เหมวตสูตรที่ ๙ ว่าด้วยยักษ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 394
อุรควรรคที่ ๑
เหมวตสูตรที่ ๙
ว่าด้วยยักษ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 46]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 394
เหมวตสูตรที่ ๙
ว่าด้วยยักษ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาตาคิรยักษ์กล่าวว่า
[๓๐๙] วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕ ราตรี อันเป็นทิพย์ปรากฏแล้ว มาเราทั้งสองจงไป เฝ้าพระโคดม ผู้เป็นพระศาสดามีพระนาม อันไม่ทรามเถิด. เหมวตยักษ์ถามว่า
พระโคดมผู้คงที่ทรงตั้งพระทัยไว้ดี แล้ว ในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ พระโคดม ทรงกระทำความดำริในอิฏฐารมณ์ และ อนิฏฐารมณ์ให้อยู่ในอำนาจแลหรือ.
สาตาคิรยักษ์ตอบว่า
ก็พระองค์เป็นผู้คงที่ ทรงตั้งพระทัย ไว้ดีแล้วในสัตว์ทั้งปวง อนึ่ง พระองค์ ทรงกระทำความดำริในอิฏฐารมณ์และ อนิฏฐารมณ์ ให้อยู่ในอำนาจแล้ว.
เหมวตยักษ์ถามว่า
พระโคดมไม่ทรงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แลหรือ ทรงสำรวมแล้วใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 395
สัตว์ทั้งหลายแลหรือ ทรงห่างไกลจากความ ประมาทแลหรือ ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌาน แลหรือ.
สาตาคิรยักษ์ตอบว่า
พระองค์ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ เขาไม่ได้ให้ ทรงสำรวมแล้วในสัตว์ทั้งหลาย และทรงห่างไกลจากความประมาท พระองค์ เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌาน.
เหมวตยักษ์ถามว่า
พระโคดมไม่ตรัสคำเท็จเท็จหรือ มี พระวาจาไม่หยาบคายแลหรือ ไม่ตรัสคำ ส่อเสียดแลหรือ ไม่ตรัสคำเพ้อเจ้อแลหรือ.
สาตาคิรยักษ์ตอบว่า
พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ มีพระวาจา ไม่หยาบคาย และไม่ตรัสคำส่อเสียด ตรัส คำที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว เพราะทรง กำหนดด้วยพระปัญญา.
เหมวตยักษ์ถามว่า
พระโคดมไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย แลหรือ พระหฤทัยของพระโคดมไม่ขุ่นมัว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 396
แลหรือ พระโคดมทรงล่วงโมหะได้แล้วหรือ พระโคดมทรงมีพระจักษุในธรรมทั้งหลาย แลหรือ.
สาตาคิรยักษ์ตอบว่า
พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย และพระหฤทัยของพระองค์ไม่ขุ่นมัว พระองค์ทรงล่วงโมหะได้ทั้งหมด พระองค์ตรัสรู้ แล้ว ทรงมีพระจักษุในธรรมทั้งหลาย.
เหมวตยักษ์ถามว่า
พระโคดมทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วย วิชชาแลหรือ ทรงมีจรณะบริสุทธิ์แลหรือ อาสวะทั้งหลายของพระองค์นั้นสิ้นไปแล้ว แลหรือ ภพใหม่ไม่มีแลหรือ.
สาตาคิรยักษ์ตอบว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา และทรงมีจรณะบริสุทธิ์ อาสวะทั้งหลาย ของพระองค์สิ้นไปหมดแล้ว ภพใหม่ของ พระองค์ไม่มี.
เหมวตยักษ์กล่าวว่า
พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนี ถึงพร้อมแล้ว ถึงพร้อมแล้วด้วยกายกรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 397
วจีกรรม และมโนกรรม มาเราทั้งสองจง ไปเฝ้าพระโคดมผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วย วิชชาและจรณะกันเถิด.
เหมวตยักษ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดมผู้มี พระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทรายผู้ซูบผอม เป็นนักปราชญ์ มีพระกระยาหารน้อย ไม่ โลภ เป็นมุนีทรงฌานอยู่ในป่า เราเข้าไป เฝ้าพระโคดม ผู้ดุจราชสีห์ เสด็จเที่ยวไป พระองค์เดียว ไม่เสด็จมาสู่ภพใหม่ ไม่มี ความห่วงใย ในกามทั้งหลาย แล้วจงทูลถาม ถึงธรรม เป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร เราจง ทูลถามพระโคดมผู้ตรัสบอก ผู้ทรงแสดง ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ทรงล่วงเวรภัยได้แล้ว.
เหมวตยักษ์ทูลถามว่า
เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมกระทำความเชยชิดในอะไร โลก ยืดถืออะไร เมื่ออะไรมี โลกจึงเดือดร้อน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนเหมวตะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 398
เมื่ออายตนะภายในและภายนอก ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมกระทำ ความเชยชิดในอายตนะภายในและภายนอก ๖ โลกยึดถืออายตนะภายในและภายนอก ๖ นั่นแหละ เมื่ออายตนะภายในและกายนอก ๖ มี โลกจึงเดือดร้อน.
อุปาทานที่เป็นเหตุให้โลกต้องเดือดร้อนเป็นไฉน ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอ พระองค์ตรัสบอก ซึ่งธรรมชาติเป็นเครื่อง ออกจากโลก บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้ อย่างไร.
กามคุณ ๕ ในโลกมีใจเป็นที่ ๖ เรา ประกาศแล้ว บุคคลคลายความพอใจใน กามคุณ ๕ นี้ได้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์ได้ด้วย อาการอย่างนี้ เราบอกซึ่งธรรมชาติเป็น เครื่องออกจากโลกนี้ ตามความเป็นจริง แก่ท่านทั้งหลายแล้ว ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึง ถามเราพันครั้ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย เพราะบุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 399
ในโลกนี้ใครเล่าข้ามโอฆะได้ ใน โลกนี้ใครเล่าข้ามอรรณพได้ ใครย่อมไม่ จมลงในอรรณพที่ลึกซึ้ง ไม่มีที่พึ่ง ไม่มี ที่ยึดเหนี่ยว.
ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล มีปัญญา มี ใจตั้งมั่นดีแล้ว มีความหมายรู้ ณ ภายใน มีสติทุกเมื่อ ย่อมข้ามพ้นโอฆะที่ข้ามได้ แสนยาก ผู้นั้นเว้นจากกามสัญญา ล่วง สังโยชน์ทั้งปวงเสียได้ มีความเพลิดเพลิน และภพหมดสิ้นแล้ว ย่อมไม่จมลงในอรรณพ คือ สงสารอันลึก.
เชิญท่านทั้งหลาย ดูพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาลึกซึ้ง ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียด ไม่มีความ กังวล ไม่ข้องแล้วในกามภพ พ้นวิเศษแล้ว ในอารมณ์ทั้งปวง ทรงดำเนินไปในทางอัน เป็นทิพย์ ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ เชิญท่าน ทั้งหลายดู พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระนามไม่ทราม ผู้ทรงแสดงเนื้อความ ละเอียด ผู้ทรงให้ปัญญา ไม่ข้องแล้วใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 400
อาลัยในกาม ทรงรู้ธรรมทั้งปวง มีพระปัญญาดี ทรงดำเนินไปในทางอันเป็นอริยะ ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่.
วันนี้เราทั้งหลายเห็นดีแล้วหนอ สว่างไสวแล้ว ตั้งขึ้นดีแล้ว เพราะเรา ทั้งหลาย ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงข้าม โอฆะได้แล้ว หาอาสวะมิได้.
ยักษ์หนึ่งพันทั้งหมดเหล่านี้ มีฤทธิ์ มียศ ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นสรณะด้วยคำว่า พระองค์เป็นพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักขอนอบน้อมซึ่ง พระสัมพุทธเจ้าและความที่พระธรรมเป็น ธรรมดี เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากภูเขา สู่ภูเขา.
จบเหมวตสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 401
อรรถกถาเหมวตสูตร
เหมวตสูตรเริ่มด้วยคาถาว่า อชฺช ปณฺณรโส ดังนี้ :-
มีอุบัติอย่างไร? มีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถาม จริงอยู่ พระผู้มี พระภาคเจ้า ถูกเหมวตยักษ์ทูลถาม จึงตรัสพระดำรัสว่า ฉสุ โลโก สมุปฺปนฺโน เมื่ออายตนะหกเกิด โลกก็เกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น.
ในสูตรนั้น คำว่า อชฺช ปณฺณรโส เป็นต้น สาตาคิรยักษ์กล่าว คำว่า อิติ สาตาคิโร เป็นต้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว. คำว่า กจฺจิ มโน เป็นต้น เหมวตยักษ์กล่าว. คำว่า ฉสุ โลโก เป็นต้น พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัส คำทั้งหมดนั้นรวมเข้ากัน เรียกว่า เหมวตสูตร. อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า สาตาคิรสูตร ดังนี้ก็มี ในสูตรนั้น คาถาว่า อชฺช ปณฺณรโส เป็นต้น มีอุบัติดังนี้ :-
ในภัทรกัปนี้นั่นแล มนุษย์ทั้งหลายได้กระทำสรีรกิจ ด้วยการบูชา อย่างใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ผู้ทรง อุบัติในสมัยคนทั้งหลายมีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ทรงดำรงพระชนมายุได้ ๑๖,๐๐๐ ปี แล้วปรินิพพาน พระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป นั้นไม่กระจัดกระจาย ตั้งอยู่เป็นก้อนเดียวกัน ดุจก้อนทองคำฉะนั้น เพราะนั่น เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุยืนทั้งหลาย ส่วนพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระชนมายุน้อยทั้งหลาย อันชนจำนวนมากยังไม่ทันเห็น ก็เสด็จ ปรินิพพานก่อน เพราะฉะนั้น จึงทรงอธิษฐานว่า ขอพระธาตุทั้งหลายจง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 402
กระจัดกระจาย ด้วยทรงอนุเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายในที่นั้นๆ ทำแม้การบูชา พระธาตุแล้ว จักประสบบุญ ด้วยเหตุนั้น พระธาตุทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระชนมายุน้อยเหล่านั้น จึงกระจัดกระจายไป ดุจเศษส่วนของทองคำ เหมือนพระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ฉะนั้น.
มนุษย์ทั้งหลายได้ทำเรือนบรรจุพระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ให้มีแห่งเดียวเท่านั้น ให้ประดิษฐ์พระเจดีย์ โดยส่วนสูงและโดยรอบ ๑ โยชน์ พระเจดีย์นั้น มีประตู ๔ แห่ง ห่างกันประตูละ ๑ คาวุต พระเจ้ากิงกิราช ทรงสร้าง ๑ ประตู พระราชโอรสของพระองค์พระนามว่า ปฐวินธร ทรง สร้าง ๑ ประตู อำมาตย์ผู้เป็นหัวหน้าของเสนาบดีทั้งหลายสร้าง ๑ ประตู ชาว ชนบทมีเศรษฐีเป็นหัวหน้าสร้าง ๑ ประตู อิฐก้อนเดียวสำเร็จด้วยทองคำสีสุก ปลั่ง และสำเร็จด้วยรัตนะต่างๆ เทียบเทียมกับรสแห่งทองคำสีสุกปลั่ง แต่ ละก้อนมีราคาหนึ่งแสนกหาปณะ มนุษย์เหล่านั้นได้ทำกิจด้วยดินเหนียว หรดาลและมโนศิลาทั้งหลาย และกิจด้วยน้ำ ด้วยน้ำมันหอม ได้ประดิษฐ์ พระเจดีย์นั้นไว้.
เมื่อพระเจดีย์ประดิษฐ์อย่างนี้แล้ว กุลบุตร ๒ คนเป็นสหายกันออก บวชในสำนักของพระสาวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย จริงอยู่ พระสาวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุยืนเท่านั้น ย่อมให้บรรพชา ให้อุปสมบท ให้นิสัย สาวกทั้งหลายนอกนี้ย่อมไม่ได้ แต่นั้น กุลบุตรเหล่านั้น ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในศาสนามีธุระเท่าไร พระเถระกล่าวว่า ธุระมี ๒ อย่าง คือ วาสธุระ ๑ ปริยัติธุระ ๑ ในธุระ ๒ อย่างนั้น กุลบุตรผู้บวชแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 403
อยู่ในสำนักของพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์สิ้น ๕ ปี บำเพ็ญข้อวัตรและ ปฏิบัติทำปาฏิโมกข์ และภาณวารและสูตร ๒ - ๓ สูตร ให้คล่องแคล่ว เรียน กรรมฐานเข้าสู่ป่า โดยไม่มีความอาลัยในตระกูล หรือคณะ สืบต่อ พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต นี้ชื่อว่า วาสธุระ ส่วนกุลบุตรเล่าเรียน ๑ นิกาย ๒ นิกาย หรือ ๕ นิกาย ตามกำลังของตน พึงตามประกอบศาสนาให้บริสุทธิ์ดี โดยปริยัติ และโดยอรรถ นี้เรียกว่า ปริยัติธุระ.
ลำดับนั้น กุลบุตรเหล่านั้นกล่าวว่า บรรดาธุระ ๒ อย่าง วาสธุระ เท่านั้นประเสริฐ คิดว่า ก็พวกเรายังหนุ่ม จักบำเพ็ญวาสธุระในเวลาตนแก่ จักบำเพ็ญปริยัติธุระก่อน จึงปรารภปริยัติ. ท่านทั้งสองโดยปกติเทียว เป็น คนมีปัญญา ต่อกาลไม่นานนัก ก็มีความรู้อันกระทำแล้วในพุทธพจน์ทั้งสิ้น และเป็นผู้ฉลาดในการวินิจฉัยในวินัยอย่างยิ่ง ท่านทั้งสองนั้นเพราะอาศัยปริยัติ จึงมีบริวารเกิดขึ้น เพราะอาศัยบริวารจึงมีลาภ แต่ละรูปมีภิกษุ ๕๐๐ เป็น บริวาร ท่านเหล่านั้นแสดงอยู่ซึ่งศาสนาของพระศาสดา เป็นเหมือนพุทธกาล อีก.
ในกาลนั้น ภิกษุ ๒ รูป คือ พระธรรมวาที พระอธรรมวาที ๑ อยู่ในวัดใกล้บ้าน พระอธรรมวาทีเป็นคนดุร้าย หยาบคาย ปากจัด อัชฌาจาร ของพระอธรรมวาทีนั้น ปรากฏแก่พระธรรมวาทีนอกนี้ แต่พระธรรมวาทีเตือน พระอธรรมวาทีนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ กรรมนี้ของท่าน ไม่สมควรแก่ศาสนา พระอธรรมวาทีจึงคัดค้านว่า ท่านเห็นอะไร ท่านฟังอะไร พระธรรมวาที อีกรูปจึงกล่าว พระวินัยธรทั้งหลายจักรู้ แต่นั้น พระอธรรมวาทีรู้ว่า ถ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 404
พระวินัยธรทั้งหลายจักวินิจฉัยเรื่องนี้ไซร้ ที่พึ่งของเราในศาสนาจักไม่มีแน่ ประสงค์จะทำเป็นฝักฝ่ายของตน จึงถือบริขารทั้งหลายก่อนเทียว เข้าหา พระเถระ ๒ รูปนั้น ถวายสมณบริขาร ปรารภเพื่ออยู่ด้วยนิสัยต่อพระเถระ เหล่านั้น และได้ทำการบำรุงทั้งหมดแก่พระเถระเหล่านั้น ดุจประสงค์เพื่อ บำเพ็ญข้อวัตรและปฏิบัติโดยเคารพ.
แต่นั้น ในวันหนึ่ง พระอธรรมวาทีไปสู่ที่บำรุง ไหว้แล้ว แม้อัน พระเถระเหล่านั้นปล่อยไปอยู่ ก็ยังยืนอยู่นั่นเทียว พระเถระทั้งหลายจึงถาม พระอธรรมวาทีนั้นว่า มีอะไรจะพึงพูดอีกหรือ? พระอธรรมวาทีนั้นเรียนว่า มีขอรับผม มีการทะเลาะกับภิกษุรูปหนึ่ง เพราะอาศัยอัชฌาจารของผม ถ้า ภิกษุนั้นมาที่นี้จักบอกเรื่องนั้นไซร้ โปรดอย่าวินิจฉัยตามวินิจฉัย พระเถระ ทั้งหลายกล่าวว่า การไม่วินิจฉัยเรื่องที่เกิดตามวินิจฉัยไม่ควร พระอธรรมวาที นั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อท่านทำการวินิจฉัยอย่างนั้น กระผมจะไม่ มีที่พึ่งในศาสนา ความชั่วนั่น จงยกให้แก่กระผมเถิด ขอท่านทั้งหลายอย่า วินิจฉัยเรื่องนั้น พระวินัยธรเหล่านั้น ถูกพระอธรรมวาทีบีบคั้นอยู่ จึงยอมรับ พระอธรรมวาทีนั้นรับปฏิญญาของพระวินัยธรเหล่านั้นแล้ว ไปสู่อาวาสนั้นอีก กล่าวว่า เรื่องทั้งหมดจบแล้ว ในสำนักของพระวินัยธรทั้งหลาย ดูหมิ่นพระธรรมวาทีนั้นให้หนักข้อยิ่งขึ้น จึงพูดคำหยาบคาย.
พระธรรมวาทีคิดว่า พระอธรรมวาทีนี้มีที่อิงอาศัย จึงออกไปทันที เข้าไปหาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเป็นบริวารของพระเถระทั้งหลาย แล้วกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระเถระควรวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมมิใช่หรือ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 405
หรือไม่ให้ระลึก ให้แสดงความล่วงเกินกะกันและกันแล้ว พึงทำความสามัคคี แต่พระเถระเหล่านั้นไม่วินิจฉัยเรื่องเลย ไม่ทำความสามัคคี นั่นเรื่องอะไรกัน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นฟังแล้วก็นิ่งเสีย ด้วยคิดว่า เรื่องอะไรๆ พระอาจารย์ทั้งหลาย รู้แล้วมิใช่หรือ? แต่นั้น พระอธรรมวาทีได้โอกาส จึงเบียดเบียนพระธรรม วาทีนั้นว่า ในกาลก่อนท่านพูดว่า พระวินัยธรทั้งหลายจักรู้ บัดนี้ ท่านจง บอกเรื่องนั้นแก่พระวินัยธรเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ท่านแพ้แล้วแต่วันนี้ จง อย่ามาสู่อาวาสนั้น ดังนี้ ก็หลีกไป แต่นั้น พระธรรมวาทีเข้าไปหาพระเถระ ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่คำนึงถึงพระศาสนา คำนึงถึงแต่บุคคลว่า ท่านจงบำรุงพวกเรา จงให้พวกเรายินดี ไม่รักษาพระศาสนา แต่รักษาบุคคล ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่านทั้งหลายไม่ควรพิจารณาวินิจฉัย พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วในวันนี้ ดังนี้แล้ว ร้องด้วย เสียงอันดัง คร่ำครวญอยู่ว่า พระศาสนาของพระศาสดาพินาศแล้ว ก็หลีกไป.
ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นสลดจิต เกิดความรังเกียจว่า พวกเรา รักษาบุคคลโยนรัตนะคือพระศาสนาลงในเหว เธอเหล่านั้นถึงแล้ว ประกอบ แล้วด้วยความรังเกียจนั้นนั่นแล พวกเธอทำกาละแล้ว ไม่อาจเพื่อเกิดใน สวรรค์ อาจารย์คนหนึ่งเกิดในเหมวตบรรพตในหิมวันตประเทศ เป็นยักษ์ ชื่อว่า เหมวตะ อาจารย์คนที่สองเกิดในสาตบรรพตในมัชฌิมประเทศ เป็น ยักษ์ชื่อว่า สาตาคิระ ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นผู้เป็นบริวารของอาจารย์ทั้งสองนั้น ปฏิบัติตามอาจารย์เหล่านั้น ไม่อาจเพื่อเกิดในสวรรค์ ก็เกิดเป็นยักษ์ผู้เป็น บริวารของยักษ์ทั้งสองนั้น ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้น เกิดในเทวโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 406
เหมวตยักษ์และสาตาคิรยักษ์ เป็นเจ้ายักษ์ที่มีอานุภาพมาก ในภายใน เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน ก็ธรรมดาของเสนาบดียักษ์ทั้งหลายนี้คือ เทวดาทั้งหลาย ประชุมกันในภคลวติมณฑป บนพื้นมโนศิลา ในหิมวันตประเทศ เพื่อวินิจฉัย ธรรม เดือนละ ๘ วัน เสนาบดียักษ์ทั้งหลายพึงประชุมกันที่มณฑปนั้น ใน ขณะนั้น สาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์พบกันในสมาคมนั้นจำได้ และถามถึง สถานที่เกิดของตนว่า เพื่อน! ท่านเกิดในที่ไหน ท่านเกิดที่ไหน เป็นผู้ เดือดร้อนว่า เพื่อน! พวกเราฉิบหายแล้ว ในกาลก่อน พวกเราทำสมณธรรม สิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี อาศัยสหายชั่วคนเดียว เกิดในกำเนิดยักษ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ทั้งหลายของพวกเรา เกิดในกามาวจรเทพ ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวกะ เหมวตยักษ์นั้นว่า แนะท่านผู้นิรทุกข์! ธรรมดาหิมวันต์สมมติกันว่ามีความ อัศจรรย์ ท่านเห็นหรือฟังความอัศจรรย์ไรๆ พึงบอกแก่เราบ้าง ฝ่ายเหมวต ยักษ์ก็กล่าวว่า แนะท่านผู้นิรทุกข์! ธรรมดามัชฌิมประเทศสมมติกันว่ามีความ อัศจรรย์ ท่านเห็นหรือฟังความอัศจรรย์ไรๆ พึงบอกแก่เราด้วย เมื่อสหาย ทั้งสองนั้น ทำกติกากะกันและกันแล้วไม่ละอุบัตินั้นนั่นเทียวอยู่อย่างนี้ พุทธันดร หนึ่งก็สิ้นไป มหาปฐวีก็หนาขึ้นประมาณ ๑ โยชน์ ๓ คาวุต.
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเรามีปณิธานอันตนกระทำแล้ว แทบ บาทมูลของพระพุทธเจ้า ทีปังกร บำเพ็ญบารมีทั้งหลายจนถึงการเกิดเป็น พระเวสสันดรแล้ว อุบัติในชั้นดุสิต ดำรงอยู่ในชั้นดุสิตนั้นตลอดอายุ ผู้อัน เทวดาทั้งหลายเชื้อเชิญ โดยนัยที่กล่าวแล้วในธรรมบทนิทานนั่นเทียว แลดู มหาวิโลกนะ ๕ อย่าง บอกแก่เทวดาทั้งหลาย เมื่อบุรพนิมิต ๓๒ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 407
เป็นไปอยู่ ได้ถือปฏิสนธิในโลกนี้ยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว เจ้ายักษ์เหล่านี้ แม้เห็นมหาโลกนะเหล่านั้น ก็ไม่รู้ว่าเกิดเพราะเหตุนี้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ไม่เห็นเลย เพราะเจ้ายักษ์เหล่านั้นมัวเล่นอยู่. ในการประสูติ การออก อภิเนษกรมณ์ และการตรัสรู้ ก็นัยนี้.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกปัญจวัคคีย์ ประกาศพระธรรมจักร อันประเสริฐ มีปริวัฏ ๓ มีอาการ ๓๒ ให้เป็นไปอยู่ ในคราวประกาศ พระธรรมจักร บรรดาสหายทั้งสองนั้น สาตาคิรยักษ์ตนเดียวเท่านั้น ได้เห็น แผ่นดินใหญ่หวั่นไหว บุรพนิมิตและปาฏิหาริย์ และเหตุการณ์อุบัติ ครั้นรู้ แล้ว พร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟังเทศนา แต่ก็ไม่บรรลุ คุณวิเศษอะไรเลย เพราะเหตุไร เพราะเขาฟังธรรมอยู่ ก็พลางระลึกถึง เหมวตยักษ์ แลดูบริษัทว่าสหายของเรามาแล้วหรือไม่ เมื่อไม่เห็นเขา จึงมีจิต ฟุ้งซ่านว่า สหายของเราผู้ไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันมีปฏิภาณวิจิตรอย่างนี้ ก็จะโง่เขลา ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระอาทิตย์ แม้อัสดงแล้ว ก็ยังไม่จบเทศนา ขณะนั้น สาตาคิรยักษ์คิดว่า เราจักพาสหาย มาพร้อมกันสหายนั้น ฟังพระธรรมเทศนา ได้นิรมิตยานทั้งหลาย มีม้า ช้าง และครุฑเป็นต้น อันยักษ์ ๕๐๐ แวดล้อมแล้วไปมุ่งหน้าต่อหิมวันตประเทศ.
ในกาลนั้น ฝ่ายเหมวตยักษ์ เพราะเหตุอันเป็นบุรพนิมิต ๓๒ ประการ ในการปฏิสนธิ ประสูติ อภิเนษกรมณ์ การตรัสรู้ และการปรินิพพานนั้นแล หายไป ไม่ตั้งอยู่นาน แต่ในการประกาศพระธรรมจักร เหตุการณ์เหล่านั้น มีพิเศษ ตั้งอยู่นานกว่า จึงดับ เพราะฉะนั้น จึงเห็นความปรากฏแห่งความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 408
อัศจรรย์นั้น ในหิมวันตประเทศ เห็นว่า ตั้งแต่เราเกิดมา ภูเขาลูกนี้ไม่เคย เป็นที่รื่นรมย์อย่างนี้ในกาลไหนเลย เอาเถิด บัดนี้ เราจักพาสหายของเรามา ชมสิริแห่งดอกไม้นี้กับสหายนั้น จึงมามุ่งหน้าต่อมัชฌิมประเทศ ยักษ์แม้ ทั้งสองนั้นมาพบกันเหนือกรุงราชคฤห์ ได้ถามถึงเหตุการมาของกันและกัน.
เหมวตยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่เราเกิดมา ภูเขาลูกนี้ ไม่เคยเป็นที่รื่นรมย์ ด้วยต้นไม้ทั้งหลายที่สะพรั่งด้วยดอกในฤดูมิใช่กาลอย่างนี้ เลย เพราะเหตุนั้น เราจึงมาด้วยคิดว่า จักชมสิริแห่งดอกไม้พร้อมกับท่าน. สาตาคิรยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ก็ท่านรู้เหตุการณ์ที่เป็น เหตุให้เกิดปาฏิหาริย์ให้ดอกไม้บานในฤดูมิใช่กาลหรือ?
เห. ไม่รู้ ท่านผู้นิรทุกข์.
สา. ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ปาฏิหาริย์นี้ ไม่ได้เกิดในหิมวันต์แห่งเดียว เท่านั้น แต่โดยแท้ เกิดในหมื่นโลกธาตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว ในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปในวันนี้ ด้วยเหตุนั้น ปาฏิหาริย์ จึงเกิดขึ้น.
สาตาคิรยักษ์กล่าวถึงการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าแก่เหมวตยักษ์อย่างนี้ แล้ว ประสงค์จะนำเหมวตยักษ์นั้นมาสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าว คาถานี้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ สาตาคิรยักษ์นี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า อชฺช ปณฺณรโส ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺช ได้แก่ คืนและวันนี้เป็นวันที่ ๑๕ ตามปักขคณนา เป็นอุโบสถ เพราะเป็นวันพึงอยู่จำ หรือ ในอุโบสถทั้งสาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 409
วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕ ไม่ใช่เป็นอุโบสถที่ ๑๔ ไม่ใช่อุโบสถสามัคคี หรือ เพราะอุโบสถศัพท์ย่อมเป็นไปในอรรถมากอย่างมีปาฏิโมกขุทเทส องค์ ๘ อุปวาสะ บัญญัติ และวันเป็นต้น จริงอยู่ อุโบสถศัพท์ เป็นไปในปาฏิโมกขุทเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถํ คมิสฺสาม มาเถิด กัปปินะผู้มีอายุ พวกเราจักไปสู่อุโบสถ. เป็นไปในองค์ ๘ มีเจตนา งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น ในประโยคมีอาทิว่า เอวํ อิฏฺงฺคสมนฺนาคโต โข วิสาเข อุโปสาถ อุปวุฏฺโ๑ ดูก่อนวิสาขะ อุโบสถอันประกอบด้วย องค์แปดแล อันท่านเจ้าจำแล้วหรือ. เป็นไปในอุปวาสะ ในประโยคมีอาทิว่า สุทฺธสฺส เว สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ๒ ผัคคุ ฤกษ์ย่อมบริสุทธิ์สำหรับ ท่านผู้บริสุทธิ์แล ในกาลทุกเมื่อ อุโบสถย่อมบริสุทธิ์สำหรับผู้บริสุทธิ์. เป็น ไปในบัญญัติ ในประโยคมีอาทิว่า อุโปสโถ นาม นาคราชา๓ พญานาค ชื่ออุโบสถ. เป็นไปในวัน ในประโยคมีอาทิว่า ตทหุโปสโถ ปณฺณรเส สีสนฺหาตสฺส๔ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถนั้น ที่ ๑๕ เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์ห้ามเนื้อความที่เหลือลง กำหนดวันเพ็ญ ที่ ๑๕ ต่ำ แห่งเดือนอาสาฬหะเท่านั้น จึงกล่าวว่า วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕ ดังนี้. อธิบายว่า เมื่อนับวันอย่างนี้ว่า วันที่สองเป็นวันปาฏิบท วันนี้เป็น อุโบสถที่ ๑๕.
ชื่อว่า ราตรีอันเป็นทิพย์ เพราะอรรถว่า มีความเป็นทิพย์ สิ่งอัน เป็นทิพย์ทั้งหลายมีอยู่ในราตรีนี้ เพราะเหตุนั้น ราตรีนั้นจึงชื่อว่า เป็นทิพย์
๑. อํ. อฏฺ ฐก. ๑๑๔ ๒. ม. มู. วัตถูปมสุตฺต. ๖๕. ๓. ที่. ม. มหาสุทสฺสนสุตฺต. ๒๑๕ ๔. ที. ม. มหาสุทัสสนสุตฺต. ๒๑๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 410
ราตรีมีรูปเหล่านั้นเป็นเช่นไร จริงอยู่ ในราตรีนั้น ชมพูทวีปทั้งสิ้นประดับประดาแล้ว ด้วยแสงสว่างแห่งร่างกาย ผ้า อาภรณ์ และวิมานของเทวดาทั้งหลายที่มา ประชุมจากหมื่นโลกธาตุ และแสงสว่างแห่งพระจันทร์อันเว้นเครื่องเศร้าหมอง มีหมอกเป็นต้น และตกแต่งเป็นพิเศษด้วยแสงสว่างแห่งพระวรกายของพระผู้มี พระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพวิสุทธิ์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์จึงกล่าวว่า ราตรีอันเป็นทิพย์ปรากฏแล้ว.
สาตาคิรยักษ์เมื่อจะยังความเลื่อมใสแห่งจิตให้เกิดแก่สหาย แม้ด้วยการ อ้างถึงการพรรณนาคุณแห่งราตรีอย่างนี้แล้ว กล่าวถึงการเสด็จอุบัติแห่ง พระพุทธเจ้า จึงกล่าวว่า มาเราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม ผู้เป็นพระศาสดามี พระนามอันไม่ทรามเถิด ดังนี้.
ในคาถานั้น ชื่อว่า มีพระนามอันไม่ทราม เพราะอรรถว่า พระองค์ ทรงมีพระนาม ด้วยพระคุณทั้งหลายอันไม่ทราม คือ ไม่ชั่ว บริบูรณ์ด้วย อาการทั้งปวง จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงมีพระนาม ด้วยพระคุณทั้งหลาย อันไม่ทรามว่า พุทโธ โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ผู้ตรัสรู้ สัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ผู้ยังประชาชนให้ตรัสรู้ และ ทรงมีพระนาม ด้วยพระคุณอันไม่ทราม โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า ภควา เพราะ อรรถว่า ทรงหักราคะแล้ว ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ทรงหักโทสะแล้ว. ในพระคุณทั้งหลายมีอาทิว่า เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ ก็นัยนี้. หรือพระองค์ทรงพร่ำสอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ใน ประโยชน์ทั้งหลายมีทิฏฐิธรรมิกประโยชน์เป็นต้นว่า จงละสิ่งนี้ จงสมาทานสิ่งนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 411
ประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงทรงเป็นพระศาสดา อีกอย่างหนึ่ง ผู้เป็นพระศาสดา แม้โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในนิเทศมีอาทิว่า เป็นครู เป็นผู้มีโชค เป็นผู้นำหมู่ เหมือนผู้นำกองเกวียน นำหมู่ให้ข้ามทางกันดาร ฉะนั้น. ผู้เป็นพระศาสดา มีพระนามอันไม่ทรามนั้น.
ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่า เชื้อเชิญ. บทว่า ปสฺสาม เป็นการกล่าวถึงปัจจุบันกาล สงเคราะห์ตนเข้ากับเหมวตยักษ์นั้น. บทว่า โคตมํ ได้แก่ พระโคดมโคตร. มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านอย่า ทำความสงสัยว่า เป็นพระศาสดา หรือไม่ใช่พระศาสดา จงเป็นผู้มีความ ชำนาญโดยส่วนเดียว มาเถิด เราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม.
เมื่อสาตาคิรยักษ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เหมวตยักษ์คิดว่า สาตาคิระนี้เมื่อ กล่าวว่า ผู้เป็นพระศาสดามีพระนามอันไม่ทราม ชื่อว่า ประกาศความที่ พระโคดมนั้นเป็นสัพพัญญู และสัพพัญญูทั้งหลายหาได้ยากในโลก โลกถูกผู้ ปฏิญญาว่าเป็นสัพพัญญูเช่นกับปูรณะเป็นต้นนั่นเทียว ทำลายแล้ว ก็ถ้าพระโคดมนั้นเป็นสัพพัญญูไซร้ จักเป็นผู้ถึงลักษณะของผู้คงที่แน่แท้ ด้วยเหตุนั้น เราจักพิจารณาพระโคดมนั้นอย่างนี้ เมื่อจะถามถึงลักษณะผู้คงที่แล จึงกล่าวว่า กจฺจิ มโน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺจิ เป็นคำถาม. บทว่า มโน ได้แก่จิต. บทว่า สุปณิหิโต ความว่า ตั้งมั่นแล้วด้วยดี คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่คลอนแคลนในสัตว์ทั้งปวง คือในภูตทั้งปวง. บทว่า ตาทิโน ได้แก่เป็น ผู้ถึงลักษณะผู้คงที่นั่นเทียว. หรือ คาถานี้เป็นคำถามเท่านั้นว่า พระศาสดา ของท่านนั้นเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 412
บทว่า อิฏฺเ อนิฏฺเ จ ความว่า ในอารมณ์เห็นปานนั้น. บทว่า สงฺกปฺปา ได้แก่ วิตก. บทว่า วสีกตา ได้แก่ ไปสู่อำนาจ. มี อธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านกล่าวถึงพระศาสดาใด พระทัยของพระศาสดา ของท่านนั้น ผู้ถึงลักษณะของผู้คงที่ตั้งไว้ดีแล้วในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ หรือว่า ปรากฏเหมือนตั้งไว้ดีแล้ว ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ปัจจัย อันเป็นเครื่องให้หวั่นไหว หรือ พระศาสดาของท่านนั้น เป็นผู้คงที่ด้วยพระทัยสม่ำเสมอในสัตว์ทั้งปวง แลหรือ ก็แล ความดำริด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะเหล่าใด พึงเกิดขึ้นใน อารมณ์ทั้งหลายที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา พระศาสดาของท่านนั้นทรง กระทำความดำริเหล่านั้นให้อยู่ในอำนาจแล้วหรือ หรือว่า ย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความดำริเหล่านั้นในกาลบางคราว.
แต่นั้น สาตาคิรยักษ์ยอมรับรู้สัพพัญญูคุณทั้งหมด เพราะความที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญพิเศษในความเป็นสัพพัญญู จึงกล่าวว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปณิหิโต ความว่า ทรงตั้งไว้ดีแล้ว คือ เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะอรรถว่าไม่ยินดียินร้าย เสมอด้วยภูเขาสิเนรุ เพราะ อรรถว่า ไม่หวั่นไหวโดยตั้งมั่นดีแล้ว เสมอด้วยเสาเขื่อน เพราะอรรถว่า มารสี่อย่างและคุณแห่งปรวาทีไม่พึงให้หวั่นไหว.
ข้อที่พระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ดำรงอยู่ในความเป็นพระสัพพัญญู เพราะพระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวงตั้งมั่นดีแล้ว ไม่พึงหวั่นไหวใน บัดนี้นั่น ไม่น่าอัศจรรย์ แต่ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ พระองค์แม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 413
ในกาลมีราคะเป็นต้น เกิดในตระกูลพญาช้างฉัททันต์ถูกแทงด้วยลูกศรอันอาบ ด้วยยาพิษ ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ประทุษร้ายในผู้ฆ่านั้น ทั้งให้จำเริญงาทั้งหลาย ของตนให้แก่ผู้ฆ่านั้นด้วย อนึ่ง พระองค์คราวเป็นมหากปิ แม้ถูกทุบศีรษะ ด้วยศิลาก้อนใหญ่ ก็ยังบอกหนทางให้แก่ผู้ทุบนั้นเอง อนึ่ง พระองค์ในคราว เป็นวิธุรบัณฑิต แม้ถูกจับที่เท้าทั้งสองเหวี่ยงลงเหวกาฬบรรพต ซึ่งลึก ๖๐ โยชน์ ก็ยังแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ยักษ์นั้นอีก เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวชอบทีเดียวว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว.
บทว่า สพฺพภูเตสุ ตาทิโน ความว่า พระทัยของพระองค์ผู้ทรง ถึงลักษณะของผู้คงที่นั่นเทียว ตั้งมั่นดีแล้วในสัตว์ทั้งปวง ไม่ใช่ปรากฏราวกะ ว่าตั้งมั่น ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปัจจัย. ในคาถานั้น นักศึกษาพึงทราบลักษณะ ของผู้คงที่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการ ๕ อย่าง ดังท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คงที่โดยอาการ ๕ อย่าง คือ คงที่ในอิฏฐารมณ์และ อนิฏฐารมณ์ ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงเสียสละ ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงพ้น แล้ว ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงข้ามแล้ว ๑ คงที่เพราะทรงแสดงขยายอาการ นั้น ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างไร คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคงที่ในลาภบ้าง ดังนี้เป็นต้นทั้งหมด ผู้ศึกษา พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในนิทเทส. *
ก็ธรรมทั้งหลายมีลาภเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยนัยอันให้พิสดาร แล้ว ในมหาอัฏฐกถาแห่งนิทเทสนั้น หรือ คาถานี้เป็นคำถามเท่านั้นว่า พระศาสดาของท่านนั้น เป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวงหรือไม่ ในวิกัปนี้ มีอธิบาย
* ขุ. มหานิทฺเทส. ๑๐๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 414
ว่า พระศาสดาของเราทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะพระองค์ทรงมี พระทัยเสมอในสัตว์ทั้งปวง.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ทรงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งปวง เพราะทรงใคร่ในการนำสุขเข้ามา และเพราะทรงใคร่เพื่อนำทุกข์ออกไป คือ ในพระองค์ทรงมีพระทัยเช่นใด ในสัตว์เหล่าอื่นก็เช่นนั้น ในพระมารดา มหามายาเช่นใด ในนางจิญจมาณวิกาก็เช่นนั้น ในพระบิดาสุทโธทนะเช่นใด ในพระเจ้าสุปปพุทธะก็เช่นนั้น ในพระราหุลโอรสเช่นใด ในผู้ฆ่าทั้งหลายมี พระเทวทัต ช้างธนบาล และอังคุลิมาลเป็นต้นก็เช่นนั้น ทรงเป็นผู้คงที่แม้ ในโลกทั้งเทวโลก เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวชอบทีเดียวว่า พระองค์ เป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง ดังนี้.
ก็เนื้อความในคาถานี้ว่า อโถ อิฏฺเ อนิฏฺเ จ ผู้ศึกษาพึงเห็น อย่างนี้ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะน่าปรารถนาก็ตาม ไม่น่าปรารถนาก็ตาม ความดำริด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นในอารมณ์นั้น โดยประการทั้งปวง พระองค์ทรงกระทำความดำริเหล่านั้นให้อยู่ในอำนาจแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นพระองค์ทรงละได้แล้ว ด้วยมรรคอัน ยอดเยี่ยม ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจของความดำริเหล่านั้นในกาลไหนๆ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระดำริไม่ขุ่นมัว มีพระทัยอันพ้นดีแล้ว มีพระปัญญาอันพ้นดีแล้ว ก็ในคาถานี้ สาตาคิรยักษ์กล่าวความไม่มีอโยนิโสมนสิการ ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว พระองค์ทรง เป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลาย จงพึงมีใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 415
อารมณ์ใด อารมณ์นั้น ท่านกล่าวเป็น ๒ อย่าง โดยแยกเป็นสัตว์และสังขาร กล่าวถึงการละกิเลส โดยความไม่มีมนสิการนั้น ในอารมณ์นั้น เพราะพระองค์ ทรงชำนาญในความดำริ กล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางมโนสมาจาร เพราะพระองค์ ทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว และกล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางกายสมาจาร เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง และกล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางวจีสมาจาร ด้วย พระวาจา เพราะพระองค์ทรงมีวิตกเป็นมูล โดยความที่พระองค์ทรงชำนาญ ในความดำริ อนึ่ง กล่าวถึงความไม่มีโทษทั้งปวงมีโลภะเป็นต้น เพราะพระองค์ทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว กล่าวถึงความเกิดขึ้นแห่งคุณมีเมตตาเป็นต้น เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง กล่าวถึงฤทธิ์ของพระอริยะ อัน ต่างโดยความเป็นผู้มีความสำคัญในของปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลเป็นต้น โดยความที่ พระองค์ทรงชำนาญในความดำริ และความที่พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู ผู้ ศึกษาพึงทราบว่า สาตาคิรยักษ์กล่าวแล้ว ด้วยฤทธิ์อันเป็นอริยะนั้น.
เหมวตยักษ์ถามถึงความที่พระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ด้วยอำนาจแห่งมโนทวารนั่นเทียวในบทก่อนอย่างนี้แล้ว และพิจารณาถึงพระองค์ผู้ทรงรู้เฉพาะซึ่ง ความเป็นผู้คงที่นั้น บัดนี้ เพื่อกระทำให้มั่น จึงถามถึงความบริสุทธิ์ทางกาย ทวาร วจีทวาร และมโนทวาร แม้ด้วยอำนาจแห่งไตรทวาร หรือ โดย สังเขปในบทก่อนและพิจารณาถึงพระองค์ผู้ทรงรู้เฉพาะซึ่งความบริสุทธิ์นั้น เมื่อจะถามแม้โดยพิสดาร เพื่อทำให้มั่นคงนั้นแล จึงกล่าว กจฺจิ อทินฺนํ.
ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ถามถึงเจตนางดเว้นจากถือเอาของที่คนอื่น ไม่ได้ให้ก่อน เพื่อประโยชน์แก่ความสะดวกในการผูกคาถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 416
บทว่า อารา ปมาทมฺหา ความว่า เหมวตยักษ์ถามถึงเจตนางดเว้นจากอพรหมจรรย์ โดยความเป็นผู้อยู่ห่างไกลจากการปล่อยจิตในกามคุณ ทั้งห้า หรือสวดกันว่า อารา ปมทมฺหา ดังนี้ก็มี มีอธิบายว่า ห่างไกล จากมาตุคาม.
ก็เหมวตยักษ์ถามถึงความที่พระองค์ทรงมีกำลังในการงดเว้นจากกายทุจริต ๓ อย่างนั้นนั่นแล ด้วยบทนี้ว่า ฌานํ น ริญฺจติ ย่อมไม่ทรงละ ทิ้งฌานแลหรือ เพราะวิรัติของผู้ประกอบด้วยฌานมีกำลังแล.
ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงงดเว้นจาก อทินนาทานเป็นต้น ในปัจจุบันอย่างเดียวก็หาไม่ แม้ในอดีตกาล ก็ทรงงดเว้น จากอทินนาทานเป็นต้น ตลอดกาลนาน จึงทรงได้รับมหาปุริสลักษณะนั้นๆ ด้วยอานุภาพแห่งวิรัตินั้นนั่นเทียว และโลกพร้อมทั้งเทวโลก กล่าวสรรเสริญ พระองค์โดยนัยว่า พระสมณโคดมทรงงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นต้น เพราะ ฉะนั้น เมื่อบันลือสีหนาท ด้วยวาจาอันสละสลวย จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ดังนี้ บทนั้นโดยอรรถปรากฏชัดแล้วแล. ในบาทที่ ๓ แห่งคาถาแม้นี้ บาลีมี ๒ อย่างคือ ปมาทนฺหา ปมทมฺหา ในบาทที่ ๔ เท่านั้น ผู้ศึกษาทราบเนื้อความว่า บทว่า ฌานํ น รญฺจติ ความว่า พระองค์ย่อมไม่ทรงทำฌานให้ว่าง คือ สูญ ได้แก่ไม่ทรงสละ.
เหมวตยักษ์ฟังความบริสุทธิ์ในกายทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะถาม ถึงความบริสุทธิ์ในวจีทวาร จึงกล่าวว่า กจฺจิ มุสา น ภณติ แปลว่า พระโคดมไม่ตรัสดำเท็จแลหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 417
ในคาถานั้น ชื่อว่า ขีณะ เพราะอรรถว่า ย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน ย่อมบีบคั้น. ทางแห่งวาจา ชื่อว่า พยปถะ ทางแห่งวาจา ของบุคคลนั้นสิ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ขีณพยปถะ ผู้มีทาง แห่งวาจาสิ้นแล้ว เหมวตยักษ์ปฏิเสธทางแห่งวาจานั้นด้วย น อักษร จึง ถามว่า มีพระวาจาไม่สิ้นแล้วแลหรือ อธิบายว่ามีพระวาจาหยาบคาย บาลีว่า นาขีณพฺยปโถ อธิบายว่า มีพระวาจาไม่สิ้นแล้ว จริงอยู่ คำหยาบคายสิ้น ไปในหทัยทั้งหลายของคนเหล่าอื่นดำรงอยู่ มีอธิบายว่า พระโคดมนั้นไม่มี พระวาจาคงที่แลหรือ.
บทว่า วิภูติ ได้แก่ ความพินาศ. คำใดย่อมประกาศหรือย่อม กระทำความพินาศ เพราะเหตุนั้น คำ นั้น ชื่อว่า วิภูติกะ คำที่ทำความ พินาศ วิภูติกะนั่นเทียว ชื่อว่า เวภูติกะ เรียกว่า เวภูติยํ ดังนี้บ้าง คำว่า เวภูติยํ นั้น เป็นชื่อแห่งคำส่อเสียด จริงอยู่ คำส่อเสียดนั้น ย่อมทำความ พินาศแก่สัตว์ทั้งหลาย โดยการทำลายกันและกัน จากกันและกัน. บทที่เหลือ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงงดเว้นจาก มุสาวาทเป็นต้น ในปัจจุบันอย่างเดียวหามิได้ แม้ในอดีตกาลก็ทรงงดเว้นจาก มุสาวาทเป็นต้นตลอดกาลนาน และทรงได้มหาปุริสลักษณะนั้นๆ ด้วยอานุ- ภาพแห่งวิรัตินั้นนั่นเทียว และโลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็กล่าวสรรเสริญพระโคดมนั้นว่า พระสมณโคดมทรงงดเว้นจากมุสาวาท เพราะฉะนั้น เมื่อจะ บันลือสีหนาท ด้วยวาจาอันสละสลวย จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 418
ในคาถานั้น บทว่า มุสา เป็นคำตั้งใจกล่าวให้คนอื่นแตกจากกัน แห่งคนทั้งหลายมีคนที่เคยเห็นเป็นต้น พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จนั้น ก็ในบาท ที่ ๒ บาลีว่า น ขีณพฺยปโถ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความครั้งที่ ๑ บาลีว่า นาขีณพฺยปโถ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความครั้งที่ ๒. ในบาทที่ ๔ ปัญญา เรียกว่า มนฺตา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะทรงกำหนดด้วยพระปัญญา จึง ตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว คือ คำที่ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่ตรัส คำส่อเสียด ด้วยว่า คำที่ไร้ประโยชน์มีความไม่รู้เป็นเบื้องหน้า ย่อมไม่มีแก่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระองค์ตรัสคำที่เป็นประโยชน์ ด้วยพระปัญญา ดังนี้. บทที่เหลือในคาถานี้ปรากฏชัดแล้วแล.
เหมวตยักษ์ได้ฟังแม้ความบริสุทธิ์ทางวจีทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ ถามถึงความบริสุทธิ์ทางมโนทวาร จึงกล่าวว่า กจฺจิ น รชฺชติ กาเมสุ พระโคดมไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลายแลหรือ.
ในคาถานั้น คำว่า กามา ได้แก่ กิเลสกาม วัตถุกาม. เหมวตยักษ์ เมื่อถามว่า พระโคดมไม่ทรงยินดีด้วยกิเลสกาม ในกามเหล่านั้นแลหรือ ชื่อว่า ย่อมถามถึงความที่พระองค์ไม่ทรงมีอภิชฌาลุ เมื่อถามว่า พระหฤทัยไม่ขุ่นมัว แลหรือ ชื่อว่า ย่อมถามถึงความที่พระองค์ไม่ทรงมีพยาบาท หมายถึงความ ขุ่นมัวด้วยพยาบาท เมื่อถามว่า ทรงล่วงโมหะได้แล้วแลหรือ ชื่อว่า ย่อม ถามถึงความที่พระองค์ทรงมีสัมมาทิฏฐิ เพราะทรงก้าวล่วงโมหะ อันเป็นเหตุ ให้บุคคลผู้หลงแล้ว ยึดถือมิจฉาทิฏฐิ เมื่อถามว่า ทรงมีพระจักษุในธรรม ทั้งหลายแลหรือ ชื่อว่า ย่อมถามถึงความที่พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 419
ด้วยอำนาจแห่งญาณจักษุอันไม่ติดขัดในธรรมทั้งปวง หรือด้วยอำนาจแห่งจักษุ แม้ทั้งห้าในธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นวิสัยแห่งจักษุทั้งห้า เพราะคิดว่า พระองค์ ไม่ทรงเป็นพระสัพพัญญู แม้ด้วยความบริสุทธิ์ทางไตรทวารเท่านั้น.
ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงบรรลุ พระอรหัตเลย ก็ชื่อว่า ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย ไม่มีพระหฤทัยขุ่นมัว ด้วยพยาบาท เพราะความที่กามราคะและพยาบาทอันพระองค์ทรงละได้แล้ว ด้วยอนาคามิมรรค และชื่อว่า ทรงล่วงโมหะ เพราะความที่โมหะอันปิดบัง สัจจะซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย อันพระองค์ทรงละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค นั่นเทียว ทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เอง จึงทรงได้พระนามอันมี วิโมกข์เป็นที่สุดว่า " พุทโธ " และทรงได้จักษุทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว เพราะ ฉะนั้น เมื่อจะป่าวประกาศความบริสุทธิ์ทางมโนทวาร และความเป็นพระสัพพัญญูแก่เหมวตยักษ์นั้น จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย
เหมวตยักษ์ได้ฟังความบริสุทธิ์ทางไตรทวาร และความเป็นพระสัพพัญญูของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ก็ดีใจ เบิกบาน มีคลองแห่งคำ ไม่ติดขัด ด้วยปัญญาอันคล่องแคล่วในพาหุสัจจะ ในอดีตชาติ ประสงค์จะฟัง สัพพัญญูคุณทั้งหลาย อันน่าอัศจรรย์ จึงกล่าวว่า พระโคดมทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาแลหรือ.
ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ถามถึงทัสสนสมบัติด้วยบทนี้ว่า ทรงถึงพร้อม แล้ว ด้วยวิชชาแลหรือ ถามถึงคมนสมบัติด้วยบทนี้ว่า ทรงมีจรณะบริสุทธิ์ แลหรือ ก็กล่าว จา อักษร เพราะทำให้เป็นทีฆะในบทว่า สํสุทฺธจารโณ นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 420
ด้วยอำนาจแห่งฉันทลักษะ อธิบายว่า สํสุทฺธจรโณ ถามถึงภารบรรลุ นิพพานธาตุที่ ๑ ที่เข้าใจกันว่า เป็นการสิ้นไปแห่งอาสวะ ซึ่งจะพึงบรรลุ ด้วยทัสสนสมบัติ และคมนสมบัตินั่น ด้วยบทนี้ว่า อาสวะทั้งหลายของ พระองค์นั้นสิ้นไปแล้วแลหรือ ถามถึงความที่พระองค์ทรงสามารถบรรลุ นิพพานธาตุที่ ๒ หรือความที่พระองค์ทรงทราบสมบัติ คือ ความยินดีอย่างยิ่ง ดำรงอยู่ด้วยปัจจเวกขณญาณ ด้วยบทนี้ว่า ภพใหม่ไม่มีแลหรือ.
แต่นั้น เพราะวิชชานั่นใด อันพระองค์ตรัสไว้แล้วในสูตรทั้งหลาย มีภยเภรวสูตรเป็นต้น โดยนัยว่า พระองค์ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสหลายอย่าง๑ เป็นต้น วิชชา ๘ อย่างนั่นใด ที่ตรัสไว้ในสูตรทั้งหลายมีอัมพัฏฐสูตรเป็นต้น โดยนัยว่า พระอริยสาวกนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว ฯลฯ ไม่ถึงความ หวั่นไหวแล้ว ย่อมนำจิตออกไป ด้วยญาณทัสสนะ๒ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าถึงด้วยวิชชานั้นแม้ทั้งหมด ที่ถึงพร้อมด้วยอาการทุกอย่าง และจรณะ ๑๕ ประเภทนั่นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า ดูก่อน มหานาม พระอริยสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารคุ้มครอง แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ มีปกติได้ฌาน ๔ อันเป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปทางใจโดยเฉพาะ๓ ดังนี้แล้ว ทรง แสดงขยายไว้ในเสขสูตร โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนมหานาม ก็พระอริยสาวก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอย่างไร๔ ดังนี้ จรณะนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า บริสุทธิ์ดีอย่างยิ่ง เพราะทรงละอุปกิเลสทั้งหมด อาสวะทั้งสี่มีกามาสวะเป็นต้น
๑. ม. มู. ภยเภวสุตฺต ๓๕. ๒. ที. สี. อมฺพฎฺฐสุตฺต ๑๒๘. ๓. ๔. ม. ม. เสขปฏิปทาสุตฺต ๒๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 421
แม้ทั้งหมดนี้ ที่เป็นไปกับบริวาร ที่เป็นไปกับวาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า สิ้นไปแล้ว และเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระขีณาสพ ด้วยวิชชาและ จรณสัมปทานี้ทรงพิจารณาในกาลนั้นว่า ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ ดำรงอยู่ เพราะ ฉะนั้น สาตาคิรยักษ์มีหฤทัยอันทางแห่งการประพฤติให้เกิดอุตสาหะพร้อมแล้ว ในความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู เมื่อรับรู้พระคุณเหล่านั้น แม้ทั้งหมด จึงกล่าวว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา ดังนี้.
แต่นั้น เหมวตยักษ์หมดความสงสัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่ในอากาศนั่นแล สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า และชมเชยสาตาคิรยักษ์ว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนี ถึงพร้อมแล้ว ดังนี้.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนีถึงพร้อม แล้ว เป็นอันอธิบายว่า ถึงพร้อมแล้วอีก ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ ที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว ถึงพร้อม แล้วด้วยกายกรรมที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า พระโคดมไม่ทรงถือเอา สิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ และถึงพร้อมแล้วอีก ด้วยมโนกรรมที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย ถึงพร้อมแล้ว ด้วยวจีกรรม อันเป็นทางแห่งคำพูดที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้แล้ว ในบทนี้ว่า พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ.
เหมวตยักษ์แสดงว่า ก็พระหฤทัยที่ถึงพร้อมแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าถึง พร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เพราะความที่พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 422
วิชชาสัมปทา และจรณสัมปทาอันยอดเยี่ยม ท่านสรรเสริญพระโคดมนั้น ด้วยคุณทั้งหลายเหล่านี้ โดยธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัย ไว้ดีแล้ว คือ ท่านสรรเสริญพระโคดมนั้น โดยสภาวะ โดยแท้ โดยความ เป็นจริงนั่นเทียว หาได้สรรเสริญด้วยเหตุสักว่ามีศรัทธาอย่างเดียวไม่.
ต่อแต่นั้น ฝ่ายสาตาคิรยักษ์เมื่อจะสรรเสริญเหมวตยักษ์นั้นแล โดย อธิบายว่า ท่านมาริส! ข้อนั้นท่านรู้ดีแล้ว และชมเชยแล้วอย่างนี้ จึงกล่าวว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนีถึงพร้อมแล้ว ฯลฯ ท่านชมเชยโดยธรรมดังนี้ ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะชมเชยเหมวตยักษ์นั้น ในการเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก จึงกล่าวว่า มาเราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว ฯลฯ ดังนี้.
ลำดับนั้น เหมวตยักษ์เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยกำลัง แห่งพาหุสัจจะในชาติก่อน โดยพระคุณอันตนชอบใจอย่างยิ่ง จึงกล่าวว่า มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดมผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย ฯลฯ ดังนี้.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า พระชงฆ์ทั้งหลายของพระโคดมนั้น เพียง ปลีแข้งเนื้อทราย เพราะเหตุนั้น พระโคดมนั้น จึงมีพระนามว่า เอณิชงฺโฆ ผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย จริงอยู่ พระชงฆ์ทั้งหลาย ของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย เรียวกลมโดยลำดับ ดุจแข้งแห่งเนื้อทราย ด้านหน้าไม่มีพระมังสา ด้านหลังอูมขึ้น เหมือนท้องจระเข้ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ซูบผอม คือ ไม่อ้วน เหมือนบุรุษอื่น เพราะความถึงพร้อมด้วยอวัยวะน้อยใหญ่เห็นปานนั้น ในที่ควรยาว สั้น เสมอ และกลม หรือชื่อว่า ซูบผอม เพราะความที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 423
พระองค์ทรงกำจัดกิเลสด้วยปัญญา ชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ เพราะทรงกําจัด ข้าศึกภายในและภายนอก ชื่อว่า มีพระกระยาหารน้อย เพราะทรงเสวย ครั้งเดียว และทรงเสวยมีกำหนด ไม่ใช่มีพระกระยาหารน้อย เพราะทรงเสวย เพียง ๒ - ๓ คำ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนอุทายี ก็เราแลบางครั้งบริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตรนี้ บางครั้งก็บริโภคมาก ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว พึงอยู่อาศัยเรา ด้วยคิดว่า พระสมณโคดม มีพระกระยาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อยไซร้ ดูก่อน อุทายี สาวกทั้งหลายของเราเหล่านั้นใด มีอาหารโกสะหนึ่งบ้าง กึงโกสะบ้าง เวฬุวะหนึ่งบ้าง กึงเวฬุวบ้าง สาวกเหล่านั้น ไม่พึงสักการะ ฯลฯ ไม่พึงอยู่ อาศัยเรา โดยธรรมนี้ * ดังนี้.
ชื่อว่า ไม่โลภ เพราะไม่มีฉันทราคะในอาหาร ทรงเสวยพระกระยาหารที่ประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่า เป็นมุนี เพราะความถึงพร้อมด้วย โมเนยยะทรงฌานอยู่ในป่า เพราะทรงเป็นอนาคาริก และเพราะมีพระหฤทัย โน้มมาในวิเวก ด้วยเหตุนั้น เหมวตยักษ์จึงกล่าวว่า ผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้ง เนื้อทราย ฯลฯ มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดม ดังนี้.
ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า สีหํ เอกจรํ เพราะ ความเป็นผู้ใคร่จะฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นอีก.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า สีหํ ว ความว่า เป็นเช่นกับ ไกสรสีหะ เพราะอรรถว่า ให้ยินดีได้ยาก เพราะอรรถว่า อดทน และเพราะ
๑. ม.ม. มหาสกลุทายิสุตฺต ๓๑๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 424
อรรถว่า ปลอดภัย ชื่อว่า เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว เพราะไม่มีตัณหาที่ เรียกว่า ตัณหาเป็นเพื่อนสองของคน ชื่อว่า เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว แม้เพราะพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ไม่ทรงอุบัติในโลกธาตุเดียว ผู้ศึกษาพึง ทราบเนื้อความนั้นๆ แม้โดยนัยที่กล่าวแล้วในขัคควิสาณสูตร.
บทว่า นาคํ ได้แก่ ไม่เสด็จมาสู่ภพใหม่ คือ ไม่ไป ไม่มา สู่ภพใหม่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า ไม่ทำบาปบ้าง มีกำลังบ้าง. นาคนั้น.
บทว่า กาเมสุ อนเปกฺขินํ ได้แก่ ไม่มีความห่วงใย เพราะไม่มี ฉันทราคะในกามแม้ทั้งสองอย่าง.
บทว่า อุปสงฺกมฺม ปุจฺฉาม มจฺจุปาสปโมจนํ ความว่า พวกเรา เข้าไปเฝ้าพระโคดมนั้น ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เห็นปานนั้น ทูลถามถึงธรรม เป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร อันเป็นวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิสาม ได้แก่ วิวัฏฏ- นิพพาน คือ ทูลถามถึงอุบายเป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร กล่าวคือ ทุกข์และ สมุทัย เหมวตยักษ์กล่าวคาถานี้ หมายถึงสาตาคิรยักษ์ บริษัทของสาตาคิรยักษ์ และบริษัทของตน.
ก็โดยสมัยนั้น นักษัตรประจำเดือนอาสาฬหะได้ถูกประกาศแล้ว ใน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อุบาสิกา ชื่อ กาฬี กุรรฆริกา ในกรุงราชคฤห์ซึ่ง ประดับประดาตกแต่งโดยรอบ ดุจเสวยอยู่ซึ่งสิริในเทวนคร ขึ้นสู่ปราสาท เปิดหน้าต่าง กำลังบรรเทาความแพ้ครรภ์ อยู่ในประเทศที่รับลม เพื่อตากอากาศ ได้ฟังการสนทนาที่ประกอบด้วยพุทธคุณนั้น ของเสนาบดียักษ์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 425
โดยเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ครั้นฟังแล้ว ก็เกิดปีติมีพุทธคุณเป็น อารมณ์ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยพระคุณต่างๆ อย่างนี้ ข่มนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปีตินั้น ยืนอยู่ในประเทศนั้นแล ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
ก็ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา กาฬี กุรรฆริกา เป็นผู้เลิศแห่ง อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเราที่เลื่อมใสในการฟัง.
เสนาบดียักษ์แม้เหล่านั้น มียักษ์ ๑.๐๐๐ เป็นบริวาร ถึงอิสิปตนะ ในสมัยแห่งมัชฌิมยาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่งโดยบัลลังก์ ที่ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไป ถวายบังคมชมเชยกราบทูลให้พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงกระทำโอกาส ด้วยคาถานี้ว่า อกฺขาตารํ ปวตฺตารํ ดังนี้.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ตรัสบอก ด้วยถ้อยคำกำหนดสัจจะทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า เว้นตัณหาในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล ชื่อ ทุกขอริยสัจจะ ผู้ทรงแสดงด้วยการยังกิจญาณและกตญาณให้เป็น ไปในสัจจะเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เคยฟัง มาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจจะนั้นนี้แล อันบุคคลพึงกำหนดรู้ หรือ ผู้ตรัส บอกโดยการตรัสถึงโวหาร โดยประการที่กล่าวไว้ในธรรมทั้งหลายที่บุคคล จะพึงกล่าว ผู้ทรงแสดงธรรมเหล่านั้น โดยสมควรแก่สัตว์ หรือ ผู้ตรัสบอก โดยแสดงแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคลและวิปจิตัญญูบุคคล ผู้ทรงแสดงโดยให้เวไนยสัตว์ดำเนินตาม หรือ ผู้ตรัสบอกโดยอุทเทส ผู้ทรงแสดงโดยจำแนก โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 426
กล่าวถึงด้วยประการนั้นๆ หรือ ผู้ตรัสบอกด้วยการแสดงลักษณะของโพธิ- ปักขิยธรรมทั้งหลาย ผู้ทรงแสดงด้วยการเป็นไปในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย หรือ ผู้ตรัสบอก ด้วยการตรัสบอกสัจจะทั้งหลาย ด้วยปริวัฏ ๓ โดยย่อ ผู้ทรง แสดง ด้วยการตรัสสัจจะทั้งหลายโดยพิสดาร คือ ผู้ทรงแสดง ด้วยการประกาศ พระธรรมจักรที่ให้พิสดารแล้ว โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทา มีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมมีสัทธินทริย์เป็นต้น ชื่อว่า ธรรมจักร เพราะอรรถว่า ยังธรรมนั้นๆ ให้ เป็นไป.
บทว่า สพฺพธมฺมานํ ได้แก่ แห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหลาย.
บทว่า ปารคุํ ความว่า ผู้ทรงถึงฝั่ง ด้วยอาการ ๖ คือ อภิญญา ๑ ปริญญา ๑ ปหานะ ๑ ภาวนา ๑ สัจฉิกิริยา ๑ สมาบัติ ๑. จริงอยู่ พระ ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า อภิญญาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยอภิญญา ทรงกำหนดรู้อุปาทานักขันธ์ ๕ ถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปริญญาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยปริญญา ทรง สละซึ่งกิเลสทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปหานปารคู ทรงถึงฝั่ง ด้วยปหานะ ทรงเจริญมรรค ๔ ถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภาวนาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยภาวนา ทรงการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจฉิกิริยาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยสัจฉิกิริยา ทรงเข้าสมาบัติทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาปัตติปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยสมาบัติ. ผู้ทรงถึงฝั่ง แห่งธรรมทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 427
บทว่า พุทฺธํ เวรภยาตีตํ ความว่า ชื่อว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะความ ที่พระองค์ทรงตื่นแล้ว จากความหลับคือความไม่รู้ คือ ทรงตรัสรู้ประโยชน์ ทั้งหลาย โดยนัยที่กล่าวแล้วในสรณวัณณนา ชื่อว่า ผู้ทรงล่วงเวรภัยได้แล้ว เพราะความที่พระองค์ทรงล่วงเวรภัย ๕ อย่างได้แล้ว. เสนาบดียักษ์เมื่อ สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว จึงทรงให้กระทำโอกาสว่า พวกเรา จงทูลถามพระโคดม ดังนี้.
ลำดับนั้น เหมวตยักษ์ซึ่งเลิศกว่ายักษ์เหล่านั้น ด้วยเดชปัญญาและ ความต้องการ เมื่อทูลถามปัญหาอันควรถาม ตามความต้องการแล้ว จึง กล่าวคาถานี้ว่า กิสฺมึ โลโก เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น ดังนี้.
ในบาทต้นแห่งคาถานั้น บทว่า กิสฺมึ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในลักษณะ ภาวะโดยภาวะ (ลักขณวันตะ) เมื่ออะไรเกิด โลกจึงเกิดขึ้น ก็นี้เป็น อธิบาย คาถานี้ เหมวตยักษ์ทูลถามหมายถึงสัตวโลก และสังขารโลก.
บทว่า กิสฺมึ กุพฺพติ สนฺถวํ ความว่า โลกย่อมกระทำความเชยชิด ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิว่า " เรา " ว่า " ของเรา " ในอะไร. คำว่า กิสฺมึ เป็น สัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถอธิกรณะ. บทว่า กิสฺส โลโก เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ ในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็เนื้อความนี้เป็นข้ออธิบายในคาถานี้ว่า โลกย่อมถึง การนับว่า โลกยึดถืออะไรไว้.
บทว่า กิสฺมึ โลโก เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งลักขณวันตะ และอธิกรณะ ก็อธิบายในคาถานี้ว่า เมื่ออะไรมี โลกจึงเดือดร้อน คือ ถูกเบียดเบียน ถูกให้เจ็บปวด เพราะเหตุอะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 428
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่ออายตนะภายในและภายนอก ทั้งหกเกิดขึ้น สัตวโลกจึงเกิดขึ้น และสังขารโลกก็ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ แห่งทรัพย์และธัญชาติเป็นต้น และเพราะสัตวโลกย่อมกระทำความเชยชิดแม้ สองอย่าง ในอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล ในสังขารโลกนี้ หรือ เมื่อยึดถือ อายตนะคือจักษุว่า " เรา ของเรา " หรือยึดถืออายตนะอื่นในบรรดาอายตนะที่ เหลือ ย่อมยึดถือ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า คนใดพึงกล่าวว่า จักษุเป็นตัวตน คนนั้น (พึงยึดถือจักษุนั้นนั่นเทียว) ข้อนั้น ไม่ควร๑ เป็นต้น เพราะโลก แม้ทั้งสองยึดถืออายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นเทียว ย่อมถึงการนับว่า โลก และเมื่อ มีอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล สัตวโลกก็ย่อมเดือดร้อน เพราะทุกข์ปรากฏ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีมือ ก็ย่อม มีการถือ และการวาง เมื่อมีเท้า ก็มีการก้าวไปและการถอยกลับ เมื่อมีไขข้อ ก็มีการคู้เข้าและการเหยียดออก เมื่อมีท้อง ก็ต้องมีหิวและกระหาย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อมีจักษุ สุขและทุกข์ภายในก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกัน๒ เป็นต้น อนึ่ง เมื่อมีเครื่องรองรับเหล่านั้น สังขารโลกที่ถูกเบียดเบียน ก็ย่อมเดือดร้อน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อมีจักษุ คนก็ย่อมเดือดร้อน ในรูปที่เห็นไม่ได้ กระทบได้๓ หรือว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุย่อมเดือดร้อน ในเพราะรูปที่พอใจและไม่พอใจ๔ ดังนี้ เป็นต้น อนึ่ง โลกแม้ทั้งสองย่อมเดือดร้อน เพราะอายตนะภายในและภายนอก ที่เป็นเหตุเหล่านั้นนั่นแล เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักษุ
๑. ม. อุ. ฉฉกฺกสุตฺต ๔๖๓. ๒. สํ. สฬายตนอคฺค. ๒๑๓. ๓. อภิธมฺมสงฺคณี. ๑๙๙. ๔. สํ. สฬายตนวคฺค. ๒๑๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 429
ย่อมติดอยู่ ในรูปทั้งหลายที่พอใจและไม่พอใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็น ของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานั้น ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ ภายในและภายนอก ๖ จึงตรัสว่า ฉสุ โลโก สมุปฺปนฺโน แปลว่า เมื่อ อายตนะภายในและภายนอก ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น ดังนี้.
ลำดับนั้น ยักษ์นั้นกำหนดได้ไม่ดี ซึ่งปัญหาที่ตนทูลถาม ด้วยอำนาจ แห่งวัฏฏะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาอย่างย่อ ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ ๖ มีความประสงค์เพื่อรู้เนื้อความนั้น และข้อปฏิปักษ์ต่อเนื้อความนั้น เมื่อจะ ทูลถามวัฏฏะและวิวัฏฏะโดยย่อเท่านั้น จึงทูลว่า กตมนฺตํ แปลว่า อุปาทาน ที่เป็นเหตุให้โลกต้องเดือดร้อนเป็นไฉน ดังนี้.
ในคาถานั้น ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงเข้าไปยึดมั่น คำว่า อุปาทาน นั่นเป็นชื่อของ ทุกขสัจจะนั่นแล.
บาทคาถาว่า ยตฺถ โลโก วิหญฺติ ความว่า เหมวตยักษ์ ผู้อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า เมื่อมีอายตนะภายในและภายนอก ๖ โลกจึง เดือดร้อน ก็เพราะว่า โลกย่อมเดือดร้อน ในเพราะอุปาทาน ๖ จึงทูลถามถึง ทุกขสัจจะ โดยย่อเท่านั้น ด้วยคาถากึ่งอย่างนี้ว่า โลกย่อมเดือดร้อนในเพราะ อุปาทานใด อุปาทานนั้นเป็นไฉน. ส่วน สมุทยสัจจะ ก็เป็นอันพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว โดยความเป็นเหตุแห่งทุกขสัจจะนั้นแล.
เหมวตยักษ์ทูลถามถึงมรรคสัจจะ ด้วยคาถากึ่งนี้ว่า นิยฺยานํ ปุจฺฉิโต แปลว่า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ถึงธรรมที่เป็นเครื่องนำออกจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 430
โลก จริงอยู่ พระอริยสาวกกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ และ เจริญมรรค ย่อมออกจากโลก ด้วยมรรคสัจจะ เพราะฉะนั้น มรรคสัจจะนั้น จึงเรียกว่า นิยฺยานํ แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องนำออก. บทว่า กถํ ได้แก่ โดยประการไร. บทว่า ทุกฺขา ปมุญฺจติ ความว่า บุคคลจะบรรลุถึงความ พ้นจากวัฏทุกข์ที่กล่าวว่า อุปาทาน. ทูลถามถึงมรรคสัจจะโดยย่อเท่านั้น ใน คาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ ส่วนนิโรธสัจจะ เป็นอันทรงถือเอาแล้ว โดยความ เป็นวิสัยของมรรคสัจจะนั่นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันยักษ์ทูลถามปัญหา ด้วยอำนาจแห่งสัจจะสี่ที่ ทรงแสดงแล้ว และที่ไม่ได้ทรงแสดง โดยสรุปอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนา โดยนัยนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า ปญฺจ กามคุณา แปลว่า กามคุณ ๕ ดังนี้.
ในคาถานั้น อายตนะ ๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ของใจนั้น เป็นอันทรงถือ เอาแล้ว ด้วยโคจรศัพท์ กล่าวคือกามคุณ ๕ ใจเป็นที่ ๖ ของอายตนะเหล่านั้น เพราะฉะนั้น อายตนะเหล่านั่น ชื่อว่า มโนฉฏฺา แปลว่า มีใจเป็นที่ ๖. บทว่า ปเวทิตา ได้แก่ ประกาศแล้ว. ก็ธรรมายตนะอันเป็นอารมณ์ของ ใจนั้น เป็นอันทรงถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์ คือมนายตนะที่ ๖ ในบรรดา อายตนะภายใน ในคาถานี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานี้ว่า อุปาทานเป็นไฉน ดังนี้ อันเหมวตยักษ์ทูลถามแล้วแม้อีก จึงทรงประกาศทุกขสัจจะด้วยอำนาจ แห่งอายตนะ ๑๒ แต่เพราะกองแห่งวิญญาณทั้ง ๗ ท่านถือเอาแล้ว ด้วย มโนศัพท์ ในบรรดาอายตนะทั้ง ๖ นั้น อายตนะ ๕ อย่าง มีจักขวายตนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 431
เป็นต้น อันเป็นวัตถุแห่งวิญญาณธาตุเหล่านั้น เป็นอันท่านถือเอาแล้ว ด้วย ศัพท์ คือ วิญญาณธาตุ ๕ ข้างต้น ธรรมมายตนะอันเป็นวัตถุและเป็นอารมณ์ แห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุเหล่านั้น เป็นอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์ คือ มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศทุกขสัจจะ ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ ๑๒ แม้ด้วยประการฉะนี้.
ก็เอกเทศแห่งมนายตนะและธรรมายตนะที่เป็นโลกุตระ ท่านมิได้สงเคราะห์ไว้ในที่นี้ เพราะท่านแสดงหมายถึงอายตนะที่เป็นเหตุให้โลกเดือดร้อน.
บทว่า เอตฺถ ฉนฺทํ วิราเชตฺวา ความว่า บุคคลกำหนดอายตนะ เหล่านั้นเทียว ในทุกขสัจจะอันต่างด้วยอายตนะ ๑๒ โดยประการนั้นๆ คือ โดยขันธ์ โดยธาตุ โดยนามรูป ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะเห็นแจ้งอยู่ คลาย คือ นำออก ได้แก่กำจัดความพอใจ คือตัณหาในกามคุณ ๕ นี้ ด้วยวิปัสสนามี อรหัตตมรรคเป็นที่สุดได้โดยประการทั้งปวง.
บทว่า เอวํ ทุกฺขา ปมุญฺจติ ความว่า ย่อมพ้นจากวัฏทุกข์นั่น ด้วยประการนี้. ปัญหานี้ว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอก ซึ่งธรรมชาติเครื่องออกจากโลก บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร เป็นอันทรง วิสัชนาแล้ว ด้วยคาถากึ่งนี้ ด้วยประการฉะนี้. และมรรคสัจจะก็เป็นอัน ทรงประกาศแล้ว ก็สมุทยสัจจะและนิโรธสัจจะ พึงทราบว่าเป็นอันทรงประกาศ แล้วเทียว เพราะสงเคราะห์โดยนัยก่อนนั่นแล.
หรือ ทรงประกาศทุกขสัจจะ ด้วยคาถากึ่ง สมุทยสัจจะด้วยฉันทะ นิโรธสัจจะ ด้วยวิรัช ในบทว่า คลายแล้ว มรรคสัจจะ โดยพระบาลีว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 432
ย่อมพ้นเพราะวิราคะ หรือ ทรงประกาศมรรคสัจจะ ด้วยนิทัสสนะที่หมายถึง เอวํ ศัพท์ ทรงประกาศนิโรธสัจจะ ด้วยการพ้นจากทุกข์ว่า บุคคลย่อมพ้น จากทุกข์ โดยพระบาลีว่า ทุกฺขนิโรธํ เพราะฉะนั้น สัจจะสี่พึงทราบว่า ทรงประกาศแล้วในคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.
ทรงประกาศธรรมชาติเครื่องออกจากโลก โดยลักษณะ ด้วยคาถาอัน บรรจุสัจจะสี่อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงประมวลนิยยานธรรมนั้นนั่นเทียวด้วยความ ชำนิชำนาญทางนิรุตติของพระองค์ จึงตรัสว่า เอตํ โลกสฺส นิยฺยานํ ซึ่งธรรมชาติเครื่องออกจากโลกนี้.
ในคาถานี้ บทว่า เอตํ เป็นการแสดงไขถึงบทที่กล่าวแล้วในบทก่อน. บทว่า โลกสฺส ได้แก่ จากโลกธาตุทั้งสาม. บทว่า ยถาตถํ ได้แก่ ไม่ผิด.
บทว่า เอตํ โว อหมกฺขามิ ความว่า ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึงถาม เราพันครั้ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่านทั้งหลาย คือ จะไม่บอกข้ออื่น. เพราะ เหตุไร เพราะบุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ได้ด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่าไม่ใช่โดย ประการอื่น. อนึ่ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่านทั้งหลายแม้ออกไปแล้ว ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง และ ๓ ครั้ง ด้วยนิยยานธรรมนี้ อธิบายว่า เราจะบอกนิยยานธรรม นั้นแล แม้เพื่อบรรลุคุณวิเศษชั้นสูง เพราะเหตุไร เพราะบุคคลย่อมพ้นจาก ทุกข์ที่เหลือและไม่มีส่วนเหลือได้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้จบลง ด้วยยอดคือ พระอรหัต ในเวลาจบเทศนา เสนาบดียักษ์แม้ทั้งสอง ก็ตั้งอยู่แล้ว ในโสดาปัตติผล พร้อมกับยักษ์ ๑,๐๐๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 433
ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แม้โดยปกติ ก็เป็นผู้หนักในธรรม บัดนี้ ตั้ง อยู่แล้วในอริยภูมิ ยังไม่อิ่มโดยดี เพื่อจะทูลถามเสกขภูมิและอเสกขภูมิ กะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเทศนาที่มีปฏิภาณอันวิจิตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถาว่า โกสูธ ตรติ โอฆํ แปลว่า ในโลกนี้ ใครเล่าข้ามโอฆะได้.
ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ทูลถามถึงเสกขภูมิว่า ใครเล่าข้ามโอฆะสี่ได้ ด้วยบทนี้ว่า ในโลกนี้ ใครเล่าข้ามโอฆะได้. โดยไม่แปลกกัน เพราะคำว่า อณฺณวํ ได้แก่ ห้วงน้ำซึ่งมีประมาณไม่กว้างและไม่ลึก ก็อีกอย่างหนึ่ง อรรณพเช่นกับที่ท่านกล่าวว่า ทั้งกว้างกว่าและลึกกว่านั้นแล ชื่อว่า อรรณพ คือ สังสารวัฏฏ์ ก็อรรณพ คือ สังสารวัฏฏ์นี้ โดยรอบก็กว้าง เพราะไม่มีที่ สุด โดยเบื้องต่ำ ก็ลึก เพราะไม่มีที่ตั้ง โดยเบื้องบน ก็ลึกเพราะไม่มีที่ยึด เหนี่ยว เพราะฉะนั้น เหมวตยักษ์จึงทูลถามถึงอเสกขภูมิว่า ในโลกนี้ ใคร เล่าข้ามอรรณพได้ และใครย่อมไม่จมลงในอรรณพที่ลึกซึ้งนั้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะภิกษุใดไม่ทำการล่วงละเมิดแม้ เพราะเหตุแห่งชีวิต ถึงพร้อมด้วยศีลทุกเมื่อ และมีปัญญา ด้วยปัญญาที่เป็น โลกิยะและโลกุตระ ตั้งมั่นดีแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ และมรรค ผลเบื้องต่ำทุกอิริยาบถ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ มีปกติคิดซึ่งธรรมภายในอันนำ ออกจากทุกข์ด้วยวิปัสสนา และถึงพร้อมแล้ว ด้วยสติ คือ ความไม่ประมาท อันนำมาซึ่งการกระทำติดต่อ ภิกษุนั้น ย่อมข้ามโอฆะนี้ที่ข้ามได้แสนยาก โดย ไม่มีส่วนเหลือ ด้วยมรรคที่สี่ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงวิสัชนาเสกขภูมิ จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 434
ตรัสคาถาที่บรรจุไตรสิกขานี้ว่า สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยศีลทุกเมื่อ.
ก็ในคาถานี้ สิกขา ๓ คือ อธิสีสสิกขา ด้วยสีลสัมปทา อธิจิตตสิกขา ด้วยสติและสมาธิ อธิปัญญาสิกขา ด้วยปัญญา คือ การคิดถึงธรรมภายใน ท่านกล่าวว่า มีอุปการะและมีอานิสงส์ จริงอยู่ สิกขาทั้งหลาย มีโลกิยปัญญา และสติเป็นอุปการะ มีสามัญผลเป็นอานิสงส์.
ครั้นทรงแสดงเสกขภูมิ ด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ ทรงแสดงอเสกขภูมิ จึงตรัสคาถาที่สอง.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า วิรโต กามสญฺาย ความว่าผู้เว้น จากกามสัญญาบางอย่าง ด้วยสมุจเฉทวิรัติ อันสัมปยุตด้วยมรรคที่ ๔ โดย ประการทั้งปวง บาลีว่า วิรตฺโต ดังนี้ก็มี. ในกาลนั้น คำว่า กามสญฺาย เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ในสคาถวรรค บาลีว่า กามสญฺาสุ ดังนี้ก็มี. ชื่อว่า ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย เพราะล่วงสังโยชน์ ๑๐ ด้วยมรรคแม้ทั้งสี่ หรือ ล่วง สังโยชน์เบื้องสูง ด้วยมรรคที่สี่เท่านั้น ชื่อว่า มีความเพลิดเพลินและภพหมด สิ้นแล้ว เพราะความที่ความเพลิดเพลิน กล่าวคือ ตัณหาพาให้เพลิดเพลินใน สิ่งนั้นๆ และภพ ๓ หมดสิ้นแล้ว.
บทว่า โส ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพเช่นนั้น ย่อมไม่จมลง ในอรรณพ คือ สังสารวัฏฏ์อันลึก เข้าถึงผลแห่งนิพพานธาตุอันมีเบญจขันธ์เหลือ เพราะ สิ้นความเพลิดเพลิน และไม่มีเบญจขันธ์เหลือ เพราะสิ้นภพ.
ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แลดูสหายและยักษ์บริษัท เกิดปีติแลโสมนัส ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถามีอย่างนี้ว่า คมฺภีรปญฺํ เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 435
อภิวาทแล้ว พร้อมกับสหายและบริษัทใหญ่ทั้งหมด ทำประทักษิณแล้ว ไปสู่ ที่อยู่ของตน.
ก็คาถาเหล่านั้น มีอรรถวรรณนาดังนี้ บทว่า คมฺภีรปญฺํ ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยพระปัญญาอันลึกซึ้ง. คัมภีรปัญญาในคาถานั้น พึงทราบโดย นัยที่กล่าวไว้แล้ว ในปฏิสัมภิทานั้นแหละ. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทานั้น ท่าน กล่าวไว้มีอาทิว่า ที่ชื่อว่า คัมภีรปัญญา เพราะอรรถว่า ญาณเป็นไปอยู่ใน ขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง. ผู้มีพระปัญญาอันลึกซึ้งอย่างนี้.
บทว่า นิปุณตฺถทสฺสึ ความว่า ผู้ทรงแสดงเนื้อความแห่งปัญหา ทั้งหลายที่ชนทั้งหลายมีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น ผู้ละเอียดอ่อนปรุงแต่งแล้ว หรือ ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียดโดยทรงแสดงเหตุทั้งหลายอันละเอียด แห่ง อรรถทั้งหลายทั้งคนเหล่าอื่นแทงตลอดได้ยาก.
ชื่อว่า ไม่มีความกังวล เพราะไม่มีความกังวล มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า ไม่ข้องแล้วในกามภพ เพราะไม่ทรงติดอยู่ในกามทั้งสอง และในภพสามอย่าง ชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว ในอารมณ์ทั้งปวง เพราะไม่มีความผูกพันด้วยฉันทราคะ ในอารมณ์ทั้งปวง อันต่างด้วยขันธ์เป็นต้น.
บทว่า ทิพฺเพ ปเถ กมมานํ ความว่า ทรงดำเนินไปในทางอัน เป็นทิพย์ อันต่างด้วยสมาบัติแปด ด้วยสามารถแห่งการเข้า. ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงดำเนินไปในทางอันเป็นทิพย์ ในเวลานั้น ก็จริง ถึงกระนั้น เหมวตยักษ์กล่าวอย่างนั้น ก็เพราะพระองค์ทรงมีความสามารถที่จะ ก้าวไป ซึ่งหมายถึงการก้าวไปในกาลก่อน หรือเพราะพระองค์ทรงมีความ ชำนาญอันได้แล้ว ในทางอันเป็นทิพย์นั้น ท่านกล่าวคำนี้ไว้ แม้โดยการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 436
ก้าวไปในธรรมเป็นเครื่องอยู่ตั้งร้อยๆ อย่าง อันเป็นทางแห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิสุทธิเทพ. ชื่อว่า ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ เพราะทรงแสวงหา คุณทั้งหลายอันใหญ่.
ในคาถาที่ ๒ เหมวตยักษ์ได้แสดงขยายนิปฺณัตถทัสสิศัพท์อีก เพราะ ทำอธิบายว่า ตนปรารภความชมเชย โดยปริยายอื่น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียด.
บทว่า ปญฺาททํ ได้แก่ ผู้ทรงให้ปัญญา เพราะตรัสข้อปฏิบัติ อันเป็นไปเพื่อได้ปัญญา.
บทว่า กามาลเย อสตฺตํ ได้แก่ ไม่ข้องแล้ว ในอาลัย ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิในกามทั้งหลาย.
บทว่า สพฺพวิทุํ ได้แก่ ทรงรู้ธรรมทั้งปวง มีอธิบายว่า ทรงเป็น พระสัพพัญญู.
บทว่า สุเมธํ ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยพระเมธา กล่าวคือบารมีปัญญา อันเป็นทางแห่งความเป็นพระสัพพัญญูนั้น.
บทว่า อริเย ปเถ ความว่า ในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปด หรือ ในผลสมาบัติ.
บทว่า กมมานํ ได้แก่ ทรงหยั่งลงด้วยพระปัญญา คือ ทรงก้าว ไป เพราะทรงรู้ลักษณะแห่งมรรคแล้วทรงแสดง หรือ พึงก้าวไปด้วยกำลัง แห่งการก้าวไป กล่าวคือ มรรคภาวนา ๔ อย่าง เพราะทรงเข้าผลสมาบัติได้ ทุกๆ ขณะ.
บทว่า สุทิฏฺํ วต โน อชฺช ความว่า วันนี้ เราทั้งหลายเห็น ดีแล้ว อธิบายว่า การเห็น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 437
บทว่า สุปฺปภาตํ สุหุฏฺิตํ ความว่า วันนี้ พวกเราเห็นดีแล้ว หรือ ในวันนี้ ความงามของพวกเราดีแล้ว สว่างแล้ว ได้แก่แจ่มแจ้งแล้ว วันนี้ พวกเราตั้งดีแล้วหนอ คือ ตั้งขึ้นดีแล้ว เพราะไม่มีอันตราย เพราะ เหตุไร เพราะเหมวตยักษ์ประกาศความปราโมทย์ปรารภสมบัติ คือ ลาภของ ตนว่า พวกเราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า เราทั้งหลายได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าแล้ว.
บทว่า อิทฺธิมนฺโต ความว่า ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยฤทธิ์อันเกิด แก่กรรมวิบาก. บทว่า ยสสฺสิโน ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยลาภอันเลิศ และบริวารอันเลิศ. บทว่า สรณํ ยนฺติ ความว่า ยักษ์ทั้งหลายถึงสรณะ ด้วยมรรคแล้วก็จริง ถึงกระนั้น เหมวตยักษ์ย่อมเปล่งวาจาเพื่อแสดงความที่ ตนเป็นพระโสดาบัน และเพื่อแสดงความเลื่อมใส.
บทว่า คามา คามํ ความว่า จากเทวคาม สู่เทวคาม. บทว่า นคา นคํ ได้แก่ จากเทวบรรพต สู่เทวบรรพต.
บทว่า นมสฺสมานา สมฺพุทฺธํ ธมฺมสฺส จ สุธมฺมตํ มีอธิบายว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายจักชมเชย ขอนอบน้อมซึ่งความที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ดี และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองหนอ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว หนอ และความปฏิบัติดีแห่งสงฆ์ โดยนัยมีอาทิว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีหนอ ดังนี้แล้ว เป็นผู้ประกาศธรรมเที่ยวไป. บทที่เหลือ ในคาถานี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาเหมวตสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อ ปรมัตถโชติกา