พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยเหตุเกิดจากของที่รักเป็นต้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40214
อ่าน  606

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 787

สุตตนิบาต

อัฏฐกวรรคที่ ๔

กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

ว่าด้วยเหตุเกิดจากของที่รักเป็นต้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 787

กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

ว่าด้วยเหตุเกิดจากของที่รักเป็นต้น

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

[๔๑๘] ความทะเลาะ, ความวิวาท, ความร่ำไร, ความเศร้าโศก, กับทั้งความตระหนี่, ความถือตัว, ความดูหมิ่นผู้อื่น, และทั้งคำส่อเสียด, เกิดจากอะไร ธรรม เครื่องเศร้าหมองเหล่านั้น เกิดจากอะไร ขอเชิญพระองค์ จงตรัสบอกเนื้อความที่ข้าพระองค์ถามนั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ความทะเลาะ, ความวิวาท ความร่ำไร, ความเศร้าโศก กับทั้งความตระหนี่, ความถือตัว, ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำส่อเสียด, ต่างเกิดจากของที่รัก, ความทะเลาะ ความวิวาท ต่างประกอบด้วยความตระหนี่, เมื่อความวิวาทเกิดแล้ว คำส่อเสียดย่อมเกิด.

พระพุทธนิมิตตรัสถามต่อไปว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 788

ความรักในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น มีความโลภ เที่ยวไปในโลก ความโลภของชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุ ความหวังและความสำเร็จของนรชน ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีอะไรเป็นเหตุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ความรักในโลกมีความพอใจเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น มีความโลภเที่ยวไปในโลก ความโลภของชน มีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีความพอใจเป็นเหตุ ความหวังและความสำเร็จของนรชน ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีความพอใจนี้เป็นเหตุ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ความพอใจในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้การวินิจฉัย คือตัณหาและทิฏฐิก็ดี ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และความสงสัยก็ดี ที่พระสมณะตรัสแล้ว เกิดจากอะไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 789

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวสุขเวทนาและทุกขเวทนาใดว่า เป็นความยินดีและความไม่ยินดีในโลก ความพอใจย่อมเกิด เพราะอาศัยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัตว์ในโลก เห็นความเสื่อมไปและความเกิดขึ้นในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อมกระทำการวินิจฉัย.

ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และความสงสัยธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อความยินดีและความไม่ยินดีทั้งสองอย่างนั่นแหละ มีอยู่ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะ รู้แล้ว จึงกล่าวธรรมทั้งหลาย.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ความยินดีและความไม่ยินดี มีอะไรเป็นเหตุ เมื่อธรรมอะไรไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถ คือทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้น (แห่งความยินดีและความไม่ยินดี) นี่ว่า มีสิ่งใดเป็นเหตุ แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 790

ความยินดี ความไม่ยินดี มีผัสสะ เป็นเหตุ เมื่อผัสสะไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี เราขอบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไป และทั้งความเกิดขึ้นนี้ว่า มีผัสสะนี้เป็นเหตุ แก่ท่าน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ผัสสะในโลกเล่า มีอะไรเป็นเหตุ อนึ่ง ความหวงแหนเกิดจากอะไร เมื่อธรรมอะไรไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้เป็นของเราจึงไม่มี เมื่อธรรมอะไรไม่มี ผัสสะ จึงไม่ถูกต้อง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ผัสสะ อาศัยนามและรูปจึงเกิดขึ้น ความหวงแหน มีความปรารถนาเป็นเหตุ เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่า สิ่งนี้เป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างไรจึงไม่มี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอาการที่รูปและสุข

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 791

ทุกข์นี้ไม่มีแก่พระองค์เถิด ข้าพระองค์มีใจดำริว่า เราควรรู้ความข้อนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาเป็นปรกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาอันผิดปรกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็มิใช่ เมื่อบุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ รูปจึงไม่มี เพราะว่าธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีสัญญาเป็นเหตุ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ข้าพระองค์ได้ถามความข้อใดกะพระองค์ พระองค์ก็ได้ทรงแสดงความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอถามความข้ออื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นเถิด.

ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่งในโลกนี้ ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ของสัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่าย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่ารูปสมาบัตินี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 792

ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยงพวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า) เป็นบัณฑิต ในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความบริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดในอนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยงเหล่านั้น.

ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฏฐิเหล่านั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฏฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร ย่อมไม่มาเพื่อความเกิดในภพน้อยใหญ่

จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 793

อรรถกถากลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

กลหวิวาทสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กุโต ปหูตา กลหา วิวาทา ความทะเลาะ ความวิวาท เกิดจากอะไร ดังนี้เป็นต้น.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?

ในมหาสมัยนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรแม้นี้ เพื่อทรงทำให้แจ้งถึงธรรมเหล่านั้นแก่เทวดาบางพวกผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า ธรรมทั้งหลาย ๘ ประการมีการทะเลาะกันเป็นต้นเกิดแต่เหตุไรหนอ จึงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามพระองค์โดยนัยก่อนนั่นแล.

ในพระสูตรนั้นคาถาทั้งหมดมีการเชื่อมความปรากฏชัดแล้ว เพราะอยู่ตามลำดับของการถามและการตอบ. แต่พึงทราบถึงการพรรณนาบทที่ยากของ คาถาเหล่านั้นดังต่อไปนี้. บทว่า กุโต ปหูตา กลหา วิวาทา ได้แก่ธรรม เครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ ความทะเลาะและความวิวาทอันเป็นเบื้องต้นของความทะเลาะนั้นเกิดจากอะไร. บทว่า ปริเทวโสกา สหมจฺฉรา จ คือ ความร่ำไร ความเศร้าโศก พร้อมกับความตระหนี่เกิดจากอะไร. บทว่า มานาติมานา สหเปสุณา จ คือความถือตัว ความดูหมิ่นพร้อมด้วยคำส่อเสียดเกิดจากไหน. บทว่า เต ได้แก่ ธรรมคือกิเลส ๘ อย่าง แม้ทั้งหมดเหล่านั้น. บทว่า ตทิงฺฆ พฺรูหิ คือ ขอพระองค์จงตรัสบอกเนื้อความที่ข้าพระองค์ถามนั้นเถิด คือ ข้าพระองค์ขอวิงวอนพระองค์. บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตมีความว่า ขอร้อง. บทว่า ปิยปฺปหูตา คือ เกิดจากสิ่งที่รัก. เป็นอันยุติดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในนิเทศนี้นั่นแล. บทว่า มจฺเฉรยุตฺตา กลหา วิวาทา ความทะเลาะ ความวิวาทประกอบเข้าแล้วด้วยความ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 794

ตระหนี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มิใช่วัตถุเป็นที่รักอย่างเดียวเท่านั้น แม้ความตระหนี่ก็เป็นเหตุแห่งความทะเลาะและความวิวาทด้วยบทนี้. พึงทราบว่าธรรมเหล่านั้นทั้งหมดพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหัวข้อแห่งความทะเลาะ ความวิวาทในบทนี้. ความวิวาทเป็นเหตุแห่งคำส่อเสียดเหมือนความตระหนี่ เป็นเหตุแห่งความทะเลาะความวิวาท ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิวาทชาเตสุ จ เปสุณานิ ก็เมื่อความวิวาทเกิดขึ้นแล้วคำส่อเสียดย่อมเกิด. บทว่า ปิยา สุ โลกสฺมึ กุโตนิทานา เย วาปิ โลภา วิจรนฺติ โลเก ความรักในโลกมีอะไรเป็นเหตุ แม้อนึ่งชนเหล่าใดมีความโลภเที่ยวไปในโลก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทนี้ว่า ความทะเลาะเกิดจากความรัก ความรักนั้นในโลกมีอะไรเป็นเหตุ. พระพุทธนิมิต ตรัสถามเนื้อความทั้งสองด้วยคาถาเดียวว่า มิใช่ความรักอย่างเดียว อนึ่ง ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น มีความโลภเที่ยวไป คือเที่ยวไปเพราะความโลภเป็นเหตุ เพราะถูกความโลภครอบงำ ความโลภของชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุ. บทว่า อาสา จ นิฏฺา จ ความหวังและความสำเร็จ คือ ความหวังและความสำเร็จ เพราะความหวังนั้น. บทว่า เย สมฺปรายาย นรสฺส โหนฺติ คือ ความหวังและความสำเร็จของนรชนซึ่งมีในสัมปรายภพ ท่านอธิบายว่า ภพเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คำถามนี้ก็อย่างเดียวกัน. บทว่า ฉนฺทานิทานานิ ความรักมีความพอใจเป็นเหตุ คือความรักมีความพอใจในกามเป็นต้นเป็นเหตุ. บทว่า เย วาปิ โลภา วิจรนฺติ ชนเหล่าใด มีความโลภเที่ยวไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้เนื้อความแม้ทั้งสองโดยความเป็นอันเดียวกันว่า อนึ่ง ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้นมีความโลภเที่ยวไป แม้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 795

ความโลภของชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้นก็มีความพอใจเป็นเหตุ. บทว่า อิโตนิทานา ท่านอธิบายว่า มีความพอใจเป็นเหตุเหมือนกัน. พึงทราบความสำเร็จแห่งศัพท์ ในบททั้งสองว่า กุโตนิทานา มีอะไรเป็นเหตุ และ อิโตนิทานา มีความพอใจนี้เป็นเหตุ โดยนัยดังกล่าวแล้วในสูจิโลมสูตรนั้นแล. บทว่า วินิจฺฉยา ได้แก่ การวินิจฉัยคือการตัดสินด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า เย วาปิ ธมฺมา สมเณน วุตฺตา อนึ่ง ธรรมเหล่าใดอันพระสมณะตรัสแล้ว ความว่า ธรรมแม้อื่นเหล่าใดเป็นอกุศล สัมปยุตด้วยความโกรธเป็นต้นอันพระพุทธสมณะตรัสแล้ว ธรรมเหล่านั้นเกิดจากไหน.

บทว่า ตมูปนิสฺสาย ปโหติ ฉนฺโท ความพอใจย่อมเกิดเพราะอาศัยความยินดีและความไม่ยินดี อันได้แก่วัตถุสองอย่าง คือ สุขเวทนาและ ทุกขเวทนานั้น ด้วยปรารถนาความอยู่ร่วมกัน และความพลัดพรากกัน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาว่า ความพอใจในโลกมีอะไรเป็นเหตุ ดังนี้.

บทว่า รูเปสุ ทิสฺวา วิภวํ ภวํ จ คือ สัตว์เห็นความเสื่อมไป และความเกิดขึ้นในรูปทั้งหลาย. บทว่า วินิจฺฉยํ กุรุเต ชนฺตุ โลเก สัตว์ในโลกย่อมกระทำการวินิจฉัย คือ กระทำการตัดสินด้วยตัณหาเพื่อให้ได้โภคสมบัติ และตัดสินด้วยทิฏฐิโดยนัยมีอาทิว่า ตัวตนของเราเกิดแล้ว ดังนี้. เป็นอันยุติดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในนิเทศนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหานี้ว่า อนึ่ง ความวินิจฉัยเกิดจากอะไร ดังนี้. บทว่า เอเตปิ ธมฺมา ทฺวยเมว สนฺเต เมื่อความ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 796

ยินดีและความไม่ยินดีทั้งสองอย่างนั้นแหละมีอยู่ ธรรมแม้เหล่านี้ก็ย่อมเกิดได้ คือ ธรรมมีความโกรธเป็นต้น แม้เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิธีเกิดของสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้นไว้แล้ว ในนิเทศนั่นแล. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก้แม้ปัญหาที่สามแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายละความสงสัยของพระพุทธนิมิตที่สงสัยในปัญหาเหล่านี้ที่พระองค์แก้อย่างนี้แล้วจึงตรัสว่า กถํกถี าณปถาย สิกฺเข ผู้มีความสงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณดังนี้. ท่านอธิบายไว้ว่า พึงศึกษาสิกขา ๓ เพื่อบรรลุญาณคือญาณทัสสนะ เพราะเหตุไร เพราะท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึงกล่าวธรรมทั้งหลาย คือ พระพุทธสมณะรู้แล้ว จึงกล่าวธรรม ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายย่อมไม่มีแก่พระพุทธสมณะนั้น เมื่อไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ไม่พึงรู้เพราะไม่มีญาณของตน ไม่พึงรู้เพราะโทษแห่งการแสดง ฉะนั้น ผู้สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึงทรงกล่าวธรรมทั้งหลาย.

บทว่า สาตาสาตํ ในบทนี้ว่า สาตํ อสาตญฺจ กุโตนิทานา ความยินดีและความไม่ยินดีมีอะไรเป็นเหตุ ทรงประสงค์เอาสุขเวทนาและทุกขเวทนานั่นเอง. บทว่า น ภวนฺติ เหเต คือธรรมเหล่านั้นจักไม่มี. บทว่า วิภวํ ภวญฺจาปิ ยเมตมตฺถํ เอตํ เม ปพฺรูหิ ยโตนิทานํ คือ ขอพระองค์ตรัสบอกอรรถคือทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้นแห่งความยินดี และความไม่ยินดีว่ามีอะไรเป็นเหตุแก่ข้าพระองค์. ในบทนี้ท่านเปลี่ยนลิงค์. บทนี้มีอธิบายว่า สาตาสาตานํ วิภโว ภโว จ ความเสื่อมและความเกิดของ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 797

ความยินดีและความไม่ยินดีทั้งหลาย พึงทราบความในบทนี้ว่า ขอพระองค์ จงตรัสบอกทั้งความเสื่อมและความเกิดนั้นว่า มีอะไรเป็นเหตุ คือ ความเสื่อม และความเกิดอันเป็นวิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเสื่อมและภวทิฏฐิความเห็นว่าเกิด อันเป็นวัตถุแห่งความเสื่อมและความเกิดจริงอย่างนั้นในฝ่ายแก้ปัญหานี้ ท่านกล่าวไว้ในนิเทศว่า ภวทิฏฐิก็ดี วิภวทิฏฐิก็ดี ล้วนมีผัสสะเป็นเหตุ.

บทว่า อิโตนิทานํ คือมีผัสสะเป็นเหตุ. บทว่า กิสฺมึ วิภูเต น ผุสนฺติ ผสฺสา เมื่อธรรมอะไรไม่มีผัสสะจึงไม่ถูกต้อง คือ เมื่อธรรมอะไรล่วงไปแล้ว ผัสสะ ๕ มีจักษุสัมผัสเป็นต้นจึงไม่มี. บทว่า นามญฺจ รูปญฺจ ปฏิจฺจ อาศัยนามและรูป คือ อาศัยนามอันสัมปยุตตกันเข้า และอาศัยวัตถุกับรูปที่เป็นอารมณ์. บทว่า รูเป วิภูเต น ผุสนฺติ ผสฺสา คือ เมื่อรูปล่วงไป ผัสสะ ๕ จึงไม่ถูกต้อง.

บทว่า กถํสเมตสฺส คือ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร. บทว่า วิโภติ รูปํ คือ รูปจึงไม่มีหรือไม่พึงมี. บทว่า สุขํ ทุกฺขํ วา พระพุทธนิมิต ตรัสถามถึงรูปทั้งที่น่าปรารถนาและทั้งที่ไม่น่าปรารถนานั่นเอง. บทว่า น สญฺสญฺี บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญา คือ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร รูปจึงไม่มี บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาเป็นปกติ.

บทว่า น วิสญฺสญฺี เป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาอันผิดปกติ คือ เป็นบ้าหรือจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า โนปิ อสญฺี เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือ เป็นผู้เว้นจากสัญญาเข้านิโรธสมาบัติ หรือเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่. บทว่า น วิกูตสญฺี เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็ไม่ใช่ คือเป็นผู้ก้าวล่วงมีสัญญา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 798

ล่วงแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ได้อรูปฌานก็ไม่ใช่. บทว่า เอวํสเมตสฺส วิโภติ รูปํ บุคคลเมื่อปฏิบัติอย่างนี้ รูปจึงไม่มี คือ บุคคลผู้ได้อรูปสมาบัติเมื่อไม่ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีสัญญา และไม่มีสัญญาเป็นต้นนี้แล้วปฏิบัติดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ ฯลฯ บุคคลนั้นย่อมนำจิตไปเพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ รูปจึงไม่มี.

บทว่า สญฺานิทานา หิ ปปญฺจสงฺขา เพราะว่าธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้ามีสัญญาเป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า แม้เมื่อปฏิบัติอย่างนี้แล้วธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้าคือตัณหาและทิฏฐิอันมีสัญญา นั้นเป็นเหตุ ยังละไม่ได้ทีเดียว. หลายบทว่า เอตฺตาวตคฺคํ ฯเปฯ วทนฺติ เอตฺโต ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตในโลกนี้ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ของสัตว์ ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่าย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่านี้. พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ของสัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่าย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่าอรูปสมาบัตินี้.

บทว่า เอตฺตาวตคฺคมฺปิ วทนฺติ เหเก สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยงพวกหนึ่ง ถือตัวว่าเป็นบัณฑิตย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่าเป็นความบริสุทธิ์อย่างยอด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. บทว่า เตสํ ปุเนเก สมยํ วทนฺติ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งย่อมกล่าวถึงลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น คือ สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่งย่อมกล่าวถึงลัทธิ คือ ความขาดสูญ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 799

ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. บทว่า อนุปาทิเสเส กุสลาวทานา คือ ผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดในอนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า เอเต จ ตฺวา อุปนิสฺสิตา คือ ส่วนท่านผู้เป็นมุนีรู้บุคคลผู้เป็นเจ้าทิฏฐิเหล่านั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ตฺวา มุนี นิสฺสเย โส วิมํสี ท่านผู้เป็นมุนีนั้นพิจารณารู้ผู้อาศัยทิฏฐิทั้งหลาย คือ พระพุทธทุนีผู้เป็นบัณฑิต พิจารณารู้ผู้อาศัยนั่นแล. บทว่า ตฺวา วิมุตฺโต รู้แล้วหลุดพ้นคือรู้ธรรม โดยความเป็นทุกข์และไม่เที่ยงเป็นต้น หลุดพ้นแล้ว. บทว่า ภวาภวาย น สเมติ คือ ย่อมไม่มาเพื่อเกิดบ่อยๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในปุราเภทสูตร นั่นแล.

จบอรรถกถากลหวิวาทสูตรที่ ๑๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา