พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปราภวสูตรที่ ๖ ว่าด้วยความเสื่อม ๑๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 พ.ย. 2564
หมายเลข  40159
อ่าน  823

[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 309

อุรควรรคที่ ๑

ปราภวสูตรที่ ๖

ว่าด้วยความเสื่อม ๑๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 46]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 309

ปราภวสูตรที่ ๖

ว่าด้วยความเสื่อม ๑๒ อย่าง

[๓๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยาม สิ้นไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้ สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๐๔] ข้าพระองค์มา เพื่อจะทูลถาม ถึงผู้เสื่อม และคนผู้เจริญกะท่านพระโคดม จึงขอทูลถามว่า อะไรเป็นทางของคนเสื่อม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้ เสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้ เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์ จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๒ อะไรเป็นทางของ คนเสื่อม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 310

คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำ สัตบุรุษให้เป็นที่รัก ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะ เหตุนั้นแล เราจงทราบข้อนี้เถิดว่า ความ เสื่อมนั้นเป็นที่ ๒.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๓ อะไรเป็นทางของ คนเสื่อม.

คนใดชอบนอน ชอบคุย ไม่หมั่น เกียจคร้าน โกรธง่าย ข้อนั้นเป็นทางของ คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๓.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๔ อะไรเป็นทางของ คนเสื่อม.

คนใดสามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือ บิดาผู้แก่เฒ่า ผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว ข้อ นั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้น เป็นที่ ๔.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 311

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๕ อะไรเป็นทาง ของคนเสื่อม.

คนใดลวงสมณะพราหมณ์ หรือแม้ วณิพกอื่นด้วยมุสาวาท ข้อนั้นเป็นทางของ คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๕.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๖ อะไรเป็นทาง ของคนเสื่อม.

คนมีทรัพย์มาก มีเงินทองของกิน กินของอร่อยแต่ผู้เดียว ข้อนั้นเป็นทางของ คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๖.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๗ อะไรเป็นทาง ของคนเสื่อม.

คนใดหยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะ ทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่น ญาติของตน ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๗.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 312

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๘ อะไรเป็นทาง ของคนเสื่อม.

คนใดเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลง สุรา และเป็นนักเลงการพนันผลาญทรัพย์ ที่ตนหามาได้ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๘.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๙ อะไรเป็นทาง ของคนเสื่อม.

คนไม่สันโดษด้วยภริยาของตนประทุษร้ายในภริยาของคนอื่นเหมือนประทุษร้าย ในหญิงแพศยา ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๙.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๐ อะไรเป็นทาง ของคนเสื่อม.

ชายแก่ได้หญิงรุ่นสาวมาเป็นภริยา ย่อมนอนไม่หลับ เพราะความหึงหวงหญิง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 313

รุ่นสาวนั้น ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑๐.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่๑๑ อะไรเป็นทาง ของคนเสื่อม.

คนใดตั้งหญิงนักเลงสุรุ่ยสุร่าย หรือ แม้ชายเช่นนั้นไว้ในความเป็นใหญ่ ข้อนั้น เป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั่น เราจง ทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑๑.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๒ อะไรเป็น ทางของคนเสื่อม.

ก็บุคคลผู้เกิดในสกุลกษัตริย์ มีโภคทรัพย์น้อย มีความมักใหญ่ ปรารถนา ราชสมบัติ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม.

บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็นอัน ประเสริฐ พิจารณาเห็นคนเหล่านี้ เป็นผู้ เสื่อมในโลก ท่านย่อมคบโลกที่เกษม (คน ผู้เจริญ).

จบปราภวสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 314

อรรถกาปราภวสูตร

ปราภวสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร? ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลายฟังมงคลสูตรแล้ว ได้มี ปริวิตกนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเจริญและความสวัสดีแก่สัตว์ทั้งหลาย ในมงคลสูต ตรัสแต่ความเจริญโดยส่วนเดียวเท่านั้น ไม่ตรัสความเสื่อมเลย เอาเถิด บัดนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมเสื่อม ย่อมพินาศ ด้วยเหตุแห่งความเสื่อมใด พวกเราจะทูลถามถึงเหตุแห่งความเสื่อมนั้น ของสัตว์เหล่านั้น.

ลำดับนั้น ในวันที่ ๒ แต่วันที่ตรัสมงคลสูตร เทวดาทั้งหลายใน หมื่นจักรวาล ประสงค์จะฟังพระสูตรว่าด้วยความเสื่อม ประชุมกันในจักรวาล หนึ่งนี้ จึงนิรมิตอัตภาพละเอียด ๑๐ อัตภาพบ้าง ๒๐ อัตภาพบ้าง ๓๐ อัตภาพ บ้าง ๔๐ อัตภาพบ้าง ๕๐ อัตภาพบ้าง ๖๐ อัตภาพบ้าง ๗๐ อัตภาพบ้าง ๘๐ อัตภาพบ้าง ในโอกาสที่สุดแห่งปลายขนทรายหนึ่ง ได้ยืนแวดล้อม พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูแล้ว รุ่งโรจน์ข่มทับ เทวดา มาร และพรหมทั้งปวง ด้วยสิริและเดช แต่นั้น เทวบุตรองค์หนึ่ง ถูกท้าวสักกะจอมเทวินทร์ตรัสสั่งแล้ว ทูลถามปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสูตรนี้ ด้วยอำนาจ แห่งการถาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น ท่านพระอานนท์ กล่าว. คาถาในลำดับหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า ปราภวนฺตํ ปุริสํ เทวบุตร

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 315

กล่าว. คาถาในลำดับหนึ่งอีก โดยนัยมีอาทิว่า สุวิชาโน ภวํ โหติ และ คาถาสุดท้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. คำนี้นั้นแม้ทั้งหมดประมวลเข้ากันแล้ว เรียกว่า ปราภวสูตร.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น คำใดจะ พึงกล่าว คำนั้นทั้งหมดข้าพเจ้าจักกล่าวไว้ในมงคลสุตตวัณณนา. ส่วนในบท มีอาทิว่า ปราภวนฺตํ ปุริสํ ได้แก่ ผู้เสื่อม ผู้เสื่อมเสีย ผู้พินาศ. บทว่า ปุริสํ ได้แก่ สัตว์ คือ ผู้เกิดคนใดคนหนึ่ง. บทว่า มยํ ปุจฺฉาม โคตมํ ความว่า เทวบุตรนั้นแสดงตน พร้อมกับเทวดาที่เหลือทั้งหลาย ทูลร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตร. บทว่า ภควนฺตํ ปุฏฐุมาคมฺม ความว่า ก็ข้าพระองค์มาจากจักรวาลนั้นๆ ด้วยหวังว่า จักทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. เทวบุตรแสดงความเอื้อเฟื้อด้วย บทนี้.

บทว่า กึ ปราภวโต มุขํ ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายที่มาแล้วอย่างนี้ว่า อะไรเป็นทาง คือ เป็นประตู เป็น กำเนิด เป็นเหตุของคนเสื่อม ซึ่งพวกข้าพระองค์พึงรู้คนเสื่อม. เทวบุตร ทูลถามเหตุแห่งความเสื่อมของคนเสื่อม ที่กล่าวไว้ในบทนี้ว่า ปราภวนฺตํ ปุริสํ ด้วยบทนี้. เพราะเมื่อรู้เหตุแห่งความเสื่อมแล้วก็อาจรู้คนเสื่อมบางคนได้ ด้วยเหตุสามัญนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงปฏิปักษ์ เพื่อทรงกระทำ ให้ปรากฏด้วยดี แก่เทวบุตรนั้น เมื่อจะทรงแสดงทางแห่งความเสื่อม ด้วย เทศนามีบุคลาธิษฐาน จึงตรัสว่า สุวิชาโน ภวํ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 316

คาถานั้นมีเนื้อความว่า คนนี้ใดเจริญคือวัฒนาไม่เสื่อม คนนั้นเป็น ผู้รู้ได้ง่ายคืออาจเพื่อทราบชัดโดยง่ายคือโดยไม่ยาก ส่วนคนนี้ใดเป็นผู้เสื่อม เพราะอรรถว่า ย่อมเสื่อม คือย่อมเสียหาย คือย่อมพินาศ ซึ่งพวกท่านถาม ทางแห่งความเสื่อมของคนเสื่อมนั้นกะเรา คนแม้นั้นก็รู้ได้ง่าย. อย่างไร? ก็คนนี้ใคร่ธรรม เป็นผู้เจริญ คือ ย่อมใคร่ กระหยิ่ม ปรารถนาฟัง ปฏิบัติ ซึ่งธรรมคือกุศลกรรมบถสิบ คนนั้นชื่อว่าเป็นผู้รู้ได้ง่าย เพราะเห็นและฟัง ปฏิบัตินั้น แล้วพึงรู้ได้ ผู้เกลียดธรรมแม้นอกนี้ เป็นผู้เสื่อม ย่อมเกลียด คือ ย่อมไม่กระหยิ่ม ไม่ปรารถนา ไม่ฟัง ไม่ปฏิบัติธรรมนั้นนั่นเทียว ผู้เกลียด ธรรมนั้น ชื่อว่า เป็นผู้รู้ได้ง่าย เพราะเห็นและฟังการปฏิบัติผิดนั่นแล้ว พึง รู้ได้. ในคาถานี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง แสดงปฏิปักษ์ ก็ทรงแสดงความเป็นผู้ใคร่ธรรม โดยอรรถ แสดงทาง โดย ความเจริญแล้ว ทรงแสดงความเป็นผู้เกลียดธรรม เป็นทางแห่งความเสื่อม ลำดับนั้น เทวดานั้น เพลิดเพลินยิ่งซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า อิติ เหตํ.

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด คือ จงถือ จงทรงไว้ ซึ่งข้อนี้โดยประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั้นแลว่า ความ เสื่อมนั้นเป็นที่ ๑ คือ ความเสื่อมนั้น มีความเกลียดธรรมเป็นลักษณะเป็น ที่ ๑มีอธิบายว่า พวกเราเป็นผู้มาแล้ว เพื่อทราบชัด ซึ่งทางแห่งความเสื่อมเหล่า ใด ในทางแห่งความเสื่อมเหล่านั้น นี้เป็นทางแห่งความเสื่อมหนึ่งก่อน.

ก็ในคำนั้นมีวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสื่อมด้วยเหตุนั้น เพราะ ฉะนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า ปราภโว แปลว่า ความเสื่อม. ก็สัตว์ทั้งหลายย่อม

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 317

เสื่อม เพราะอะไร ก็เพราะเหตุอันเป็นทางคือเป็นการณ์แห่งความเสื่อม ด้วยว่า ความต่างกันในข้อนี้ มีเพียงพยัญชนะเท่านั้น. แต่โดยอรรถ คำว่า ความเสื่อม หรือว่า ทางแห่งความเสื่อมไม่มีความต่างกันเลย.

เทพบุตรคิดว่า เราเพลิดเพลินว่า เราทราบชัดทางของคนเสื่อมนั่น อย่างนี้แล้ว ประสงค์จะรู้ข้ออื่นจากนั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๒ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ดังนี้. ก็ นักศึกษาพึงทราบเนื้อความแม้ในบทที่ ๓ ที่ ๔ อื่นจากนี้เป็นต้น โดยนัย นี้นั่นแล และพึงทราบเนื้อความแม้ในฝ่ายพยากรณ์ว่า สัตว์เหล่านั้นๆ ประกอบพร้อมแล้วด้วยทางแห่งความเสื่อมเหล่านั้นๆ สัตว์หนึ่งไม่รวมกับสัตว์ ทั้งปวง และสัตว์ทั้งปวงก็ไม่รวมกับสัตว์ผู้หนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงทรงพยากรณ์ ถึงทางแห่งความเสื่อมทั้งหลาย มีอย่างต่างกัน ด้วยเทศนามีบุคลาธิษฐานเท่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ดังนี้ เพื่อทรงแสดงทางแห่งความ เสื่อมนั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้น ในคาถานั้น มีอรรถวัณณนาโดยย่อ ดังนี้ :-

ศาสดาทั้งหก ก็หรือบุคคลแม้เหล่าอื่นผู้ประกอบพร้อมด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันไม่สงบ ชื่อว่า อสัตบุรุษ อสัตบุรุษเหล่านั้นเป็น ที่รักของคนนั้น ดุจอเจลกโกรักขัตติยะเป็นต้น เป็นที่รักของคนทั้งหลาย มีเจ้าสุนักขัตตะเป็นต้น.

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกก็หรือบุคคลแม้เหล่าอื่น ผู้ประกอบแล้ว ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันสงบแล้ว ชื่อว่า สัตบุรุษ ไม่กระทำสัตบุรุษเหล่านั้น ให้เป็นที่รัก อธิบายว่า ไม่กระทำสัตบุรุษ เหล่านั้น ให้เป็นที่รัก คือ เป็นที่ปรารถนา เป็นที่ใคร่ เป็นที่พอใจของตน.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 318

ก็ความต่างกันแห่งถ้อยคำในคาถานี้ พึงทราบว่า ทรงกระทำแล้ว ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ไม่กระทำสัตบุรุษทั้งหลาย คือไม่เสพสัตบุรุษทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ เหมือนอย่างท่านผู้รู้ศัพท์ทั้งหลาย พรรณนาว่า กระทำพระราชาให้เป็นที่รักในอรรถนี้ว่า ย่อมเสพพระราชา. บทว่า ปิยํ ความว่า รัก ดีใจ ปราโมทย์. ทิฏฐิ ๖๒ หรืออกุศล กรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ย่อมชอบใจ ย่อมกระหยิ่ม ย่อม ปรารถนา ย่อมเสพธรรมของอสัตบุรุษนั้น.

ฐานะ ๓ อย่าง คือ ความเป็นผู้มีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ๑ ความเป็นผู้มี สัตบุรุษไม่เป็นที่รัก ๑ ความชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ ๑ ตรัสว่าเป็นทางแห่ง ความเสื่อม ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็คนประกอบพร้อมด้วยฐานะ ๓ อย่างนั้น ย่อมเสื่อม คือ ย่อมเสื่อมเสีย ย่อมไม่ถึงความเจริญในโลกนี้หรือ ในโลกหน้า เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม. ส่วนความ พิสดารในคาถานี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวในคาถาวัณณนาว่า การคบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑.

คนใดไปอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ย่อมหลับนั้นเทียว คนนั้น ชื่อว่า นิทฺทาสีลี ชอบนอน. ผู้ตามประกอบความยินดีในการคลุกคลี คือความยินดีในการคุย ชื่อว่า สภาสีลี ชอบคุย. ผู้เว้นจากเดชแห่ง ความเพียร เป็นผู้ไม่ลุกขึ้นเป็นปกติ ชื่อว่า อนุฏฺาตา ไม่หมั่น. เป็น คฤหัสถ์ถูกคนเหล่าอื่นตักเตือน ก็ไม่ปรารภงานของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต ก็ ไม่ปรารภงานของบรรพชิต.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 319

บทว่า อลโส ความว่า ผู้มีความเกียจคร้านเป็นเจ้าเรือน ถูกความง่วง เหงาครอบงำโดยส่วนเดียว ยืนแล้วก็ยืนอยู่ในที่ยืนนั่นแล นั่งแล้วก็นั่งในที่นั่งนั่น เทียว ย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอื่น ด้วยความอุตสาหะของตน. ก็ความเกียจคร้าน อันไม่ปราศไป ในเมื่อไฟไหม้ป่าในอดีตเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้. นี้เป็นการกำ หนดอย่างอุกฤษฏ์ในที่นี้. ก็ความเกียจคร้านแม้โดยกำหนดอย่างเลวกว่านั้น ก็ พึงทราบว่า เกียจคร้านเหมือนกัน.

ความโกรธเป็นเครื่องปรากฏของคนนั้น ดุจธงเป็นเครื่องปรากฏของ รถ ดุจควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ เพราะฉะนั้น คนนั้นจึงชื่อว่า โกธปญฺาโณ ผู้โกรธง่าย บุคคลผู้โทสจริต โกรธเร็ว มีจิตเหมือนบาดแผล ย่อมเป็นเช่นนั้น.

ฐานะ ๕ อย่างคือ ความชอบนอน ความชอบคุย ความไม่หมั่น ความเกียจคร้าน และความโกรธง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่ง ความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนถึงพร้อมด้วยฐานะ ๕ อย่างนั้น เป็นคฤหัสถ์ ก็ไม่ถึงความเจริญของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตก็ไม่ถึงความเจริญของบรรพชิต ย่อมเสียหายถ่ายเดียว ย่อมเสื่อมถ่ายเดียวแน่แท้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็น ทางแห่งความเสื่อม.

หญิงผู้ให้เกิดพึงทราบว่า มารดา ชายผู้ให้เกิดนั่นเทียว พึงทราบว่า บิดา ชื่อว่าผู้แก่เฒ่า เพราะความเป็นผู้มีสรีระหย่อนยาน ชื่อว่า ผ่านวัยหนุ่มไป แล้ว เพราะก้าวล่วงความเป็นหนุ่มสาว คือมีวัย ๘๐ ปี หรือ ๙๐ ปี ผู้ไม่สามารถ เพื่อทำการงานทั้งหลายด้วยตนเอง. บทว่า ปหุสนฺโต ความว่าเป็นผู้สามารถ คือ มีความสำเร็จแล้ว เป็นอยู่อย่างสบาย. บทว่า น ภรติ คือ ไม่เลี้ยงดู.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 320

การไม่เลี้ยงคือการไม่เลี้ยงดู การไม่บำรุงมารดาบิดาอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนประกอบพร้อมด้วยการ ไม่เลี้ยงมารดาบิดานั่น ย่อมไม่บรรลุถึงอานิสงส์ในการเลี้ยงมารดาบิดาที่ตรัส ไว้ว่า

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญคนนั้น ด้วยการบำรุงบำเรอนั้นในมารดาบิดาในโลก นี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ * ดังนี้

ย่อมไม่เลี้ยงแม้มารดาบิดาแน่แท้ ถึงความนินทาและความติเตียนว่า จักเลี้ยงใครอื่นเล่า และถึงทุคติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมนั่นเทียว เพราะฉะนั้น จึง ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม.

คนย่อมลวงผู้ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปทั้งหลายแล้ว ชื่อว่า สมณะ เพราะเป็นผู้สงบแล้ว หรือพราหมณ์แม้ผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ สมณะผู้เข้าถึงบรรพชา หรือผู้ขอคนใดคนหนึ่ง แม้อื่นจากนั้นด้วยมุสาวาท เพราะฉะนั้น ผู้ถูกปวารณาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจงพูดถึงปัจจัยขอแล้ว หรือว่า รับแล้ว เพิ่มให้น้อยในภายหลัง ก่อทะเลาะวิวาทกับสมณพราหมณ์นั้น. การลวงพราหมณ์เป็นต้น ด้วยมุสาวาทอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนถึงพร้อมด้วยการลวงนั่น ย่อม ถึงความนินทาในโลกนี้ ถึงทุคติในสัมปรายภพ และวิบัติจากความประสงค์แม้ ในสุคติ สมดังที่ตรัสไว้ว่า เกียรติศัพท์ชั่วของคนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมระ


* อํ. จตุกฺก. ๙๓.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 321

บือทั่ว (๑) อนึ่ง ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลถึงพร้อมด้วยธรรม ๔ เหมือนถูกโยนลงในนรกแน่นอน ๔ เหล่าไหน คือ เป็นผู้มีปกติพูดเท็จ๒ ดังนี้ เป็นต้น.

อนึ่ง ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหา สมณะหรือพราหมณ์แล้ว ปวารณาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพูดถึงปัจจัย เขาไม่ยอมให้ปัจจัยตามที่ปวารณา ถ้าเขาจุติจากโลกนั้นแล้ว ย่อมมาสู่ความ เป็นอย่างนี้ เขาประกอบการค้าขายใดๆ นั่นแล การค้าขายนั้นของเขา ย่อม ถึงการขาดทุน ดูก่อนสารีบุตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เขาย่อมให้ปัจจัย ตามที่ปวารณาไว้ตามความประสงค์ ถ้าเขาจุติจากโลกนี้ถึงความเป็นอย่างนี้ เขาประกอบการค้าใดๆ นั่นแล การค้าขายนั้นของเขา ย่อมได้กำไรตามความ ประสงค์๓ ดังนี้ คนถึงการนินทาเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมแล เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นทางแห่งควานเสื่อม.

บทว่า ปหุตวิตฺโต ได้แก่ มีทอง เงิน และแก้วมณีมาก. บทว่า สหิรญฺโ คือ มีกหาปณะ. บทว่า สโภชโน คือ ถึงพร้อมด้วยของกิน คือสูปพยัญชนะมาก. บทว่า เอโก ภุญฺชติ ความว่า ไม่ให้ของกินอันอร่อย แม้แก่บุตรของตน ย่อมกินในโอกาสลับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กินของอร่อย แต่ผู้เดียว.

ความตระหนี่ในของกิน เพราะความเป็นผู้ติดในของกินอย่างเดียว เท่านั้น ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนถึงพร้อมด้วย ความตระหนี่ในของกินนั้น ถึงอยู่ซึ่งเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ ความนินทา


๑. อํ. ปญฺจกํ. ๒๘๐. ๒. อํ. จตุกฺก. ๑๐๘ ๓. อํ. จตุกฺก ๑๐๗.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 322

ความตำหนิติเตียน ทุคติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมนั้นเทียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม.

ก็พึงประกอบบททั้งหมด ตามทำนองพระสูตร โดยนัยที่กล่าวแล้ว นั่นแล แต่บัดนี้ ข้าพเจ้ากลัวพิสดารเกินไป จะไม่แสดงนัยแห่งโยชนาทั้งหลาย จักกล่าวเพียงเนื้อความเท่านั้น.

คนใดยังมานะให้เกิดว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ เป็นผู้หยิ่งเพราะ มานะนั้น เป็นผู้ลำพอง ดุจสูบเต็มด้วยลมฉะนั้น ย่อมไม่อ่อนน้อมต่อใครๆ คนนั้น ชื่อว่า หยิ่งเพราะชาติ. ในการหยิ่งเพราะทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ก็นัยนี้. บทว่า สญฺาติมญฺเติ ความว่า ย่อมดูหมิ่นแม้ญาติของตน เพราะชาติ ดุจเจ้าศากยะทั้งหลาย ดูหมิ่นวิฑูฑภะฉะนั้น และย่อมดูหมิ่นแม้ เพราะทรัพย์ว่า คนนี้กำพร้า ยากจน ดังนี้ ย่อมไม่กระทำแม้สักว่า สามีจิ- กรรม ญาติทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมปรารถนาความเสื่อมเท่านั้นแก่คนนั้น. ฐานะ มี ๔ อย่างโดยอรรถ มีอย่างเดียว โดยลักษณะ ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม ด้วยคาถานี้.

บทว่า อิตฺถีธุตฺโต ความว่า เป็นผู้กำหนัดในหญิงทั้งหลาย ให้ทรัพย์ ที่มีอยู่แม้ทั้งหมดแล้ว สงเคราะห์หญิงอื่นๆ. อนึ่ง ผู้ทิ้งของมีอยู่ของตนแม้ ทั้งหมดแล้ว ประกอบการดื่มสุรา ชื่อว่า เป็นนักเลงสุรา ผู้ทิ้งแม้ผ้าที่ตนนุ่ง แล้ว ประกอบการ เล่นการพนัน คนที่ถึงพร้อมด้วยฐานะ ๓ เหล่านั้น พึงทราบ ว่า ผลาญทรัพย์ที่ตนหามาได้ เพราะยังทรัพย์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งที่หามาได้ นั้น ให้พินาศ คนอย่างนี้ ย่อมเสื่อมถ่ายเดียว ด้วยเหตุนั้น ฐานะ ๓ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของคนนั้น ด้วยคาถานี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 323

บทว่า เสหิ ทาเรหิ ได้แก่ ด้วยภรรยาของตน. คนใดไม่สันโดษ ด้วยภรรยาของตน ประทุษร้ายในหญิงแพศยา หรือ ในภรรยาของคนอื่น คน นั้น ชื่อว่า ย่อมเสื่อมถ่ายเดียว เพราะการเพิ่มให้ทรัพย์แก่หญิงแพศยา เพราะ เสพภรรยาของคนอื่น เพราะกรรมกรณ์ราชทัณฑ์เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ฐานะ ๒ อย่างนั่น จึงตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของคนนั้น ด้วยคาถานี้.

บทว่า อตีตโยพฺพโน ความว่า ชายล่วงวัยหนุ่มอายุ ๘๐ หรือ ๙๐ ปี แล้ว นำมา คือ บำเรอ. บทว่า ติมฺพรุตฺถนึ ได้แก่ หญิงรุ่นสาวเช่น ผลมะพลับ คือ หญิงสาวกำดัด. บทว่า ตสฺสา อิสฺสา น สุปฺปติ ความว่า ความยินดีและการสังวาสกับชายแก่ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของ หญิงสาวรุ่นกำดัด ชายแก่เมื่อรักษาภรรยาสาวนั้น เพราะความหึงหวงว่า อย่าพึงปรารถนาชายหนุ่มเลย ชื่อว่า ย่อมนอนไม่หลับ ชายแก่ถูกกามราคะ สละความหึงหวงแผดเผาอยู่ และไม่ประกอบการงานภายนอก ชื่อว่า ย่อมเสื่อม ถ่ายเดียว ด้วยเหตุนั้น การนอนไม่หลับเพราะความหึงหวงอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของชายแก่นั้น ด้วยคาถานี้.

บทว่า โสณฺฑึ ความว่า ผู้เหลวไหล คือ ผู้ติดในปลา เนื้อ และน้ำเมาเป็นต้น. บทว่า วิกิรณึ ได้แก่ ผู้มีปกติใช้จ่ายทรัพย์สุรุ่ยสุร่าย เพื่อประโยชน์แก่ปลา เนื้อ และน้ำเมาเป็นต้นเหล่านั้น เหมือนฝุ่น ให้ฉิบหาย. บทว่า ปุริสํ วาปิ ตาทิสํ ความว่า คนใดแม้ตั้งชายเช่นนั้นไว้ในความ เป็นใหญ่ คือ ให้วัตถุมีเครื่องประทับตราเป็นต้นแล้ว ให้กระทำความขวนขวายในฆราวาส ในการงาน หรือ ในโวหารมีการค้าขายเป็นต้น คนนั้นเมื่อ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 324

ถึงความสิ้นทรัพย์ เพราะโทษของชายนั้น ชื่อว่า ย่อมเสื่อมถ่ายเดียว ด้วย เหตุนั้น การตั้งหญิงหรือชายเช่นนั้นไว้ในความเป็นใหญ่อย่างเดียวเท่านั้น ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของคนนั้น ด้วยคาถานี้.

ชื่อว่า มีโภคทรัพย์น้อย เพราะไม่มีโภคทรัพย์ทั้งหลายที่สะสมไว้ และเพราะไม่มีทางเจริญแห่งโภคทรัพย์. บทว่า มหาตณฺโห ความว่า ผู้ถึง พร้อมแล้วด้วยความมักใหญ่ในโภคทรัพย์มาก คือ ไม่สันโดษด้วยโภคทรัพย์ ตามที่ตนหามาได้.

บทว่า ขตฺติเย ชายเต กุเล ความว่า เกิดในตระกูลกษัตริย์ บทว่า โส จ รชฺชํ ปฏฺยติ ความว่า บุคคลนั้นปรารถนาราชสมบัติอัน คนเป็นทายาท ซึ่งไม่ควรได้ หรือ ของคนอื่น เพราะความเป็นผู้ใคร่ใน การปรารถนาราชสมบัติ คือ เพราะความมักใหญ่นั้น โดยมิใช่อุบาย คือ โดยผิดลำดับ บุคคลนั้น เมื่อปรารถนาอย่างนั้น ให้โภคทรัพย์น้อยแม้นั้น แก่คนทั้งหลายมีทหารเป็นต้น เมื่อไม่บรรลุถึงราชสมบัติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อม ถ่ายเดียว ด้วยเหตุนั้น การปรารถนาราชสมบัตินั้นอย่างเดียวเท่านั้น จึง ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของบุคคลนั้น ด้วยคาถานี้.

เบื้องหน้าแต่นั้น ผิว่า เทวดานั้นจะพึงทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๓ ฯลฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๐๐,๐๐๐ ดังนี้ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ พึงตรัสบอกคนเสื่อมแม้เหล่านั้น แต่เพราะเทวดานั้น คิดว่า จะมีประโยชน์ อะไรด้วยคนเสื่อมเหล่านี้ที่ทูลถามแล้ว การทำความเจริญข้อหนึ่งในสูตรนี้ ก็ ไม่มี ดังนี้ เมื่อไม่สนใจฟังทางแห่งความเสื่อมเหล่านั้น ทูลถามแม้เพียงเท่านี้ แล้ว วิปฏิสารนิ่งอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 325

ของเทวดานั้นแล้ว เมื่อจะทรงประมวลเทศนา จึงตรัสพระคาถานี้ว่า เอเต ปราภเว โลเก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยการพิจารณา รอบคอบ. บทว่า สมเวกฺขิยา ความว่า พิจารณาแล้ว ด้วยปัญญาจักษุ

ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรค ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยผล ชื่อว่า ประเสริฐ ก็ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่า ไม่ดำเนินไปในสิ่งที่ไม่ควร แนะนำ กล่าวคือ ความเสื่อมนั้น บัณฑิตเห็นคนเสื่อมทั้งหลายแล้ว งดเว้น ด้วยทัสสนะใด และด้วยปัญญาใด ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็น เพราะ ความเป็นผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยทัสสนะและปัญญานั้น.

บทว่า ส โลกํ ภชเต สิวํ ความว่า บัณฑิตนั้น คือ ผู้เห็น นั้น ย่อมคบ คือ ย่อมเยื่อใย อธิบายว่า ย่อมเข้าไปสู่โลกที่เกษม คือ เทวโลก อันเป็นอุดมเขต ไม่มีอุปัทวะ.

ในเวลาจบเทศนา เทวดาทั้งหลายฟังทางแห่งความเสื่อมทั้งหลายแล้ว ตั้งใจมั่นโดยแยบคาย สมควรแก่ความสังเวชที่เกิดขึ้นบรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล พ้นที่จะคณนานับเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

เทวดาทั้งหลายที่บรรลุมรรคผลใน สูตรนั้น คือ มหาสมัยสูตร มงคลสูตร สมจิตตสูตร ราหุโลวาทสูตร ธรรมจักรสูตร ปราภวสูตร และเทวตาสมสูตร มีไม่น้อย ประมาณไม่ได้ ส่วนธรรมาภิสมัยในปราภวสูตรนี้ พ้นที่จะคณนานับ ดังนี้.

จบ ปรารภววสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา