หิริสูตรที่ ๓ ว่าด้วยผู้มีหิริไม่มีบาป
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 113
สุตตนิบาต
จูฬวรรคที่ ๒
หิริสูตรที่ ๓
ว่าด้วยผู้มีหิริไม่มีบาป
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 113
หิริสูตรที่ ๓
ว่าด้วยผู้มีหิริไม่มีบาป
[๓๑๖] บุคคลผู้ไม่มีหิริ เกลียดหิริ กล่าวอยู่ว่าเราเป็นเพื่อนของท่าน ไม่เอื้อเฟื้อการงานแห่งมิตรของตน พึงรู้ว่า นั่นไม่ใช่ มิตรของเรา.
มิตรใดพูดวาจาน่ารัก แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ในมิตรทั้งหลาย บัณฑิตย่อมกำหนดรู้ผู้นั้นว่า ไม่ทำตามคำพูด.
มิตรใดหวังความแตกกัน ไม่ประมาท คอยหาความผิดเท่านั้น มิตรนั้นไม่ควรเสพ ส่วนมิตรที่วางใจได้ เหมือนบุตรที่เกิดแต่อก ซึ่งผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่างพันอย่าง ก็ให้แตกกันไม่ได้ มิตรนั้นแลควรเสพ.
ความเพียร อันเป็นเหตุกระทำความปราโมทย์ นำความสรรเสริญมาให้ นำสุขมาให้ ผลานิสงส์อันนำธุระสมควรแก่บุรุษไปอยู่ ย่อมเจริญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 114
บุคคลดื่มรสแห่งความอิ่มเอิบในธรรม ดื่มรสอันเกิดแต่ความสงัดกิเลสและรสแห่งความสงบแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีความ กระวนกระวายไม่มีบาป.
จบหิริสูตรที่ ๓
อรรถกถาหิริสูตรที่ ๓
หิริสูตร มีคำเริ่มต้นว่า หิรินฺตรนฺตํ ดังนี้.
ถามว่า มีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร?
ตอบว่า พระสูตรนี้มีเหตุเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ :-
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง ในเมืองสาวัตถี เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติถึง ๘๐ โกฏิ ก็พราหมณ์นั้นมีบุตรอยู่คนหนึ่งซึ่งเป็นที่รักเป็นที่พอใจ พราหมณ์นั้นเลี้ยงบุต ชายนั้นให้เจริญขึ้นด้วยอุปกรณ์ที่จะอำนวยความสุขนานัปการ ดุจเลี้ยงดูเทวกุมารฉะนั้น ยังไม่ทันมอบทรัพย์สมบัตินั้นให้บุตรนั้นเลย ก็ได้ถึงแก่กรรม ไปพร้อมกับนางพราหมณี.
ต่อจากนั้น โดยกาลล่วงไปแห่งมารดาบิดาของมาณพนั้น ผู้รักษาเรือนคลัง ก็เปิดห้องทรัพย์สมบัติ เมื่อจะมอบทรัพย์สมบัติก็พูดว่า ท่านครับ ทรัพย์นี้เป็นส่วนที่มีอยู่ของมารดาบิดาของท่าน ทรัพย์นี้เป็นส่วนที่มีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 115
ของปู่ย่า (ตายาย) ทรัพย์นี้ตกมาถึงชั่ว ๗ สกุล ดังนี้. มาณพเห็นทรัพย์แล้วก็ดำริว่า ทรัพย์นี้เท่านั้นยังปรากฏอยู่ ส่วนชนทั้งหลายผู้สั่งสมทรัพย์นี้ไว้หาปรากฏอยู่ไม่ (เขาเหล่านั้น) ทั้งหมดทีเดียวได้ตกไปยังอำนาจของพระยามัจจุราช และเมื่อไปอยู่ ก็หาได้นำอะไรจากโลกนี้ไปไม่ ทุกคนจำต้องละโภคสมบัติทั้งหลายไปปรโลกกันอย่างนี้ เว้นจากสุจริตเสียแล้ว ใครๆ ก็ไม่อาจนำอะไร ติดตัวไปได้ ไฉนหนอข้าพเจ้าจะพึงบริจาคทรัพย์นี้แล้ว ถือเอาทรัพย์คือสุจริตที่เราจะสามารถนำติดตัวไปได้ เขาเมื่อสละอยู่ซึ่งทรัพย์วันละแสนกหาปณะ ก็ดำริอีกว่า ทรัพย์นี้ก็ยังเพียงพอ ประโยชน์อะไรด้วยการบริจาคอันมีประมาณน้อยอย่างนี้ ไฉนหนอเราพึงให้มหาทาน พราหมณ์นั้นกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์มีทรัพย์ในเรือนอยู่จำนวนเท่านี้ ข้าพระองค์ปรารถนาจะให้มหาทานด้วยทรัพย์นั้น ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงรับสั่งให้ป่าวประกาศในพระนคร พระราชารับสั่งให้กระทำอย่างนั้น พราหมณ์นั้นได้บรรจุภาชนะทั้งหลายของเหล่าชนผู้มาแล้วและมาแล้วให้เต็ม แล้วได้บริจาคทรัพย์ทั้งสิ้นโดยเวลา ๗ วัน ก็ครั้นบริจาคแล้วจึงดำริว่า การกระทำการบริจาคใหญ่อย่างนี้แล้วอยู่ครองเรือนไม่สมควร ไฉนหนอเราพึงบวช ต่อจากนั้นเขาจึงได้บอกเรื่องนี้แก่บริวารชน. บริวารชนเหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่นาย ท่านอย่าได้คิดว่าทรัพย์หมดสิ้นไปแล้ว พวกข้าพเจ้าจะทำการสั่งสมทรัพย์ ด้วยอุบายต่างๆ โดยใช้เวลาเล็กน้อยเท่านั้น แล้วก็ขอร้องพราหมณ์นั้นโดยประการต่างๆ พราหมณ์นั้นไม่สนใจการขอร้องของพวกบริวารชนเหล่านั้น ได้ออกบวชเป็นดาบส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 116
ในบรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสมีอยู่ ๘ จำพวกคือ
๑. สปุตตกภริยา ๒. อุญฺฉาจาริกา
๓. สมฺปตฺตกาลิกา ๔. อนคฺคิปกฺกิกา
๕. อสฺสมุฏฺิกา ๖. ทนฺตลุยฺยกา
๗. ปวตฺตผลิกา ๘. วณฺฏมุตฺตกา
ในดาบสทั้ง ๘ จำพวกนั้น ดาบสทั้งหลายมีเกณิยชฎิลเป็นต้น ซึ่งบวชพร้อมกับบุตรภรรยา แล้วเลี้ยงชีวิตด้วยเกษตรกรรมและวาณิชกรรมเป็นต้น ชื่อว่า สปุตฺตกภริยา
ดาบสทั้งหลายที่ให้สร้างอาศรมอยู่ที่ประตูพระนคร แล้วให้กุมารทั้งหลายมีกุมารของกษัตริย์และกุมารของพราหมณ์เป็นต้น ศึกษาศิลปะเป็นต้น ไม่ยอมรับเงินทอง ถือเอาเฉพาะสิ่งของที่เป็นกัปปิยะ มีงาและข้าวสารเป็นต้น ชื่อว่า อุญฺฉาจาริกา ดาบสจำพวก อุญฺฉาจาริกา เหล่านั้นดีกว่าดาบส พวก สปุตฺตกภริยา
พวกดาบสที่รับอาหารในเวลาแห่งอาหาร (เท่านั้น) เลี้ยงชีวิตอยู่ ชื่อว่า สมฺปตฺตกาลิกา ดาบสจำพวก สมฺปติตกาลิกา เหล่านั้นดีกว่าดาบสจำพวก อุญฺฉาจาริกา
พวกดาบสที่เคี้ยวกินใบไม้และผลไม้ที่ไม่สุกด้วยไฟ เลี้ยงชีวิตอยู่ ชื่อว่า อนคฺคิปกฺกิกา ดาบสจำพวก อนคฺคิปกฺกิกา เหล่านั้นดีกว่าดาบสจำพวก สมฺปตฺตกาลิกา
พวกดาบสที่ถือก้อนหินเท่ากำมือ (และถือมีดและศัสตรา) เป็นต้น อย่างอื่นใดเที่ยวไปอยู่ เคี้ยวกินเปลือกจากต้นไม้ที่ประสบเข้าเฉพาะหน้าใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 117
กาลที่ตนหิว อธิฐานองค์อุโบสถทั้งหลาย แล้วเจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่ ชื่อว่า อสฺสมุฏฺิกา ดาบสจำพวก อสฺสมุฏฺิกา เหล่านั้น ดีกว่าดาบสจำพวก อนคฺคิปกฺกิกา
พวกดาบสผู้ไม่ถือก้อนหินเท่ากำมือเป็นต้น ใช้ฟันแทะซึ่งเปลือกไม้ จากต้นไม้ที่ประสบเข้าในเวลาหิว อธิษฐานองค์อุโบสถ เจริญพรหมวิหารอยู่ ชื่อว่า ทนฺตลุยฺยกา ดาบสจำพวก ทนฺตลุยฺยกา เหล่านั้น ดีกว่าดาบส จำพวก อสฺสมุฏฺิกา.
พวกดาบสซึ่งอาศัยสระที่เกิดเอง (เช่นหนองบึงเป็นต้น) หรือไพรสณฑ์อยู่ รากไม้อันใดมีรากแห่งภิงสะ (เหง้าบัว) เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสระนั้น หรือไม้อันใด ซึ่งมีอยู่ในเวลามีดอกในราวป่า หรือผลไม้อันใดซึ่งมีอยู่ในราวป่า ในเวลามีผล ก็เคี้ยวกินรากดอกและผลนั้นนั่นเอง เมื่อดอกและผลไม่มี ก็เคี้ยวกินโดยที่สุดแม้สะเก็ดของต้นไม้ในราวป่านั้น แต่ก็ไม่ยอมไปในที่อื่น เพื่อประโยชน์แก่อาหารเลย ได้กระทำการอธิฐานองค์อุโบสถ และเจริญพรหมวิหารอยู่ ชื่อว่า ปวตฺตผลิกา ดาบสจำพวก ปวตฺตผลิกา เหล่านั้น ดีกว่าดาบสจำพวก ทนฺตลุยฺยกา.
พวกดาบสที่เคี้ยวกินใบไม้ที่ตกที่พื้นดินอย่างเดียว ชื่อว่า วณฺฎมุตฺตกา คำที่เหลือเป็นเช่นกับในก่อนนั้นเอง ดาบสจำพวก วณฺฎมุตฺตกา เหล่านั้นประเสริฐกว่าดาบสทุกจำพวก.
ส่วนพราหมณ์กุลบุตรนี้ดำริว่า เราจักบรรพชา บรรพชาที่เลิศในบรรดาดาบสบรรพชาทั้งหลาย (การบวชเป็นดาบสทั้งหลาย) ดังนี้แล้วก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 118
บรรพชาเป็น วณฺฏมุตฺตกบรรพชา นั้นเอง ให้สร้างอาศรมเลยภูเขา ๒ - ๓ ลูกไปอยู่ในหิมวันตประเทศ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ในพระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกะในกรุงสาวัตถี.
ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เสาะแสวงหาแก่นจันทน์เป็นต้นอยู่ที่ภูเขา ได้ไปถึงอาศรมของดาบสนั้น ไหว้ดาบสแล้วก็ยืน อยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดาบสนั้นเห็นเขาแล้วก็ถามว่า ท่านมาจากไหน. เขาตอบ ว่า ผมมาจากกรุงสาวัตถี ขอรับ. ดาบสถามว่า ในกรุงสาวัตถีนั้นเหตุการณ์เป็นอย่างไร. เขาตอบว่า ท่านขอรับ พวกคนในกรุงสาวัตถีนั้นไม่ประมาท พากันทำบุญทั้งหลายมีการให้ทานเป็นต้น.
ดาบสถามว่า พวกเขาได้ฟังโอวาทของใคร. เขาตอบว่า ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า.
ดาบสรู้สึกงงงวยด้วยการฟังเสียงว่า พุทธะ จึงถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าดังนี้หรือ ดาบสได้ถามถึง ๓ ครั้งโดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอามคันธสูตรนั้นแล จึงดีใจว่า แม้เสียงนั้นแลก็หาได้ยาก ดังนี้ เป็นผู้ปรารถนาจะไปยังสำนักของพระผู้พระภาคเจ้า จึงดำริว่า การไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเปล่าๆ หาควรไม่ เราจะพึงพาอะไรหนอแลไป ดาบสนั้นจึงดำริอีกว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรงหนักในอามิสไม่ เอาเถิด เราจะนำธรรมบรรณาการไป ดังนี้แล้วจึงได้แต่ง ปัญหา ๔ ข้อ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 119
๑. มิตรเช่นไรไม่ควรคบ ๒. มิตรเช่นไรควรคบ
๓. ความพยายามเช่นไรควรประกอบ ๔. รสอะไรเลิศกว่ารสทั้งหลาย
ดาบสนั้นพาปัญหาเหล่านั้นแล้ว มุ่งหน้าไปยังมัชฌิมประเทศ เดินไปถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับแล้ว เข้าไปยังพระเชตวัน แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ประทับนั่งบนอาสนะ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนา ในสมัยนั้นอยู่ทีเดียว เขาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไม่ยอมไหว้ ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำที่บันเทิงใจ โดยนัยว่า ท่านฤาษี ท่านสบายดีหรือ ดังนี้เป็นต้น แม้ดาบสนั้นก็แสดงความชื่นชมตอบ โดยนัยว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์สบายดี (พอทนได้) ดังนี้แล้วจึงคิดว่า ถ้าหากท่านผู้นี้จักเป็นพระ พุทธเจ้าไซร้ เมื่อเราทูลถามปัญหาด้วยใจ พระองค์ก็จะทรงแก้ด้วยวาจา ดังนี้ แล้วจึงทูลถามปัญหาเหล่านั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์ทูลถามแล้ว เพื่อจะแก้ปัญหาข้อต้นก่อน จึงทรงเริ่มว่า หิรินฺตรนฺตํ เป็นต้น แล้วจึงตรัสอีกสองคาถาครึ่ง.
เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า หิรินฺตรนฺตํ ก้าวล่วงอยู่ซึ่งความละอาย คือไม่มีหิริ ได้แก่ ไม่มียางอาย.
บทว่า วิชิคุจฺฉมานํ ได้แก่ เห็นว่าราวกะว่าสิ่งไม่สะอาด คนไม่มีหิริย่อมเกลียดความละอาย ย่อมเห็นราวกะว่าของไม่สะอาด เพราะเหตุนั้น บุคคลจึงไม่คบ คือไม่เข้าไปใกล้ชิด ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีหิรินั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชิคุจฺฉมานํ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 120
บาทคาถาว่า สขาหมสฺมิ อิติ ภาสมานํ ความว่า ผู้กล่าวอยู่โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้าพเจ้าเป็นสหายของท่าน ปรารถนาประโยชน์ท่าน แม้ชีวิตของข้าพเจ้า ก็ยอมสละเพื่อท่านได้ ดังนี้.
บาทคาถาว่า สยฺหานิ กมฺมานิ อนาทิยนฺตํ ความว่า ก็แม้กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ไม่เอื้อเฟื้อ คือไม่ตั้งใจเพื่อจะกระทำการงาน ของมิตรของตน คือกรรมทั้งหลายของมิตรของตน.
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่กระทำอยู่แม้สักว่าความเอื้อเฟื้อในการงานนั้นด้วยจิต แต่โดยที่แท้แล แสดงอยู่ซึ่งความเสื่อม (ฉิบหาย) ในกิจการทั้งหลายที่เกิดขึ้นเท่านั้น.
บาทคาถาว่า เนโส มมนฺติ อิติ นํ วิชฺญฺา ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงทราบชัดซึ่งบุคคลนั้น คือคนเห็นปานนั้น อย่างนี้ว่า คนเช่นนี้เป็นมิตรเทียม คนเช่นนี้หาใช่มิตรของเราไม่ ดังนี้.
บทว่า อนนฺวยํ ความว่า มิตรเทียมนั้น ย่อมพูดว่า เราจักให้จักกระทำประโยชน์อันใด ก็มิได้ติดตามประโยชน์อันนั้น (คือไม่ทำตามที่พูด)
หลายบทว่า ปิยํ วาจํ โย มิตฺเตสุ ปกุพฺพติ ความว่า มิตรใด ปราศรัยถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วและยังไม่มาถึง ชื่อว่าสงเคราะห์อยู่ซึ่งสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ ชื่อว่าย่อมยังวาจาที่รักให้เป็นไปในมิตรทั้งหลาย ด้วยเหตุสักว่า เงาแห่งตัวอักษรอย่างเดียวเท่านั้น.
สองบาทคาถาว่า อกโรนฺตํ ภาสมานํ ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกำหนดรู้บุคคลนั้น คือบุคคลเห็นปานนั้น ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 121
ไม่กระทำตามคำที่ตนพูด พูดอยู่ด้วยวาจาอย่างเดียว อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ชื่อว่า มีวาจาเป็นอย่างยิ่ง (ดีแต่ปาก) ไม่ใช่มิตร เป็นมิตรเทียม ดังนี้.
สองบาทคาถาว่า น โส มิตฺโต โย สทา อปฺปมตฺโต เภทาสงฺกี รนฺธเมวานุปสฺสิ ความว่า ผู้ใดหวังแต่ความแตกร้าวเท่านั้น ไม่ประมาทอยู่ทุกเมื่อ ด้วยมรรยาทที่เรียบร้อย คือด้วยวาจาไพเราะที่ตนทำขึ้น ย่อมแสวงหาซึ่งโทษเท่านั้น อย่างนี้ว่า สิ่งใดก็ตาม ที่บุคคลการทำแล้ว ด้วยไม่มีสติ ด้วยไม่มีมนสิการ หรือว่าไม่ได้กระทำด้วยความไม่รู้ บุคคลนั้นจักติเตียนเราเมื่อใด เมื่อนั้นเราจักโต้ตอบเขา ด้วยการกระทำนั้น ดังนี้ มิตรนั้นบุคคลไม่ควรคบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนาปัญหาแรกนี้ว่า "ไม่ควรคบมิตรเช่นไร" ดังนี้อย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาที่สองจึงตรัสกิ่งพระคาถานี้ ว่า ยสฺมึ จ เสติ.
เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็บุตรนอนอยู่บนอกของบิดา ไม่รังเกียจสงสัยเหตุทั้งหลายเป็นต้นว่า เมื่อเรานอนอยู่บนอกของบิดานี้ จะพึงมีความทุกข์หรือความไม่สบายใจ จึงหมดความสงสัยนอนอยู่ ชื่อฉันใด ด้วยการไว้ใจต่อมิตร มิตรกระทำอยู่ซึ่งความคุ้นเคย (ไว้วางใจ) ในภรรยา ทรัพย์และชีวิตเป็นต้น หมดความสงสัยโดยความเป็นมิตรนอนอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน ก็มิตรใด ซึ่งผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่างพันอย่างก็ไม่แตกกัน มิตรนั้นแลควรคบ. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวิสัชนาแม้ปัญหาที่สองว่า มิตรเช่นไรควรคบ ดังนี้แล้ว เพื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๓ จึงตรัสพระคาถาว่า ปามุชฺชกรณํ เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 122
เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า บุคคลย่อมทำซึ่งความปราโมชด้วยการกระทำฐานะใด เหตุนั้นการการทำฐานะนั้นชื่อว่า ปามุชฺชกรณํ เหตุที่กระทำซึ่งความปราโมทย์.
บทว่า านํ ได้แก่ เหตุ (ที่กระทำความปราโมช).
ถามว่า ก็เหตุนั้นคืออะไร?
ตอบว่า เหตุนั้นคือความเพียร จริงอยู่ ความเพียรท่านเรียกว่า ตัวสร้างความปราโมช เพราะยังปิติปราโมชและความสุขที่อิงอาศัยธรรมให้เกิดขึ้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีแล้วนี้ ผู้ใดปรารภความเพียรผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข บุคคลย่อมนำมาซึ่งความสรรเสริญตัวเหตุใด เหตุนั้น ชื่อว่า ปสํสาวหนํ เหตุนำมาซึ่งความสรรเสริญ.
ผลานิสงส์ที่หวังอยู่ย่อมยังผลอันเป็นสุขให้เจริญ คือ ให้วัฒนาด้วยอุปจารแห่งผล เพราะนำมาซึ่งทิพยสุขและมนุษยสุขตั้งแต่ต้น (และ) นำมาซึ่งนิพพานสุขในที่สุด.
บาทพระคาถาว่า วหนฺโต โปริสํ ธุรํ ความว่า ถือเอาซึ่งภาระอันสมควรแก่บุรุษอยู่ ชื่อว่าทำฐานะ กล่าวคือความเพียรอันเป็นสัมมัปปธานให้เจริญ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๓ อย่างนี้ว่า "ควรเสพความพยายามเช่นไร" ดังนี้แล้ว เพื่อทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๔ จึงตรัสคาถาว่า ปวิเวกรสํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวโก ความว่า ผลอันเลิศท่านเรียกว่า รสแห่งวิเวกนั้น เพราะเกิดแต่ความสงัดจากกิเลส ผลอันเลิศซึ่งสัมปยุตด้วย วิเวกนั้น ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า ชื่นใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 123
บทว่า อุปสมสฺส เป็นต้น ความว่า ผลอันเลิศนั้นนั่นเอง ชื่อว่า รสแห่งธรรมปีติ เพราะเกิดขึ้นแล้วในที่สุดแห่งความสงบกิเลส หรือเพราะเป็นอารมณ์แห่งความสงบ กล่าวคือพระนิพพาน เพราะเหตุนั้นบุคคลดื่มแล้ว ซึ่งผลอันเลิศนั้นนั่นเอง คือซึ่งรสแห่งวิเวกนั้น และซึ่งรสแห่งความสงบนั้น เพราะเป็นรสแห่งปีติที่เกิดขึ้นแล้วแต่อริยธรรม หรือเกิดขึ้นแล้วในธรรม กล่าวคือพระนิพพาน ชื่อว่าดื่มอยู่ซึ่งรสแห่งธรรมปีติ เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป แม้ดื่มแล้วก็หมดความกระวนกระวาย เพราะไม่มีความกระวนกระวายแห่งกิเลส แม้ดื่มอยู่ก็ชื่อว่าไม่มีบาป เพราะตนละบาปได้แล้ว เพราะฉะนั้น ผลอันเลิศคือรสแห่งวิเวกนี้ จึงเลิศกว่ารสทั้งหลาย.
แต่อาจารย์บางพวกประกอบว่า ธรรมเหล่านี้คือธรรม ๓ อย่าง มีรสแห่งวิเวกเป็นต้นนั้นเอง ด้วยสามารถแห่งฌาน นิพพาน และปัจจเวกขณะ และด้วยสามารถแห่งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทก่อนนั้นแลดี.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๔ อย่างนี้ ชื่อว่ายังเทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต.
ในที่สุดแห่งเทศนา พราหมณ์ได้บรรพชาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยวันเล็กน้อยเท่านั้น ก็ได้เป็นพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ดังนี้แล.
จบการพรรณนาหิริสูตร ในอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา