โปสาลปัญหาที่ ๑๔ ว่าด้วยภูมิที่ตั้งปัญญา
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 950
สุตตนิบาต
ปารายนวรรคที่ ๕
โปสาลปัญหาที่ ๑๔
ว่าด้วยภูมิที่ตั้งปัญญา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 950
โปสาลปัญหาที่ ๑๔
ว่าด้วยภูมิที่ตั้งปัญญา
[๔๓๘] โปสาลมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงได้มาเฝ้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอ้างสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (พระปรีชาญาณในกาลอันเป็นอดีต) ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงบรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของบุคคลผู้มีความสำคัญในรูปก้าวล่วงเสียแล้ว ละรูปกายได้ทั้งหมด เห็นอยู่วาไม่มีอะไร น้อยหนึ่งทั้งภายในและภายนอก บุคคลเช่นนั้นควรแนะนำอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนโปสาละ
พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง ซึ่งภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งปวง ทรงทราบบุคคลนั้นผู้ยังดำรงอยู่ ผู้น้อมไปแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นต้น ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 951
เป็นต้น นั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ผู้ที่เกิดในอากิญจัญญายตนภพว่า มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้แล้ว แต่นั้นย่อมเห็นแจ้งในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ญาณของบุคคลนั้น ผู้เป็นพราหมณ์ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เป็นญาณอันถ่องแท้อย่างนี้.
จบโปสาลมาณวกปัญหาที่ ๑๔
อรรถกถาโปสาลสูตร (๑) ที่ ๑๔
โปสาลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โย อตีตํ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โย อตีตํ อาทิสติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงแสดงอ้างสิ่งที่ล่วงไปแล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงแสดง อ้างถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วมีชาติเป็นต้นแม้ชาติหนึ่งของพระองค์ และของสัตว์พวกอื่น. บทว่า วิภูตรูปสญฺิสฺส คือบุคคลผู้มีความสำคัญในรูปก้าวล่วงแล้ว. บทว่า สพฺพกายปฺปหายิโน คือ ละรูปกายได้ทั้งหมดด้วยการละชั่วคราว และละด้วยการข่มไว้. อธิบายว่า ละปฏิสนธิในรูปภพได้แล้ว. บทว่า นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสโต เห็นอยู่ว่าไม่มีอะไร คือ เห็นอยู่ว่าไม่มีอะไรเพราะเห็นแจ้งว่าวิญญาณไม่มี. ท่านอธิบายว่า ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ. บทว่า าณํ สกฺกานุปุจฺฉามิ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ ข้าพระองค์ทูลถามถึงญาณ
๑. บาลีเป็น โปสาลปัญหา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 952
โปสาลมาณพเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า สักกะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ ข้าพระองค์ทูลถามถึงญาณของบุคคลนั้นว่าควรปรารถนาเช่นไร. บทว่า กถํ เนยฺโย คือบุคคลนั้นควรแนะนำอย่างไร ควรให้ญาณเกิดแก่เขายิ่งขึ้นได้อย่างไร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศญาณของพระองค์ที่อันใครๆ กำจัดไม่ได้ในบุคคลเช่นนั้น เพื่อทรงพยากรณ์ญาณนั้นแก่โปสาลมาณพ จึงตรัสคาถาสองคาถาต่อไป.
บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย สพฺพา อภิชานํ ตถาคโต พระตถาคตทรงรู้ยิ่งซึ่งภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งปวง คือ ทรงรู้ยิ่งวิญญาณฐิติทั้งปวงอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้ ด้วยอภิสังขาร ด้วยปฏิสนธิ ๔. บทว่า ติฏฺนฺตเมนํ ชานาติ ทรงทราบบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่ คือทรงทราบบุคคลนั้น ผู้ดำรงอยู่ได้ด้วยกรรมคืออภิสังขารว่า ต่อไปสัตว์นี้จักมีคติเป็นอย่างนี้. บทว่า วิมุตฺตํ คือ น้อมไปแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นต้น. บทว่า ตปฺปรายนํ ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ สำเร็จด้วยอากิญจัญญายตนสมบัตินั้น. บทว่า อากิญฺจญฺาสมฺภวํ ตฺวา ทรงทราบผู้ที่เกิดในอากิญจัญญายตนภพ คือ ทรงทราบกรรมคืออภิสังขารที่ให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ. เป็นอย่างไร นี้เป็นเครื่องห่วงใย. บทว่า นนฺทิสํโยชนํ อิติ ว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบ คือ รู้ความเพลิดเพลินที่นับว่าอรูปราคะในภพนั้นว่าเป็นเครื่องประกอบ. บทว่า ตโต ตตฺถ วิปสฺสติ แต่นั้นย่อมเห็นแจ้งในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น คือ แต่นั้นออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว เห็นแจ้งสมาบัตินั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 953
เอวํ าณํ ตถํ ตสฺส ญาณของบุคคลนั้นเป็นญาณถ่องแท้อย่างนี้ คือ อรหัตญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ ตามลำดับไม่วิปริต. บทว่า วุสีมโต คืออยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต นั่นแล.
เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับครั้งก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาโปสาลสูตรที่ ๑๔ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา