พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗ ว่าด้วยความคับแค้นด้วยประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40210
อ่าน  545

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 746

สุตตนิบาต

อัฏฐกวรรคที่ ๔

ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗

ว่าด้วยความคับแค้นด้วยประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 746

ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗

ว่าด้วยความคับแค้นด้วยประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ

ท่านพระติสสเมตเตยยะทูลถามปัญหาว่า

[๔๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์ตรัสบอกความคับแค้นแห่งบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้สดับคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว จักศึกษาในวิเวก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนเมตเตยยะ ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมมีอยู่ บุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรม ย่อมลืมแม้คำสั่งสอน และย่อมปฏิบัติผิด นี้เป็นกิจไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น.

บุคคลใดประพฤติอยู่ผู้เดียวในกาลก่อนแล้ว เสพเมถุนธรรม (ในภายหลัง) บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนมีกิเลสมากในโลก เหมือนยวดยานที่แล่นไปใกล้เหว ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 747

ยศและเกียรติคุณในกาลก่อนของบุคคลนั้น ย่อมเสื่อม บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว ควรศึกษาไตรสิกขาเพื่อละเมถุนธรรม.

ผู้ใดไม่ละเมถุนธรรม ผู้นั้นถูกความดำริครอบงำแล้ว ซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า ฉะนั้น ผู้นั้นฟังเสียงอันระบือไปของชนเหล่าอื่นแล้ว เป็นผู้เก้อเขินเช่นนั้น.

อนึ่ง ผู้ใดอันวาทะของบุคคลอื่น ตักเตือนแล้ว ยังกระทำกายทุจริตเป็นต้น ผู้นี้แหละพึงเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่ ย่อมถือเอาโทษแห่งมุสาวาท.

บุคคลอันผู้อื่นรู้กันดีแล้วว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว แม้ในภายหลังประกอบในเมถุนธรรม ย่อมมัวหมองเหมือนคนงมงาย ฉะนั้น.

มุนีในศาสนานี้รู้โทษในเบื้องต้น และเบื้องปลายนี้แล้ว ควรกระทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่ควรเสพเมถุนธรรม.

ควรศึกษาวิเวกเท่านั้น การประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 748

ทั้งหลาย มุนีไม่ควรสำคัญตนว่าเป็นผู้ประเสริฐด้วยวิเวกนั้น มุนีนั้นแลย่อมอยู่ใกล้นิพพาน.

หมู่สัตว์ผู้ยินดีแล้วในกามทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อมุนีผู้สงัดแล้วเที่ยวไปอยู่ ผู้ไม่มีความห่วงใยในกามทั้งหลายผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ฉะนี้แล.

จบติสสเมตเตยยสูตรที่ ๓

อรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗

ติสสเมตเตยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เมถุนมนุยุตฺตสฺส บุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนื่องๆ ดังนี้.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี มีสหายสองคนชื่อติสสะและเมตเตยยะได้พากันไปกรุงสาวัตถี. สหายทั้งสองนั้นในตอนเย็นเห็นมหาชนเดินมุ่งหน้าไปยังพระเชตวัน จึงถามว่า พวกท่านไปไหนกัน. เมื่อชนเหล่านั้น บอกว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก พวกเราจะไปยังพระเชตวัน เพื่อฟังธรรมนั้น. สหายทั้งสองก็พูดว่า แม้เราทั้งสองก็จะฟัง จึงพากัน ไป. สหายทั้งสองนั่งฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสดงธรรมในระหว่าง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 749

บริษัทจึงคิดกันว่า เมื่อเรายังครองเรือนอยู่คงไม่สามารถบำเพ็ญธรรมนี้ได้สะดวกนัก. ครั้นมหาชนกลับกันไปแล้วทั้งสองจึงขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำรัสให้ภิกษุรูปหนึ่งบวชให้สหายทั้งสองนั้น. ภิกษุนั้นครั้นให้สหายทั้งสองบวชแล้วก็ให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้ว เตรียมจะไปอยู่ป่า. พระเมตเตยยะกล่าวกะพระติสสะว่า ดูก่อนอาวุโส พระอุปัชฌาย์จะไปป่า แม้เราทั้งสองก็จะไปด้วย. พระติสสะกล่าวว่า อย่าเลยคุณ ผมต้องการเห็นและฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านไปเถิด แล้วไม่ไป. พระเมตเตยยะไปกับพระอุปัชฌาย์บำพ็ญสมณธรรมในป่า ไม่ช้านักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับพระอุปัชฌาย์ผู้เป็นอาจารย์. พี่ชายของพระติสสะถึงแก่กรรมโดยพยาธิ. พระติสสะได้ข่าวแล้วก็ไปบ้านของตน ที่บ้านนั้นพวกญาติพากัน ปลุกปลอบพระติสสะให้สึก. ฝ่ายพระเมตเตยยะก็มาถึงกรุงสาวัตถีพร้อมกับพระอุปัชฌาย์ผู้เป็นอาจารย์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นออกพรรษาแล้ว เสด็จจาริกไปยังชนบท เสด็จถึงบ้านนั้นโดยลำดับ. ครั้งนั้นพระเมตเตยยะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่บ้านนี้มีสหายที่เป็นคฤหัสถ์ของข้าพระองค์อยู่คนหนึ่ง ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์รออยู่สักครู่ก่อนเถิด แล้วเข้าบ้านพาสหายนั้นมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตนเองยืนอยู่ข้างหนึ่งทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาต้น เพื่อประโยชน์แก่สหายนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงพยากรณ์ปัญหาของเมตเตยยะภิกษุนั้นได้ตรัสคาถาที่เหลือ. นี้เป็นการเกิดขึ้นของพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เมถุนมนุยุตฺตสฺส ได้แก่ แห่งบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเสมอๆ. บทว่า อิติ คือพระเมตเตยยะกล่าวอย่างนี้. บทว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 750

อายสฺมา นี้เป็นคำกล่าวน่ารัก. บทว่า ติสฺโส เป็นชื่อของพระเถระนั้น เพราะพระเถระนั้นมีชื่อว่าติสสะ. บทว่า เมตฺเตยฺโย เป็นโคตร. อนึ่ง พระเมตเตยยะนั้นได้ปรากฏโดยโคตร. เพราะฉะนั้น ในการเกิดของเรื่องนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า สหายสองคนชื่อติสสะและเมตเตยยะ. บทว่า วิฆาตํ คือความคับแค้น. บทว่า พฺรูหิ คือจงตรัสบอก. บทว่า มาริส นี้ เป็นคำกล่าวแสดงความน่ารัก แปลว่า ผู้นิรทุกข์. ท่านอธิบายว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า สุตฺวาน คือฟังคำของพระองค์. บทว่า วิเวเก สิกฺขิสฺสามเส จักศึกษาในวิเวก พระเมตเตยยะทูลวิงวอนขอให้แสดงธรรม กล่าวปรารภถึงสหาย. แต่สหายนั้นได้รับการศึกษาดีแล้ว. บทว่า มุสฺสเต วาปิ สาสนํ ลืมแม้คำสั่งสอน คือลืม ทำลาย คำสั่งสอนแม้สองอย่างจากปริยัติและปฏิบัติ. บทว่า วาปิ เป็นคำเพียงทำให้เต็มบท. บทว่า เอตํ ตสฺมึ อนาริยํ นี้ เป็นกิจไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น คือ นี้เป็นมิจฉาปฏิปทาในบุคคลนั้น.

บทว่า เอโก ปุพฺเพ จริตฺวาน ประพฤติอยู่ผู้เดียวในกาลก่อน คืออยู่คนเดียวในกาลก่อนด้วยการบรรพชา หรือด้วยการไม่เกี่ยวข้องกับคณะ. บทว่า ยานํ ภนฺตํว ตํ โลเก หีนมาหุ ปุถุชฺชนํ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นคนมีกิเลสมากในโลกเหมือนยานที่แล่นไปฉะนั้น ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นผู้แล่นไปผิดว่าเป็นคนเลวและเป็นคนมีกิเลสมาก ท่านกล่าวว่าเหมือนยานที่แล่นไปด้วยการขึ้นไปในที่ไม่เรียบมีกายทุจริตเป็นต้น ด้วยการทำลายตนในนรกเป็นต้น และด้วยการตกลงไปในเหวคือชาติเป็นต้น เหมือนยานมียานคือช้างเป็นต้นที่ไม่ได้ฝึก ขึ้นไปยังที่ไม่เรียบ ย่อมทำลายคนขี่ ย่อมตกลงไปแม้ในเหวฉะนั้น.

บทว่า ยโส กิตฺติ จ ยศและเกียรติ ได้แก่ ลาภสักการะและความสรรเสริญ. บทว่า ปุพฺเพ ในกาลก่อน คือ ในความเป็นบรรพชิต.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 751

บทว่า หายเต วาปิ ตสฺส สา ได้แก่ ยศและเกียรติคุณของบุคคลผู้แล่นไปผิดนั้น ย่อมเสื่อม. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว คือ เห็นความเจริญแห่งยศและเกียรติในกาลก่อน และความเสื่อมในภายหลัง. บทว่า สิกฺเขถ เมถุนํ วิปฺปหาตเว พึงศึกษาเพื่อละเมถุน คือ พึงศึกษาไตรสิกขา. เพราะเหตุไร? เพราะเพื่อละเมถุน. ท่านอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การละเมถุน. จริงอยู่ ผู้ใดละเมถุนไม่ได้ ผู้นั้นถูกความดำริครอบงำ แล้วซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า ฉะนั้น ผู้นั้นฟังเสียงอันระบือไปของชนเหล่าอื่นแล้วเป็นผู้เก้อเขินเช่นนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปเรโต ไปข้างหน้า คือประกอบแล้ว. บทว่า ปเรสํ นิคฺโฆสํ เสียงอันระบือไปของคนอื่น คือ คำนินทาของอุปัชฌาย์ เป็นต้น. บทว่า มงฺกุ โหติ เป็นผู้เก้อเขิน คือ เป็นผู้หน้าเสีย.

คาถานอกจากนี้ มีความเชื่อมกันชัดเจนแล้ว. ในคาถาเหล่านั้น บทว่า สตฺถานิ ได้แก่ กายทุจริตเป็นต้น. ก็กายทุจริตเป็นต้นนั้นท่านกล่าวว่า สตฺถานิ เพราะเชือดเฉือนตนเองและผู้อื่น. อนึ่ง ในบุคคลเหล่านั้น ผู้นี้ได้ถูกตักเตือนมาก่อนเป็นพิเศษยังกระทำทุจริตด้วยการพูดเท็จ ด้วยเหตุนี้ เราจึงกล่าวว่า เป็นผู้แล่นไปผิด เพราะฉะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้นี้แหละเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่ ย่อมถือเอาโทษแห่งมุสาวาท. บทว่า มหาเคโธ คือเครื่องผูกใหญ่. หากถามว่า คืออะไร. ตอบว่า คือ ถือเอาโทษแห่งมุสาวาท พึงทราบว่า ผู้นี้แลเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่หยั่งลงสู่มุสาวาท.

บทว่า มนฺโทว ปริกิสฺสติ ย่อมมัวหมองเหมือนคนงมงาย คือ กระทำการฆ่าสัตว์เป็นต้น เสวยทุกข์ เพราะฆ่าสัตว์นั้นเป็นเหตุ และกระทำการแสวงหาการรักษาสมบัติ ย่อมมัวหมองเหมือนคนงมงาย ฉะนั้น. บทว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 752

เอตมาทีนวํ ตฺวา มุนิ ปุพฺพาปเร อิธ มุนีในศาสนานี้รู้โทษในเบื้องต้นและเบื้องปลายนี้แล้ว ความว่า มุนีในศาสนานี้รู้โทษในเบื้องต้นและเบื้องปลายนี้ คือในความเป็นผู้แล่นไปผิดจากความเป็นสมณะในเบื้องปลายจากเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่คำว่ายศและเกียรติในกาลก่อนของบุคคลนั้นย่อมเสื่อมไปดังนี้.

บทว่า เอตทริยานมุตฺตมํ การประพฤติวิเวกนี้เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือ วิเวกจริยา (การประพฤติวิเวก) นี้เป็นกิจสูงสุดของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงศึกษาวิเวกเท่านั้น. บทว่า เตน เสฏฺโ น มญฺเถ ความว่า มุนีไม่ควรสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐด้วยวิเวกนั้น. ท่านอธิบายว่า ไม่ควรผูกพันอยู่กับวิเวกนั้น.

บทว่า ริตฺตสฺส คือ ผู้สงัด เว้นจากกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า โอฆติณฺณสฺส ปิหยนฺติ กาเม คธิตา ปชา ความว่า หมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในวัตถุกามทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อมุนีผู้ข้ามโอฆะ ๔ ได้แล้ว ดุจเจ้าหนี้รักใคร่ต่อผู้ไม่เป็นหนี้ (ใช้หนี้หมด) ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนาติสสะบรรลุโสดาปัตติผล ภายหลังบวชได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา