พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โตเทยยปัญหาที่ ๙ ว่าด้วยการรู้จักมุนี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40234
อ่าน  395

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 933

สุตตนิบาต

ปารายนวรรคที่ ๕

โตเทยยปัญหาที่ ๙

ว่าด้วยการรู้จักมุนี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 933

โตเทยยปัญหาที่ ๙

ว่าด้วยการรู้จักมุนี

[๔๓๓] โตเทยยมาณพทูลถามปัญหาว่า

ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ไม่มีตัณหา และข้ามความสงสัยได้แล้ว ความพ้นวิเศษของผู้นั้นเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนโตเทยยะ

ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ไม่มีตัณหา และข้ามความสงสัยได้แล้ว ความพ้นวิเศษอย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี.

ต. ผู้นั้นไม่มีความปรารถนา หรือยังปรารถนาอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือยังเป็นผู้มีปรกติกำหนดด้วยปัญญาอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง มุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุรอบคอบ ขอพระองค์จงตรัสบอกมุนีนั้นให้แจ้งชัดแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนโตเทยยะ ผู้นั้นไม่มีความปรารถนา และไม่เป็นผู้ปรารถนาอยู่ด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 934

ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญา มิใช่เป็นผู้มีปรกติกำหนดด้วยปัญญาอยู่ด้วย ท่านจงรู้จักมุนี ว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องอยู่แล้วในกามและภพแม้อย่างนี้.

จบโตเทยยมาณวกปัญหาที่ ๙

อรรถกถาโตเทยยสูตร (๑) ที่ ๙

โตเทยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมึ กามา ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส กีทิโส โตเทยยมาณพทูล ถามว่า ความพ้นวิเศษอันผู้นั้นพึงปรารถนาเป็นอย่างไร.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่พ้นแก่โตเทยยมาณพนั้นจึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร ได้แก่ ความพ้นอย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่าความสิ้นตัณหาเท่านั้น ชื่อว่า ความพ้น ดังนี้ โตเทยยมาณพก็ยังไม่เข้าใจความนั้นอยู่ดี จึงทูลถามอีกว่า นิราสโส โส อุท อาสสาโน ผู้นั้นไม่มีความปรารถนาหรือยังปรารถนาอยู่ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุท ปญฺกปฺปี หรือยังเป็นผู้กำหนดด้วยปัญญาอยู่ คือ ยังกำหนดตัณหาหรือทิฏฐิ ด้วยญาณมีสมาปัตติญาณเป็นต้น.


๑. บาลีว่า โตเทยยปัญหา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 935

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกข้อนั้นแก่โตเทยยมาณพ จึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า กามภเว คือในกาม และในภพ.

บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับพระสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาโตเทยยสูตรที่ ๙ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา