พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รวมพระสูตรที่มีในสุตตนิบาต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40243
อ่าน  477

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 975

รวมพระสูตรที่มีในสุตตนิบาต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 975

รวมพระสูตรที่มีในสุตตนิบาตนี้ คือ

วรรคที่ ๑

[๔๔๔] ๑. อุรคสูตร ๒. ธนิยสูตร ๓. ขัคควิสาณสูตร ๔. กสิภารทวารชสูตร ๔. จุนทสูตร ๖. ปราภวสูตร ๗. วสลสูตร ๘. เมตตสูตร ๙. เหมวตสูตร ๑๐. อาฬวกสูตร ๑๑. วิชยสูตร ๑๒. มุนิสูตร.

นี้มีเนื้อความดีมาก รวมพระสูตรได้ ๑๒ สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุหามลทินมิได้ ทรงจำแนกแสดงไว้ดีแล้ว บัณฑิตทั้งหลายได้สดับกันมาว่า อุรควรรค.

วรรรคที่ ๒

๑. รตนสูตร ๒. อามคันธสูตร ๓. หิริสูตร ๔. มงคลสูตร ๕. สูจิโลมสูตร ๖. ธรรมจริยสูตร (๑) ๗. พราหมณธัมมิกสูตร ๘. นาวาสูตร ๙.กิงสีลสูตร ๑๐. อุฏฐานสูตร ๑๑. ราหุลสูตร ๑๒. วังคีสสูตร ๑๓. สัมมาปริพพาชนิยสูตร ๑๔. ธรรมิกสูตร


๑. อรรถกถาว่า กปิลสูตร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 976

วรรคที่ ๒ นี้รวมพระสูตรได้ ๑๔ สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ดีแล้ว.

วรรคนี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าววรรคที่ ๒ นั้นว่า จูฬกวรรค.

วรรคที่ ๓

๑. ปัพพัชชาสูตร ๒. ปธานสูตร ๓. สุภาษิตสูตร ๔. สุนทริกสูตร ๕. มาฆสูตร ๖. สภิยสูตร ๗. เสลสูตร ๘. สัลลสูตร ๙. วาเสฏฐสูตร ๑๐. โกกาลิกสูตร ๑๑. นาลกสูตร ๑๒. ทวยตานุปัสสนาสูตร.

วรรคที่ ๓ นี้ รวมพระสูตรได้ ๑๒ สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ดีแล้วในวรรคที่ ๓ บัณฑิตได้สดับกันมามีชื่อว่า มหาวรรค.

วรรคที่ ๔

๑. กามสูตร ๒. คุหัฏฐกสูตร ๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร ๔. สุทธัฏฐกสูตร ๕. ปรมัฏฐกสูตร ๖. ชราสูตร ๗. ติสสเมตเตยยสูตร ๘. ปสูรสูตร ๙. มาคันทิย-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 977

สูตร ๑๐. ปุราเภทสูตร ๑๑. กลหวิวาทสูตร ๑๒. จูฬวิยูหสูตร ๑๓. มหาวิยูหสูตร ๑๔. ตุวฏกสูตร ๑๕. อัตตทัณฑสูตร ๑๖. สารีปุตตสูตร

วรรคที่ ๔ นี้รวมพระสูตรได้ ๑๖ สูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ดีแล้วในวรรคที่ ๔ บัณฑิตทั้งหลายกล่าววรรคที่ ๔ นั้นว่า อัฏฐกวรรค.

วรรคที่ ๕

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐในคณะ ประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์อันประเสริฐ อันบุคคลตกแต่งไว้ดีแล้ว ในมคธชนบทเป็นรัมณียสถาน เป็นประเทศอันสวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยแห่งบุคคลผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แล้ว.

อนึ่ง ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์ ๑๖ คน ทูลถามปัญหาแล้ว ได้ทรงประกาศประทานธรรมกะชนทั้งสองพวกผู้มาประชุมกันเต็มที่ ณ ปาสาณกเจดีย์ ในบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ เพราะการถามโสฬสปัญหา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 978

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงชนะ ผู้เลิศกว่าสัตว์ได้ทรงแสดงธรรมอันประกาศอรรถบริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ เป็นที่เกิดความเกษมอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันวิจิตรด้วยธรรมเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวง ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะและอรรถ มีความเปรียบเทียบซึ่งหมายรู้กันแล้วด้วยอักขระอันมั่นคง เป็นส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันไม่มีมลทินเพราะมลทินคือราคะ มลทินคือโทสะ มลทินคือโมหะ เป็นส่วนแห่งธรรมปราศจากมลทิน เป็นส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ อันไม่มีมลทินเพราะมลทินคือกิเลส มลทินคือทุจริต

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 979

เป็นส่วนแห่งธรรมปราศจากมลทิน เป็นส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐเป็นเหตุปลดเปลื้องอาสวะ กิเลสเป็นเครื่องผูก กิเลสเป็นเครื่องประกอบ นิวรณ์ และมลทินทั้ง ๓ ของโลกนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ หามลทินมิได้ เป็นเครื่องบรรเทาความเศร้าหมองทุกอย่าง เป็นเครื่องคลายความกำหนัด ไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีความโศก เป็นธรรมอันละเอียด ประณีตและเห็นได้ยาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ อันหักรานราคะและโทสะให้สงบ เป็นเครื่องตัดกำเนิด ทุคติ วิญญาณและความยินดี อันมีตัณหาเป็นรากฐาน เป็นเครื่องต้านทานและเป็นเครื่องพ้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 980

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ลึกซึ้งเห็นได้ยากและละเอียดอ่อน มีอรรถอันละเลียด บัณฑิตควรรู้แจ้ง เป็นส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ดุจดอกไม้เครื่องประดับอันยั่งยืน ๙ ชนิด อันจำแนกอินทรีย์ ฌานและวิโมกข์ มีมรรคมีองค์ ๘ เป็นยานอย่างประเสริฐ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ปราศจากมลทิน บริสุทธิ์เปรียบด้วยห้วงน้ำ วิจิตรด้วยรัตนะ เสมอด้วยดอกไม้ มีเดชอันเปรียบด้วยพระอาทิตย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ปลอดโปร่ง เกษม ให้สุข เย็นสงบ มีประโยชน์อย่างยิ่งในการต่อต้านมัจจุ เป็นเหตุให้เห็นนิพพาน อันดับกิเลสสนิทดีแล้วของโลกนั้น.

จบสุตตนิบาต