ปารายนานุสังคีติคาถา ว่าด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของมาณพ ๑๖ คน
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 960
สุตตนิบาต
ปารายนวรรคที่ ๕
ปารายนานุสังคีติคาถา
ว่าด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของมาณพ ๑๖ คน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 960
ปารายนานุสังคีติคาถา
ว่าด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของมาณพ ๑๖ คน
[๔๔๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ในมคธชนบทได้ตรัสปารายนสูตรนี้ อันพราหมณ์มาณพ ๑๖ คน ผู้เป็นบริวารของพราหมณ์พาวรี ทูลอาราธนาแล้ว ได้ตรัสพยากรณ์ปัญหา แม้หากว่าการกบุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาหนึ่งๆ แล้วพึงปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรมไซร้ การกบุคคลนั้น ก็พึงถึงฝั่งโน้นแห่งชราและมรณะได้แน่แท้ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การถึงฝั่งโน้น เพราะเหตุนั้น คำว่า ปารายนะ จึงเป็นชื่อแห่งธรรมปริยายนี้.
[๔๔๒ ] พราหมณ์มาณพผู้อาราธนาทูลถามปัญหา ๑๖ คนนั้น คือ อชิตมาณพ ๑ ติสสเมตเตยยมาณพ ๑ ปุณณกมาณพ ๑ เมตตคูมาณพ ๑ โธตกมาณพ ๑ อุปสีวมาณพ ๑ นันทมาณพ ๑ เหมกมาณพ ๑ โตเทยยมาณพ ๑ กัปปมาณพ ๑ ชตุกัณณีมาณพผู้เป็นบัณฑิต ๑ ภัทราวุธมาณพ ๑ อุทยมาณพ ๑ โปสาลพราหมณ์มาณพ ๑ โมฆราชมาณพผู้มีปัญญา ๑ ปิงคิยมาณพผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ๑ พราหมณ์มาณพทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 961
๑๖ คนนี้ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ทรงมีจรณะอันสมบูรณ์ พราหมณ์มาณพทั้ง ๑๖ คน ได้เข้าไปเฝ้าทูลถามปัญหาอันละเอียด กะพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุด.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีได้ตรัสพยากรณ์ปัญหาที่พราหมณ์มาณพเหล่านั้นทูลถามแล้วตามที่เป็นจริง ทรงให้พราหมณ์มาณพทั้งหลายยินดีแล้ว ด้วยการตรัสพยากรณ์ปัญหาทุกๆ ปัญหา
พราหมณ์มาณพทั้ง ๑๖ คนเหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ผู้มีจักษุให้ยินดีแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ.
เนื้อความแห่งปัญหาหนึ่งๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยประการใด ผู้ใดพึงปฏิบัติตามด้วยประการนั้น ก็พึงจากฝั่งนี้ไปถึงฝั่งโน้นได้ ผู้นั้นเจริญมรรคอันอุดม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 962
อยู่ ก็พึงจากฝั่งนี้ไปถึงฝั่งโน้นได้ ธรรมปริยายนั้นเป็นทางเพื่อไปสู่ฝั่งโน้น เพราะฉะนั้น ธรรมปริยายนั้นจึงชื่อว่า ปารายนะ.
[๔๔๓] ปิงคิยมาณพกล่าวคาถาว่า
อาตมาจักขับตามภาษิตเครื่องไปยังฝั่งโน้น (อาตมาขอกล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วด้วยพระญาณ) พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวาง ไม่มีความใคร่ ทรงดับกิเลสได้แล้ว จะพึงตรัสมุสาเพราะเหตุอะไร
เอาเถิด อาตมาจักแสดงวาจาที่ควรเปล่ง ประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงละความหลงอันเป็นมลทินได้แล้ว ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้เด็ดขาด.
ดูก่อนท่านพราหมณาจารย์ พระพุทธเจ้าทรงบรรเทาความมืด มีพระจักษุรอบคอบ ทรงถึงที่สุดของ ทรงล่วงภพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 963
ได้ทั้งหมด ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้ทั้งปวง มีพระนามตามความเป็นจริงว่าพุทโธ อันอาตมาเข้าเฝ้าแล้ว.
นกพึงละป่าเล็ก แล้วมาอยู่อาศัยป่าใหญ่อันมีผลไม่มาก ฉันใด อาตมา มาละคณาจารย์ผู้มีความเห็นน้อยแล้ว ได้ประสบพระพุทธเจ้าผู้มีความเห็นประเสริฐ เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ แม้ฉันนั้น
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม อาจารย์เหล่าใด ได้พยากรณ์ลัทธิของตนแก่อาตมาในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ของ อาจารย์เหล่านั้นทั้งหมด ไม่ประจักษ์แก่ตน คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น (อาตมาไม่พอใจในคำพยากรณ์นั้น)
พระโคดมพระองค์เดียว ทรงบรรเทาความมืดสงบระงับ มีพระรัศมีโชติช่วง มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 964
แสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีจัญไร หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้ แก่อาตมา.
พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์กล่าวคาถากะพระปิงคิยะว่า
ท่านปิงคิยะ พระโคดมพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีจัญไร หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้แก่ท่าน เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง สิ้นกาลแม้ครู่หนึ่งเล่า.
พระปิงคิยะกล่าวคาถาตอบพราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์ว่า
ท่านพราหมณ์ พระโคดมพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีจัญไร หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้ แก่อาตมา อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง สิ้นกาลแม้ครู่หนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 965
ท่านพราหมณ์ อาตมาไม่ประมาททั้งกลางคืนกลางวัน เห็นอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ ฉะนั้น อาตมานมัสการอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นตลอดราตรี อาตมา มาสำคัญความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้น ด้วยความไม่ประมาทนั้น.
ศรัทธา ปีติ มนะ และสติของอาตมา ย่อมน้อมไปในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้โคดม พระพุทธเจ้าผู้โคดม ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ประทับอยู่ยังทิศาภาคใดๆ อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาคนั้นๆ นั่นแล.
ร่างกายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อยนั่นเอง ท่านพราหมณ์ อาตมาไปสู่พระพุทธเจ้าด้วยการไปแห่งความดำริเป็นนิตย์ เพราะว่าใจของอาตมา ประกอบแล้วด้วยพระพุทธเจ้านั้น.
อาตมานอนอยู่บนเปือกตม คือกามดิ้นรนอยู่ (เพราะตัณหา) ลอยจากเกาะหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 966
ไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้งนั้นอาตมาได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ.
(ในเวลาจบคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีแล้ว ประทับอยู่ ณ นครสาวัตถีนั้นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีดุจทองไปแล้ว พระปิงคิยะกำลังนั่งพรรณนาพระพุทธคุณแก่พราหมณ์พาวรีอยู่. ได้เห็นพระรัศมีและคิดว่า นี้อะไร เหลียวแลไป ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประหนึ่งประทับอยู่เบื้องหน้าตน จึงบอกแก่พราหมณ์พาวรีว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว พราหมณ์พาวรีได้ลุกจากอาสนะประคองอัญชลียืนอยู่. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแผ่พระรัศมีแสดงพระองค์แก่พราหมณ์พาวรี ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีทั้งสองแล้ว เมื่อจะตรัสเรียกแต่พระปิงคิยะองค์เดียว จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)
ดูก่อนปิงคิยะ พระวักกลิ พระภัทราวุธะ และพระอาฬวีโคดม เป็นผู้มีศรัทธาน้อมลงแล้ว (ได้บรรลุอรหัตด้วยศรัทธาธุระ) ฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาลง ฉันนั้น ดูก่อนปิงคิยะ เมื่อท่านน้อมลงด้วยศรัทธา ปรารภวิปัสสนา โดยนัยเป็นต้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ก็จักถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 967
นิพพาน อันเป็นฝั่งโน้นแห่งวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุราช.
พระปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตนจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง เพราะได้ฟังพระวาจาของพระองค์ผู้เป็นมุนี พระองค์มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้ว ตรัสรู้แล้วด้วยพระองค์เอง ไม่มีกิเลสดุจเสาเขื่อน ทรงมีปฏิภาณ ทรงทราบธรรมเป็นเหตุกล่าวว่าประเสริฐยิ่ง ทรงทราบธรรมชาติทั้งปวงทั้งเลวและประณีต ด้วยพระอภิญญา พระองค์เป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลาย แก่เหล่าชนผู้มีความสงสัยปฏิญาณอยู่ นิพพานอันกิเลสมีราคะเป็นต้นไม่พึงนำไปได้ เป็นธรรมไม่กำเริบ หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้.
ข้าพระองค์จักถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแน่แท้ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในนิพพานนี้เลย ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว (ใน นิพพาน) ด้วยประการนี้แล.
จบปารายนวรรคที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 968
อรรถกถาปารายนานุสังคีติคาถา
ต่อจากนี้ไปพระสังคีติกาจารย์ เมื่อจะสรรเสริญเทศนา จึงได้กล่าวคำ มีอาทิว่า อิทมโวจ ภควา. ดังนี้
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทมโวจ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปารายนสูตรนี้. บทว่า ปริจารกโสฬสนฺนํ พราหมณ์มาณพ ๑๖ คน ผู้เป็นบริวาร คือพราหมณ์ ๑๖ คน พร้อมด้วยปิงคิยะผู้เป็นบริวารของพาวรีพราหมณ์ หรือพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พราหมณ์ ๑๖ คนผู้เป็นบริวาร. บริวารเหล่านั้นเป็นพราหมณ์ทั้งหมด. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น บริษัทของพราหมณ์ ๑๖ คน นั่งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวางข้างละ ๖ โยชน์ นั่งแถวตรง ๑๒ โยชน์. บทว่า อชฺฌิตฺโถ แปลว่า ทูลอาราธนา. บทว่า อตฺถมญฺาย รู้ทั่วถึงอรรถ คือรู้ความแห่งบาลี. บทว่า ธมฺมมญฺาย รู้ทั่วถึงธรรม คือรู้ธรรมในบาลี. พระสังคีติกาจารย์ตั้งชื่อธรรมปริยายนี้ อย่างนี้ว่า ปารายนะ แล้วเมื่อจะประกาศชื่อของพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า อชิโต ติสฺสเมตฺเตยโย ฯเปฯ พุทฺธเสฏฺมุปคามุํ พราหมณ์ ๑๖ คน คือ อชิโต ติสฺสเมตฺเตยเตยยะ ฯลฯ ได้เข้าไปเฝ้าทูลถามปัญหากะพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนจรณํ ผู้มีจรณะสมบูรณ์ คือถึง พร้อมแล้วด้วยศีลในพระปาติโมกข์เป็นต้น อันเป็นเหตุใกล้ให้ถึงพระนิพพาน. บทว่า อิสึ ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ คำที่เหลือชัดแล้ว. ต่อจากนี้ไป บทว่า พฺรหฺมจริยมจรึสุ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายได้ประพฤติมรรคพรหมจรรย์. เพราะฉะนั้น บทว่า ปารายนํ ท่านอธิบายว่า เป็นทางไปสู่นิพพานอันเป็นฝั่งโน้นนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 969
บทว่า ปารายนมนุคายิสฺสํ ปิงคิยะกล่าวว่า อาตมาจักขับตามภาษิตเครื่องไปยังฝั่งโน้น นี้เป็นความเชื่อมของบทว่า ปารายนํ นั้น. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตรจบแล้ว ชฎิล ๑๖,๐๐๐ ได้บรรลุพระอรหัต. เทวดามนุษย์นับได้ ๑๔ โกฎิที่เหลือ ได้บรรลุธรรม สมดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
แต่นั้นพระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ ๑๔ โกฏิ ให้ดื่มอมตธรรม ในปารายนสมาคมอันน่ารื่นรมย์ ที่ปาสาณกเจดีย์.
ก็แลครั้นจบพระธรรมเทศนาแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่มาจากที่นั้นๆ ได้ไปปรากฏในคามนิคมเป็นต้นของตนๆ ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปกรุงสาวัตถี แวดล้อมด้วยภิกษุไม่น้อย มีภิกษุผู้เป็นบริวาร ๑๖,๐๐๐ รูปเป็นต้น. ณ ที่นั่น ปิงคิยะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอไปเพื่อบอกพาวรีพราหมณ์ว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว เพราะพาวรีพราหมณ์นั้นจะรับฟังข้าพระองค์ ดังนี้. ลำดับนั้น พระปิงคิยะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วจึงไปยังฝั่งแม่น้ำโคธาวรีโดยไปด้วยฌาน มุ่งหน้าไปยังอาศรมด้วยการเดินเท้า พาวรีพราหมณ์เห็นพระปิงคิยะเดินทางไปถึงจึงถามว่า ปิงคิยะ พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วหรือ. ปิงคิยภิกษุตอบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วพราหมณ์ พระองค์ประทับนั่ง ณ ปาสาณกเจดีย์แสดงธรรมแก่พวกอาตมา อาตมาจักแสดงธรรมนั้นแก่ท่าน. ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์พร้อมด้วยบริษัทบูชาพระปิงคิยะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 970
นั้นด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมาก แล้วปูอาสนะให้นั่ง. พระปิงคิยะนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว กล่าวคาถามีอาทิว่า ปารายนมนุคายิสฺสํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺคายิสฺสํ คืออาตมาภาพจักขับภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับแล้ว. บทว่า ยถา อทฺทกฺขิ อาตมาขอกล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วด้วยอสาธารณญาณ (ญาณไม่ทั่วไป) อันเป็นการตรัสรู้ยิ่งตามความจริงด้วยพระองค์เอง. บทว่า นิกฺกาโม ไม่มีความใคร่ คือละความใคร่ได้แล้ว. ปาฐะว่า นิกฺกโม บ้าง แปลว่ามีความเพียร หรือออกจากธรรมฝ่ายอกุศล. บทว่า นิพฺพาโน ทรงดับกิเลส คือ เว้นจากเครื่องร้อยรัดคือกิเลส หรือเว้นจากตัณหานั่นเอง. บทว่า กิสฺส เหตุ มุสา ภเณ จะพึงตรัสมุสาเพราะเหตุไร. ท่านแสดงไว้ว่ากิเลสอันเป็นเหตุให้กล่าวมุสา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละได้แล้ว. พระปิงคิยะ ให้พราหมณ์เกิดอุตสาหะในการฟังด้วยบทนี้. บทว่า วณฺณูปสฺหิตํ คือวาจาอันประกอบด้วยคุณ. บทว่า สจฺจวฺหโย มีพระนามตามความเป็นจริง คือประกอบด้วยพระนามตามความเป็นจริงว่า พุทฺโธ. บทว่า พฺรหฺเม พระปิงคิยะเรียกพราหมณ์นั้น. บทว่า กุพฺพนํ ได้แก่ ป่าเล็ก. บทว่า พหุปฺผลํ กานนํ อาวเสยฺย มาอยู่อาศัยป่าใหญ่อันมีผลไม้มาก คือ มาอยู่อาศัยป่าใหญ่อันบริบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลายชนิด. บทว่า อปฺปทสฺเส อาตมาละอาจารย์ผู้มีความเห็นน้อย คือละคณาจารย์เริ่มต้นแต่พาวรีพราหมณ์. บทว่า มโหทธึ ได้แก่ ห้วงน้ำใหญ่มีสระอโนดาตเป็นต้น. บทว่า เยเม ปุพฺเพ ตัดบทเป็น เย อิเม ปุพฺเพ. บทว่า ตมนุทาสีโน คือทรงบรรเทาความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 971
มืด สงบระงับได้. บทว่า ภูริปญฺาโณ คือ มีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจธง. บทว่า ภูริเมธโส คือมีพระปัญญากว้างขวาง. บทว่า สนฺทิฏฺิกมกาลิกํ ทรงแสดงธรรมอันบุคคลพึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล คือ พึงเห็นผลด้วยตนเอง ไม่พึงเห็นผลในกาลที่มีระหว่าง. บทว่า อนีติกํ ไม่มีจัญไร คือ เว้นจากจัญไรมีกิเลสเป็นต้น.
ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์กล่าวคาถาสองคาถา กะปิงคิยภิกษุนั้นว่า กินฺนุ ตมฺหา เหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ดังนี้ เป็นต้น. จากนั้น ท่านปิงคิยะเมื่อจะแสดงถึงการที่ต้องจากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า นาหํ ตมฺหา อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ดังนี้.
บทว่า ปสฺสามิ นํ มนสา จกฺขุนา วา ความว่า อาตมาเห็นพระโคดมนั้นด้วยใจเหมือนเห็นด้วยจักษุ. บทว่า นมสฺสมาโน วิวเสมิ รจฺตึ คือ อาตมานมัสการนอบน้อมอยู่ตลอดคืน. บทว่า เตน เตเนว นโต อาตมานอบน้อมไปโดยทิศนั้นๆ คือแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่โดยทิศาภาคใด แม้อาตมาก็นอบน้อมไปโดยทิศาภาคนั้นๆ. บทว่า ทุพฺพลถามกสฺส คือ มีกำลังเรี่ยวแรงน้อย. อีกอย่างหนึ่ง มีกำลังน้อยและมีโรคเบียดเบียน. ท่านอธิบายว่า มีกำลังและความเพียรเลวลง. บทว่า เตเนว กาโย น ปเลติ กายไม่เข้าไปด้วยเหตุนั้นนั่นเอง คือ กายไม่ไป เพราะมีกำลังและเรี่ยวแรงน้อยนั่นเอง หรือว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่โดยที่ใด กายไม่ไปโดยที่นั้น. ปาฐะ ว่า น ปเรติ บ้าง. ความอย่างเดียวกัน. บทว่า ตตฺถ คือในสำนักของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 972
พระพุทธเจ้า. บทว่า สงฺกปฺปยนฺตาย คือด้วยการไปแห่งความดำรินั้น. บทว่า เตน ยุตฺโต ใจของอาตมาประกอบด้วยพระพุทธเจ้านั้น ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ใจประกอบแล้ว ไม่ปราศจากการประกอบ คือ มุ่งตรงต่อพระพุทธองค์ ณ ที่นั้น. บทว่า ปงฺเก สยาโน คืออาตมานอนอยู่บนเปือกตม คือกามทั้งหลาย. บทว่า ทีปา ทีปํ อุปลฺลวึ แล่นจากที่พึ่งหนึ่งไปสู่ที่พึ่งหนึ่ง คือเข้าไปหาศาสดาทั้งหลายเป็นต้น. บทว่า อถทฺทสาสึ สมฺพุทฺธํ ครั้งนั้นอาตมาได้เห็นพระพุทธเจ้า คือ อาตมานั้นได้ถือความเห็น ผิดๆ แล้วเที่ยวไปตามลำดับ (๑) ครั้งนั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณกเจดีย์.
เมื่อจบคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของพระปิงคิยะและของพราหมณ์พาวรีแล้วประทับยืนอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีสีทองไป. พระปิงคิยะ นั่งพรรณนาถึงพระพุทธคุณแก่พราหมณ์พาวรีอยู่นั่นแหละ ได้เห็นพระรัศมีแล้วคิดว่า นี้อะไร เหลียวแลไปได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจประทับอยู่ข้างหน้าตน จึงบอกพาวรีพราหมณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว. พราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ยืนประคองอัญชลี. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแผ่พระรัศมีแล้ว จึงทรงแสดงตนแก่พราหมณ์ ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของคนทั้งสอง เมื่อจะตรัสเรียกพระปิงคิยะเท่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ยถา อหุ วกฺกลิ ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังนี้ พระวักกลิ พระภัทราวุธแห่งมาณพ ๑๖ และพระอาฬวิโคดม เป็นผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธาเเล้ว ได้บรรลุพระอรหัตด้วยศรัทธาทุกรูปฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธานั้นฉันนั้น แต่นั้นเมื่อท่านน้อม
๑. ม. อนฺวาหิณฺฑนฺโต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 973
ใจไปด้วยศรัทธา ปรารภวิปัสสนาโดยนัยมีอาทิว่า สังชารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ก็จักถึงนิพพานอันเป็นฝั่งโน้นแห่งวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัตนั่นแล.
เมื่อจบเทศนาพระปิงคิยะตั้งอยู่ในพระอรหัต. พาวรีพราหมณ์ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. ส่วนศิษย์ ๕๐๐ ของพาวรีพราหมณ์ ได้เป็นพระโสดาบัน.
บัดนี้ ปิงคิยภิกษุ เมื่อประกาศความเลื่อมใสของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอส ภิยฺโย ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง ดังนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฏิภาณวา ทรงมีปฎิภาณ คือเข้าถึงปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ). บทว่า อธิเทเว อภิญฺาย คือทรงทราบธรรมเป็นเหตุให้เรียกว่าอธิเทพ. บทว่า ปโรวรํ คือเลวและประณีต. ท่านอธิบายว่า รู้ธรรมชาติทั้งปวงอันทำความเป็นอธิเทพ ของตนและของคนอื่น. บทว่า กงฺขีนํ ปฏิชานตํ คือเหล่าชนผู้มีความสงสัยปฏิญาณอยู่ว่า เราหมดความสงสัยในธรรมของสัตบุรุษ. บทว่า อสํหิรํ ได้แก่นิพพาน อันราคะเป็นต้นนำไปไม่ได้. บทว่า อสงฺกุปฺปํ คือไม่กำเริบมีอันไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา. พระปิงคิยะกล่าวถึงนิพพานด้วยบทสองบท. บทว่า อทฺธา คมิสฺสามิ คือข้าพระองค์จักถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นเป็นแน่แท้. บทว่า น เมตฺถ กงฺขา คือความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่ข้าพระองค์. บทว่า เอวํ มํ ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺตํ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว คือพระปิงคิยะยังศรัทธาให้เกิดขึ้นในตนด้วยพระโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ว่า แล้วปล่อยเสียด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง เมื่อจะประกาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 974
ความที่ตนมีจิตน้อมไปแล้วด้วยศรัทธา จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้วเถิด ด้วยประการฉะนี้. อธิบายในที่นี้มีดังต่อไปนี้ว่า พระองค์ตรัสกะข้าพระองค์อย่างใด ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่า อธิมุตตะ ผู้น้อมใจไปแล้วเถิด.
จบอรรถกถาพระสูตร
แห่งปารายนานุสังคีติคาถา ในกัณฑ์แห่งอรรถกถาสุตตนิบาต
แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถโชติกา
จบอรรถกถาปารายนวรรคที่ ๕