พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาวิยูหสูตรที่ ๑๓ ว่าด้วยการยึดถือทิฏฐิของตน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40216
อ่าน  672

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 812

สุตตนิบาต

อัฏฐกวรรคที่ ๔

มหาวิยูหสูตรที่ ๑๓

ว่าด้วยการยึดถือทิฏฐิของตน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 812

มหาวิยูหสูตรที่ ๑๓

ว่าด้วยการยึดถือทิฏฐิของตน

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

[๔๒๐] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถือมั่นอยู่ในทิฏฐิ ย่อมโต้เถียงวิวาทกันว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง บุคคลทั้งหมดนั้น ย่อมนำความนินทามาเนืองๆ หรือย่อมได้ความสรรเสริญ ในที่นั้นบ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลเหล่านั้นบางคราวได้ความสรรเสริญบ้าง ผลคือความสรรเสริญนั้นน้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ เราย่อมกล่าวผลแห่งความวิวาทกัน ๒ ประการ คือ ความนินทาและความสรรเสริญนี้น้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ บัณฑิตเห็นโทษในผลแห่งการวิวาทแม้นี้แล้ว เห็นพระนิพพานมิใช่ภูมิแห่ง การวิวาท ว่าเป็นธรรมเกษม ไม่พึงวิวาทกัน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ทิฏฐิหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมาก บัณฑิตผู้รู้แจ้งย่อมไม่เข้าไปใกล้ทิฏฐิทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 813

นั้น บัณฑิตผู้รู้แจ้งนั้น เป็นผู้ไม่เข้าไปใกล้ จะพึงถึงธรรมที่ควรเข้าไปใกล้อะไร จึงจะไม่ทำความชอบใจในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชนบางพวกผู้มีศีลอันอุดม สำคัญอยู่ว่าศีลเท่านั้นเป็นธรรมอุดม จึงกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการสำรวม ชนเหล่านั้น สมาทานวัตรแล้วตั้งมั่นอยู่ ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายควรศึกษาความบริสุทธิ์ของศาสดานั้นในทิฏฐินี้เท่านั้น ชนเหล่านั้นอันภพนำเข้าไปแล้ว กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด.

ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรตแล้วไซร้ บุคคลนั้นยังกรรมให้ผิดไป แล้วก็หวั่นไหว ยังคร่ำครวญและปรารถนาความบริสุทธิ์อยู่ เหมือนบุคคลอยู่ปราศจากเรือน เสื่อมแล้วจากพวก พึงปรารถนาเรือนหรือพวก ฉะนั้น.

อนึ่ง อริยสาวก ละศีล พรต ธรรม ที่มีโทษและไม่มีโทษทั้งสิ้นนี้ แล้วไม่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 814

ปรารถนาว่า ธรรมชาตินี้บริสุทธิ์ ธรรมชาตินี้ไม่บริสุทธิ์ เว้นแล้วจากความบริสุทธิ์ ไม่ถือมั่นทิฏฐิ แล้วพึงเที่ยวไป.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย อาศัยทิฏฐินั้นหรือความเกลียดบาป แม้อนึ่ง อาศัยรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว หรืออารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เป็นผู้ระลึกแล่นพ้นไปจากอกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อย และภพใหญ่ ย่อมทอดถอนถึงความบริสุทธิ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ก็ความดิ้นรนทั้งหลาย หรือแม้ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่ผู้มีความปรารถนา มีอยู่ในวัตถุที่ตนกำหนดแล้ว การจุติและการอุบัติในภพนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะพึงหวั่นไหว จะพึงดิ้นรนในอารมณ์ไหนๆ เพราะเหตุอะไร.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวธรรมใดว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง ส่วนสมณพราหมณ์ เหล่าอื่นกล่าวธรรมนั้นแหละว่า เป็นธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 815

เลวทราม วาทะของสมณะพราหมณ์ทั้งสองพวกนี้ วาทะอย่างไหนจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหมดนี้แล เป็นผู้กล่าวอวดอ้างว่าตนเป็นผู้ฉลาด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวธรรมของตนนั่นแหละ ว่าเป็นธรรมบริบูรณ์ แต่กลับกล่าวธรรมของผู้อื่น ว่าเป็นธรรมเลวทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างยึดถือทิฏฐิด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวทิฏฐิของตนๆ ว่าเป็นของจริง.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ถ้าว่าบุคคลพึงเป็นผู้เลวทราม เพราะการติเตียนของบุคคลอื่นไซร้ ใครๆ จะพึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะว่าสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวธรรมของบุคคลอื่น โดยความเป็นธรรมเลวทราม ในธรรมของตน กล่าวว่าเป็นธรรมมั่นคง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญหนทางเครื่องดำเนินของตนอย่างใด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 816

การบูชาธรรมของตนของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังเป็นไปอยู่อย่างนั้น หากว่าวาทะทั้งปวงจะพึงเป็นของแท้ไซร้ ความบริสุทธิ์ของสมณพราหมณ์ผู้มีถ้อยคำต่างๆ กันเหล่านั้น ก็จะเป็นผลเฉพาะตนๆ เท่านั้น.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

ญาณที่ผู้อื่นจะพึงนำไปไม่มีแก่พราหมณ์ การวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฏฐิทั้งหลายว่าข้อนี้แหละจริง ดังนี้แล้ว ยึดถือไว้ ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงล่วงความวิวาทเสียได้ พราหมณ์นั้นย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เดียรถีย์บางพวกกล่าวอยู่ว่า เรารู้ เราเห็น สิ่งที่เรารู้ เราเห็นนี้ เป็นอย่างนั้นแล ดังนี้ จึงเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ ถ้าว่าเดียรถีย์ได้เห็นแล้วไซร้ ประโยชน์อะไรเล่า ด้วยความเห็นนั้นแก่ตน เพราะว่าเดียรถีย์ทั้งหลาย ก้าวล่วงอริยมรรคเสียแล้วย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 817

นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป และครั้นเห็นแล้ว จักรู้ทั่วถึงนามรูปเหล่านั้นทีเดียวโดยความเป็นของเที่ยง หรือโดยความเป็นสุข นรชนนั้น จะเห็นนามรูปมากหรือน้อยโดยความเป็นของเที่ยงและเป็นสุข ก็จริง ถึงกระนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยความเห็นนั้นเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชนผู้ทำทิฏฐิที่ตนกำหนดไว้ในเบื้องหน้า มีปรกติกล่าวตามความมั่นใจ ไม่ใช่เป็นผู้อันบุคคลอื่นพึงจะแนะนำได้ง่ายเลย ผู้นั้นอาศัยครูคนใดแล้ว ก็เป็นผู้กล่าวความดีงามในครูคนนั้น ผู้นั้นเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์ ได้เห็นความถ่องแท้ในทิฏฐิของตน.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

พราหมณ์รู้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงเครื่องกำหนด ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ และไม่มีตัณหาทิฏฐิเครื่องผูกพันด้วยญาณ อนึ่ง พราหมณ์นั้น ได้รู้สมมติ คือ ทิฏฐิทั้งหลายเป็นอันมากแล้ววางเฉย ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 818

มุนีในโลกนี้ สละกิเลสเครื่องร้อยรัดเสียแล้ว เมื่อผู้อื่นเกิดวิวาทกัน ก็ไม่แล่นไปเข้าพวกเขา มุนีนั้นเป็นผู้สงบ เมื่อผู้อื่นไม่สงบ ก็เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ ท่านไม่มีการยึดถือ ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

มุนีละอาสวะเบื้องต้น (คือส่วนที่ล่วงแล้ว) เสีย ไม่ทำอาสวะไหน (คือส่วนที่เป็นปัจจุบัน) ไม่เป็นผู้ลำเอียงเพราะความพอใจ อนึ่ง มุนีนั้นจะเป็นผู้ยึดมั่นกล่าวก็หาไม่ มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ หลุดพ้นแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ติเตียนตน ไม่ติดอยู่ในโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า

มุนีนั้น เป็นผู้ไม่มีมารและเสนามารในธรรมทั้งปวง คือ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว หรือได้ทราบแล้ว ปลงภาระลงแล้ว หลุดพ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีเครื่องกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา ฉะนี้แล.

จบมหาพยูหสูตรที่ ๑๓

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 819

อรรถกถามหาพยูหสูตร๑ที่ ๑๓

มหาพยูหสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เย เกจิเม บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?

ในมหาสมัยนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้เพื่อทำให้แจ้งความนั้น แก่เหล่าเทวดาบางพวกผู้มิจิตเกิดขึ้นว่า บุคคลเหล่านี้ถือมั่นในทิฏฐิย่อมได้รับการนินทาอย่างเดียวหรือหนอ หรือได้รับแม้การสรรเสริญด้วย จากสำนึกของวิญญูชนทั้งหลาย ทรงให้พระพุทธนิมิตถามพระองค์ โดยนัยก่อนนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวานยนฺติ ได้แก่ นำมาเนืองๆ คือนำมา บ่อยๆ. เพราะบุคคลผู้มีวาทะเป็นเจ้าทิฎฐิเหล่านั้นแม้กล่าวอยู่ว่าสิ่งนี้เท่านั้น จริง บางคราวได้ความสรรเสริญบ้าง ผลแห่งวาทะอันได้แก่ความสรรเสริญนั้น น้อยนักไม่สามารถเพื่อสงบราคะเป็นต้นได้ จะกล่าวไปไยถึงผลแห่งการนินทาที่สอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนี้จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน มีอาทิว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาท ๒ ประการนี้น้อยนัก ไม่พอแก่ความสงบ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุเว วิวาทสฺส ผลานิ ผลแห่งการวิวาท ๒ ประการ ได้แก่ ความนินทาและความสรรเสริญ หรือได้แก่ ความชนะ และความแพ้เป็นต้นอันเป็นส่วนพวกเดียวกันกับความสรรเสริญและความนินทา นั้น. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา เห็นโทษแห่งการวิวาทกัน คือเห็นโทษในผล


๑. บาลีว่า มหาวิยูหสูตร.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 820

แห่งการวิวาทอย่างนี้ว่า การนินทาอันเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา การสรรเสริญ ไม่พอแก่ความสงบดังนี้ บัณฑิตเห็นนิพพานมิใช่ภูมิแห่งการวิวาทว่าเป็นธรรม เกษม. เมื่อไม่วิวาทกันอย่างนี้ พึงทราบคาถาต่อไปว่า ยา กาจิมา ทิฏฐิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมติโย ได้แก่ ทิฏฐิ. บทว่า ปุถุชฺชา คือ เป็นอันมาก. บทว่า โส อุปยํ กิเมยฺย บัณฑิตผู้รู้แจ้งนั้นจะพึงถึงธรรมที่ควรเข้าไปใกล้อะไร คือบัณฑิตนั้นพึงถึงธรรมเครื่องเข้าใกล้ ด้วยอรรถว่า พึงเข้าถึง คือจะพึงถึงธรรมแม้อย่างหนึ่งในรูปเป็นต้นที่ควรเข้าไปใกล้อะไร หรือพึงเข้าถึงด้วยเหตุอะไร. บทว่า ทิฏฺเ สุเต ขนฺติมกุพฺพมาโน ได้แก่ ไม่ทำความชอบใจในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟังและในความบริสุทธิ์. นอกเหนือไปจากนี้ควรทราบคาถาว่า สีลุตฺตมา ผู้มีศีลอุดมเป็นต้นต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ ชนบางพวกมีศีลอุดมสำคัญว่าศีลเท่านั้นเป็นธรรมอุดม จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยการเพียงสำรวม เท่านั้น อนึ่งชนเหล่านั้นสมาทานวัตรมีหัตถีวัตรเป็นต้น ตั้งมั่นด้วยคิดว่าความบริสุทธิ์ของศาสดาจะพึงมีในทิฏฐิเท่านั้น เขาถูกภพนำเข้าไปแล้วถูกภพท่วมทับ ยังพูดอยู่เสมอๆ ว่าเราเป็นผู้ฉลาด. บรรดาผู้มีศีลอุดมคนใดคนหนึ่ง ปฏิบัติได้อย่างนั้น พึงทราบคาถา สเจ จุโต หากบุคคลเคลื่อนจากศีลและพรตดังนี้ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ หากว่าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรตนั้น ด้วยการตัดผู้อื่น หรือไม่บริโภคร่วม บุคคลนั้นยังกรรมมีศีลและพรตเป็นต้น หรือกรรมคือปุญญาภิสังขารให้ผิดแล้วก็หวั่นไหว มิใช่หวั่นไหวอย่างเดียว ยัง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 821

กระหายคร่ำครวญปรารถนาความบริสุทธิ์คือศีลและพรตนั้นอยู่. เหมือนอะไร. เหมือนบุคคลอยู่ปราศจากเรือน เสื่อมแล้วจากพวก พึงปรารถนาเรือนหรือพวก ฉะนั้น อนึ่งอริยสาวกละศีลและพรตทั้งหมดอันเป็นเหตุทำให้ผู้มีศีลและพรต อันสูงสุดหวั่นไหว. พึงทราบคาถาต่อไป.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สาวชฺชานวชฺชํ ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ ได้แก่อกุศลทั้งปวงและโลกิยกุศล. บทว่า สุทฺธี อสุทฺธีติ อปฏฺยมาโน ไม่ปรารถนาว่าธรรมชาตินี้บริสุทธิ์ ธรรมชาตินี้ไม่บริสุทธิ์ คือไม่ปรารถนาธรรมชาติบริสุทธิ์ มีกามคุณ ๕ เป็นต้น และธรรมชาตินี้ไม่บริสุทธิ์ มีอกุศล เป็นต้น. บทว่า วิรโต จเร เว้นแล้วเที่ยวไป คือเว้นแล้วจากความบริสุทธิ์ และความไม่บริสุทธิ์เที่ยวไป. บทว่า สนฺติมนุคฺคหาย คือไม่ถือมั่นทิฏฐิ. พระพุทธนิมิตครั้นทรงแสดงสมณพราหมณ์ภายนอกจากศาสนานี้อย่างนี้ ผู้มีวาทะบริสุทธิ์ด้วยการสำรวมในศีลอันสูงสุด การกำจัดสมณพราหมณ์ภายนอกเหล่านั้น และการปฏิบัติของพระอรหันต์ผู้ละศีลและพรตแล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงสมณพราหมณ์ภายนอกผู้มีวาทะบริสุทธิ์ แม้โดยประการอื่น จึงตรัสคาถาว่า ตมูปนิสฺสาย อาศัยทิฏฐินั้น ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายแม้เหล่าอื่น อาศัยทิฏฐินั้นหรือความเกลียดบาปอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิอันบริสุทธิ์เป็นต้น เป็นผู้ระลึกแล่นพ้นไปจากอกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ แล้วย่อมทอดถอน คือพูดถึงความบริสุทธิ์. อธิบายว่า เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น ยังไม่ปราศจากตัณหา ทอดถอนถึงความบริสุทธิ์ แม้ผู้ใดพึงสำคัญตนว่าเป็นผู้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 822

ถึงความบริสุทธิ์ ผู้นั้นเพราะยังไม่ปราศจากตัณหายังปรารถนาวัตถุนั้นๆ ในภพน้อยและภพใหญ่ ก็ยังมีความดิ้นรนอยู่บ่อยๆ นั่นเอง. เพราะตัณหาที่บุคคลเสพเป็นอาจิณแล้ว ก็ทำให้ตัณหาเจริญมากขึ้นนั่นเอง และมิใช่ความดิ้นรนอย่างเดียว ความหวั่นไหวยังมีในวัตถุที่ตนกำหนดอีกด้วย. ท่านอธิบายว่า ตัณหาและทิฏฐิของบุคคลนั้น เป็นความหวั่นไหวในวัตถุที่ตนกำหนดแล้ว. ก็เพราะเป็นผู้ปราศจากตัณหาในภพและมิใช่ภพแล้ว การจุติและการอุบัติต่อไปในภพนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะพึงหวั่นไหว จะพึงดิ้นรนในอารมณ์ไหนๆ เพราะเหตุอะไร. นี้เป็นการเชื่อมความของคาถานี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในนิเทศนั่นแล.

บทว่า ยมาหุ เป็นคาถาถาม คือ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวธรรมใด.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะไม่มีวาทะที่เป็นจริงแม้วาทะเดียวในสมณพราหมณ์นี้ ด้วยว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวเพียงความเห็นอย่างเดียว ฉะนั้นเมื่อจะทรงแสดงความเห็นจึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อนว่า สกญฺหิ ธรรมของตนนั่นแหละ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สกํ คือทิฏฐิของตน. เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านี้ กล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์ กล่าวธรรมของคนอื่นว่าเลว พึงทราบคาถาว่า ยสฺส กสฺสจิ ปรสฺส เจ วมฺภยิเตน หีโน หากบุคคลพึงเป็นผู้เลวทราม เพราะการติเตียนของบุคคลอื่น คนใดคนหนึ่ง ดังนี้ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ ผิว่าบุคคลนั้นพึงเป็นผู้เลวทรามเพราะเหตุที่คนอื่นติเตียน ใครๆ ก็จะไม่พึงเป็นผู้วิเศษคือเลิศในธรรมทั้งหลาย. เพราะอะไร.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 823

เพราะสมณพราหมณ์เป็นอันมาก กล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้น ในธรรมของตนกล่าวว่ามั่นคง. มีอะไร ยิ่งไปกว่านั้น. พึงทราบคาถาว่า สธมฺมปูชา การบูชาธรรมของตน ดังนี้เป็นต้น ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ พวกเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมสรรเสริญหนทางเครื่องดำเนินของตนอย่างใด แม้การบูชาธรรมของตนของเดียรถีย์เหล่านั้น ก็ยังเป็นไปอยู่อย่างนั่น เพราะว่าพวกเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมเคารพศาสดาเป็นต้นเหลือเกิน. ในข้อนั้น ผิว่าการบูชาธรรมของทนจะพึงเป็นประมาณแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น วาทะทั้งหมดก็จะพึงเป็นของแท้. เพราะอะไร. เพราะว่าความบริสุทธิ์ของเดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผลเฉพาะตนๆ เท่านั้น ความบริสุทธิ์นั้นย่อมไม่สำเร็จในที่อื่น แม้โดยปรมัตถ์ก็ไม่สำเร็จ เพราะคำนั้นเป็นเพียงยึดถือความเห็นในตนเท่านั้นของผู้รู้ที่ปัจจัยอื่นจะพึงนำไปเหล่านั้น แต่ตรงกันข้ามผู้ใดชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะลอยบาปได้แล้ว พึงทรวบคาถาว่า โย ปน วิปรีโต ฯเปฯ ปรเนยฺยมตฺถิ ญาณที่ผู้อื่นพึงนำไปไม่มีแก่พราหมณ์นั้น ดังนี้ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ ญาณที่ผู้อื่นจะพึงนำไป ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเห็นชอบแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้. การวินิจฉัยในธรรมคือทิฏฐิทั้งหลายว่าข้อนี้เท่านั้นจริง ดังนี้แล้วยึดถือไว้ ไม่มีแก่พราหมณ์. เพราะอะไร. เพราะว่าพราหมณ์นั้นล่วงความวิวาทเพราะทิฏฐิเสียได้ อนึ่งพราหมณ์นั้นไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐเลยนอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 824

พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ชานามิ เรารู้. พึงทราบอย่างนี้ก่อน จริงอยู่พราหมณ์ชั้นยอดย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐเลย. แต่พวกเดียรถีย์เหล่าอื่นรู้อยู่เห็นอยู่ด้วยปรจิตตญาณ (รู้ใจผู้อื่น) เป็นต้น แม้กล่าวว่า เรารู้ เราเห็น สิ่งที่เรารู้เราเห็นเป็นอย่างนั้นแล ดังนี้จึงเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ. เพราะเหตุไร. เพราะหากว่าบรรดาเดียรถีย์เหล่านั้น แม้คนหนึ่งได้เห็น ก็จะได้เห็นความตามเป็นจริง ด้วยปรจิตตญาณเป็นต้นนั้น ประโยชน์อะไรเล่าด้วยการเห็นนั้นแก่ตน คือทำอะไรได้ การกำหนดรู้ทุกข์ สำเร็จแล้วหรือ หรือการละเหตุให้เกิดทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จแล้ว เพราะเดียรถีย์ทั้งหลายเหล่านั้นก้าวล่วงอริยมรรค แม้โดยประการทั้งปวงได้แล้วย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น หรือพระพุทธเจ้าเป็นต้นก้าวล่วงเดียรถีย์เหล่านั้นได้แล้วย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยธรรมอย่างอื่น.

พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ปสฺสํ นโร นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป ดังนี้เป็นต้น. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น มีดังต่อไปนี้. นรชนใดได้เห็นด้วยปรจิตตญาณ (รู้ใจผู้อื่น) แล้ว นรชนนั้นเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป แต่นั้นครั้นเห็นแล้วจักรู้ทั่วถึงนามรูปเหล่านั้นทีเดียว โดยความเป็นของเที่ยงหรือโดยความเป็นสุข จักไม่รู้โดยประการอื่น. นรชนนั้นเมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ จะเห็นนามรูปมากหรือน้อยโดยความเป็นของเที่ยง และโดยเป็นสุขก็จริง ถึงกระนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น เห็นปานนั้น ของเขาเลย.

พึงทราบการเชื่อมและความของคาถาว่า นิวิสฺสวาที มีปกติกล่าว ตามความมั่นใจ ดังนี้เป็นต้น. แม้เมื่อไม่มีความบริสุทธิ์ด้วยความเห็นนั้น ผู้ใด

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 825

มีปกติกล่าวตามความมั่นใจอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นสิ่งนั้น เป็นอย่างนั้นแล อาศัยความเป็นอย่างนั้นจึงเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ เป็นผู้มีปกติกล่าวตามความมั่นใจอย่างนี้ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ผู้นั้นมิใช่จะพึงแนะนำได้ง่ายเลย ชนผู้ทำทิฏฐิที่ตนกำหนดคือปรุงแต่งไว้เบื้องหน้าอย่างนั้น ผู้นั้นอาศัยศาสดาคนใดแล้ว ก็เป็นผู้กล่าวถึงความดีงามในศาสดานั้นสำคัญตนว่าเราเป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์ เป็นผู้กล่าวความหมดจด หรือเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ ดังนี้. บทว่า ตตฺถ ตถทฺทสา โส ผู้นั้นได้เห็นความถ่องแท้ในทิฏฐิของตน คือได้เห็นความไม่วิปริตในทิฏฐิของตนนั้น. อธิบายว่า ได้เห็นความถ่องแท้นั้นโดยประการที่ทิฏฐินั้นยังเป็นไปอยู่ ไม่ปรารถนาจะเห็นโดยประการอื่น. เมื่อพวกเดียรถีย์ทำทิฏฐิที่ตนกำหนดไว้อย่างนี้ในเบื้องหน้า พึงทราบคาถาต่อไปว่า พราหมณ์รู้แล้วย่อมไม่เข้าถึงเครื่องกำหนด คือตัณหาและทิฏฐิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขํ แปลว่ารู้แล้ว อธิบายว่า รู้ด้วยการนับ. บทว่า นปิ าณพนฺธุ ไม่มีตัณหาทิฏฐิเครื่องผูกพันด้วยญาณ คือ ไม่ทำเครื่องผูกพันตัณหาทิฏฐิไว้ด้วยสมาปัตติญาณเป็นต้น. ในบทนั้นมีวิเคราะห์ว่า เครื่องผูกพันที่ทำไว้ด้วยญาณของคนนั้นไม่มี เหตุนั้น คนนั้นจึงชื่อว่าไม่มีเครื่องผูกพันด้วยญาณ. บทว่า สมฺมติโย ได้แก่ สมมติว่าเป็นทิฏฐิ. บทว่า ปุถุชฺชา คือมีเป็นอันมาก. บทว่า อคฺคหณฺนฺติมญฺเ คือคนเหล่าอื่น ย่อมยึดถือ อธิบายว่า คนเหล่าอื่นย่อมยึดถือสมมติเหล่านั้น. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น มีคาถาว่า วิสชฺช คนฺถานิ มุนีสละกิเลสเครื่องร้อยรัดเสียแล้ว ดังนี้ เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคโห คือเว้นจากการยึด ชื่อว่า อนุคฺคโห เพราะไม่มีการยึดถือ หรือย่อมไม่ยึดถือ. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น. มีคาถา ว่า ปุพฺพาสเว มุนีละอาสวะเบื้องต้นเสีย ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 826

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาสเว ได้แก่ กิเลสเกิดขึ้นเพราะปรารภรูปในอดีตเป็นต้น. บทว่า นเว อาสวะใหม่ คือกิเลสเกิดขึ้นปรารภรูปในปัจจุบัน เป็นต้น. บทว่า น ฉนฺทคู คือไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ. บทว่า อนตฺตครหี คือมุนีไม่ติเตียนตนด้วยการทำและไม่ทำ มุนีไม่ติเตียนตนอย่างนี้ พึงทราบคาถาต่อไปว่า ส สพฺพธมฺเมสุ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีมารและเสนามาร ในธรรมทั้งปวง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ส สพฺพธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมอันมีประเภทอย่างนี้ว่า ธรรมอะไรๆ ในธรรมคือทิฏฐิ ๖๒. บทว่า ปนฺนภาโร คือปลงภาระลงแล้ว. เป็นผู้ไม่มีเครื่องกำหนด เพราะไม่กำหนดไว้ อธิบายว่า ไม่ทำเครื่องกำหนดแม้สองอย่าง. บทว่า นูปรโต ไม่เข้าไปยินดี คือ (มุนี) ไม่ เข้าไปคลุกคลีเหมือนปุถุชน กัลยาณปุถุชนและพระเถระ. บทว่า น ปฏฺิโย ไม่มีความปรารถนา คือไม่มีตัณหา. ชื่อว่า ปฏฺิยา เพราะตัณหาปรารถนา. ชื่อว่า น ปฏฺิโย เพราะไม่มีความปรารถนา. บทที่เหลือในบทนั้นท่านกล่าวไว้ชัดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามหาพยูหสูตรที่ ๑๓ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา