ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑ ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 938
สุตตนิบาต
ปารายนวรรคที่ ๕
ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑
ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 938
ชตุกัณณีปัญหาที่ ๑๑
ว่าด้วยธรรมเครื่องละชาติชรา
[๔๓๕] ชตุกัณณีมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระองค์เป็นผู้ไม่ใคร่กาม จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ล่วงห้วงน้ำคือ กิเลสเสียได้ ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเนตรคือพระสัพพัญญุตญาณเกิดพร้อมแล้ว ขอพระองค์ตรัสบอกทางสันติ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกทางสันตินั้นแก่ข้าพระองค์ตามจริงเถิด.
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ครอบงำกามทั้งหลายเสียแล้วด้วยเดช เหมือนพระอาทิตย์มีเดช คือ รัศมี ครอบงำปฐพีด้วยเดชไปอยู่ในอากาศ ฉะนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชรา ณ ที่นี้ ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แจ้งแก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 939
ดูก่อนชตุกัณณี ท่านได้เห็นซึ่งเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมอันเกษมแล้ว จงนำความกำหนัดในกามทั้งหลายออกไปเสียให้สิ้นเถิด อนึ่ง กิเลสชาติเครื่องกังวลที่ ท่านยึดไว้แล้ว (ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ) ซึ่งควรจะปลดเปลื้องเสีย อย่ามีแล้วแก่ท่าน.
กิเลสเครื่องกังวลใดได้มีแล้วในกาลก่อน ท่านจงทำกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งเสียเถิด กิเลสเครื่องกังวลในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอา กิเลสเครื่องกังวลในท่ามกลางไซร้ ท่านจักเป็นผู้สงบเที่ยวไป.
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อท่านปราศจากความกำหนัดในนามและรูปแล้วโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราช ก็ย่อมไม่มีแก่ท่าน.
จบชตุกัณณีมาณวกปัญหาที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 940
อรรถกถาชตุกัณณิสูตร (๑) ที่ ๑๑
ชตุกัณณิสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สุตฺวานหํ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวานหํ วีรํ อกามกามึ ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระองค์ไม่ใคร่กาม คือ ข้าพระองค์ได้ฟังว่าพระพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เป็นวีระ ผู้ไม่ใคร่กาม เพราะไม่ใคร่กามทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้. บทว่า อกามมาคมํ ผู้ไม่มีกาม คือ ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่มีกาม. บทว่า สหาชเนตฺต ได้แก่ ผู้มีพระเนตรคือ พระสัพพัญญุตญาณเกิดขึ้นพร้อมแล้ว. บทว่า ยถาตจฺฉํ คือตามความเป็นจริง. บทว่า พฺรูหิ เม ขอพระองค์จงบอกแก่ข้าพระองค์เถิด ชตุกัณณิมาณพ กล่าวทูลวิงวอนอีก. เพราะว่าเมื่อทูลวิงวอน ก็พึงกล่าวได้ตั้งพันครั้ง. ก็เรื่องอะไรจะกล่าวเพียงสองครั้งเล่า. บทว่า เตชี เตชสา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระเดช ทรงครอบงำด้วยพระเดช. บทว่า ยมหํ วิชญฺํ ชาติชราย อิธ วิปฺปหานํ คือ ข้าพระองค์พึงรู้ธรรมอันเป็นเหตุละชาติชรา ณ ที่นี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่ชตุกัณณิมาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต เห็นเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมอันเกษม คือเห็นนิพพานและการปฏิบัติเพื่อถึงนิพพานว่าเป็นธรรมอันเกษม. บทว่า อุคฺคหึตํ ได้แก่ ยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า นิรตฺตํ วา ได้แก่ ควรปลดเปลื้องเสีย. บทว่า มา เต วิชฺชิตฺถ คืออย่าได้
๑. บาลีเป็น ชตุกัณณีปัญหา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 941
มีแก่ท่าน. บทว่า กิญฺจนํ เครื่องกังวล ได้แก่ แม้เครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น อย่าได้มีแก่ท่าน. บทว่า ปุพฺเพ ในกาลก่อน คือกิเลสที่เกิดขึ้นปรารภสังขารในอดีต. บทว่า พฺราหฺมณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชตุกัณณิมาณพ. บทที่เหลือในทุกบทชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นในสูตรก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาชตุกัณณิสูตรที่ ๑๑ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา