า ในสำนักพระสุคต.
คำว่า จรามเส ความว่า พวกเราย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ใน พระสุคตใด ท่านก็จงประพฤติพรหมจรรย์นั้นในพระสุคตนั้น เพราะเหตุนั้น นายธนิยะจึงกล่าวการประพฤติพรหมจรรย์นั้นในพระสุคตนี้ว่า จรามเส.
แต่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า คำว่า เส (ในคำว่า จรามเส) เป็น นิบาต ก็ด้วยคำว่า เส นั้นเอง ในที่นี้ พระอาจารย์ทั้งหลายจึงให้คำจำกัด พระบาลีว่า จรามเส หมายถึงการอ้อนวอน ท่านชอบใจคำใดก็พึงถือเอาคำ นั้น.
นายธนิยะ ทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการอ้างถึงการ ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ เมื่อแสดงประโยชน์ของการบรรพชา จึงทูลว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์.
พระนิพพาน ชื่อว่าฝั่งอื่นแห่งความเกิดและความตาย พวกเราจักถึง พระนิพพานนั้น ด้วยอรหัตตมรรค.
บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ในวัฏฏะ. บทว่า อนฺตกรา ได้แก่ กระทำความไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 89
บทว่า ภวามเส คือ ย่อมเป็น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า โอหนอ พวกเรา พึงเป็น (ผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์) ดังนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบคำนั้นได้ โดย นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในคำว่า จรามเส นี้.
ได้ยินว่า ก็สามีและภรรยาแม้ทั้งสอง แม้ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลขอบรรพชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์พึงให้ข้าพระองค์ทั้งสองบรรพชาเถิด.
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เห็นสามีภรรยาแม้ทั้งสองนั้นถวายบังคมแล้ว กราบทูลขอบรรพชาอยู่ จึงคิดว่า สามีภรรยาทั้งสองนี้ต้องการจะพ้นอำนาจ ของเราไป เอาเถิด บัดนี้ เราจะทำอันตรายแก่เขาทั้งสองเหล่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงคุณในการครองเรือน จึงกล่าวคาถานี้ว่า นนฺทติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทติ ได้แก่ ยินดีคือชื่นชม. บทว่า ปุตฺเตหิ ได้แก่บุตรทั้งหลายและธิดาทั้งหลาย. คำว่า ปุตฺเตหิ นั้น เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า กับ หรือใช้ในอรรถว่า ด้วย มีคำอธิบายว่า ย่อมเพลิด เพลินกับบุตรทั้งหลาย หรือย่อมเพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลายที่เป็นเหตุ (ให้ เพลิดเพลิน).
บุคคลผู้มีบุตร ชื่อว่า ปุตฺติมา ท่านกล่าวอย่างนี้ด้วยศัพท์ว่า อิติ. เทวบุตรผู้ทรงเทริดดอกไม้องค์ใดองค์หนึ่ง ในสวรรค์ชั้นวสวัตดีภูมิ (ปรนิมมิตวสวัตดี) ชื่อว่า มาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 90
ด้วยว่ามารนั้นย่อมทำชนใดที่สามารถจะก้าวล่วงฐานะนั้น (ฐานะที่มาร ไม่ต้องการ) ย่อมห้ามชนนั้นเสียได้ แต่ถ้าชนใดตนไม่อาจจะห้ามได้ มารนั้น ก็ปรารภนำความตายแม้แก่ชนนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มาร.
บทว่า ปาปิมา ได้แก่ คนชั่ว หรือคนมีความประพฤติชั่ว คำว่า ปาปิมานี เป็นคำพูดของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย.
ก็ในคาถาทั้งปวง คำที่เหลือเป็นเช่นนี้ (เหมือนกัน) อธิบายว่าเปรียบ เหมือนว่า คนมีบุตรก็เพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลาย คนมีโคก็เพลิดเพลินด้วย โคทั้งหลาย ฉันใด คนย่อมเพลิดเพลินเพราะอุปธิทั้งหลาย ฉันนั้น คือว่า ผู้ใดมีโค แม้ผู้นั้นก็มีโคเป็นที่รัก คือว่า เขาย่อมเพลิดเพลินกับโคเหล่านั้น หรือว่าย่อมเพลิดเพลินด้วยโคทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ปลื้มใจฉันนั้นเหมือนกัน.
มารครั้นกล่าวอย่างนี้ บัดนี้ ย่อมอ้างถึงเหตุที่จะทำให้ประโยชน์นั้น สำเร็จ จึงกล่าวว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปธิ ได้แก่อุปธิ ๔ ประการคือ ๑. กามุปธิ ๒. ขันธุปธิ ๓. กิเลสุปธิ ๔. อภิสังขารุปธิ.
จริงอยู่ แม้กามทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะอรรถแห่งคำนี้ว่า สุข ในอรรถนี้ อันบุคคลย่อมเข้าไปตั้งไว้เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความสุข ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขและโสมนัส ใดแลที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ ชื่อว่า อัสสาทะแห่งกามทั้งหลาย.
แม้ขันธ์ทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ อัน มีขันธ์เป็นมูล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 91
แม้กิเลสทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ใน อบาย.
แม้อภิสังขารทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ในภพ.
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอากามุปธิ กามุปธินั้นมี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจ สัตว์และสังขาร.
ในอุปธิทั้ง ๒ อย่างนั้น จะกล่าวถึงอุปธิที่เกี่ยวกับสัตว์ (ก่อน) มาร เมื่อแสดงถึงอุปธิที่เกี่ยวกับสัตว์ จึงกล่าวว่า ปุตฺเตหิ โคหิ เป็นต้น แล้วจึง กล่าวถึงเหตุ (ของอุปธิ) ว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา เป็นต้น.
เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ก็เพราะเหตุที่กามุปธิเหล่านี้นำปีติและ โสมนัสมาให้ จึงทำให้คนเพลิดเพลิน เพราะฉะนั้น พึงทราบคำนี้ว่า ผู้มีบุตร ย่อมเพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลาย ผู้มีโคก็ย่อมเพลิดเพลินด้วยโคทั้งหลายเหมือน กัน ตัวท่านเองก็มีบุตรและมีโค เพราะฉะนั้น ท่านจงเพลิดเพลินด้วยโคและ บุตรเหล่านั้น อย่าได้กลับไปสู่การบรรพชาเลย เพราะความเพลิดเพลินเหล่านี้ ย่อมไม่มีแก่นักบวช เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านแม้ปรารภจะพ้นทุกข์ แต่ก็กลับจะมี ทุกข์. แม้ในบัดนี้ มารย่อมอ้างถึงเหตุที่ทำให้สำเร็จประโยชน์นั้นว่า น หิ โส นนฺทติ โย นิรูปธิ เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า เพราะผู้ใดไม่มี อุปธิเหล่านี้ ผู้นั้นพลัดพรากจากญาติทั้งหลายอันเป็นที่รัก ไม่มีอุปกรณ์เครื่อง เครื่องใช้สอย ย่อมไม่เพลิดเพลิน ฉะนั้น ตัวท่านเอง เว้นอุปธิเหล่านี้เสีย ออกบวชแล้วก็จักได้รับทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 92
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า มารผู้มีบาปนี้มาแล้ว เพื่อทำอันตรายแก่คนเหล่านี้ เมื่อจะทรงทำลายวาทะของมาร ด้วยอุปมาที่มาร นำมานั้นนั่นเอง ประดุจบุคคลทำผลไม้ให้ตกลงด้วยผลไม้ฉะนั้น จึงทรงกลับ คาถานั้นนั่นเอง เมื่อจะทรงแสดงว่า อุปธิเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก จึงตรัส ว่า โสจติ ปุตฺเตหิ เป็นต้น.
บททั้งปวงในคาถานั้น เมื่อว่าโดยบทแล้ว ก็เข้าใจง่ายทั้งนั้น แต่มีคำ อธิบายดังต่อไปนี้ :- ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ว่า คนมีบุตรย่อม เพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลาย ด้วยว่าความพลัดพราก ความว่างเว้นจากของที่รัก ที่ชอบใจทั้งสิ้นนั้นแลย่อมมีได้ วิธีนี้บุคคลไม่อาจจะหลีกพ้นได้ เพราะว่าสัตว์ ทั้งหลายมีหทัยที่ถูกลูกศรคือความเศร้าโศก ประมาณยิ่งเสียบแทงแล้ว เพราะ เหตุที่ต้องพลัดพรากจากบุตรและภรรยาอันเป็นที่รักที่พอใจเหล่านั้น และจาก สัตว์และสิ่งของทั้งหลาย มีโค ม้าตัวผู้ ม้าตัวเมีย เงินและทองเป็นต้น เป็นบ้า ไปก็มี มีจิตฟุ้งซ่านไป ถึงความตายก็มี ได้รับทุกข์ปางตายก็มี เพราะเหตุนั้นเอง คนมีบุตรจึงเศร้าโศกเพราะบุตรก็เพราะตัณหา คนย่อมเศร้าโศกเพราะอุปธิ ทั้งหลาย เหมือนคนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโคย่อม เศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายฉะนั้น เพราะเหตุไร? เพราะคนย่อมเศร้าโศกเพราะ อุปธิทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่คนเศร้าโศกเพราะอุปธิทั้งหลาย ฉะนั้นนั่นแล ผู้ใดไม่มีอุปธิ ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศกเลย ผู้ใดชื่อว่าไม่มีอุปธิ เพราะละความ เกี่ยวข้องในอุปธิเสียได้ ผู้นั้นย่อมมีความสันโดษด้วยจีวร อันเป็นเครื่องบริ- หารกาย ด้วยบิณฑบาตที่เป็นเครื่องบริหารท้อง จะดำเนินไปด้วยวิธีใดๆ ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 93
ยึดถือ (ความสันโดษ) เท่านั้น ดำเนินไปอยู่ ก็ย่อมทราบได้ว่า สิ่งอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ไม่มี ฯลฯ เปรียบเหมือนนกมีแต่ปีก ฯลฯ ก็เพราะฆ่าความ เศร้าโศกเสียได้อย่างนี้ ผู้ใดไม่มีอุปธิ ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศกเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือ พระอรหัตอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดไม่มีอุปธิ ผู้ใดไม่มีกิเลส ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ด้วยว่า ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ อุปธิทั้งหลายหรือมูลแห่งความเศร้าโศกทั้งหลายก็ย่อม มีอยู่ตราบนั้น ก็เพราะละกิเลสเสียได้ ความเศร้าโศกจึงไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัตทีเดียว แม้ด้วย ประการฉะนี้.
ในที่สุดแห่งเทศนา นายธนิยะและภรรยาทั้งสองได้บวชแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังวัดเชตวันทางอากาศเช่นเดิม เขาทั้งสองเหล่านั้น ครั้นบวชแล้วได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต พวกโคบาลให้สร้างวิหารเพื่อท่าน ทั้งสองนั้นในที่เป็นที่อยู่ วิหารนั้น ยังปรากฏชื่อว่า โคปาลกวิหาร มาจน ทุกวันนี้
จบอรรถกถาธนิยสูตร แห่งคัมภีร์
ขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี