พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมจริยสูตรที่ ๖ ว่าด้วยการประพฤติธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 พ.ย. 2564
หมายเลข  40183
อ่าน  741

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 210

สุตตนิบาต

จูฬวรรคที่ ๒

ธรรมจริยสูตรที่ ๖

ว่าด้วยการประพฤติธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 210

ธรรมจริยสูตร (๑) ที่ ๖

ว่าด้วยการประพฤติธรรม

[๓๒๑] พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว ความประพฤติทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ ทั้งสองอย่างนี้ คือ ธรรมจริยาและพรหมจรรย์ ว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่อันสูงสุด ถึงแม้บุคคลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ถ้าบุคคลนั้น เป็นชาติปากกล้า ยินดีแล้วในความเบียดเบียนแสวงหาอยู่ (๒) ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นเลวทราม ย่อมยังกิเลส ธุลีมีราคะเป็นต้นของตนให้เจริญ.

ภิกษุยินดีแล้วในความทะเลาะ ถูกธรรมคือโมหะหุ้มห่อแล้ว ย่อมไม่รู้ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

แม้อันเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักบอกแล้ว ภิกษุผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ทำตนที่อบรมแล้วให้ลำบากอยู่ ย่อมไม่รู้ความเศร้าหมอง ย่อมไม่รู้ทางอันให้ถึงนรก.


๑. อรรถกถาเป็น กปิลสูตร. ๒. แปลจาก มโค ตามยุ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 211

เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต จากครรภ์เข้าถึงครรภ์ จากที่มืดเข้าถึงที่มืด ภิกษุผู้เช่นนั้นแล ละไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความทุกข์ ก็บุคคลใดผู้มีการงานเศร้าหมองเห็นปานนี้ ตลอดกาลนาน พึงเป็นผู้เต็มแล้วด้วยบาป เหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี พึงเป็นหลุม เต็มด้วยคูถ ฉะนั้น.

บุคคลนั้นเป็นผู้มีกิเลสเครื่องยียวน หมดจดได้โดยยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงรู้จักบุคคลผู้อาศัยเรือน ผู้มีความปรารถนาลามก ผู้มีความดำริลามก ผู้มีอาจาระและโคจรลามกเห็นปานนี้.

เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เว้นบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดบุคคลผู้เป็นเพียงดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นเพียงดังหยากเหยื่อออกเสีย แต่นั้นจงขบบุคคลลีบผู้ไม่ใช่สมณะ แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ ไปเสีย.

ครั้นกำจัดบุคคลผู้มีความปรารถนาลามก มีอาจาระและโคจรลามกออกไปแล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 212

เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้ว มีความเคารพกันและกัน จงสำเร็จการอยู่ร่วม ด้วยบุคคลผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย แต่นั้น เธอทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน มีปัญญาเครื่องรักษาตน จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

จบธรรมจริยสูตรที่ ๖

อรรถกถาปิลสูตร (๑) ที่ ๖

กปิลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ธมฺมจริยํ ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการอุบัติขึ้นเป็นอย่างไร?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการอุบัติขึ้นดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะเสด็จปรินิพพานแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวดสูตรนั่นแล กุลบุตร ๒ พี่น้องออกบวชในสำนักแห่งสาวกทั้งหลาย ผู้พี่ชื่อว่า โสธนะ ผู้น้องชื่อว่า กปิละ ท่านทั้งสองมีมารดาชื่อ ว่า สาธนี มีน้องสาวชื่อว่า ตาปนา ทั้งมารดาและน้องสาวนั้นบวชในสำนักนางภิกษุณี ต่อแต่นั้นภิกษุแม้ทั้งสองเหล่านั้น ก็เรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้ เจริญ ในพระศาสนามีธุระอยู่กี่อย่าง ดังนี้ ฟังคำตอบแล้วโดยนัยอันข้าพเจ้า กล่าวแล้วในเหมวดสูตรนั้นแล. ในบรรดาพระภิกษุทั้งสองนั้น พระผู้พี่คิดว่า เราจะบำเพ็ญวาสธุระ (ธุระเป็นเครื่องอบรมตน) ดังนี้แล้วก็อยู่ใน


๑. บาลีว่า ธรรมจริยสูตร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 213

สำนักของอุปัชฌาย์และอาจารย์ทั้งหลายเป็นเวลา ๕ ปี มีพรรษา ๕ ฟังกรรมฐานจนถึงอรหัตแล้วจึงเข้าไปสู่ป่า พยายามอยู่ก็ได้บรรลุพระอรหัต.

พระกปิละคิดว่า เรายังหนุ่มอยู่ก่อน ในเวลาแก่แล้วเราจะบำเพ็ญแม้วาสธุระดังนี้แล้ว ก็เริ่มคันถธุระ ได้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแล้ว พระกปิละนั้นมีบริวาร เพราะอาศัยปริยัติ เพราะอาศัยบริวาร ลาภก็เกิดขึ้น พระกปิละนั้นเมาด้วยการเมาในการที่ตนเป็นพาหุสัจจะ สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต มีความสำคัญว่าตนรู้ แม้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้ กล่าวสิ่งที่เป็นกัปปิยะที่ภิกษุเหล่าอื่นกล่าว แล้วว่าเป็นอกัปปิยะ แม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะว่าเป็นกัปปิยะ แม้สิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ แม้สิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ.

ต่อแต่นั้น พระกปิละนั้น อันภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักโอวาทอยู่ โดยนัยว่า คุณกปิละ คุณอย่าได้พูดอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น ก็เที่ยวขู่ตะคอกภิกษุทั้งหลายด้วยคำทั้งหลายว่า พวกท่านเหมือนกับคนมีกำมือเปล่า จะรู้อะไร ดังนี้ เป็นต้นอยู่นั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้ แม้แก่พระโสธนเถระผู้เป็นพี่ชายของท่าน แม้พระโสธนเถระนั้นก็ได้เข้าไปหาพระกปิละนั้นแล้วพูดว่า คุณกปิละ การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายเช่นคุณเป็นอายุของพระศาสนา ดูก่อนอาวุโส คุณอย่าได้พูดแม้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ ฯลฯ สิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ. พระกปิละนั้นก็ไม่สนใจคำของพระโสธนเถระผู้เป็นพี่ชายแม้นั้น. ลำดับนั้น พระโสธนเถระได้กล่าวกะพระกปิละขึ้น ๒ - ๓ ครั้งว่า

ผู้อนุเคราะห์จะพึงพูดคำหนึ่ง หรือ ๒ คำ ไม่พึงพูดให้มากไปกว่านั้น (เพราะว่าถ้าท่านผู้อนุเคราะห์จะพึงกล่าวให้มากไป

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 214

กว่านั้น) จะพึงมีโทษในสำนักของพระอริยะได้ ดังนี้

แล้วก็งดเว้นเสีย (หยุดพูด) แล้วจึงกล่าวว่า อาวุโส คุณนั้นเองจะปรากฏด้วยกรรมของคุณ ดังนี้แล้วก็หลีกไป จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก ก็ทอดทิ้งพระกปิละนั้นเสีย.

พระกปิละนั้นเป็นผู้ประพฤติชั่ว มีภิกษุประพฤติชั่วแวดล้อมอยู่ วันหนึ่งคิดว่า เราจะลงอุโบสถ แล้วก็ขึ้นสู่อาสนะอันประเสริฐ จับพัดอันวิจิตร พอนั่งลงก็พูดขึ้น ๓ ครั้งว่า อาวุโสทั้งหลาย ปาติโมกข์ย่อมควรแก่ภิกษุทั้งหลายในที่นี้หรือ. ครั้งนั้น แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่ได้พูดว่า ปาติโมกข์ย่อมควรแก่ข้าพเจ้า ทั้งก็ไม่ได้พูดว่าปาติโมกข์ย่อมควรแก่พระกปิละนั้น หรือแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ลำดับนั้นพระกปิละนั้นก็พูดว่า เมื่อปาติโมกข์พวกเราฟังก็ดี ไม่ฟังก็ดี ชื่อว่าวินัยไม่มีหรอก ดังนี้แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะ. พระกปิละนั้น ทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะให้เสื่อมถอย คือให้พินาศแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ครั้งนั้น พระโสธนเถระก็ได้ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง. พระกปิละ แม้นั้นทำศาสนานั้นให้เสื่อมถอยลงไปอย่างนี้แล้ว เมื่อถึงแก่กรรม ก็บังเกิดในอเวจีมหานรก มารดาและน้องสาวของท่านแม้นั้นถึงทิฏฐานุคติของพระกปิละนั้นนั่งเอง ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก ทำกาละแล้วก็บังเกิดในนรก.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 215

ก็ในกาลครั้งนั้นนั่นแล บุรุษประมาณ ๕๐๐ คน ทำบาปกรรมทั้งหลาย มีการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น เลี้ยงชีวิตด้วยความเป็นโจร ถูกมนุษย์ชาวชนบทติดตามหนีไปอยู่ ได้เข้าไปสู่ป่า ไม่เห็นที่กำบังหรือที่นั่งอะไรในป่านั้น ได้เห็นภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ในประเทศไม่ไกล ไหว้แล้วก็กล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกกระผม. พระเถระกล่าวว่า ที่พึ่งเช่นกับศีลสำหรับท่านทั้งหลายไม่มี ขอให้ท่านทุกคนจงสมาทานเบญจศีล โจรเหล่านั้นรับคำแล้วก็สมาทานศีล. พระเถระกล่าวว่า บัดนี้พวกท่านเป็นผู้มีศีลแล้ว เมื่อท่านทั้งหลายแม้ถูกปลงชีวิตของตนให้พินาศอยู่ ท่านทั้งหลายอย่าได้ประทุษร้ายใจ (อย่าโกรธ) พวกโจรเหล่านั้นรับคำแล้ว.

ครั้งนั้น ชาวชนบทเหล่นั้นมาถึงแล้วก็มองหาอยู่ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ก็ได้พบโจรเหล่านั้นแล้วพากันปลงชีวิตเสียสิ้นทุกคน. โจรเหล่านั้นกระทำกาละแล้วบังเกิดในกามาวจรเทวโลก บรรดาโจรเหล่านั้น โจรผู้เป็นหัวหน้า ได้เป็นเทพบุตรผู้เป็นหัวหน้า โจรนอกนี้ได้เป็นบริวารของเทพบุตรผู้เป็นหัวหน้านั่นเอง ท่านเหล่านั้นท่องเที่ยวกลับไปกลับมาอยู่ ให้พุทธันดรหนึ่งสิ้น ไปในเทวโลก แล้วเคลื่อนจากเทวโลกในกาลแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย เทพบุตรผู้เป็นหัวหน้าได้ถือปฏิสนธิในท้องแห่งภรรยาของชาวประมง ผู้เป็นหัวหน้าสกุล ๕๐๐ สกุล ในบ้านชาวประมงซึ่งมีอยู่ที่ประตูเมืองสาวัตถี เทพบุตรพวกนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของภรรยาของชาวประมงที่เหลือทั้งหลาย เขาเหล่านั้นได้ถือปฏิสนธิและออกจากครรภ์ในวันเดียวกันนั้นเอง ด้วยประการ ฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 216

ต่อมา หัวหน้าชาวประมงคิดอยู่ว่า ในบ้านนี้เด็กทั้งหลายแม้เหล่าอื่น ซึ่งเกิดในวันนี้มีอยู่หรือหนอแล ได้พบทารกเหล่านั้นแล้วก็คิดว่า เด็กเหล่านี้ จักเป็นสหายของบุตรของเรา แล้วจึงได้ให้วัตถุที่ควรเลี้ยงดูแก่เด็กเหล่านั้นทุกคน เด็กเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน ได้ถึงความเจริญวัยโดยลำดับ เด็กชื่อว่าโสชะเป็นผู้เลิศกว่าเด็กเหล่านั้น.

ครั้งนั้น แม้ภิกษุชื่อว่ากปิละก็มาเกิดเป็นปลาสเหมือนทอง แต่ปากเหม็น ในแม่น้ำอจิรวดี ด้วยเศษกรรมที่เหลือลงในนรก ต่อมาวันหนึ่ง เด็กชาวประมงเหล่านั้นทั้งหมด ถือเอาแห (อวน) แล้วคิดว่า เราจักฆ่าปลาทั้งหลาย แล้วจึงไปที่แม่น้ำเหวี่ยงแหลงไป ปลานั้นเข้าไปสู่แหของชาวประมงเหล่านั้น หมู่บ้านชาวประมงทั้งหมดเห็นปลานั้นแล้ว ก็พากันพูดเสียงดังลั่น พากันพูดว่า บุตรของพวกเราจับปลาทั้งหลายครั้งแรกๆ ก็จับได้ปลาทอง ความเจริญจักมีแก่เด็กๆ เหล่านั้น และบัดนี้พระราชาคงพระราชทานทรัพย์มากแก่เราทั้งหลาย.

ครั้งนั้น สหายทั้ง ๕๐๐ คนแม้เหล่านั้น เอาปลาลงใส่ในเรือแล้วยกเรือขึ้นได้ไปสู่สำนักของพระราชา พระราชาทอดพระเนตรแล้วตรัสว่า นั่นอะไรสหาย พวกเขาทูลว่า ปลา พระเจ้าข้า พระราชาทอดพระเนตรเห็นปลาสีทองก็ทรงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทราบเหตุที่ปลานี้มีสีทอง ดังนี้แล้วจึงรับสั่งให้ถือปลาแล้วได้เสด็จไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาที่ปลาอ้าปากขึ้น พระเชตวันก็มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง. พระราชาทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ปลาจึงเกิดเป็นปลามีสีทอง และเพราะเหตุไร กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 217

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ปลานี้เป็นภิกษุพหูสูต ผู้เรียนจบปริยัติ ชื่อว่า กปิละ ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เป็นผู้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายซึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของตน เป็นผู้ทำศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสื่อมไป เพราะกรรมที่เธอทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นให้เสื่อมไป เธอจึงบังเกิดในอเวจีมหานรก และก็มาเกิดเป็นปลาในบัดนี้ ด้วยเศษแห่งวิบาก ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมที่เธอได้กล่าวพุทธพจน์ สรรเสริญพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน เธอจึงได้วรรณะเช่นนี้ เพราะเหตุที่เธอได้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น มหาบพิตร ตถาคตจะให้ปลานั้นพูด.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามปลานั้นว่า เจ้าคือกปิละหรือ. ปลาตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกแล้วพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อว่ากปิละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอมาจากไหน. ปลาตอบว่า ข้าพระองค์มาจากอเวจีมหานรกพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พระโสธนะไปไหน. ปลาตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระโสธนะปรินิพพานแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า นางสาธนีไปไหน. ปลาตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นางสาธนีเกิดในนรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม ว่า นางตาปนาไปไหน. ปลาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นางตาปนาเกิดในมหานรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า บัดนี้เจ้าจักไปไหน. ปลาตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จักไปสู่มหานรก. ในทันใดนั่นเองปลานั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 218

อันความวิปฏิสารครอบงำ ใช้ศีรษะฟาดเรือแล้วก็ตายไปเกิดในมหานรก มหาชนเกิดความสังเวช ขนลุกชูชัน. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม อันสมควรแก่ขณะนั้น ในบริษัท ซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตที่มาพร้อมกัน ได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว.

การประพฤติธรรมมีกายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ธมฺมจริยํ ในพระคาถานั้น. มรรคพรหมจรรย์ ชื่อว่า พฺรหฺมจริยํ.

บาทพระคาถาว่า เอตทาหุ วสุตฺตมํ ความว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวถึงการประพฤติสุจริตทั้งที่เป็นโลกีย์และโลกุตระแม้ทั้งสองนี้ว่า เป็นสมบัติสูงสุด เพราะยังสัตว์ให้ประสบความสุขในสวรรค์และนิพพาน อธิบายว่า รัตนะอันอุดมคือรัตนะที่ไม่ทั่วไปแก่ชนทั้งหลายมีพระราชาเป็นต้น เพราะเป็นรัตนะ ที่สามารถติดตามชนทั้งหลายผู้สั่งสมบุญไว้ ชื่อว่า วสุตตมะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงว่าการปฏิบัติชอบเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของคฤหัสถ์และบรรพชิตได้ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัดนี้เมื่อจะทรงติเตียนพระภิกษุชื่อกปิละหรือภิกษุผู้เช่นนั้นเหล่าอื่น ด้วยการแสดงความไม่มีสาระในบรรพชา ที่เว้นจากการปฏิบัติจึงตรัสว่า ปพฺพชิโตปิ เจ โหติ เป็นต้น.

ในคำว่า. ปพฺพชิโตปิ เจ โหติ นี้ มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อ ไปนี้ :-

ก็ผู้ใดผู้หนึ่งสละเพศคฤหัสถ์ ถ้าแม้บวชด้วยการบวชไม่มีเรือนจากเรือน มีเนื้อความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้น ด้วยการเข้าถึงเหตุสักว่า การปลงผมและการนุ่งผ้าย้อมฝาดเป็นต้น ถ้าหากว่าเป็นคนปากกล้า คือว่าเป็น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 219

ผู้พูดคำหยาบ ยินดีในการเบียดเบียน เพราะพอใจในการเบียดเบียนอันมีประการต่างๆ เป็นผู้ประดุจเนื้อร้าย เพราะเป็นผู้เช่นกับเนื้อร้าย เพราะไม่มีหิริโอตตัปปะ

บาทคาถาว่า ชีวิตํ ตสฺส ปาปิโย ความว่า ชีวิตของบุคคลนั้น คือ ผู้เห็นปานนั้นเป็นบาปยิ่ง คือ เลวยิ่ง.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะทำธุลีมีประการต่างๆ มีราคะเป็นต้นของตนให้เจริญขึ้น ด้วยการปฏิบัติผิดนี้. ก็ชีวิตของบุคคลนั้นจะเป็นชีวิตที่ชั่ว ด้วยเหตุนี้อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แต่โดยที่แท้บุคคลเห็นปานนี้ นี้ ได้แก่ภิกษุที่ยินดีในการทะเลาะ เพราะเป็นคนมีปากจัด ถูกโมหะธรรมรึงรัดแล้ว เพราะถึงความงมงายในการที่จะรู้แจ้งซึ่งอรรถแห่งสุภาษิต ย่อมไม่ทราบแม้ซึ่งคำที่ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักกล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านกปิละผู้มีอายุ ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้. จงยึดถือเรื่องนั้นโดยปริยายนี้ ไม่รู้จักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือไม่รู้จักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ แม้ตนจะกล่าวอยู่โดยประการต่างๆ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ชีวิตของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นชีวิตชั่ว (เพราะว่า) ในครั้งนั้น ภิกษุเห็นปานนี้นั้น เพราะเหตุที่ตนพอใจในการเบียดเบียน เมื่อเบียดเบียนอยู่ซึ่งตนที่อบรมแล้ว คือว่าเบียดเบียนอยู่ซึ่งภิกษุขีณาสพผู้มีตนอันอบรมแล้ว มีพระโสธนเถระเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า " ท่านทั้งหลายซึ่งบวชเมื่อแก่เฒ่า ย่อมไม่รู้พระวินัย ไม่รู้พระสูตร ไม่รู้พระอภิธรรม" ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 220

ก็คำว่า วิเหยํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบถึงพระบาลีที่เหลือว่า วิเหสํ ภาวิตตฺตานํ กโรนฺโต โดยนัยที่กล่าวแล้ว ฉัฏฐีวิภัตติย่อมสำเร็จโดยนิปปริยายอย่างนี้.

บาทคาถาว่า อวิชฺชาย ปุรกฺขโต ความว่า ผู้ถูกอวิชชามีการปกปิดการเห็นโทษเป็นต้น ในการเบียดเบียนตนที่อบรมแล้ว กระทำไว้ในเบื้องหน้า จึงไม่รู้จักสังกิเลส โดยการพิฆาตจิตในปัจจุบันอันเป็นไปแล้ว โดยการเบียดเบียนตนที่อบรมแล้ว ของบรรพชิตที่เหลือทั้งหลาย และไม่รู้จักทางที่จะไปสู่นรก โดยกระทำตนให้เข้าถึงนรกต่อไป ก็เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต อันต่างด้วยอบายทั้ง ๔ โดยทางนั้น และในวินิบาตนั้น เข้าสู่ครรภ์จากครรภ์สู่ที่มืดจากที่มืด คืออยู่ในครรภ์มารดาในหมู่สัตว์หนึ่งๆ สิ้นร้อยครั้งบ้าง พันครั้งบ้าง และจากความมืดคืออสุรกายสู่ความมืด แม้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ไม่อาจขจัดได้ ภิกษุเช่นนั้นนั่นแลละไปแล้ว คือไปจากโลกนี้สู่ปรโลกแล้ว ก็เข้าถึงทุกข์มีประการต่างๆ ดุจปลาชื่อว่ากปิละนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เหมือนหลุมคูถพึงเป็นหลุมหมักหมมอยู่นานปีเต็มเปี่ยมด้วยคูถนั้น (คือว่า) เปรียบเหมือนหลุมคูถในวัจจกุฎี หมักหมมอยู่นานปี คือ สิ้นปีเป็นอเนก พึงเต็มบริบูรณ์อยู่ด้วยคูถถึงขอบปากเป็นเวลาหลายปี หลุมคูถ นั้นแม้อันบุคคลล้างอยู่ด้วยน้ำตั้งร้อยหม้อ ตั้งพันหม้อ ก็ล้างให้สะอาดได้ยาก เพราะขจัดกลิ่นเหม็นและสีน่าเกลียดให้ปราศจากไปได้ยาก ฉันใด บุคคลเห็น

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 221

ปานนี้ใด พึงเป็นผู้มีการงานเศร้าหมอง สิ้นกาลนานเหมือนหลุมคูถ เป็นบุคคลที่เต็มไปด้วยบาป เพราะเพียบพร้อมไปด้วยคูถคือบาป ก็บุคคลเห็นปานนี้นั้น ผู้มีการงานอันเศร้าหมอง เป็นผู้ชำระให้สะอาดได้โดยยาก แม้จะเสวยวิบากแห่งกิเลส (เพียงดังนั้น) นั้น สิ้นกาสนาน ก็หาบริสุทธิ์ได้ไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ภิกษุเช่นนั้นนั่นแลละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ สิ้นกาลนาน แม้ประมาณมิได้โดยการนับปี.

อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้มีสัมพันธ์ดังต่อไปนี้.

ในบาทพระคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุผู้เช่นนั้นแล ละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ ดังนี้ จะพึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็ภิกษุนี้ ท่านทั้งหลายสามารถจะกระทำโดยประการที่ละไปแล้วจะไม่เข้าถึงทุกข์ได้หรือไม่

ตอบว่า ไม่สามารถ

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะภิกษุนี้เปรียบเหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี ก็พึงเป็น หลุมที่เต็มด้วยคูถ ดังนี้.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้ก่อนทีเดียวว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรู้จักบุคคลเห็นปานนั้นผู้อาศัยเรือน คือว่าพึงทราบบุคคลเห็นปานนั้นผู้อาศัยกามคุณทั้ง ๕ ผู้ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก เพราะประกอบด้วยความปรารถนาลามก อันเป็นไปโดยอาการคือการปรารถนาคุณที่ไม่มีจริง ผู้ชื่อว่ามีความดำริชั่ว เพราะประกอบด้วยความดำริทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น ผู้ชื่อว่ามีความประพฤติชั่ว เพราะประกอบด้วยความประพฤติชั่ว มีการประพฤติ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 222

ล่วงศีลอันเป็นไปทางกายเป็นต้น และอันต่างด้วยประเภทมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้น (เพื่อประจบชาวบ้าน) ผู้ชื่อว่ามีการโคจรอันชั่ว เพราะการท่องเที่ยวไปในที่ไม่ดี ในที่ไม่สมควร มีสำนักหญิงแพศยาเป็นต้น ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้สามัคคีกัน เว้นบุคคลนั้นเสีย และอย่าถึงความขวนขวายน้อย ด้วยเหตุสักว่า การเว้นภิกษุนั้นเท่านั้น แต่โดยแท้แล ท่านทั้งหลายจงกำจัดบุคคลนั้น ผู้เป็นเพียงดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นดังหยากเยื่อออกเสีย คือว่าจงคร่าบุคคลผู้เป็นเพียงดังหยากเยื่อนั้นโดยไม่ต้องไยดีประดุจหยากเยื่อ และจงคร่าบุคคลผู้เป็นดังแกลบ ประดุจราชบุรุษคร่าคนจัณฑาลซึ่งเป็นโรคเรื้อนมีแผลแตกไหลออก ผู้เข้าไปในท่ามกลางแห่งกษัตริย์เป็นต้น คือว่าท่านทั้งหลายจงจับบุคคลนั้นที่มือหรือที่ศีรษะแล้วคร่าออกไป เหมือนอย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ จับปาปบุคคลนั้นที่แขนดึงออกไปจากซุ้มประตูภายนอกแล้วใส่ลูกดาล (กุญแจ) เสีย. แม้ฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคร่าบุคคลนั้นเสียฉันนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า ชื่อว่าสังฆารามเขาสร้างไว้สำหรับผู้มีศีลทั้งหลาย ไม่ได้สร้างไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ทุศีล. ต่อแต่นั้นไป ท่านทั้งหลายจงขับบุคคลลีบ ผู้ไม่ใช่สมณะซึ่งถือตัวว่าเป็นสมณะออกไปเสีย เหมือนอย่างว่า ข้าวลีบทั้งหลาย แม้ปราศจากข้าวสารในภายใน แต่ก็ปรากฏเหมือนข้าวเปลือก เพราะมีแกลบอยู่ข้างนอก ฉันใด ปาปภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้น แม้เว้นจากคุณสมบัติมีศีล เป็นต้นในภายใน แต่ก็ปรากฏเหมือนกับภิกษุ ด้วยบริขารมีผ้ากาสาวะเป็นต้น ในภายนอก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปลาปา คนลีบ ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 223

จงคร่าบุคคลลีบเหล่านั้นเสีย คือจงโปรยไป ได้แก่จงกำจัดบุคคลลีบเหล่านั้นเสีย ซึ่งไม่ใช่สมณะโดยปรมัตถ์ แต่สำคัญตนว่าเป็นสมณะ ในภาวะสักว่าเพศ ครั้นกำจัดผู้มีความปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและโคจรอันลามกได้แล้วอย่างนี้ เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้ว มีความเคารพกันและกัน จงสำเร็จการอยู่ร่วมด้วยบุคคลผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปฺปยฺวโห ความว่า จงสำเร็จ มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายว่า จงกระทำ.

บทว่า ปฏิสฺสตา ได้แก่ มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน. บาทคาถาว่า ตโต สมคฺคา นิปกา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ สำเร็จอยู่ซึ่งการอยู่ร่วมกับ ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน โดยความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน เป็นผู้มีปัญญารักษาคน ด้วยปัญญาที่ถึงความแก่รอบโดยลำดับ ท่านทั้งหลาย ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ มีทุกข์ในวัฏฏะเป็นต้นนี้ได้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัตทีเดียวแล.

ในที่สุดแห่งพระเทศนา บุตรชาวประมงจำนวน ๕๐๐ เหล่านั้น ถึงความสังเวช เมื่อปรารถนาจะทำที่สุดทุกข์ ได้บรรพชาในสำนักของผู้มีพระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานเลย ก็ทำที่สุดทุกข์ได้ ได้เป็นผู้มีการบริโภคเป็นอันเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการบริโภคธรรมคืออาเนญชวิหารสมาบัติ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 224

ก็อาเนญชวิหารสมบัตินั้น ชื่อว่าเป็นสมาบัติที่มีการบริโภคเป็นอันเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนี้.

ก็สมาบัตินั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่ง ยโสชสูตร ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในอุทานนั้นแหละ ดังนี้แล.

จบ การพรรณนากปิลสูตรแห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา