พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เหมกปัญหาที่ ๘ ว่าด้วยเรื่องกําจัดตัณหา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40233
อ่าน  392

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 930

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

เหมกปัญหาที่ ๘

ว่าด้วยเรื่องกําจัดตัณหา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 930

เหมกปัญหาที่ ๘

ว่าด้วยเรื่องกำจัดตัณหา

[๔๓๒] เหมกมาณพทูลถามปัญหาว่า

(ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม) อาจารย์เหล่าใดได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่ข้าพระองค์ ในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ๆ จักเป็นอย่างนี้ๆ คำพยากรณ์ ทั้งหมดของอาจารย์เหล่านั้น ไม่ประจักษ์แก่ตน คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น (ข้าพระองค์ไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น) ข้าแต่พระองค์ผู้ เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกำจัดตัณหา อันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

ดูก่อนเหมกะ ชนเหล่าใดได้รู้ทั่วถึงบท คือ นิพพาน อันไม่แปรผัน เป็นที่บรรเทาฉันทราคะในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง และสิ่งที่ได้ทราบ อันน่ารัก ณ ที่นี้ เป็นผู้มีสติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 931

มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นสงบระงับแล้ว มีสติข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้แล้ว.

จบเหมกมาณวกปัญหาที่ ๘

อรรถกถาเหมกสูตร (๑) ที่ ๘

เหมกสูตรที่ ๘ มีคำเริ่มต้นว่า เย เม ปุพฺเพ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย เม ปุพฺเพ วิยากํสุ ความว่า อาจารย์เหล่าใด มีพาวรีพราหมณ์เป็นต้น ได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่ข้าพระองค์ในกาลก่อน. บทว่า หุรํ โคตมสาสนา คือ ก่อนศาสนาของพระโคดม. บทว่า สพฺพนฺตํ ตกฺกวฑฺฒนํ คือคำพยากรณ์นั้นทั้งหมด เป็นเครื่องทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น. บทว่า ตณฺหานิคฺฆาตนํ ธรรมเป็นเครื่องกำจัดตัณหา คือ ทำตัณหาให้พินาศ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่เหมกมาณพนั้นจึงตรัสสองคาถาว่า อิธ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺาย เย สตา ชนเหล่าใดได้รู้ทั่วถึงบทคือนิพพาน เป็นผู้มีสติ ความว่า ชนเหล่าใดรู้แจ้งถึงบทคือนิพพานอันไม่ตายนั้น โดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ รู้โดยลำดับ


๑. บาลีเป็น เหมกปัญหา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 932

เป็นผู้มีสติด้วยสติในกายานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺธมฺมาภินิพฺพุตา เห็นธรรมแล้วดับกิเลสได้แล้ว คือ เห็นธรรมเพราะรู้แจ้งธรรม และดับกิเลส เพราะดับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ. เมื่อจบเทศนาก็ได้มีผู้บรรลุธรรม เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้แล้วในสูตรก่อนนั่นแล

จบอรรถกถาเหมกสูตรที่ ๘ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา