พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิคมกถา สุตตนิบาต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 พ.ย. 2564
หมายเลข  40244
อ่าน  401

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 981

สุตตนิบาต

นิคมกถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 47]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 981

นิคมกถา

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คำใดที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลายจักไหว้พระรัตนตรัย ผู้สูงสุดกว่าผู้ที่ควรไหว้ทั้งหลาย จักกระทำการพรรณนาความแห่งสุตตนิบาต อันพระโลกนาถสัมมาาสัมพุทะเจ้า ผู้ละความกระหาย คือตัณหาได้แล้ว ผู้ทรงแสวงหาวิธีรื้อถอนสัตว์ออกจากโลก ตรัสไว้แล้วในขุททกนิกาย.

เป็นอันได้กระทำการพรรณหาความแห่งสุตตนิบาตอันมีสูตร ๗๐ สูตร มีอุรคสูตรเป็นต้น สงเคราะห์ลงใน ๕ วรรค มีอุรควรรคเป็นต้น ในข้อนี้ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำนั้นว่า

กุศลใด อันข้าพเจ้าผู้กระทำการพรรณนาความแห่งสุตตนิบาตนี้ ผู้ใคร่เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพราะอานุภาพแห่งกุศลนั้น ขอชนนี้จงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม อันพระอริยะประกาศไว้แล้วโดยเร็วเถิด.

พึงทราบว่า มีภาณวารประมาณ ๔๔ ภาณวาร โดยประมาณแห่งปริยัติ. อรรถกถาสุตตนิบาตชื่อปรมัตถโชติกานี้ อันพระเถระมีชื่อซึ่งครูทั้งหลายตั้งไว้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 982

ว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วยคุณ คือศรัทธาพุทธิและวิริยะอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ผู้ปรากฏเหตุให้เกิดคุณมีศีล อาจาระความอ่อนโยนเป็นต้น ผู้ประกอบด้วยความเฉลียวฉลาดทางปัญญา สามารถหยั่งลงในความยึดถือทั้งในลัทธิของตนและลัทธิอื่นได้ เป็นมหากวี มีวาทะประเสริฐ กล่าวคำเหมาะสม ประกอบด้วยการพรรณนาคำอันไพเราะและวิเศษทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการทำ และเข้าถึงความสุข ด้วยการทำให้แจ่มแจ้งเข้าใจ เพราะมีความรู้อันอะไรๆ ไม่ขัดขวางได้ในสัตถุศาสน์ พร้อมด้วยอรรถกถาอันมีประเภทเป็นปริยัติคือพระไตรปิฎก เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางบริสุทธิ์ อันเป็นเครื่องประดับของวงศ์ของพระเถระ ผู้อยู่ในมหาวิหารอันเป็นประทีปของเถรวงศ์ ผู้มีปัญญาตั้งไว้ดีแล้วในธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ประดับด้วยประเภทธรรมมีอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทาเป็นต้น ได้แต่งไว้แล้ว.

ขออรรถกถาขุททกนิกายสุตตนิบาต อันแสดงนัยแห่งปัญญาอันบริสุทธิ์แก่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาการรื้อถอนออกจากโลก จงดำรงอยู่ในโลก ตราบเท่าแม้พระนามว่าพุทฺโธ ของพระโลกเชษฐ์ ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผู้คงที่ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นไปอยู่ในโลก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้า 983

เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งหลายผู้บูชาพระคุณของพระพุทธเจ้าดุจห้วงน้ำ จงมีความสุข มีความฉลาด ไม่มีเวร ชนทั้งหมดจงมีกายไร้โรค คล่องแคล่วมีปัญญา เป็นคนดี ดำรงตนอยู่ในความดีดังนี้ ความที่ใจไม่อยู่ในอำนาจ เว้นการยึดถือว่าเป็นตัวตนเพราะไม่มีแก่นสาร เหมือนต้นกากะทิง คนเล่นกล พะยับแดด ต้นกล้วย โดยนัยมีอาทิว่า ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงถึงการเกิดและการดับไปทุกขณะ มีธุลีคือราคะเป็นภัย ละคติอันประเสริฐ ไม่น่าปรารถนาเข้าไปหาคติลามกหลายอย่างในโลก ย่อมฟุ้งไปด้วยความสุข คือภพ ๓ มีกายวาจาใจทรมานแล้ว. อันเตวาสิกจงเข้าถึงนิพพานเถิด (๑).

จบอรรถกถาสุตตนิบาต