พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นันทปัญหาที่ ๗ ว่าด้วยมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40232
อ่าน  400

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 924

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

นันทปัญหาที่ ๗

ว่าด้วยมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 924

นันทปัญหาที่ ๗

ว่าด้วยมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

[๔๓๑] นันทมาณพทูลถามปัญหาว่า

ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลว่าเป็นมุนีนี้นั้น ด้วยอาการอย่างไรหนอ ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณ หรือผู้ ประกอบด้วยความเป็นอยู่ ว่าเป็นมุนี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนนันทะ ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่กล่าวบุคคลว่าเป็นมุนี ด้วยความเห็น ด้วยการฟัง หรือด้วยญาณ ชนเหล่าใดกำจัดเสนามารให้พินาศแล้ว ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไปอยู่ เรากล่าวชนเหล่านั้นว่าเป็นมุนี.

น. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยความเห็นบ้าง ด้วยการฟังบ้าง ด้วยศีลและพรตบ้าง ด้วยมงคลตื่นข่าว เป็นต้นเป็นอันมากบ้าง ข้าแต่พระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 925

ภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ประพฤติอยู่ในทิฏฐิของตนนั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็นเครื่องบริสุทธิ์ ข้ามพ้นชาติและชราได้บ้างหรือไม่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนนันทะ สมณพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยความเห็นบ้าง ด้วยการฟังบ้าง ด้วยศีลและพรตบ้าง ด้วยมงคลตื่นข่าวเป็นต้นเป็นอัน มากบ้าง สมณพราหมณ์เหล่านั้นประพฤติอยู่ในทิฏฐิของตนนั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็นเครื่องบริสุทธิ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้ามพ้นชาติและชราไปไม่ได้.

น. สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็นบ้าง ด้วยการฟังบ้าง ด้วยศีลและพรตบ้าง ด้วยมงคล ตื่นข่าวเป็นต้นเป็นอันมากบ้าง ข้าแต่ พระองค์ผู้เป็นมุนี ถ้าพระองค์ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 926

สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามโอฆะไม่ได้แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้วในบัดนี้ ข้าเเต่พระผู้มี พระภาค เจ้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนนันทะ เราไม่กล่าวว่าสมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชรา หุ้มห่อไว้แล้ว แต่เรากล่าวว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ละเสียซึ่งรูปที่ได้เห็นแล้วก็ดี เสียงที่ ได้ฟังแล้วก็ดี อารมณ์ที่ได้ทราบแล้วก็ดี ละเสียแม้ซึ่งศีลและพรตทั้งหมดก็ดี ละเสียซึ่งมงคลตื่นข่าวเป็นต้น เป็นอันมากทั้งหมดก็ดี กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ คนเหล่านั้นแลข้ามโอฆะได้แล้ว.

น. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคดม ข้าพระองค์ยินดียิ่งซึ่งพระดำรัสของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ธรรมอันไม่มีอุปธิ พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว แม้ข้าพระองค์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 927

ก็กล่าวว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ ละเสียซึ่งรูปที่ได้เห็นแล้วก็ดี เสียงที่ได้ฟังแล้วก็ดี อารมณ์ที่ได้ทราบแล้วก็ดี ละเสียแม้ซึ่งศีลและพรตทั้งหมดก็ดี ละเสียซึ่งมงคลตื่นข่าว เป็นต้นเป็นอันมากทั้งหมดก็ดี กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ คนเหล่านั้นข้ามโอฆะได้แล้ว ฉะนี้แล.

จบนันทปัญหาที่ ๗

อรรถกถานันทสูตร (๑) ที่ ๗

นันทสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ โลเก มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความในคาถาที่หนึ่งดังต่อไปนี้ ชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น ย่อมกล่าวว่ามุนีมีอยู่ในโลก หมายถึงอาชีวกและนิครนถ์ เป็นต้น. บทว่า ตยิทํ กถํสุ ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลว่าเป็นมุนีนั้นด้วยอาการอย่างไรหนอ คือ ชนทั้งหลายกล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณ เพราะญาณมีสมาปัตติญาณเป็นต้นเกิดขึ้น หรือผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่กล่าวคือความเป็นอยู่ที่เศร้าหมองมีประการต่างๆ ว่าเป็นมุนี.


๑. บาลีเป็น นันทปัญหา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 928

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงปฏิเสธแม้ทั้งสองอย่างแล้ว ทรงแสดงผู้เป็นมุนีแก่นันทมาณพนั้นจึงตรัสคาถาว่า น ทิฏฺิยา ไม่กล่าวว่า เป็นมุนีด้วยความเห็น ดังนี้เป็นต้น.

บัดนี้ นันทมาณพทูลถามว่า เย เกจิเม สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นต้น เพื่อละความสงสัยของชนทั้งหลายผู้กล่าวว่า ความบริสุทธิ์ ย่อมมีด้วยความเห็นเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูเปน ได้แก่ด้วยมงคลตื่นข่าวเป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ยถา จรนฺตา สมณพราหมณ์ทั้งหลายประพฤติอยู่ในทิฏฐิของตนนั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็นความบริสุทธิ์ คือ คุ้มครองอยู่ในทิฏฐิของตนนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความไม่มีความบริสุทธิ์อย่างนั้น แก่นันทมาณพ จึงตรัสคาถาที่สอง.

นันทมาณพได้ฟังว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายข้ามพ้นไปไม่ได้แล้วดังนี้ ประสงค์จะฟังถึงผู้ที่ข้ามพ้นไปได้ จึงทูลถามว่า เยเกจิเม ดังนี้เป็นต้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงผู้ที่ข้ามพ้นชาติชราด้วยหัวข้อว่า โอฆติณฺณ ข้ามพ้นโอฆะแก่นันทมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่สอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุฏา คือ อันชาติชราหุ้มห่อไว้ ร้อยรัดไว้. บทว่า เยสีธา ตัดบทเป็น เยสุ อิธ. บทว่า สุ ในบทนี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตณฺหํ ปริญฺาย กำหนดรู้ตัณหา คือกำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล ด้วย ประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 929

ฝ่ายนันทมาณพเมื่อจบเทศนา ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวคาถาว่า เอตาภินนฺทามิ ข้าพระองค์ยินดียิ่งซึ่งพระดำรัสของพระองค์ ดังนี้เป็นต้น. แม้ในสูตรก็ได้มีผู้บรรลุธรรม เช่นกับที่ได้กล่าวแล้วในสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถานันทสูตรที่ ๗ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา