พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. กุญชรวิมาน ว่าด้วยกุญชรวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 พ.ย. 2564
หมายเลข  40251
อ่าน  534

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 51

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปีฐวรรคที่ ๑

๕. กุญชรวิมาน

ว่าด้วยกุญชรวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 51

๕. กุญชรวิมาน

ว่าด้วยกุญชรวิมาน

[๕] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูราเทพธิดาผู้มีวรรณะดังปทุม มีตากลมดังกลีบปทุม กุญชรพาหะอันประเสริฐของท่าน ประดับประดาด้วยแก้วหลายชนิด น่ารัก มีกำลังว่องไว เที่ยว ไปในอากาศได้ ช่างรุ่งเรืองด้วยพวงดอกปทุมและอุบล มีกายเกลื่อนไปด้วยเกสรปทุม มีปทุมทองเป็นมาลัย เดินทางที่เรียงรายด้วยปทุม ประดับด้วยกลีบอุบล เดินไปพอดีๆ วิมานทองไม่กระเทือน เมื่อช้างย่างก้าว กระดิ่งก็ส่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์ เสียงกังวานของกระดิ่งเหล่านั้น ได้ยินดังดนตรี ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 52

เครื่องฉะนั้น ท่านมีพัสตราภรณ์สะอาดประดับกาย แล้วอยู่เหนือคชาธาร รุ่งเรืองราวอัปสรหมู่ใหญ่ ด้วยวรรณะ นี้เป็นผลของทาน ผลของศีล หรือผลของการกราบไหว้ของท่าน อาตมาถามท่านแล้ว ขอได้โปรดตอบคำถามนั้นแก่อาตมาด้วย.

เทวดานั้นถูกพระโมคคัลคัลลานะถามแล้ว ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันได้เห็นพระเถรเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นผู้สงบ ได้ถวายอาสวะที่ลาดด้วยผ้า โปรยดอกไม้ลงรอบๆ อาสนะ ดีฉันเลื่อมใส ได้ประดับพวงมาลัยปทุมมีใบติดครึ่งหนึ่ง และโรยเกสรปทุมลงครึ่งหนึ่ง ด้วยมือทั้งสองของตน ผลเช่นนี้เป็นผลแห่งกุศลกรรมนั้นของดีฉัน ดีฉันอันทวยเทพสักการะเคารพนบน้อมแล้ว ผู้ใดเลื่อมใสแล้วถวายอาสนะแก่พรหมจารีผู้หลุดพ้นโดยชอบ สงบระงับแล้ว เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านผู้รักตนประสงค์ความเป็นใหญ่ จึงควรถวายทานแก่ท่านผู้ทรงเรือนร่างครั้งสุดท้าย [พระอรหันต์].

จบกุญชรวิมาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 53

อรรถกถากุญชรวิมาน

กุญชรวิมาน มีคาถาว่า กุญฺชโร เต วราโรโห ดังนี้เป็นต้น. กุญชรวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น วันหนึ่ง งานนักขัตฤกษ์กึกก้องไปในกรุงราชคฤห์ ชาวกรุงช่วยกันทำความสะอาดถนน เกลี่ยทราย โรยดอกไม้ครบ ๕ อย่าง ทั้งข้าวตอก ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำไว้ทุกๆ ประตูเรือน ยกธงแผ่นผ้าเป็นต้น ซึ่งงดงามด้วยสีต่างๆ ตามควรแก่สมบัติ ทุกคนตกแต่งประดับกายพอสมควรแก่สมบัติของตนๆ เล่นการเล่นงานนักขัตฤกษ์ทั่ว ทั้งกรุงได้ประดับประดาตกแต่งดังเทพนคร ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารมหาราชเสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรงเลียบพระนครด้วยราชบริพารอย่างใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์มโหฬารคามพระราชประเพณี และเพื่อรักษาน้ำใจของมหาชน

สมัยนั้น กุลสตรีผู้หนึ่งเป็นชาวกรุงราชคฤห์ เห็นวิภวสมบัติ สิริโสภาคย์และราชานุภาพนั้นของพระราชา เกิดอัศจรรย์จิตไม่เคยมี จึงถามเหล่าท่านที่สมมติกันว่าบัณฑิตว่า วิภวสมบัติเสมือนเทวฤทธิ์นี้ พระราชาทรงได้มาด้วยกรรมอะไรหนอ บัณฑิตสมมติเหล่านั้นจึงกล่าวแก่นางว่า ดูราแม่มหาจำเริญ ธรรมดาบุญกรรมก็เป็นเสมือนจินดามณี เป็นเสมือนต้นกัลปพฤกษ์ เมื่อเขตสมบัติ [พระทักขิไณยบุคคล] และเจตนาสมบัติ [ฝ่ายทายกทายิกา] มีอยู่ คนทั้งหลายปรารถนาแล้ว ทำบุญกรรมใดๆ บุญกรรมนั้นๆ ก็ให้สำเร็จผลได้ทั้งนั้น อนึ่งเล่า ความเป็นผู้มีตระกูลสูงมีได้ก็ด้วยอาสนทาน ถวายอาสนะ การได้สมบัติคือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 54

กำลังมีได้ก็ด้วยอันนทาน ถวายข้าว การได้สมบัติคือวรรณะก็มีได้ด้วยวัตถุทาน ถวายผ้า การได้สุขวิเศษก็มีได้ด้วยยานทาน ถวายยานพาหนะ การได้สมบัติคือจักษุก็มีได้ด้วยทีปทาน ถวายประทีปโคมไฟ การได้สมบัติทุกอย่าง ก็มีได้ด้วยอาวาสทาน ถวายที่อยู่. นางฟังคำนั้นแล้วก็ตั้งจิตในเทวสมบัตินั้นว่า เทวสมบัติที่ท่าจะโอฬารกว่านี้ แล้วเกิดอุตสาหะยิ่งยวดในอันจะทำบุญ.

บิดามารดาส่งผ้าคู่ใหม่ ตั่งใหม่ ดอกปทุมกำ ๑ และเนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด ข้าวสารและนมสด เพื่อให้นางบริโภคใช้สอย. นางเห็นสิ่งเหล่านั้นก็ดีใจว่า เราประสงค์จะถวายทาน และเราก็ได้ไทยธรรมนี้แล้ว ในวันที่สอง ก็จัดทานปรุงมธุปายาสน้ำน้อย ตกแต่งของเคี้ยวของกินแม้อย่างอื่นเป็นอันมาก ให้เป็นบริวารของมธุปายาสน้ำน้อยนั้น แล้วประพรมของหอมที่โรงทาน จัดอาสนะไว้เหนือดอกปทุม ทั้งหลาย ซึ่งงดงามด้วยกลีบ ช่อ และเกสรของดอกปทุมที่แย้มบานแล้ว ปูลาดด้วยผ้าขาวใหม่ๆ วางดอกปทุม ๔ ดอก และพุ่มดอกไม้เหนือเท้าทั้ง ๔ ของอาสนะ. ดาดเพดานไว้ข้างบนอาสนะ ห้อยพวงดอกไม้และพวงระย้า รอบๆ อาสนะก็ลาดพื้นหมดสิ้นด้วยกลีบปทุมที่มีเกสร คิดว่า เราจักบูชาพระทักขิไณยบุคคลที่มาถึงแล้ว จึงตั้งพานเต็มด้วยดอกไม้สด ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

คราวนั้น นางจัดเครื่องอุปกรณ์ทานเสร็จแล้ว ก็อาบน้ำดำเกล้า นุ่งผ้าสะอาด กำหนดคอยเวลา จึงสั่งหญิงรับใช้คนหนึ่งว่า แม่เอ๊ย เจ้าจงไปหาพระทักขิไณยเช่นนั้นมาให้ข้านะ. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์เดินไประหว่างถนน ดังจะเก็บถุงทรัพย์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 55

พันหนึ่ง. ขณะนั้น หญิงรับใช้นั้นก็ไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดให้บาตรของท่านแก่ดีฉันเถิดเจ้าข้า. แต่พระเถระกล่าวว่า เรามาที่นี้ก็เพื่ออนุเคราะห์อุบาสิกาผู้หนึ่งนะ. พระเถระก็ส่งบาตรให้แก่หญิงรับใช้นั้น. นางก็นิมนต์พระเถระให้เข้าไปยังเรือน. ครั้งนั้น สตรีผู้นั้นก็ออกไปต้อนรับพระเถระ. ชี้อาสนะแล้วกล่าวว่า โปรดนั่งเถิดเจ้าข้า นี้อาสนะจัดไว้แล้ว เมื่อพระเถระนั่งเหนืออาสนะนั้นแล้ว ก็บูชาพระเถระด้วยกลีบปทุมที่มีเกสร โรยรอบๆ อาสนะ. ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เลี้ยงดูด้วยมธุปายาสน้ำน้อย ผสมด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด และกำลังเลี้ยงดู ก็ทำความปรารถนาว่า ด้วยอานุภาพบุญของดิฉันนี้ ขอจงมีสมบัติทิพย์ที่งดงามด้วยบัลลังก์เรือนยอดเหนือกุญชรอันเป็นทิพย์ ในความเป็นไปทุกอย่าง ขอจงอย่าขาดดอกปทุมเลย. ครั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว นางจึงล้างบาตร บรรจุเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดไว้เต็มอีก จัดผ้าที่ปูลาดบนตั่งที่เป็นผ้ารอง [บาตร] แล้ววางไว้ในมือพระเถระ ครั้นพระเถระทำอนุโมทนา กลับไปแล้ว จึงสั่งบุรุษ ๒ คนว่า เจ้าจงนำบาตรในมือพระเถระและบัลลังก์นี้ไปวิหารมอบถวายพระเถระแล้วจงกลับมา. บุรุษทั้ง ๒ นั้นก็กระทำอย่างนั้น.

ต่อมา สตรีผู้นั้น [ตาย] ก็ไปบังเกิดในวิมานทองสูงร้อยโยชน์ ณ ภพดาวดึงส์ มีอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร. และช้างตัวประเสริฐสูงห้าโยชน์ ประดับด้วยมาลัยดอกปทุม งดงามด้วยกลีบ ช่อ และเกสรแห่งดอกปทุมโดยรอบ พิศดูปลื้มใจ มีสัมผัสอันสบาย ประดับด้วยอาภรณ์ทองรุ่งเรืองด้วยรัศมีข่ายประกอบรัตนะหลากๆ กัน ก็บังเกิดด้วย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 56

อำนาจความปรารถนาของนาง. บัลลังก์ทองโยชน์หนึ่งประกอบด้วยความงามดียิ่ง ตามที่กล่าวแล้ว ก็บังเกิดเหนือช้างนั้น. นางกำลังเสวยทิพยสมบัติ ก็ขึ้นบัลลังก์ที่วิจิตรด้วยรัตนะเบื้องบนกุญชรวิมานนั้น ในระหว่างๆ ไปยังสวนนันทนวัน ด้วยอานุภาพเทวดาอันยิ่งใหญ่ ครั้งนั้น เป็นวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อเทวดาทั้งหลายพากันไปสวนนันทนวัน เพื่อเล่นการเล่นในสวนตามอานุภาพทิพย์ของตน คำดังกล่าวมาเป็นต้นทั้งหมด ก็เหมือนคำที่มาในอรรถกถาปฐมปีฐวิมาน. เพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในอรรถกถานั้นนั่นแล. ส่วนในกุญชรวิมานนี้ พระเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีดวงตากลมดังกลีบปทุม มีผิวพรรณะดังปทุม กุญชรพาหะเครื่องขับขี่อย่างดีของท่าน สำเร็จด้วยรัตนะต่างๆ น่ารัก มีกำลัง พรั่งพร้อมด้วยความเร็ว [ว่องไว] ท่องไปในอากาศ ช้างทรงความรุ่งเรืองด้วยดอกปทุม และอุบล มีเนื้อตัวเกลื่อนกล่นด้วยเกสรปทุม สวมพวงมาลัยดอกปทุมทอง ก็เดินทางที่เรียงรายด้วยดอกปทุม ประดับด้วยกลีบปทุมอยู่ ไม่กระเทือนวิมาน ย่างก้าวไป พอดีๆ [ไม่เร็วนัก ไม่ช้านัก] เมื่อช่างกำลังย่างก้าว กระดิ่งทองก็มีเสียงไพเราะน่ารื่นรมย์ เสียงกังวานของกระดิ่งเหล่านั้น ได้ยินดังดนตรีเครื่องห้า. ท่านมีพัสตราภรณ์สะอาด ประดับองค์แล้วอยู่เหนือคชาธาร รุ่งโรจน์ล้ำอัปสรหมู่ใหญ่ด้วยวรรณะ. นี้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 57

เป็นผลของทาน หรือของศีล หรือของอัญชลีกรรมประนมมือ ท่านถูกถามแล้ว โปรดบอกกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุญฺชโร เต วราโรโห ความว่า พาหนะ ชื่อว่า กุญชร เพราะอภิรมย์ยินดีในที่เขาชันปกคลุมด้วยเถาวัลย์ หรือเพราะร้องส่งเสียงโกญจนาท [แปร้นแปร้น] เที่ยวอยู่ในที่นั้น หรือเพราะ กุ คือดินทำให้คร่ำคร่า เพราะครูดสีกับดินนั้น. ช้างในมนุษยโลกต่างโดยเป็นช้างภูเขาเป็นต้น. ส่วนช้างนี้ ท่านกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะเสมือนช้างในการเล่นกีฬา. พาหนะใดอันเขาขับขี่ เหตุนั้นพาหนะนั้น ชื่อว่า อาโรหะ อธิบายว่า พาหนะที่เขาพึงขับขี่. พาหนะขับขี่อย่างดี อย่างเลิศ อย่างประเสริฐ เหตุนั้น จึงว่า วราโรหะ ท่านอธิบายว่า ยานอย่างยอดเยี่ยม. บทว่า นานารตนกปฺปโน ความว่า รัตนะชนิด ต่างๆ ของช้างเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ช้างเหล่านั้น ชื่อว่ามีรัตนะต่างๆ ได้แก่เครื่องประดับช้างมีเครื่องประดับตระพองเป็นต้น. เครื่องสำเร็จ เครื่องผูกสอดของช้างเชือกใด เขาติดตั้งด้วยรัตนะเหล่านั้น ช้างเชือกนั้น ชื่อว่า มีเครื่องสำเร็จด้วยรัตนะต่างๆ. ชื่อว่า รุจิระ งดงาม เพราะให้ความชอบใจ ความอภิรมย์ อธิบายว่า น่าปลื้มใจ. บทว่า ถามวา ได้แก่ มั่นคง อธิบายว่า มีกำลัง. บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ มีความเร็วพร้อมแล้ว. ท่านอธิบายว่า รวดเร็ว [ว่องไว]. บทว่า อากาสมฺหิ สมีหติ ได้แก่ ท่องไปโดยชอบในอากาศ ที่ชื่อว่า อนัตลิกขา อธิบายว่า เดินไปไม่กระเทือนพวกที่ขับขี่.

บทว่า ปทุมี ได้แก่ ชื่อว่าปทุมี เพราะประกอบด้วยสีผิวเหมือน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 58

หม้อ ซึ่งได้ชื่อว่า ปทุม เพราะมีสีผิวเสมอกับปทุม. บทว่า ปทุมปตฺตกฺขิ แปลว่า ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีดวงตากลมเสมือนกลีบปทุม. บทว่า ปทุมุปฺปลชุตินฺธโร ได้แก่ ชื่อว่า ปทุมุปปลชุตินธร เพราะทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรืองแห่งดอกปทุมและอุบล ซึ่งโชติช่วงแผ่ซ่านไปในที่นั้นๆ เพราะเป็นช้างที่มีเรือนร่างประดับมาลัย ดอกปทุมและดอกอุบลอันเป็นทิพย์. บทว่า ปทุมจุณฺณาภิกิณฺณงฺโค ได้แก่ มีเนื้อตัวที่ดารดาษไปโดยรอบด้วยกลีบช่อและเกสรปทุม. บทว่า โสวณฺณโปกฺขรมาลวา ได้แก่ มีภาระคือมาลัยดอกปทุมทอง.

บทว่า ปทุมานุสฏํ มคฺคํ ปทุมปตฺตวิภูสิตํ ประกอบความว่า ช้างเดินไปยังทางที่เรียงรายเกลื่อนกล่นด้วยเหล่าดอกปทุมขนาดใหญ่ ซึ่งรองรับเท้าช้างนั้นทุกๆ ย่างก้าว และประดับด้วยเหล่ากลีบปทุมเหล่านั้น ซึ่งมีสีสันต่างๆ อันหมุนไปได้ทั้งข้างโน้นข้างนี้ เพราะตกแต่งไว้เป็นพิเศษ. บทว่า ีตํ นี้ เป็นวิเสสนะของบทว่า มคฺคํ. อธิบายว่า ทาง ซึ่งประดับด้วยกลีบปทุมตั้งอยู่แล้ว. บทว่า วคฺคุ แปลว่า ทอง. คำนี้ เป็นกิริยาวิเสสนะ. อักษรทำหน้าที่บทสนธิต่อบท. บทว่า อนุคฺฆาติ แปลว่า ไม่กระเทือน. อธิบายว่า ไม่ทำความกระเทือนแม้นิดหนึ่งแก่ผู้นั่งอยู่บน [หลัง] ของตน. บทว่า มิตํ แปลว่า เนรมิตแล้ว. อธิบายว่า เลยก้าวย่างไป. ในคำนี้มีความดังนี้ว่า ทองนี้ชื่อว่าวัคคุไปกับเท้าที่ย่าง. อีกนัยหนึ่ง บทว่า มิตํ แปลว่า นับรอบแล้ว คือ ประกอบด้วยความพอเหมาะ. ท่านอธิบายว่า ไม่เร็วนัก ไม่ช้านัก. บทว่า วารโณ แปลว่า ช้าง. จริงอยู่ ช้างนั้นท่านเรียกว่า วารณะ เพราะห้ามกันข้าศึกและห้ามกันสิ่งกีดขวางทางเดิน.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 59

บทว่า ตสฺส ปกฺกมานสฺ ส โสวํณฺณกํสา รติสฺสรา อธิบายว่า โสวรรณกังสะ คือกระดิ่งทำด้วยทองของช้างตัวตามที่กล่าวแล้วนั้นซึ่งกำลังเดิน มีเสียงน่ายินดี ส่งเสียงน่าอภิรมย์ มีเสียงกังวานน่าปลื้มใจ ห้อยย้อยอยู่. จริงอยู่ กระดิ่งใหญ่ๆ หลายร้อยทำด้วยทอง ขจิตด้วยแก้วมณีและมุกดา ขนาดเท่ากระถางใหญ่ สองข้างของช้างตัวนั้น ก็ห้อยแกว่งไกวไป ณ ที่นั้นๆ ส่งเสียงน่าจับใจแล่นไปยิ่งกว่าที่นักดนตรี ผู้ฉลาดจัดประโคมเสียอีก ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เสียงกังวานของกระดิ่งเหล่านั้นได้ยินเหมือนดนตรีเครื่องห้า.

ความของคำนั้น มีดังนี้ว่า เมื่อนักดนตรีผู้ฉลาดบรรเลงดนตรีมีองค์ ๕ อย่างนี้คือ อาตตะ [โทน] วิตตะ [ตะโพน] อาตตะวิตตะ [บัณเฑาะว์] ฆนะ [กังสดาล] สุสิระ [ปี่, สังข์] เสียงบรรเลงคลอเสียงนักร้อง ซึ่งขับแสดงจำแนกเสียงต่ำและสูง ตามฐานที่เกิด กังวานไพเราะน่ารัก ได้ยินกันฉันใด เสียงกังวานของโสวรรณกังสะ คือ กระดิ่งทองเหล่านั้น ก็ได้ยินกันฉันนั้น.

บทว่า นาคสฺส ได้แก่ ช้างสำคัญ. บทว่า มหนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่า ใหญ่ เพราะใหญ่โดยสมบัติก็มี เพราะใหญ่โดยนับขนาดก็มี. บทว่า อจฺฉราสงฺฆํ ได้แก่ หมู่เทพกัญญา. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ มีรูป.

บทว่า ทานสฺส ได้แก่ บุญสำเร็จด้วยทาน. บทว่า สีลสฺส ได้แก่ ศีล คือความสำรวมมีความสำรวมทางกายเป็นต้น. วาศัพท์เป็น วิกัปปัตถะ กำหนดข้อที่ไม่ได้กล่าวไว้. ท่านสงเคราะห์จารีตศีล ศีลคือจารีต [ธรรมเนียม] ที่มิได้กล่าวไว้ มีการกราบไหว้เป็นต้น ด้วย วาศัพท์นั้น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 60

เทวดาองค์นั้น ถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบปัญหา. เพื่อแสดงความข้อนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ [ผู้ร่วมทำสังคายนา] ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า

เทวดาองค์นั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถามแล้วดีใจ จึงพยากรณ์ปัญหาด้วยอาการที่ท่านถามถึง กรรมที่มีผลอย่างนี้.

ความของคาถานั้น กล่าวมาแล้วในหนหลังนั้นแล. คาถาเทวดากล่าวไว้ดังนี้ว่า

ดิฉันเห็นพระเถระผู้พร้อมด้วยคุณ เข้าฌาน ยินดีในฌานสงบ ได้ถวายอาสนะที่ปูลาดด้วยผ้าโรยด้วยดอกไม้. ดิฉันเลื่อมใสแล้วโปรยดอกปทุมรอบๆ อาสนะครึ่งหนึ่ง. อีกครั้งหนึ่งเอาโปรยลง [ดังฝน] ด้วยมือตนเอง. ผลเช่นนี้เป็นผลแห่งกุศลกรรมนั้นของดิฉัน ดิฉันอันทวยเทพสักการะเคารพนบนอบแล้ว. ผู้ใดแล เลื่อมใสแล้วถวายอาสนะแก่ท่าน ผู้เป็นพรหมจารี ผู้หลุดพ้นโดยชอบ ผู้สงบ ผู้นั้นก็บันเทิงเหมือนอย่างดิฉัน. เพราะฉะนั้นแล ผู้รักตนหวังความเป็นใหญ่ ก็ควรถวายอาสนะแด่ท่านผู้ทรงเรือนร่างครั้งสุดท้าย [พระอรหันต์].

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คุณสมฺปนฺนํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณของพระสาวกทุกอย่าง หรือบริบูรณ์ด้วยคุณเหล่านั้น. เทวดาแสดงสมบัติชั้นยอดของสาวกบารมีญาณ ด้วยบทนี้. บทว่า ฌายึ ได้แก่ ผู้มี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 61

ปกติเพ่งด้วยฌานแม้ทั้งสองคือ อารัมมณูปนิชฌาน [เพ่งอารมณ์] ลักขณูปนิชฌาน [เพ่งลักษณะ]. อีกนัยหนึ่ง ผู้เผากิเลสที่ควรเผา และธรรมอันเป็นฝ่ายของสังกิเลสทุกอย่างมั่นอยู่. จากฌานนั้นนั่นเอง ชื่อว่า ฌานรตะ เพราะยินดีแล้วในฌาน. บทว่า สตํ แปลว่า มีอยู่ หรือ สงบแล้ว. อธิบายว่า สัตบุรุษคนดี. บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺณํ แปลว่า เกลื่อนกล่นด้วยดอกไม้ทั้งหลาย. อธิบายว่า ดารดาษด้วยใบปทุมทั้งหลาย. บทว่า ทุสฺสสนฺถตํ ได้แก่ เอาผ้าปูลาดไว้บนอาสนะ.

บทว่า อุปฑฺฒํ ปทุมมาลาหํ ได้แก่ เรา [โปรย] ดอกปทุมครึ่งหนึ่ง. บทว่า อาสนสฺส สมนฺตโต ได้แก่ ที่พื้นรอบอาสนะที่พระเถระนั่ง. บทว่า อพฺโภกิริสฺสํ ได้แก่ โปรย โรย. อย่างไร. เอา กลีบโปรย. อธิบายว่า เอากลีบปทุมที่แยกเป็นสองส่วนๆ ละครึ่ง โปรยลงทำนองฝนดอกไม้ตกลงมา.

ด้วยบทว่า อิทํ เม อีทิสํ ผลํ นี้ เทวดารวมแสดงทิพยสมบัติของตน อันต่างโดยอายุ ยศ สุข และรูปเป็นต้น ที่พระเถระระบุและไม่ระบุด้วยคำว่า กุญฺชโร เต วราโรโห เป็นต้น แล้วจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สกฺกาโร ครุถาโร เพื่อแสดงอานุภาพของตนที่พระเถระมิได้ระบุไว้อีก. ด้วยคำนั้น เทวดาแสดงว่า มิใช่ผลบุญของดิฉันในที่นี้ ตามที่ท่านกล่าวมาแล้วอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ ก็ยังมีแม้อธิปไตยทิพย์นี้ด้วย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ กิริยาโดยเอื้อเฟื้อ. อธิบายว่า ความที่ตนอันทวยเทพพึงสักการะ. บทว่า ครุกาโร ก็ เหมือนกัน ได้แก่ ความที่คนอันทวยเทพพึงเคารพ. บทว่า เทวานํ แปลว่า อันทวยเทพ. บทว่า อปจิตา ได้แก่ บูชาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 62

บทว่า สมฺมาวิมุตฺตานํ ได้แก่ ผู้หลุดพ้นด้วยดี ละสังกิเลสได้หมด. บทว่า สนฺตานํ ได้แก่ ผู้มีกรรมทางกายวาจาใจอันสงบ เป็นคนดี. ชื่อว่าพรหมจารี เพราะประพฤติมรรคพรหมจรรย์และศาสนพรหมจรรย์แล้ว. บทว่า ปสนฺนา อาสนํ ทชฺชา ได้แก่ เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว เพราะเชื่อในผลกรรมและเชื่อในพระรัตนตรัย. ผิว่าพึง ถวายแม้เพียงอาสนะ. บทว่า เอวํ นนฺเท ยถา อหํ ความว่า แม้คนอื่นก็พึงบันเทิงยินดีเหมือนอย่างดิฉันบันเทิงยินดีด้วยอาสนทานนั้น ในบัดนี้ฉะนั้น.

บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุนั้น. หิศัพท์ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อตฺตกาเมน ได้แก่ ผู้รักประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. จริงอยู่ ผู้ใดทำกรรมอันนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ตน ไม่ทำกรรมอันนำสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นชื่อว่ารักตน. บทว่า มหตฺตํ ได้แก่ ความเป็นใหญ่โดยวิบาก. บทว่า สรีรนฺติมธารินํ ได้แก่ ผู้ทรงเรือนร่างอัน สุดท้าย. อธิบายว่า พระขีณาสพ. ในข้อนี้ ความมีดังนี้ว่า เทวดาแสดงว่า เพราะเหตุที่ดิฉันยินดีด้วยทิพยสมบัติอย่างนี้ เพราะถวายอาสนะแก่พระอรหันต์ ฉะนั้น แม้คนอื่นผู้ปรารถนาความเจริญยิ่งแก่ตนก็พึงถวายอาสนะแก่พระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่ในเรือนร่างอันสุดท้าย บุญเช่นนี้ [ของคนอื่น] จึงไม่มี. คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากุญชรวิมาน