สัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓ ว่าด้วยผู้เว้นรอบโดยชอบในโลก
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 328
สุตตนิบาต
จูฬวรรคที่ ๒
สัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓
ว่าด้วยผู้เว้นรอบโดยชอบในโลก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 328
สัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓
ว่าด้วยผู้เว้นรอบโดยชอบในโลก
พระพุทธนิมิตตรัสถามด้วยพระคาถาว่า
[๓๓๑] เราขอถามมุนีผู้มีปัญญามาก ผู้ข้ามถึงฝั่ง ปรินิพพานแล้ว ดำรงตนมั่น ภิกษุนั้นบรรเทากามทั้งหลายแล้ว พึงเว้นรอบโดยชอบในโลกอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ภิกษุใด ถอนการถือความเกิด ความฝันและลักษณะว่าเป็นมงคลขึ้นได้แล้ว ภิกษุนั้นละมงคลอันเป็นโทษได้แล้ว พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุพึงนำออกเสียซึ่งความกำหนัดในกามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์ ภิกษุนั้นตรัสรู้ธรรมแล้ว ก้าวล่วงภพได้แล้ว พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุกำจัดคำส่อเสียดแล้ว พึงละความโกรธ ความตระหนี่ ภิกษุนั้นละความยินดี และความยินร้ายได้แล้ว พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 329
ภิกษุละสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รักแล้ว ไม่ถือมั่น อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยแล้วในภพไหนๆ หลุดพ้นแล้วจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุนั้น กำจัดเสียแล้วซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจในความยึดถือทั้งหลาย ย่อมไม่เห็นความเป็นสาระในอุปธิทั้งหลาย ภิกษุนั้นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว อันใครๆ พึงนำไปไม่ได้ พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุนั้นไม่ผิดพลาดด้วยวาจาใจและการงานแล้ว รู้แจ้งแล้วซึ่งธรรมโดยชอบ ปรารถนาบทคือนิพพานอยู่ พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุใดประสบอยู่ ไม่พึงยึดถือว่า เราแม้ถูกด่าก็ไม่พึงผูกโกรธ ได้โภชนะที่ผู้อื่นให้แล้ว ไม่พึงประมาทมัวเมา ภิกษุนั้นพึงเว้นรอบโดยชอบในโลก
ภิกษุละความโลภและภพแล้ว งดเว้นจากการตัดและการจองจำสัตว์อื่น ข้ามพ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 330
ความสงสัย ไม่มีกิเลสดุจลูกศร พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุรู้แจ้งการปฏิบัติอันสมควรแก่ตน และรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริงแล้วไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ไรๆ ในโลก พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุใดไม่มีอนุสัย ถอนอกุศลมูล อะไรๆ ขึ้นได้แล้ว ภิกษุนั้นไม่มีความหวัง ไม่มีตัณหา พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ละมานะได้แล้ว ก้าวล่วงธรรมชาติอันเป็นทางแห่งราคะได้หมด ฝึกฝนตน ดับกิเลสได้แล้ว มีจิตตั้งมั่น พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุผู้มีศรัทธาได้สดับแล้ว เห็นมรรค ไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิในสัตว์ทั้งหลายผู้ไปแล้วทิฏฐิ ภิกษุนั้นเป็นนักปราชญ์ กำจัดเสียซึ่งโลภะ โทสะ และปฏิฆะ พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุนั้นชนะกิเลสด้วยอรหัตตมรรค อันหมดจดดี มีกิเลสดุจหลังคาเปิดแล้ว มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 331
ความชำนาญในธรรมทั้งหลาย ถึงนิพพานไม่มีความหวั่นไหว ฉลาดในญาณอันเป็นที่ดับสังขาร พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุล่วงความกำหนดว่า เรา ว่าของเรา ในปัญจขันธ์ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต มีปัญญาบริสุทธิ์ก้าวล่วงทั้ง ๓ กาล หลุดพ้นแล้วจากอายตนะทั้งปวง พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
ภิกษุผู้รู้บทแห่งสัจจะทั้งหลาย ตรัสรู้ธรรม เห็นการละอาสวะทั้งหลายเป็นวิวฏะ (นิพพาน) ไม่ข้องอยู่ในภพไหนๆ เพราะความหมดสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งปวง พึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
พระพุทธนิมิตตรัสพระคาถาว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้นแน่แท้ทีเดียว ภิกษุใดมีปกติอยู่อย่างนี้ ฝึกฝนตนแล้ว ล่วงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ทั้งปวง ภิกษุนั้นพึงเว้นรอบโดยชอบในโลก.
จบ สัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 332
อรรถกถาสัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓
สัมมาปริพพาชนิยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ปหูตปญฺํ เราขอถามมุนีผู้มีปัญญามาก ดังนี้.
ท่านเรียกว่า มหาสมยสูตร บ้าง เพราะกล่าวในวันมหาสมัย.
ถามว่า มีการเกิดขึ้นอย่างไร?
ตอบว่า มีการเกิดขึ้นเพราะมีคำถาม.
ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระพุทธนิมิตถาม จึงได้ตรัสพระสูตรนี้. พร้อมกับคำถามพระสูตรนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัมมาปริพพาชนิยสูตรบ้าง. ความย่อในพระสูตรนี้มีเพียงนี้. ส่วนโดยพิสดารนั้น พระโบราณาจารย์ได้พรรณนาไว้ตั้งแต่การอุบัติของสากิยวงศ์และโกลิยวงศ์ การพรรณนาไว้เพียงอุเทศในเรื่องนี้ มีดังต่อไปนี้.
ก็ครั้งปฐมกัป พระเจ้ามหาสมมติราชได้มีพระโอรสพระนามว่า โรชะ. พระเจ้าโรชะได้มีพระโอรสพระนามว่า วโรชะ. พระเจ้าวโรชะได้มีพระโอรส พระนามว่า กัลยาณะ. พระเจ้ากัลยาณะได้มีพระโอรสพระนามว่า วรกัลยาณะ พระเจ้าวรกัลยาณะได้มีพระโอรส พระนามว่า มันธาตุ. พระเจ้ามันธาตุได้มีพระโอรสพระนามว่า วรมันธาตุ. พระเจ้าวรมันธาตุได้มีพระโอรสพระนามว่า อุโปสถะ. พระเจ้าอุโปสถะได้มีพระโอรสพระนามว่า จระ. พระเจ้าจระได้มีพระโอรสพระนามว่า อุปจระ. พระเจ้าอุปจระได้มีพระโอรสพระนามว่า พระมฆาเทวะ. สืบต่อจากพระเจ้ามฆาเทวะได้มีกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ ต่อจากกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์เหล่านั้น ได้มีวงศ์โอกกากราช ๓ วงศ์. พระเจ้าโอกกากราชองค์ที่ ๓ มีพระมเหสี ๕ องค์ คือ พระนางหัตถา ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 333
พระนางจิตตา ๑ พระนางชันตุ ๑ พระนางชาลินี ๑ พระนางวิสาขา ๑. พระมเหสีองค์หนึ่งๆ มีหญิงบริวารองค์ละ ๕๐๐.
พระมเหสีองค์ใหญ่มีโอรส ๔ พระองค์ คือ เจ้าชายโอกกามุขะ ๑ เจ้าชายกากัณฑะ ๑ เจ้าชายหัตถินิกะ ๑ เจ้าชายนิปุระ ๑. มีพระธิดา ๕ พระองค์ คือ เจ้าหญิงปิยา ๑ เจ้าหญิงสุปปิยา ๑ เจ้าหญิงอานันทา ๑ เจ้าหญิงวิชาตา ๑ เจ้าหญิงวิชิตเสนา ๑ ครั้นพระมเหสีองค์ใหญ่ได้พระโอรส พระธิดา ๙ องค์แล้ว ก็สิ้นพระชนม์.
พระราชาจึงทรงนำราชธิดาซึ่งยังสาว ทั้งมีรูปโฉมงดงามองค์อื่นมา ตั้งไว้ในตำแห่งพระอัครมเหสี. พระอัครเหสีได้ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง ครั้นประสูติได้ ๕ วัน พวกนางนมได้ตกแต่งพระชันตุกุมารนำมาเฝ้าพระราชา. พระราชาทรงยินดีได้พระราชทานพรแด่พระมเหสี. พระนางจึงทรงปรึกษากับบรรดาพระญาติทูลขอราชสมบัติให้แก่พระโอรส. พระราชาทรงพิโรธว่า หญิงถ่อยใจชั่ว เจ้าจงพินาศเสียเถิด เจ้าปรารถนาให้พวกโอรสของเราได้รับอันตราย แล้วไม่พระราชทานตามที่พระมเหสีทูลขอ. พระอัครมเหสีประเล้าประโลมพระราชาในที่ลับบ่อยๆ ครั้นให้ทรงพอพระทัยแล้ว ทูลพระดำรัสมี อาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหาราช ไม่ควรกล่าวเท็จ แล้วทูลวิงวอนซ้ำแล้วซ้ำอีก.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกพระโอรสทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนลูกๆ ทั้งหลาย พ่อเห็นชันตุกุมารน้องของพวกลูก จึงได้ผลุนผลันให้พรแก่มารดาของชันตุกุมาร เธอประสงค์จะให้โอรสครองราชสมบัติ เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 334
ลูกๆ พึงมาครองราชสมบัติเถิด แล้วทรงส่งไปกับอำมาตย์ ๘ คน. พระราชกุมารเหล่านั้น ได้พาพระพี่นางพระน้องนาง ออกจากพระนครพร้อมด้วยจตุรงคเสนา. พวกชาวพระนครู้ว่า พระกุมารจะเสด็จมาครองราชสมบัติเมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว จึงคิดว่า พวกเราจะติดตามไปอุปัฏฐากพระกุมารเหล่านั้น ก็พากันตามเสด็จไปเป็นอันมาก. ในวันแรกได้มีหนุ่มเสนาประมาณ ๑ โยชน์ ในวันที่สองประมาณ ๒ โยชน์ ในวันที่สามประมาณ ๓ โยชน์.
พระราชกุมารทั้งหลายทรงดำริว่า พลนิกายมีมาก หากเราจะยกไปตีพระราชาใกล้เคียงเมืองหนึ่งเมืองใด ชิงเอาบ้านเมือง ชนบททั้งหมดก็จะพ่ายแพ้เรา แต่ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติที่ได้มา เพราะเบียดเบียนผู้อื่น ชมพูทวีปก็กว้างใหญ่ เราจะสร้างนครในป่า จึงพากันเสด็จบ่ายหน้าไปยังป่าหิมพานต์.
พระราชกุมารแสวงหาที่จะสร้างพระนคร ที่ป่านั้นมีพระดาบสชื่อกปิละ มีตบะแรงกล้า อาศัยอยู่ในป่าไม้สากะใกล้ฝั่งโบกขรณี ณ ป่าหิมพานต์ พระราชกุมารไปถึงที่อยู่ของดาบสนั้น. ดาบสเห็นพระราชกุมารเหล่านั้นจึงถาม ครั้นทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงได้ทำการอนุเคราะห์พระราชกุมารเหล่านั้น.
นัยว่า พระดาบสนั้นรู้ภูมิชัยวิทยา เห็นคุณและโทษในอากาศสูงขึ้นไปได้ ๘๐ ศอก และใต้พื้นดินลงไป ๘๐ ศอก. ณ ภูมิประเทศนั้น หมูและเนื้อทั้งหลายทำให้ราชสีห์และเสือเป็นต้นหวาดกลัวหนีกลับไป กบและหนูทั้งหลาย ทำให้งูเกรงกลัว. ดาบสครั้นเห็นพระราชกุมารเหล่านั้น จึงทูลว่า ภูมิประเทศนี้ เป็นพื้นปฐพีอันล้ำเลิศ จึงให้สร้างพระนคร ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น พระดาบสได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 335
ทูลพระราชกุมารว่า หากพระองค์จะสร้างพระนครใช้ชื่อของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็ยินดี. พระราชกุมารทรงรับคำดาบส. พระดาบสกล่าวว่าแม้บุตรคนจัณฑาลสถิตอยู่ในที่นี้ ก็จะข่มขี่พระเจ้าจักรพรรดิด้วยกำลังได้ แล้วกราบทูลให้สร้างพระราชมณเฑียร แล้วสร้างพระนคร ณ ที่ตั้งอาศรม ครั้นดาบสถวายที่นั้นแล้ว ตนเองก็สร้างอาศรมอาศัยอยู่ ณ เชิงเขาไม่ไกลนัก. จากนั้นพระราชกุมารทั้งหลาย จึงสร้างพระนคร ณ ที่นั้นให้จารึกชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะกปิลดาบสประสิทธิ์ให้ แล้วเสด็จอาศัยอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์นั้น.
ลำดับนั้น พวกอำมาตย์คิดว่า พระกุมารเหล่านี้ทรงเจริญวัยแล้ว หากอยู่ในสำนักของพระบิดา ก็จะกระทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคล แต่บัดนี้เป็นภาระของพวกเรา จึงพากันไปทูลปรึกษากับพระกุมาร. พระกุมารตรัสว่า เรามิได้เห็นธิดาของกษัตริย์อื่นเสมอด้วยเรา และเราไม่เห็นขัตติยกุมารเหล่าอื่นเสมอด้วยพระเชษฐภคินีและพระกนิษฐภคินีเหล่านั้นเลย อนึ่งเราจะไม่ทำการปะปนชาติ. เพราะกลัวการปะปนชาติ จึงตั้งพระเชษฐภคินีไว้ในฐานะพระมารดา แล้วอภิเษกสมรสกับพระกนิษฐภคินีเป็นคู่ๆ กันไป.
พระบิดาของพระราชกุมารเหล่านั้น ครั้นทรงทราบเรื่องราวทั้งหมดแล้วทรงเปล่งอุทานว่า สักยะ สักยะ. นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน อัมพัฏฐะ ครั้งนั้นแล พระเจ้าโอกกากราชได้ตรัสถามที่ประชุมเหล่าอำมาตย์ว่า บัดนี้ราชกุมารทั้งหลายพากันไปพักอยู่ที่ไหน. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ณ ฝั่งโบกขรณี ข้างหิมวันตประเทศ มีป่าไม้สากะอยู่มาก บัดนี้พระราชกุมารทั้งหลายพากันไปพักอยู่ ณ ป่าไม้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 336
พระราชกุมารเหล่านั้นทรงกลัวการระคนด้วยชาติ จึงอยู่ร่วมกันกับพระภคินีของตนๆ พระเจ้าข้า. ดูก่อนอัมพัฏฐะ ครั้งนั้นแล พระเจ้าโอกกากราช ทรงเปล่งอุทานว่า สกฺยา วต โภ กุมารา ปรมสกฺยา วต โก กุมารา ดังนี้ ความว่า ท่านทั้งหลาย กุมารทั้งหลายเป็นผู้สามารถหนอ กุมารทั้งหลายเป็นผู้สามารถอย่างยิ่งหนอ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ เจ้าสักยะทั้งหลายย่อมปราก ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา และพระเจ้าโอกกากราชนั้นเป็นบรรพบุรุษของเจ้าศากยะทั้งหลาย ดังนี้. (๑)
ครั้นต่อมาพระเชฏฐภคินีของพระกุมารเหล่านั้นได้เป็นโรคเรื้อน. พระวรกายได้ปรากฏเหมือนดอกทองหลาง. พระราชกุมารทั้งหลายทรงดำริว่า พระโรคนี้ย่อมติดต่อแก่ผู้ที่นั่งที่ยืนและบริโภคร่วมกับพระเชษฐภคินีนี้ จึงทูลเชิญพระนางให้เสด็จขึ้นบนรถ ทำเป็นดุจจะไปชมสวน แล้วเสด็จเข้าป่ารับสั่งให้ขุดบ่อลึกทำเป็นเรือนพอสังเขปใต้พื้นดิน วางพระนางลงในบ่อนั้นพร้อมด้วยของควรเคี้ยวและควรบริโภค ปิดข้างบนเกลี่ยฝุ่นแล้วเสด็จไป.
ก็สมัยนั้น พระราชาพระนามว่า รามะ เป็นโรคเรื้อนถูกพวกสนมและพวกฟ้อนรำพากันรังเกียจ ทรงสลดพระทัย มอบราชสมบัติให้พระโอรสองค์ใหญ่เสด็จเข้าป่า เสวยรากไม้และผลไม้ในป่านั้น ไม่ช้าก็หายพระโรค มีพระฉวีดุจทองคำ เสด็จไปตามที่ต่างๆ ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้มีโพรงใหญ่ ทรงทำความสะอาดโพรงไม้นั้นประมาณ ๑๖ ศอก ภายในโพรงไม้นั้นทรงกระทำประตูหน้าต่าง พาดบันไดเสด็จประทับอยู่ในโพรงนั้น. พระองค์ก่อไปที่หลุม
๑. ที. สี ๙/ ๑๔๙ อัมพัฏฐสูตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 337
ถ่านเพลิงแล้วบรรทม ได้ทรงสดับเสียงร้องครวญครางและเสียงคำรามในราตรี พระองค์ทรงกำหนดว่า ที่ตรงโน้นสีหะแผดเสียง ตรงโน้นเสือคำราม ครั้นสว่าง จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นทรงถือเนื้อที่เป็นเดน (ของสัตว์) ปิ้งเสวย.
อยู่มาวันหนึ่ง ตอนใกล้รุ่ง พระองค์ประทับนั่งตามไฟอยู่. ขณะนั้น เสือโคร่งได้กลิ่นพระราชธิดา จึงตะกายที่พื้นนั้นทำให้เป็นช่องบนพื้นกระดาน. พระนางทรงเห็นเสือทางช่องนั้น ทรงตกพระทัยกลัวร้องกรี๊ดจนสุดเสียง. พระราชาทรงสดับเสียงนั้น และทรงกำหนดว่า นั่นเป็นเสียงสตรีจึงเสด็จไป ณ ที่ นั้นแต่เช้าตรู่ ตรัสถามว่า ใครอยู่ในที่นี้. พระนางตอบว่า ผู้หญิงจ้ะนาย. ตรัส ว่า ออกมาเถิด. ทูลว่า ออกไปไม่ได้. ตรัสว่า เพราะอะไร. ทูลว่า ดิฉันเป็นนางกษัตริย์. พระนางแม้ถูกขังอยู่ในหลุมอย่างนั้นยังมีขัตติยมานะ. พระราชารับสั่งถามเรื่องราวทั้งหมด แล้วจึงตรัสบอกพระชาติของพระองค์ว่า เราก็เป็นกษัตริย์. ตรัสต่อไปว่า ออกมาเดี๋ยวนี้เถิดปรากฎดุจเนยใสใส่ลงในน้ำนม. พระนางทูลว่า หม่อมฉันเป็นโรคเรื้อน ไม่อาจออกไปได้เพคะ. พระราชาตรัสว่า บัดนี้เราหัวอกอันเดียวกัน เราสามารถเยียวยาให้หายได้จึงทอดบันได อุ้มพระนางขึ้นมาทรงนำไปยังที่ประทับของพระองค์ พระราชทานยาที่พระองค์เสวยด้วยพระองค์เอง ไม่ช้าก็ทำให้พระนางหายจากพระโรคมีพระฉวีดุจทองคำ. พระราชาก็ทรงอยู่ร่วมกับพระนางนั้น. ด้วยการอยู่ร่วมครั้งแรกเท่านั้นพระนางก็ทรงครรภ์ ประสูติพระโอรสสององค์ ประสูติพระโอรสครั้งละสององค์ ๑๖ ครั้ง. รวมเป็นพระโอรส ๓๒ องค์ ด้วยประการฉะนี้. พระบิดาได้ให้พระโอรสผู้เจริญวัยเหล่านั้นได้ศึกษาศิลปะทุกแขนง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 338
ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพรานป่าคนหนึ่งชาวเมืองของพระรามราชาเที่ยวแสวงหารัตนะบนภูเขามาถึงถิ่นนั้น เห็นพระราชาก็จำได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าจำพระองค์ได้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า เจ้ามาจากไหน. พรานทูลว่า มาจากพระนครพระเจ้าข้า. แต่นั้นพระราชาตรัสถามเรื่องราวทั้งหมดกะเขา. เมื่อพระราชาและพรานป่าสนทนากันอยู่ พระกุมารทั้งหลายก็พา กันมา. พรานป่าเห็นพระกุมารเหล่านั้นจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์พวกเด็กเหล่านี้เป็นใครพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า บุตรของเราเอง. ทูลว่า ขอเดชะ บัดนี้พระองค์แวดล้อมแล้วด้วยพระกุมารถึง ๓๒ องค์ เหล่านี้ จักทรงทำอะไรในป่าเล่า ขอเชิญเสด็จไปครองราชสมบัติเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า อย่าเลยพ่อคุณอยู่ที่นี้ก็เป็นสุขดีแล้ว. พรานป่าคิดว่า บัดนี้เราได้เรื่องราวจากการ สนทนาแล้ว จึงไปพระนครทูลพระโอรสของพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชโอรสทรงดำริว่า จะต้องนำพระบิดากลับมา จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา ทูลวิงวอนพระบิดาด้วยประการต่างๆ. พระราชาก็ทรงปฏิเสธว่า อย่าเลยกุมารลูกพ่อ ที่นี่ก็เป็นสุขดีแล้ว. แต่นั้นพระราชบุตรทรงดำริว่า บัดนี้ พระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะเสด็จไป ช่างเถิดเราจะสร้างพระนครในที่นี้แหละเพื่อพระองค์ แล้วทรงถอนต้นกระเบาออกสร้างพระราชมณเฑียรแล้วสร้างพระนคร ทรงตั้งชื่อเป็นสองอย่างคือ โกลนคร เพราะถอนต้นกระเบาออกแล้ว จึงสร้าง และ พยัคฆปถะ (๑) เพราะเป็นทางเสือผ่าน เสร็จแล้วเสด็จกลับ. ต่อแต่นั้น พระมารดาจึงรับสั่งกะพระกุมารผู้เจริญวัยว่า นี่แน่ะลูกๆ ทั้งหลาย เจ้าศากยะอยู่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นพระเจ้าน้าของลูกๆ ลูกทั้งหลายจงไปรับพระ
๑. ยุโรปเป็น พยัคฆปัชชะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 339
ธิดาของพระเจ้าน้านั้นมาเถิด. พระกุมารทั้งหลายได้ไปในวันที่พวกนางกษัตริย์ เสด็จไปสรงสนานที่แม่น้ำแล้วกั้นท่าน้ำประกาศชื่อแล้ว ทรงพาพระราชธิดาที่พระองค์ปรารถนาแล้วๆ ไป. เจ้าศากยะทั้งหลายครั้นได้สดับแล้วตรัสว่า ช่างเขาเถิด พวกกุมารเหล่านั้นก็เป็นพระญาติของพวกเราทั้งนั้น แล้วทรงนิ่งเสีย.
เมื่อกษัตริย์ศากยะและโกลิยะกระทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคลซึ่งกันและกันอย่างนี้ พระวงศ์ก็สืบต่อกันมาจนถึงพระเจ้าสีหหนุ. พระเจ้าสีหหนุมีพระราชบุตร ๕ พระองค์ คือ สุทโธทนะ ๑ อมิโตทนะ ๑ โธโตทนะ ๑ สุกโกทนะ ๑ สุกโขทนะ ๑. บรรดาพระราชบุตรเหล่านั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะครองราชสมบัติ พระมหาบุรุษผู้บำเพ็ญบารมีจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต โดยนัยที่กล่าวแล้วในนิทานชาดก ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมายาเทวีประชาบดีของพระเจ้าสุทโธทนะ แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์โดยลำดับ ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรงโปรดพระประยูรญาติมีพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเป็นต้น ให้ทรงตั้งอยู่ในอริยผล เสด็จจาริกไปยังชนบทแล้วเสด็จกลับมาอีกครั้งประทับ อยู่ ณ วัดนิโครธารามในกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุ ๑,๕๐๐ รูป.
อนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามนั้น พวกเจ้าศากยะและโกลิยะ ทะเลาะกันเรื่องน้ำ. เรื่องเป็นอย่างไร. เรื่องมีอยู่ว่า ในระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงโกลิยะทั้งสองนั้นมีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่าน. แม่น้ำนั้นบางครั้งก็น้ำน้อย บางครั้งก็น้ำมาก. ในเวลาน้ำน้อย ทั้งเจ้าศากยะทั้งเจ้าโกลิยะทำสะพานนำน้ำเพื่อเลี้ยงข้าวเจ้าของตนๆ. พวกมนุษย์ของเจ้าทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 340
ทำสะพานแย่งน้ำกัน ด่ากันถึงชาติว่า เจ้าพวกวายร้าย ราชตระกูลของพวกเจ้า สมสู่อยู่ร่วมกันกับพวกน้องๆ ดุจสัตว์ดิรัจฉาน มีไก่ สุนัข สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ราชตระกูลของพวกเจ้าสมสู่กันที่โพรงไม้ดุจพวกปีศาจ แล้วพากันไปกราบทูลพระราชาของตนๆ. พระราชาเหล่านั้นทรงพิโรธเตรียมรบไปเผชิญหน้ากันที่ฝั่งแม่น้ำโรหินี. กำลังพลได้ตั้งอยู่เช่นกับสงคราม.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พวกพระญาติทะเลาะกันเราจะต้องไปห้าม จึงเสด็จมาทางอากาศประทับยืน ณ ท่ามกลางเสนาทั้งสอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงถึงพระญาติทะเลาะกัน ได้เสด็จมาจากกรุงสาวัตถี. ก็แลครั้นประทับยืนอยู่ได้ตรัสอัตตทัณฑสูตร. กษัตริย์ทั้งหมดครั้นทรงสดับดังนั้นทรงเกิดความสังเวช ทิ้งอาวุธพากันยืน นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า และรับสั่งให้ปูอาสนะอันสูงกว่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงมาประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาปูไว้ ตรัสผันทนชาดกมีอาทิว่า กุารีหตฺโถ ปุริโส แปลว่า บุรุษ ถือ ผึ่ง, ตรัส ลฏุกิกชาดก มีอาทิว่า วนฺทามิ ตํ กุญฺชรํ แปลว่า ข้าพเจ้าขอไหว้กุญชรนั้นและตรัส วัฏฏกชาดกนี้ว่า
สมฺโมทมานา คจฺฉนฺติ ชาลมาทาย ปกฺขิโน ยทา เต วิวทิสฺสนฺติ ตทา เอหินฺติ เมวสํ.
นกทั้งหลายพร้อมใจกัน ย่อมพาตาข่ายไปได้ เมื่อใดพวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้นมันจะอยู่ในอำนาจของเรา. ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 341
แล้วทรงแสดงความที่กษัตริย์เหล่านั้นเป็นพระญาติกันมาช้านานแล้ว ตรัสมหาวงศ์นี้ กษัตริย์เหล่านั้นทรงเลื่อมใสอย่างยิ่งเมื่อได้ทรงทราบว่า เมื่อก่อนพวกเราก็เป็นพระญาติกัน. แต่นั้นกษัตริย์ทั้งสองวงศ์ได้มอบกุมาร ๕๐๐ คือ กุมารฝ่ายเจ้าศากยะ ๒๕๐ กุมารฝ่ายเจ้าโกลิยะ ๒๕๐ เพื่อเป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุรพเหตุของกุมารเหล่านั้น จึงตรัสว่า เอถ ภิกฺขโว แปลว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ภิกษุทั้งหมดเหล่านั้นได้บริขาร ๘ อันเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์เหาะไปในอากาศ มายืนถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุเหล่านั้นไปป่ามหาวัน. บรรดาภรรยาของภิกษุเหล่านั้นต่างก็พากันส่งข่าวไปให้ทราบ ภิกษุเหล่านั้นถูกภรรยาเล้าโลมโดยประการต่างๆ จึงกระสัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าภิกษุเหล่านั้นกระสัน ทรงประสงค์จะแสดงป่าหิมพานต์ บรรเทาความกระสันของภิกษุเหล่านั้น ด้วยตรัสกุณาลชาดก ณ ที่นั้น ตรัสว่า ทิฏฺปุพฺโพ โว ภิกฺขเว หิมวา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเคยเห็นป่าหิมวันต์หรือ กราบทูลว่า ไม่เคยเห็นพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมาดู ทรงนำภิกษุเหล่านั้นไปทางอากาศด้วยฤทธิ์ของพระองค์ ทรงแสดงภูเขาหลายลูกว่า นี้สุวรรณบรรพต นี้รชตพรรพต นี้มณีบรรพต แล้วประทับยืนอยู่ ณ พื้นหินอ่อนใกล้สระนกดุเหว่า. แต่นั้นทรงอธิฐานว่า บรรดาสัตว์เดียรัจฉานประเภทสี่เท้าเป็นต้นทั้งหมด จงมาในภูเขาหิมวันตะเถิด นกดุเหว่ามาหลังเพื่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพรรณนาถึงสัตว์ที่มาโดยชาติ ชื่อ และภาษาจึงทรงแจ้งแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 342
นี้หงส์ นี้นกกะเรียน นี้นกจากพราก นี้นกการเวก นี้นกงวงช้าง นี้นกนางนวล. ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยเมื่อเห็นสัตว์เหล่านั้น ได้เห็นนกดุเหว่า ที่มาทีหลังนกทั้งหมด แวดล้อมด้วยนางนกพันตัว จับกลางไม้ที่นางนกสองตัว เอาจะงอยปากคาบพาไป เกิดอัศจรรย์ใจที่ไม่เคยมีมา จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเคยเป็นพญานกดุเหว่าอยู่ในที่นี้มิใช่หรือ. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว เราได้สร้างวงศ์นกดุเหว่าขึ้นมา ตรัสมหากุณาลชาดกครบครันว่า ก็ในอดีตกาล เราทั้งสี่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ คือ นารท ๑ เทวิละ ๑ เป็นฤษี พญาแร้ง ชื่อ อานันทะ ๑ เราเป็นนกดุเหว่าสีเหลืองชื่อปุณณมุขะ ๑. ครั้นภิกษุเหล่านั้นฟังแล้ว ความกระสันที่เกิดขึ้นเนื่องจากภรรยาเก่าของภิกษุเหล่านั้นก็สงบลง. แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัจกถาแด่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อจบสัจกถา ภิกษุรูปที่บวชภายหลังได้เป็นพระโสดาบัน รูปที่บวชก่อนทั้งหมดได้เป็นพระอนาคามี ไม่มีที่เป็นปุถุชน หรือพระอรหันต์แม้แต่รูปเดียว แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุเหล่านั้นขึ้นสู่ป่ามหาวันอีกครั้ง. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น เมื่อมาก็มาด้วยฤทธิ์ของตน ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นอีก เพื่อประโยชน์แก่มรรคชั้นสูงขึ้นไป. ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นเจริญวิปัสสนา ตั้งอยู่ในอรหัตตผล. ภิกษุที่บรรลุก่อนได้ไปก่อนทีเดียวด้วยคิดว่า เราจักกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ครั้นภิกษุนั้นมาถึงแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ย่อมยินดียิ่ง ไม่กระสันอยู่ ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดมาถึงโดยลำดับ นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 343
ในวันอุโบสถเดือนเจ็ดตอนเย็น เทวดาในหมื่นจักรวาลยกเว้นจำพวกอสัญญีสัตว์และอรูปพรหม ต่างนิรมิตอัตภาพละเอียด ตามนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถามงคลสูตร พากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่ง ณ วรพุทธาสนะอันพระขีณาสพ ๕๐๐ แวดล้อมแล้ว คิดว่า เราจักฟังพระธรรมเทศนาอันวิจิตรเฉียบแหลม. บรรดาพรหมเหล่านั้น พรหมผู้เป็นขีณาสพ ๔ องค์ ออกจากสมาบัติไม่เห็นหมู่พรหม รำพึงว่า พวกพรหมไปไหนกันหมด ครั้นทราบความนั้นแล้วจึงมาทีหลัง เมื่อไม่ได้โอกาสในป่ามหาวัน จึงยืนอยู่บนยอดจักรวาล ได้กล่าวปัจเจกคาถาทั้งหลาย ดังที่ท่านกล่าวไว้ดังต่อไปนี้.
ครั้งนั้นแล เทวดาชั้นสุทธาวาสสี่องค์ได้คิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้แล ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายจากโลกธาตุสิบโดยมากมาประชุมกัน เพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ถ้ากระไรแม้เราก็พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงกล่าวปัจเจกคาถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัคควรรคนั้นแล. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พรหมองค์หนึ่ง ณ ที่นั้นได้โอกาสบนยอดจักรวาลด้านทิศตะวันออก ประดิษฐานอยู่บนยอดจักรวาลนั้น ได้กล่าวคาถานี้ว่า มหาสมโย ปวนสฺมึ ฯเปฯ ทกฺขิตาเยว อปราชิตสงฺฆํ ความว่า วันนี้เป็นมหาสมัยในป่าใหญ่ หมู่เทวดามาประชุมกัน เรามาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อจะเห็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ผู้ชนะมารแล้ว เมื่อพรหมนั้นกล่าวคาถานี้ พวกพรหมที่ประดิษฐานอยู่ ณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 344
ภูเขาจักรวาลด้านทิศตะวันตก ได้ยินเสียง. พรหมองค์ที่สองได้โอกาสบนยอดจักรวาลด้านทิศตะวันตก ประดิษฐานอยู่บนยอดจักรวาลนั้น สดับคาถานั้นจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า ตตฺร ภิกฺขโว สมาทหํสุ ฯเปฯ อินฺทริยานิ รกฺขนฺติ ปณฺฑิตา ความว่า ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้นมั่นคงแล้ว เหมือนสารถีถือเชือกยืนอยู่ ท่านเป็นบัณฑิตรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย. พรหมองค์ที่สามได้โอกาสบนยอดจักรวาลด้านทิศใต้ ประดิษฐานอยู่บนจักรวาลนั้น สดับคาถานั้นแล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า เฉตฺวา ขีลํ เฉตฺวา ปลิฆํ ฯลฯ สุสู นาคา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นตัดกิเลสดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่ม ตัดกิเลสดุจเสาเขื่อน เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ท่านเป็นผู้หมดจดไม่มีมลทินเที่ยวไป ท่านเป็นพระนาคหนุ่ม มี ดวงตาฝึกฝนดีแล้ว. พรหมองค์ทีสี่ได้โอกาสบนยอดจักรวาลด้านทิศเหนือ ประดิษฐานอยู่บนยอดจักรวาลนั้น สดับคาถานั้นแล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า เยเกจิ พุทฺธํ สรณํ คตาเส ฯเปฯ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ ความว่า ชนทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักไม่ถึงอบายภูมิ ละกายของมนุษย์แล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์ พรหมที่ประดิษฐานอยู่ ณ จักรวาลด้านทิศใต้ ได้สดับเสียงของพรหมนั้น. ในครั้งนั้นพรหมสี่องค์เหล่านี้ได้ชื่นชมเชยบริษัท ด้วยประการฉะนี้. มหาพรหมได้ยืนครอบจักรวาลเป็นอันเดียวกัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูเทพบริษัทแล้ว ทรงแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เยปิ เต ภิกฺขเว อเหสุํ ฯเปฯ เยปิ เต ภิกฺขเว ภวิสฺสนฺติ ฯเปฯ สมฺมาสมฺพุทฺธา ฯเปฯ สนฺนิปติตา ภวิสฺสนฺติ เสยฺยถาปิ มยฺหํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 345
เอตรหิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด ได้มีแล้วในอดีตกาล เทวดาทั้งหลายประมาณเท่านี้แหละได้ประชุมกันเพื่อเห็นพระพุทธเจ้า เพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายพระองค์นั้น เหมือนเหล่าเทวดาประชุมกันเพื่อเห็นเราในบัดนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใดจักมีในอนาคต เทวดาทั้งหลายมีประมาณเท่านี้แหละ จักประชุมกันเพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เหมือนเทวดาทั้งหลายประชุมกันเพื่อเห็นเราในบัดนี้. ลำดับนั้น เทพบริษัทนั้น แยกออกเป็นสองพวกทั้งที่เป็นภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์ พวกเป็นภัพพสัตว์มีประมาณเท่านี้ พวกเป็นอภัพพสัตว์มีประมาณเท่านี้. บรรดาเทพบริษัทเหล่านั้น บริษัทที่เป็นอภัพพะแม้เมื่อพระพุทธเจ้าร้อยพระองค์ทรงแสดงธรรม ก็ไม่ ตรัสรู้ได้ ส่วนบริษัทที่เป็นภัพพะสามารถรู้ได้ ครั้นรู้แล้วยังแบ่งภัพพบุคคลออกเป็นหกประเภท ด้วยสามารถจริต คือ ประเภทราคจริตประมาณเท่านี้ ประเภทโทสจริต โมหจริต วิตักกจริต สัทธาจริต พุทธิจริตประมาณเท่านี้. ครั้นกำหนดจริตอย่างนี้แล้ว ทรงเลือกเฟ้นธรรมกถาว่า การแสดงธรรมชนิดไร จึงจะเป็นที่สบายแก่บริษัทนั้นๆ ได้ทรงใฝ่พระทัยถึงบริษัทนั้นๆ อีก ว่าบริษัทนั้นพึงรู้ได้โดยอัธยาศัยของตนหรือหนอ หรือพึงรู้ได้โดยอัธยาศัยของผู้อื่น ด้วยอำนาจแห่งเรื่องเกิดขึ้น ด้วยอำนาจคำถาม. แต่นั้นทรงทราบว่า พึงรู้ได้ด้วยคำถาม ทรงรำพึงถึงบริษัททั้งสิ้นต่อไปอีกว่า ผู้สามารถจะถามปัญหามีอยู่หรือไม่มี ครั้นทรงทราบว่าไม่มีใคร จึงทรงดำริว่า หากเราถามเอง แก้เอง ก็จะไม่เป็นที่สบายแก่บริษัทนี้ ถ้ากระไรเราควรเนรมิตพระพุทธนิมิต จึงทรงเข้าสมาบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 346
มีฌานเป็นบาท ครั้นทรงออกจากฌานแล้ว ทรงปรับปรุงด้วยมโนมยิทธิ ทรงเนรมิตพระพุทธนิมิต. พระพุทธนิมิตได้ปรากฏพร้อมด้วยจิตอธิษฐานว่า ขอจงสมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหมด ทรงบาตรและจีวร ถึงพร้อมด้วยการมองดูและการเหลียวดูเป็นต้น. พระพุทธนิมิตนั้น เสด็จมาจากปาจีนโลกธาตุประทับนั่งบนอาสนะเสมอพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตร ๖ พระสูตร ด้วยสามารถจริตในสมาคมนี้ คือ ปุราเภทสูตร ๑ กลหวิวาทสูตร ๑ จูฬพยูหสูตร ๑ มหาพยูหสูตร ๑ ตุวฏกสูตร ๑ และสัมมาปริพพาชนิยสูตรนี้แหละ ๑. บรรดาสูตรเหล่านั้น พระพุทธนิมิตเมื่อจะถามปัญหาเนื้อความเป็นไปแห่งสูตรนี้ อันควรกล่าวถึงสัปปายะแห่งพวกเทวดาที่เป็นราคจริต จึงกล่าวคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ปหุตปญฺํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหุตปญฺํ คือมีปัญญามาก. บทว่า ติณฺณํ ได้แก่ ผู้ข้ามโอฆะสี่ได้แล้ว. บทว่า ปารคตํ ได้แก่ ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว. บทว่า ปรินิพฺพุตํ ได้แก่ ปรินิพพานแล้วด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า ิตตฺตํ ได้แก่ มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า นิกฺขมฺม ฆรา ปนุชุช กาเม ได้แก่ บรรเทาวัตถุกามทั้งหลายออกจากการครองเรือนแล้ว. บทว่า กตํ ภิกฺขุ สมฺมา โส โลเก ปริพฺพเชยฺย ความว่า ภิกษุนั้นพึงเว้นคือพึงไป พึงอยู่โดยชอบในโลกอย่างไร ท่านอธิบายว่าเป็นผู้ไม่พัวพันด้วยโลก ล่วงโลกไปได้. บทที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังได้กล่าวไว้แล้ว นั้นแล.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภว่า เพราะผู้ที่ยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ จะชื่อว่าเว้นรอบโดยชอบไม่มี ฉะนั้น เมื่อพระองค์ทรงกำหนดประชุมแห่งภัพพบุคคล ด้วยสามารถแห่งจริตมีราคจริตเป็นต้น ในภิกษุนั้น จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 347
ทรงปรารภคำนั้นๆ ว่า เป็นมงคลแก่ภิกษุใด ดังนี้ เพื่อละโทษที่หมู่เทวดา ซึ่งมีโทษเสมอกันเหล่านั้น ประพฤติเป็นอาจิณ เมื่อจะทรงประกาศถึงปฏิปทาของพระขีณาสพด้วยยอดคือพระอรหัต จึงได้ตรัสพระคาถา ๑๕ พระคาถา.
ในพระคาถา ๑๕ พระคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัย คาถาที่ ๑ ก่อน.
บทว่า มงฺคลา นี้ เป็นชื่อของทิฏฐมงคลเป็นต้นที่ท่านกล่าวไว้ในมงคลสูตร. บทว่า สมูหตา ได้แก่ ถอนด้วยดีคือตัดขาดด้วยศัสตราคือปัญญา. บทว่า อุปฺปาทา ได้แก่ การยึดถือความเกิดอันเป็นไปอย่างนี้ว่า อุกกาบาตดาวหางเป็นต้นย่อมมีผลอย่างนี้ๆ. บทว่า สุปินา ได้แก่การยึดถือความฝันอันเป็นไปอย่างนี้ว่า เห็นความฝันในตอนเช้าจะมีผลอย่างนี้ เห็นความฝันในตอนเที่ยงเป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ นอนเห็นความฝันข้างซ้ายจะเป็นอย่างนี้ นอนเห็นความฝันข้างขวาเป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ ฝันเห็นพระจันทร์จะเป็นอย่างนี้ ฝันเห็นพระอาทิตย์เป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า ลกฺขณา ได้แก่ อ้างคัมภีร์บอกลักษณะไม้เท้าและลักษณะสิ่งของเป็นต้น แล้วยึดถือลักษณะอันเป็นไปว่า บัดนี้ จะได้รับผลอย่างนี้. ทั้งหมดนั้นพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแล. บทว่า ส มงฺคลโทสวิปฺปหีโน ได้แก่ มงคลอันเป็นโทษที่เหลือเว้นมหามงคล ๓๘ ภิกษุถอนมงคลเป็นต้นเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ละมงคลอันเป็นโทษ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละมงคลอันเป็นโทษเพราะละมงคลและโทษมีการเกิดเป็นต้น ย่อมไม่ให้ความบริสุทธิ์ด้วยมงคลเป็นต้น เพราะบรรลุด้วยอริยมรรคแล้ว. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก คือ ภิกษุนั้นเป็นขีณาสพ พึงเว้นโดยชอบในโลก ไม่พัวพันด้วยโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 348
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒.
บทว่า ราคํ วินเยถ มานุเสสุ ทิพฺเพสุ กาเมสุจาปิ ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนำความกำหนัดในกามคุณทั้งหลายทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์ ไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า อติกฺกมฺม ภวํ สเมจฺจ ธมฺมํ ความว่า ภิกษุนำความกำหนัดออกได้แล้ว ต่อจากนั้นยังการตรัสรู้ ด้วยการกำหนดรู้ให้สำเร็จโดยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตตมรรค ตรัสรู้ธรรมแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งสามด้วยปฏิปทานี้ได้แล้ว. บทว่า สมฺมา โส ได้แก่ ภิกษุแม้นั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓.
บทว่า อนุโรธวิโรธวิปฺปหีโน คือ มีราคะและโทสะอันละเสียได้ ด้วยวัตถุกามทุกอย่าง. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. อนึ่ง ในทุกๆ คาถา พึงประกอบบทว่า โสปิ ภิกฺขุ สมฺมา โลเก ปริพฺพเชยฺย ความว่า ภิกษุแม้นั้นพึงเว้น โดยชอบในโลกดังนี้. เพราะต่อจากนี้ไปเราจะไม่กล่าวถึงบทประกอบ จักกล่าวนัยที่ยังไม่ได้กล่าวไว้เท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔.
พึงทราบสิ่งอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักสองอย่าง ด้วยสามารถสัตว์และสังขาร. ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺทราคปฏิฆปฺปหาเนน หิตฺวา อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือธรรมไรๆ ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า อนิสฺสิโต กุหิญฺจิ ได้แก่ อันตัณหานิสัย ๑๐๘ และทิฏฐินิสัย ๖๒ ไม่อาศัยแล้วในภพไหนๆ หรือในภพมีรูปภพเป็นต้น. บทว่า สํโยชนิเยหิ วิปฺปมุตฺโต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 349
ความว่า ธรรมเป็นไปในภูมิสาม แม้ทั้งหมดชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เพราะเป็นวิสัยแห่งสังโยชน์สิบอย่าง ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว เพราะกำหนดรู้ และเพราะละได้จากสังโยชน์เหล่านั้นด้วยมรรคภาวนาโดยประการทั้งหมด. อนึ่ง ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงการละราคะและโทสะด้วยบาทต้น. ความไม่มีการยึดถือเป็นที่อาศัยด้วยบาทที่สอง. การหลุดพ้นจากอกุศลที่เหลือและวัตถุอันเป็นอกุศลด้วยบาทที่สาม หรือการละราคะและโทสะด้วยบาทต้น. ด้วยบาทที่สองก็เช่นเดียวกันด้วยบาทที่สามพึงทราบว่า การหลุดพ้นจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เพราะละสังโยชน์เหล่านั้นได้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕.
บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในขันธูปธิทั้งหลาย. อุปธิเหล่านั้นท่านกล่าวว่า อาทาน เพราะอรรถว่า พึงยึดถือ. บทว่า อนญฺเนยฺโย ได้แก่ เพราะเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นอย่างดีแล้ว ใครๆ จะพึงแนะนำไม่ได้ว่านี้ประเสริฐ. บทที่เหลือความของบทง่ายทั้งนั้น. ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ภิกษุนำฉันทราคะในการยึดมั่นออกไปแล้วทั้งหมด ด้วยมรรคที่สี่ เป็นผู้มีฉันทราคะนำออกไปแล้ว ย่อมไม่เห็นความเป็นสาระในอุปธิทั้งหลายเหล่านั้น คือย่อมเห็นอุปธิทั้งปวงโดยความไม่เป็นสาระ. แต่นั้นไม่อาศัยอยู่ในนิสัยแม้ทั้งสองอย่าง หรือโดยความอันใครๆ จะพึงแนะนำไม่ได้ว่านี้ประเสริฐ ภิกษุผู้เป็นขีณาสพพึงเว้นโดยชอบในโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖.
บทว่า อวิรุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ผิดพลาดกับด้วยสุจริตทั้งหลาย เพราะละทุจริตสามอย่างเหล่านั้นได้แล้ว. บทว่า วิทิตฺตา ธมฺมํ ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 350
รู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยมรรค. บทว่า นิพฺพานปทาภิปฏฺยาโน ได้แก่ ปรารถนาบทคืออนุปาทิเสสนิพพาน. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗.
บทว่า อกฺกุฏฺโ ได้แก่ ข้องอยู่ในอักโกสวัตถุสิบอย่าง. บทว่า น สนฺธิเยถ ได้แก่ ไม่ผูกโกรธต่อไม่พึงโกรธ. บทว่า ลทฺธา ปรโภชนํ น มชฺเช ได้แก่ ได้ของที่เขาให้ด้วยศรัทธา อันคนอื่นให้แล้วไม่พึงเมาว่า เราเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีลาภ ดังนี้. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘.
บทว่า โลภํ ได้แก่ ความโลภจัด. บทว่า ภวํ ได้แก่ กามภพเป็นต้น. ท่านกล่าวภวตัณหาและโภคตัณหาด้วยบททั้งสองอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว ตัณหาทั้งหมดด้วยบทต้น กล่าวกามภพด้วยบทหลัง. บทว่า วิรโต เฉทนพนฺธนโต ได้แก่ เว้นจากการตัดและการจองจำสัตว์อื่น เพราะละกรรมกิเลสเหล่านั้นได้โดยสิ้นเชิงแล้ว. บทที่เหลือในที่นี้ มีนัยดังได้กล่าวได้แล้วนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๙.
บทว่า สารุปฺปมตฺตโน วิทิตฺวา ได้แก่ รู้การปฏิบัติอันสมควรแก่ความเป็นภิกษุของตน ด้วยการละการแสวงหาอันไม่สมควรเป็นต้น แล้วดำรงมั่นอยู่ในอาชีวะบริสุทธิ์มีการแสวงหาโดยชอบเป็นต้น และการปฏิบัติชอบอย่างอื่น. ไม่ใช่ด้วยเพียงรู้อะไรๆ เท่านั้น. บทว่า ยถาตถํ ได้แก่ รู้ตามความเป็นจริง. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ รู้ธรรมประเภทมีขันธ์ อายตนะเป็นต้น ด้วยญาณตามความเป็นจริง หรือรู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยมรรค. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 351
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐.
บทว่า โส นิราโส อนาสสาโน ความว่า ภิกษุใดไม่มีอนุสัยถอนอกุศลมูลได้แล้วด้วยอริยมรรค ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีตัณหา แต่นั้นไม่หวังธรรมมีรูปธรรมเป็นต้นไรๆ เพราะไม่มีความหวัง. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นิราโส อนาสสาโน ไม่มีความหวัง ไม่มีตัณหา ดังนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑.
บทว่า อาสวขีโณ ได้แก่มีอาสวะสี่สิ้นแล้ว. บทว่า ปหีนมาโน ได้แก่ ละมานะเก้าอย่างได้แล้ว. บทว่า ราคปถํ ได้แก่ ธรรมชาติเป็นไปในภูมิสามอันเป็นวิสัยแห่งราคะ. บทว่า อุปาติวตฺโต ได้แก่ ก้าวล่วงด้วยการกำหนดรู้และการละ. บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ละการเสพผิดในทวารทั้งปวง แล้วถึงภูมิแห่งการฝึกฝนตน ด้วยการฝึกอย่างประเสริฐ. บทว่า ปรินิพฺพุโต เป็นผู้สงบเพราะสงบด้วยไฟคือกิเลส. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๒.
บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งหมด เพราะเว้นจากปัจจัยอย่างอื่นในพุทธคุณเป็นต้น ไม่ประกอบด้วยการปฏิบัติด้วยศรัทธาต่อผู้อื่น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า น ขฺวาหํ ภนฺเต เอตฺถ ภควโต สทฺธาย คจฺฉามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้ามิได้ถึงด้วยศรัทธาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในเพราะเหตุนี้. บทว่า สุตวา คือประกอบแล้วด้วยการฟังอันมีประโยชน์อย่างยิ่งเพราะกิจคือการฟังอย่างสามัญสุดสิ้นลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 352
แล้ว. บทว่า นิยามทสฺสี ความว่า ในเมื่อสัตว์โลกลุ่มหลงอยู่ในสงสารกันดาร เป็นผู้เห็นทางอันเป็นความชื่นชอบของผู้ไปสู่อมตนคร. ท่านอธิบายว่า ได้เห็นทางแล้ว. บทว่า วคฺคคเตสุ น วคฺคสารี ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ๖๒. ความสวนทางกันและกัน ชื่อว่า วคฺคคตา ความไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิในสัตว์ทั้งหลายผู้ไปแล้วด้วยทิฏฐิ อันได้แก่ วคฺค อย่างนี้ เพราะไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิว่า นี้สูญ นี้จักเป็นอยู่อย่างนั้นดังนี้. บทว่า ปฏิฆํ ได้แก่ ความกระทบกระทั่ง. ท่านอธิบายว่า ความกระทบกระทั่งทางจิต. บทว่า ปฏิฆํ นี้เป็นวิเสสนะของโทสะ. บทว่า วิเนยฺย ได้แก่ นำออกไปแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวได้แล้วนั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๓.
บทว่า สํสุทธฺชิโน ได้แก่ เป็นผู้ชนะกิเลสด้วยอรหัตตมรรคอันหมดจดแล้ว. บทว่า วิวฏจฺฉโท คือเป็นผู้มีกิเลสดังหลังคาคือราคะโทสะและโมหะเปิดแล้ว. บทว่า ธมฺเมสุ วสี ได้แก่ เป็นผู้ถึงความชำนาญในธรรม คืออริยสัจสี่. ธรรมเหล่านั้นอันใครๆ ไม่สามารถทำผู้ที่รู้อย่างนั้นให้เป็นผู้ไม่รู้ได้. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกพระขีณาสพว่าเป็นผู้ชำนาญในธรรมทั้งหลาย. บทว่า ปารคู ได้แก่ ถึงนิพพานซึ่งท่านเรียกว่าปาระ (ฝั่ง). อธิบายว่า บรรลุด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า อเนโช คือเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะปราศจากตัณหาแล้ว. บทว่า สงฺขารนิโรธาณกุสโล คือนิพพานท่าน เรียกว่า ดับสังขาร ความรู้ในนิพพานนั้นคืออริยมรรคปัญญา เป็นผู้ฉลาดในอริยมรรคปัญญานั้น. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดเพราะเจริญแล้วสี่ครั้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 353
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๔.
บทว่า อตีเตสุ ได้แก่ ในเบญจขันธ์ที่ถึงความเป็นไปแล้วล่วงไป. บทว่า อนาคเตสุ ได้แก่ ในเบญจขันธ์ที่ยังไม่ถึงความเป็นไปนั่นเอง. บทว่า กปฺปาตีโต คือล่วงกำหนดว่าเราว่าของเรา หรือล่วงความกำหนดด้วยตัณหาและทิฏฐิ แม้ทั้งหมด. บทว่า อติจฺจสุทธิปญฺโ คือมีปัญญาบริสุทธิ์ก้าวล่วงแล้ว. ก้าวล่วงอะไร ก้าวล่วงกาลทั้ง ๓.
จริงอยู่ พระอรหันต์ก้าวล่วงกาลที่เป็นอดีตคืออวิชชาและสังขาร กาลที่เป็นอนาคตคือชาติชรามรณะ และกาลที่เป็นปัจจุบันอันเป็นที่สุดแห่งภพมีวิญญาณเป็นต้นแม้ทั้งหมด ล่วงพ้นความสงสัย เป็นผู้มีปัญญาถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า อติจฺจสุทฺธิปญฺโ ผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ ล่วงพ้นกาลทั้ง ๓. บทว่า สพฺพายตเนหิ คือ จากอายตนะ ๑๒. บทว่า วิปฺปมุตฺโต ความว่า จริงอยู่พระอรหันต์เป็นผู้ล่วงกำหนดอย่างนี้ ไม่เข้าถึงอายตนะไรๆ ต่อไป เพราะล่วงกำหนดแล้วแล. เพราะมีปัญญาบริสุทธิ์ก้าวล่วงแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพายตเนหิ วิปฺปมุตฺโต หลุดพ้นแล้วจากอายตนะทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยคาถาที่ ๑๕.
บทว่า อญฺาย ปทํ ได้แก่ รู้บทหนึ่งๆ ในบทสี่แห่งสัจจะด้วยปัญญากำหนดสัจจะอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า สเมจฺจ ธมฺมํ คือต่อจากนั้นตรัสรู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยอริยมรรคสี่. บทว่า วิวฏํ ทิสฺวาน ปหานมาสวานํ ความว่า ทีนั้นเห็นความสิ้นอาสวะเป็นวิวฏะ (นิพพาน) คือเปิดเผยให้ปรากฏด้วยปัจจเวกขณญาณ. บทว่า สพฺพูปธีนํ ปริกฺขยา ความว่า ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 354
นั้นไม่ต้องอยู่ในภพไหนๆ เพราะความหมดสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งหลายอันมีประเภทแห่งขันธ์ กามคุณ กิเลสและอภิสังขารทั้งปวง พึงเว้นคือพึงอยู่โดยชอบในโลก ไม่ติดแน่นพึงไปสู่โลก. จบเทศนา ด้วยประการฉะนี้.
แต่นั้นพระพุทธนิมิตนั้น ชื่นชมเทศนากล่าวคาถานี้ว่า อทฺธา หิ ภควา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้นแน่ทีเดียว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โย โส เอวํวิหารี ความว่า พระพุทธนิมิต เมื่อจะชี้แจงกะภิกษุให้เห็นชัดยิ่งขึ้น จึงกล่าวด้วยคาถานั้นๆ ว่าภิกษุใด ถอนมงคลเป็นต้นมีปกติอยู่ด้วยการละโทษของมงคลทั้งปวง ภิกษุนั้นนำความกำหนัดในกามทั้งหลายทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์ออกเสีย ก้าวล่วงกามมีปกติอยู่ด้วยการตรัสรู้ธรรม. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น. แต่โยชนาแก้ไว้ว่า พระพุทธนิมิตกล่าวคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่พระองค์ตรัสคำเป็นอาทิว่า ถอนมงคลทั้งหลายเสียในที่สุดแห่งคาถานั้นได้ตรัสว่า ภิกษุนั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก นี้เป็นความจริงแน่แท้ทีเดียว. เพราะเหตุไร. เพราะภิกษุใดมีปกติอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าฝึกฝนตนด้วยการฝึกอย่างสูง เป็นผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ ๑๐ ทั้งหมด และโยคะ ๔ ฉะนั้น ภิกษุนั้น พึงเว้นโดยชอบในโลก ข้าพระองค์ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้เลย ดังนี้. ครั้นพระพุทธนิมิตกล่าวคาถาชื่นชมเทศนาแล้ว เทศนาก็จบลงด้วยอดแห่งพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบพระสูตร เทวดาแสนโกฏิได้บรรลุผลอันเลิศ. ส่วนผู้ที่บรรลุพระโสดาปัตติผล สกทาคามิผลและอนาคามิผลนับไม่ถ้วน.
จบอรรถกถาสัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓